พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ครั้งที่ 1 / 2550 ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ครั้งที่ 1 / 2550 โดยมีนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมตรี นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพงศ์โพยม วาศภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม สรุปผลการประชุมดังนี้
ในวาระประธานแจ้งที่ประชุมทราบ นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุมว่า การประชุมในวันนี้เพื่อที่จะติดตามการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามแนวนโยบายที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ โดยความมุ่งหมายหลักคือการมุ่งปรับปรุงการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างดียิ่งต่อไป
ในวาระเพื่อพิจารณา ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการของหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและการกำกับดูแลบริษัทในเครือ เพื่อให้การกำกับดูแลบริษัทในเครือเป็นไปอย่างเหมาะสมและเป็นมาตรฐาน โดยให้ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง ยกเว้น รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน ดังนี้ 1.หลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนบริษัทในเครือ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 7 ข้อ 2. การพิจารณาการจัดตั้ง/ร่วมทุนในบริษัทในเครือ ประกอบด้วย ขั้นตอนการพิจารณา ข้อมูลประกอบการพิจารณา และ 3. การกำกับดูแลบริษัทในเครือ
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมพิจารณาเรื่อง การถือหุ้นของหน่วยงานของรัฐในบริษัทมหาชนจำกัด แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการดังนี้ 1. ขอความร่วมมือจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีภารกิจหรือมีธุรกรรมเกี่ยวกับการลงทุนในลักษณะนี้ พิจารณานโยบายด้านการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะบริษัทจดทะเบียนจนกลายเป็นรัฐวิสาหกิจ 2. มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ากองทุนประกันสังคมมีสถานะเป็นส่วนราชการหรือไม่ 3. หากปรากฏว่า กองทุนฯ มีสถานะเป็นส่วนราชการ เห็นสมควรให้สำนักงานประกันสังคมดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้การลงทุนของสำนักงานประกันสังคมไม่เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะบริษัทจดทะเบียนจนกลายเป็นรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ให้ สปส. เริ่มดำเนินการขอแก้กฎหมายให้ชัดเจนได้ตั้งแต่บัดนี้เช่นเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) โดยไม่ต้องอ้างสถานะว่าเป็นส่วนราชการหรือไม่ แต่ขอปรับให้เป็นเหมือน กบข.
โดยในเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่า ทำอย่างไรที่จะไม่ให้กองทุนของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นเงินในส่วนของทางภาครัฐหรือเป็นในส่วนของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ฉะนั้นวิธีการดำเนินการก็คือมุ่งไปที่การจะแก้ไขในส่วนของ สปส. ให้ถูกต้องว่าไม่ได้เป็นเงินในส่วนของภาครัฐทั้งหมด เป็นเงินกองทุนทั่ว ๆ ไปที่จะลงทุนทั้งในภายและภายนอกได้ ทั้งนี้ ที่ทางฝ่ายเลขานุการเสนอก็ไม่ได้มุ่งไปที่ สปส. อย่างเดียวแต่มีหน่วยงานอื่นด้วย เรื่องการขอความร่วมมือจึงจำเป็นจะต้องทำ การที่จะไปลงทุนอื่นใดในขณะนี้ ถ้าเข้าไปเกี่ยวพันลักษณะเช่นเดียวกันก็ควรพิจารณาให้รอบคอบ ทั้งนี้ ในเรื่องการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ขอให้ สปส. ได้เริ่มดำเนินการขอแก้กฎหมายให้ชัดเจนได้ตั้งแต่บัดนี้ โดยขอปรับให้เป็นเหมือน กบข. โดยไม่ควรอ้างสถานะว่าเป็นส่วนราชการหรือไม่ ส่วนกรณีปัจจุบันขอให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตีความ ถ้าชี้มาทางด้านใดก็จะได้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้
“ ในเรื่องการที่จะเร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย ขอให้ทางกองทุนฯ สปส.ได้เร่งดำเนินการ มีรายละเอียดมากพอสมควร อยากให้มีความรอบคอบ ให้ดูกันให้ละเอียด ผมไม่อยากทำอะไรที่เร่งรัดจนกระทั่งเกิดปัญหาขึ้น อยากฝากว่าให้ศึกษาให้ละเอียด หาทางกันให้รอบคอบว่าในส่วนของสำนักงานประกันสังคมซึ่งเป็นส่วนราชการ ควรจะมีบทบาทอย่างไรแค่ไหน ถ้าศึกษาละเอียดแล้วก็ขอแก้ไขเพียงครั้งเดียว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เข้ามาในรัฐบาลปัจจุบันก็คงจะมีปัญหาอะไร เพราะเป็นเรื่องที่ทุกคนรับทราบดีอยู่แล้ว และจำเป็นที่จะต้องช่วยกันปรับปรุงแก้ไข เพราะมิฉะนั้นกองทุนประกันสังคมจะมีปัญหา ทุกคนเข้าใจว่าเราไม่ได้มีเจตนาที่จะไปอำพราง ไม่มีเจตนาที่จะทำอะไรที่จะผิดกฎหมาย เราต้องการทำให้ถูก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลา” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ปัจจุบันมีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญประมาณ 10 บริษัท ซึ่งนิยามของ “รัฐวิสาหกิจ” ที่กำหนดในกฎหมายหลายฉบับมีลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลในแต่ละเรื่อง และโดยที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จัดตั้งตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อนำเงินกองทุนประกันสังคมไปจัดหาผลประโยชน์เพิ่มเติมตามระเบียบที่คณะกรรมการประกันสังคมเป็นผู้กำหนด นั้น ได้มีประเด็นปัญหา คือ 1) ความไม่ชัดเจนในสถานะของกองทุนประกันสังคมว่าเป็นนิติบุคคลหรือเป็นส่วนราชการ 2) กองทุนฯ หรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีภารกิจหรือมีธุรกรรมเกี่ยวกับการลงทุน เช่น ธนาคารออมสิน เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทมหาชน จำกัด ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจทำให้บริษัทดังกล่าวมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้มีผลกระทบ คือหน่วยงานใดมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่บังคับกับรัฐวิสาหกิจ
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการแผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ตามที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพหลัก ประสานในรายละเอียดกับกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน และสำนักงบประมาณ เพื่อร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้และความเร่งด่วนที่จะดำเนินการในรายละเอียดต่อไป
ทั้งนี้ แผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ประกอบด้วยกรอบแนวทางในการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรด้านการขนส่งและการประยุกต์ใช้สัญญาการให้บริการเชิงคุณภาพ (PBC) การปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บค่าโดยสารเป็นระบบส่งรายได้เข้ากองทุนกลาง (Bus Fare Escow Account) การสนับสนุนการปรับและจัดสรรเส้นทางใหม่
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ครั้งที่ 1 / 2550 โดยมีนายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมตรี นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายพงศ์โพยม วาศภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม สรุปผลการประชุมดังนี้
ในวาระประธานแจ้งที่ประชุมทราบ นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดการประชุมว่า การประชุมในวันนี้เพื่อที่จะติดตามการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามแนวนโยบายที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ โดยความมุ่งหมายหลักคือการมุ่งปรับปรุงการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างดียิ่งต่อไป
ในวาระเพื่อพิจารณา ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการของหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและการกำกับดูแลบริษัทในเครือ เพื่อให้การกำกับดูแลบริษัทในเครือเป็นไปอย่างเหมาะสมและเป็นมาตรฐาน โดยให้ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง ยกเว้น รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน ดังนี้ 1.หลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนบริษัทในเครือ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 7 ข้อ 2. การพิจารณาการจัดตั้ง/ร่วมทุนในบริษัทในเครือ ประกอบด้วย ขั้นตอนการพิจารณา ข้อมูลประกอบการพิจารณา และ 3. การกำกับดูแลบริษัทในเครือ
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมพิจารณาเรื่อง การถือหุ้นของหน่วยงานของรัฐในบริษัทมหาชนจำกัด แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการดังนี้ 1. ขอความร่วมมือจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีภารกิจหรือมีธุรกรรมเกี่ยวกับการลงทุนในลักษณะนี้ พิจารณานโยบายด้านการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะบริษัทจดทะเบียนจนกลายเป็นรัฐวิสาหกิจ 2. มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ากองทุนประกันสังคมมีสถานะเป็นส่วนราชการหรือไม่ 3. หากปรากฏว่า กองทุนฯ มีสถานะเป็นส่วนราชการ เห็นสมควรให้สำนักงานประกันสังคมดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อให้การลงทุนของสำนักงานประกันสังคมไม่เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะบริษัทจดทะเบียนจนกลายเป็นรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ให้ สปส. เริ่มดำเนินการขอแก้กฎหมายให้ชัดเจนได้ตั้งแต่บัดนี้เช่นเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) โดยไม่ต้องอ้างสถานะว่าเป็นส่วนราชการหรือไม่ แต่ขอปรับให้เป็นเหมือน กบข.
โดยในเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีมีความเห็นว่า ทำอย่างไรที่จะไม่ให้กองทุนของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นเงินในส่วนของทางภาครัฐหรือเป็นในส่วนของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ฉะนั้นวิธีการดำเนินการก็คือมุ่งไปที่การจะแก้ไขในส่วนของ สปส. ให้ถูกต้องว่าไม่ได้เป็นเงินในส่วนของภาครัฐทั้งหมด เป็นเงินกองทุนทั่ว ๆ ไปที่จะลงทุนทั้งในภายและภายนอกได้ ทั้งนี้ ที่ทางฝ่ายเลขานุการเสนอก็ไม่ได้มุ่งไปที่ สปส. อย่างเดียวแต่มีหน่วยงานอื่นด้วย เรื่องการขอความร่วมมือจึงจำเป็นจะต้องทำ การที่จะไปลงทุนอื่นใดในขณะนี้ ถ้าเข้าไปเกี่ยวพันลักษณะเช่นเดียวกันก็ควรพิจารณาให้รอบคอบ ทั้งนี้ ในเรื่องการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ขอให้ สปส. ได้เริ่มดำเนินการขอแก้กฎหมายให้ชัดเจนได้ตั้งแต่บัดนี้ โดยขอปรับให้เป็นเหมือน กบข. โดยไม่ควรอ้างสถานะว่าเป็นส่วนราชการหรือไม่ ส่วนกรณีปัจจุบันขอให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาช่วยตีความ ถ้าชี้มาทางด้านใดก็จะได้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้
“ ในเรื่องการที่จะเร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย ขอให้ทางกองทุนฯ สปส.ได้เร่งดำเนินการ มีรายละเอียดมากพอสมควร อยากให้มีความรอบคอบ ให้ดูกันให้ละเอียด ผมไม่อยากทำอะไรที่เร่งรัดจนกระทั่งเกิดปัญหาขึ้น อยากฝากว่าให้ศึกษาให้ละเอียด หาทางกันให้รอบคอบว่าในส่วนของสำนักงานประกันสังคมซึ่งเป็นส่วนราชการ ควรจะมีบทบาทอย่างไรแค่ไหน ถ้าศึกษาละเอียดแล้วก็ขอแก้ไขเพียงครั้งเดียว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เข้ามาในรัฐบาลปัจจุบันก็คงจะมีปัญหาอะไร เพราะเป็นเรื่องที่ทุกคนรับทราบดีอยู่แล้ว และจำเป็นที่จะต้องช่วยกันปรับปรุงแก้ไข เพราะมิฉะนั้นกองทุนประกันสังคมจะมีปัญหา ทุกคนเข้าใจว่าเราไม่ได้มีเจตนาที่จะไปอำพราง ไม่มีเจตนาที่จะทำอะไรที่จะผิดกฎหมาย เราต้องการทำให้ถูก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลา” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ปัจจุบันมีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญประมาณ 10 บริษัท ซึ่งนิยามของ “รัฐวิสาหกิจ” ที่กำหนดในกฎหมายหลายฉบับมีลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลในแต่ละเรื่อง และโดยที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จัดตั้งตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อนำเงินกองทุนประกันสังคมไปจัดหาผลประโยชน์เพิ่มเติมตามระเบียบที่คณะกรรมการประกันสังคมเป็นผู้กำหนด นั้น ได้มีประเด็นปัญหา คือ 1) ความไม่ชัดเจนในสถานะของกองทุนประกันสังคมว่าเป็นนิติบุคคลหรือเป็นส่วนราชการ 2) กองทุนฯ หรือหน่วยงานของรัฐอื่นที่มีภารกิจหรือมีธุรกรรมเกี่ยวกับการลงทุน เช่น ธนาคารออมสิน เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทมหาชน จำกัด ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจทำให้บริษัทดังกล่าวมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้มีผลกระทบ คือหน่วยงานใดมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่บังคับกับรัฐวิสาหกิจ
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการแผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ตามที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเจ้าภาพหลัก ประสานในรายละเอียดกับกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน และสำนักงบประมาณ เพื่อร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้และความเร่งด่วนที่จะดำเนินการในรายละเอียดต่อไป
ทั้งนี้ แผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ประกอบด้วยกรอบแนวทางในการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรด้านการขนส่งและการประยุกต์ใช้สัญญาการให้บริการเชิงคุณภาพ (PBC) การปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บค่าโดยสารเป็นระบบส่งรายได้เข้ากองทุนกลาง (Bus Fare Escow Account) การสนับสนุนการปรับและจัดสรรเส้นทางใหม่
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--