พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “ราตรีประดับดาว” ของสถาบันพระปกเกล้า และกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ระเบียบการเมืองใหม่และอนาคตของประเทศไทย”
เมื่อวานนี้ (2 พ.ย.2550) เวลา 19.00 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้นที่ 23 อาคาร เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “ราตรีประดับดาว” ของสถาบันพระปกเกล้า และกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ระเบียบการเมืองใหม่และอนาคตของประเทศไทย” ให้กับศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 10 และบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า
พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์ ประธานนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 10 ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานราตรีประดับดาวปี 2550 โดยสรุปว่า การจัดงานปีนี้ได้เนนรูปแบบการจัดงานเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหาวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา หลักสูตรทุกหลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้าเป็นหลักสูตรที่มีคุณค่าในการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ให้มีความเข้มแข็งยั่งยืนตลอดไป งานราตรีประดับดาวมีวัตถุประสงค์ทั่วไปในการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย ในการที่พระองค์ท่านสละพระราชอำนาจของพระองค์ให้เป็นอำนาจของปวงชนชาวไทยทั้งมวล ชื่องานที่ว่า “ราตรีประดับดาว” เป็นชื่อบทเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสิ่งนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้านำมาน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านทุกครั้งที่จัดงาน นอกจากนี้วัตถุประสงค์การจัดงานยังมุ่งเน้นการแสดงพลังแห่งความรัก ความสามัคคีของชาวสถาบันพระปกเกล้าทุกหลักสูตร
ต่อจากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวรายงานในนามผู้บริหารสถาบันพระปกเกล้า โดยสรุปว่า สถาบันพระปกเกล้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นชื่อแห่งสถาบัน และมีหน้าที่ในการพัฒนาประชาธิปไตย ตั้งแต่ก่อตั้งมาในปี 2541 จนถึงบัดนี้ครบ 9 ปี ได้มีหลักสูตรทั้งการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รวม 11 รุ่น การบริหารภาครัฐและกฎหมายมหาชน รวม 7 รุ่น และการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ รวม 6 รุ่น รวมทั้งหลักสูตรอื่น ๆ อีกมาก และสถาบันพระปกเกล้าได้พัฒนาประชาธิปไตยระดับรากหญ้า โดยมีการก่อตั้งศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองขึ้น 24 ศูนย์ทั่วประเทศ การจัดงานราตรีประดับดาวในวันนี้เป็นการรวมพลังของนักศึกษาปัจจุบันและนักศึกษาเก่าของสถาบันพระปกเกล้า เพื่อจะทำหน้าที่สืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการจะให้ประชาธิปไตยเป็นอำนาจที่แท้จริงของประชาชน จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่นายกรัฐมนตรีได้มาให้ทัศนะให้แนวทาง ต่อศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของสถาบันฯ ซึ่งจะนำพระราชปณิธานในการพัฒนาประชาธิปไตยไปเผยแผ่ต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษสรุปสาระสำคัญว่า ปัญหาทางการเมืองที่สำคัญของประเทศไทย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มี 3 ประการ คือ
ประการแรก มีการแทรกแซงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทำให้องค์กรอิสระไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ .2540 ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีไม่มีโอกาสตอบในที่อื่น แต่อยากจะตอบในที่นี้ว่าเป็นเรื่องที่ได้เป็นการแก้ไขเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้มีการคัดสรรผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระแล้ว องค์กรอิสระเหล่านั้นก็ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐบาลไม่ได้เข้าไปแทรกแซง ซึ่งถือได้ว่ารัฐบาลได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่สมควรของรัฐบาลแล้ว
ประการที่สอง มีปัญหาในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นและการทับซ้อนของผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจทางการเมือง ซึ่งเรื่องเหล่านี้อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการตรวจสอบบ้าง อยู่ในขั้นตอนของ ป.ป.ช. บ้าง อยู่ในขั้นตอนที่กำลังดำเนินการในกระบวนการของทางด้านกระบวนการยุติธรรมอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นส่วนที่รัฐบาลได้ทำหน้าที่ในส่วนของรัฐบาล โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือและเร่งรัดดำเนินการหลาย ๆ เรื่อง แต่เรื่องยังอยู่ในขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการต่อไป จึงไม่สามารถที่จะบอกหรือชี้ให้ชัดเจนได้ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่มีการทุจริตอย่างจริงจัง ยังไม่สามารถที่จะไประบุ หรือไปชี้ความผิดให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ในขั้นตอนนี้
ประการที่สาม คือความพยายามที่จะเข้าสู่อำนาจรัฐของพรรคการเมืองที่กระทำด้วยความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาต่อระบบการเมือง ดังที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ให้เหตุผลไว้ในคำวินิจฉัย ให้ยุบพรรคการเมืองที่ร่วมกันฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นเหตุผลที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศเมื่อ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบต้องยุติลงชั่วคราว อย่างไรก็ตาม การมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีคณะรัฐมนตรี และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 ก็ทำให้ประชาชนไทยได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ไม่ต่างไปจากระบบการเมืองที่มีรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
“ ผมขอเรียนว่าเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมานั้น เป็นการยุติการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นการชั่วคราวเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และเรากำลังกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยตามลำดับขั้นตอนที่มีความชัดเจน เพราะขณะนี้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รัฐบาลเองก็มีความมุ่งมั่น มีความชัดเจน ในการสนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่จะถึงนี้ ผมคิดว่าทุกท่านที่มาในงานในวันนี้คงจะทราบว่าวันเลือกตั้งของเราคือวันที่ 23 ธันวาคม ผมดูโพลล์ของเอแบคแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจ บอกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ไม่ค่อยทราบ วันนี้ผมคิดว่าทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ทราบ ซึ่งจะทำให้สร้างความเชื่อมั่นได้ว่าประเทศไทยสามารถกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยได้เร็ว และเป็นไปตามสัญญาที่เราได้ให้ไว้ทั้งกับประชาชนชาวไทยและประชาคมโลก” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย เปรียบเป็น“ระเบียบการเมืองใหม่ที่วางอนาคตไว้ให้แก่ประเทศไทย” ซึ่งทุกคนคาดหวังว่าจะเห็นประเทศชาติมีประชาธิปไตยที่มั่นคง มีรัฐบาลที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส มีการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ หรือภาคประชาชน ซึ่งจะกระทำได้ง่ายขึ้น และต้องเป็นการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีมีความเชื่อมั่นว่า ระบบหรือระเบียบการเมืองใหม่ที่จะช่วยสร้างอนาคตให้กับประเทศไทยมีประเด็นสำคัญ ๆ ที่ทุกคนอยากจะเห็นอยู่ 5 ประการคือ
1. กระบวนการเข้าสู่อำนาจรัฐต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม 2. รัฐบาลในอนาคตซึ่งคาดว่าจะเป็นรัฐบาลผสม จะเป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและถูกตรวจสอบการใช้อำนาจจากรัฐสภา จากศาล และจากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แตกต่างจากอดีตที่ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐถูกบิดเบือนไปจนไม่สามารถจะทำงานได้ 3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องเป็นผู้มีจริยธรรม จึงได้กำหนดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหวังว่าจะสามารถบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. บทบาทของทหารจะต้องเป็นทหารอาชีพ มีความเป็นกลางทางการเมืองและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และ 5. การสร้างความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นเรื่องยากและละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา และต้องรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลได้ใช้แนวทางที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลในอนาคตจะได้สานต่อแนวทางนี้ต่อไปด้วย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นย้ำว่า อนาคตของประเทศไทยต้องการความสมานฉันท์ของคนในชาติ ซึ่งความสมานฉันท์ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีความเห็นที่เหมือนกัน แต่จะเป็นความสมานฉันท์บนพื้นฐานของการยอมรับความเห็นที่แตกต่าง และการเคารพต่อเสียงข้างน้อยด้วย นอกจากนี้ทุกคนต้อง “รู้ รัก สามัคคี” เพื่อให้ชาติบ้านเมืองของก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อวานนี้ (2 พ.ย.2550) เวลา 19.00 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้นที่ 23 อาคาร เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “ราตรีประดับดาว” ของสถาบันพระปกเกล้า และกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ระเบียบการเมืองใหม่และอนาคตของประเทศไทย” ให้กับศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 10 และบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า
พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์ ประธานนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้าหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 10 ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานราตรีประดับดาวปี 2550 โดยสรุปว่า การจัดงานปีนี้ได้เนนรูปแบบการจัดงานเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหาวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา หลักสูตรทุกหลักสูตรของสถาบันพระปกเกล้าเป็นหลักสูตรที่มีคุณค่าในการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ให้มีความเข้มแข็งยั่งยืนตลอดไป งานราตรีประดับดาวมีวัตถุประสงค์ทั่วไปในการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย ในการที่พระองค์ท่านสละพระราชอำนาจของพระองค์ให้เป็นอำนาจของปวงชนชาวไทยทั้งมวล ชื่องานที่ว่า “ราตรีประดับดาว” เป็นชื่อบทเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นสิ่งนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้านำมาน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านทุกครั้งที่จัดงาน นอกจากนี้วัตถุประสงค์การจัดงานยังมุ่งเน้นการแสดงพลังแห่งความรัก ความสามัคคีของชาวสถาบันพระปกเกล้าทุกหลักสูตร
ต่อจากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวรายงานในนามผู้บริหารสถาบันพระปกเกล้า โดยสรุปว่า สถาบันพระปกเกล้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นชื่อแห่งสถาบัน และมีหน้าที่ในการพัฒนาประชาธิปไตย ตั้งแต่ก่อตั้งมาในปี 2541 จนถึงบัดนี้ครบ 9 ปี ได้มีหลักสูตรทั้งการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รวม 11 รุ่น การบริหารภาครัฐและกฎหมายมหาชน รวม 7 รุ่น และการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะ รวม 6 รุ่น รวมทั้งหลักสูตรอื่น ๆ อีกมาก และสถาบันพระปกเกล้าได้พัฒนาประชาธิปไตยระดับรากหญ้า โดยมีการก่อตั้งศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองขึ้น 24 ศูนย์ทั่วประเทศ การจัดงานราตรีประดับดาวในวันนี้เป็นการรวมพลังของนักศึกษาปัจจุบันและนักศึกษาเก่าของสถาบันพระปกเกล้า เพื่อจะทำหน้าที่สืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการจะให้ประชาธิปไตยเป็นอำนาจที่แท้จริงของประชาชน จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่นายกรัฐมนตรีได้มาให้ทัศนะให้แนวทาง ต่อศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของสถาบันฯ ซึ่งจะนำพระราชปณิธานในการพัฒนาประชาธิปไตยไปเผยแผ่ต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษสรุปสาระสำคัญว่า ปัญหาทางการเมืองที่สำคัญของประเทศไทย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 มี 3 ประการ คือ
ประการแรก มีการแทรกแซงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทำให้องค์กรอิสระไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ .2540 ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีไม่มีโอกาสตอบในที่อื่น แต่อยากจะตอบในที่นี้ว่าเป็นเรื่องที่ได้เป็นการแก้ไขเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติได้มีการคัดสรรผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระแล้ว องค์กรอิสระเหล่านั้นก็ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐบาลไม่ได้เข้าไปแทรกแซง ซึ่งถือได้ว่ารัฐบาลได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่สมควรของรัฐบาลแล้ว
ประการที่สอง มีปัญหาในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นและการทับซ้อนของผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจทางการเมือง ซึ่งเรื่องเหล่านี้อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการตรวจสอบบ้าง อยู่ในขั้นตอนของ ป.ป.ช. บ้าง อยู่ในขั้นตอนที่กำลังดำเนินการในกระบวนการของทางด้านกระบวนการยุติธรรมอยู่บ้าง ซึ่งก็เป็นส่วนที่รัฐบาลได้ทำหน้าที่ในส่วนของรัฐบาล โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือและเร่งรัดดำเนินการหลาย ๆ เรื่อง แต่เรื่องยังอยู่ในขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการต่อไป จึงไม่สามารถที่จะบอกหรือชี้ให้ชัดเจนได้ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่มีการทุจริตอย่างจริงจัง ยังไม่สามารถที่จะไประบุ หรือไปชี้ความผิดให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ในขั้นตอนนี้
ประการที่สาม คือความพยายามที่จะเข้าสู่อำนาจรัฐของพรรคการเมืองที่กระทำด้วยความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาต่อระบบการเมือง ดังที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ให้เหตุผลไว้ในคำวินิจฉัย ให้ยุบพรรคการเมืองที่ร่วมกันฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นเหตุผลที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศเมื่อ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา ส่งผลให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบต้องยุติลงชั่วคราว อย่างไรก็ตาม การมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีคณะรัฐมนตรี และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 ก็ทำให้ประชาชนไทยได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ไม่ต่างไปจากระบบการเมืองที่มีรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
“ ผมขอเรียนว่าเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมานั้น เป็นการยุติการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นการชั่วคราวเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และเรากำลังกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยตามลำดับขั้นตอนที่มีความชัดเจน เพราะขณะนี้เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รัฐบาลเองก็มีความมุ่งมั่น มีความชัดเจน ในการสนับสนุนคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่จะถึงนี้ ผมคิดว่าทุกท่านที่มาในงานในวันนี้คงจะทราบว่าวันเลือกตั้งของเราคือวันที่ 23 ธันวาคม ผมดูโพลล์ของเอแบคแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจ บอกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ไม่ค่อยทราบ วันนี้ผมคิดว่าทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ทราบ ซึ่งจะทำให้สร้างความเชื่อมั่นได้ว่าประเทศไทยสามารถกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยได้เร็ว และเป็นไปตามสัญญาที่เราได้ให้ไว้ทั้งกับประชาชนชาวไทยและประชาคมโลก” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย เปรียบเป็น“ระเบียบการเมืองใหม่ที่วางอนาคตไว้ให้แก่ประเทศไทย” ซึ่งทุกคนคาดหวังว่าจะเห็นประเทศชาติมีประชาธิปไตยที่มั่นคง มีรัฐบาลที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส มีการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ หรือภาคประชาชน ซึ่งจะกระทำได้ง่ายขึ้น และต้องเป็นการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีมีความเชื่อมั่นว่า ระบบหรือระเบียบการเมืองใหม่ที่จะช่วยสร้างอนาคตให้กับประเทศไทยมีประเด็นสำคัญ ๆ ที่ทุกคนอยากจะเห็นอยู่ 5 ประการคือ
1. กระบวนการเข้าสู่อำนาจรัฐต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม 2. รัฐบาลในอนาคตซึ่งคาดว่าจะเป็นรัฐบาลผสม จะเป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและถูกตรวจสอบการใช้อำนาจจากรัฐสภา จากศาล และจากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แตกต่างจากอดีตที่ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐถูกบิดเบือนไปจนไม่สามารถจะทำงานได้ 3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ใช้อำนาจรัฐจะต้องเป็นผู้มีจริยธรรม จึงได้กำหนดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหวังว่าจะสามารถบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. บทบาทของทหารจะต้องเป็นทหารอาชีพ มีความเป็นกลางทางการเมืองและไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และ 5. การสร้างความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นเรื่องยากและละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา และต้องรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลได้ใช้แนวทางที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลในอนาคตจะได้สานต่อแนวทางนี้ต่อไปด้วย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นย้ำว่า อนาคตของประเทศไทยต้องการความสมานฉันท์ของคนในชาติ ซึ่งความสมานฉันท์ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีความเห็นที่เหมือนกัน แต่จะเป็นความสมานฉันท์บนพื้นฐานของการยอมรับความเห็นที่แตกต่าง และการเคารพต่อเสียงข้างน้อยด้วย นอกจากนี้ทุกคนต้อง “รู้ รัก สามัคคี” เพื่อให้ชาติบ้านเมืองของก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--