นายกรัฐมนตรีระบุสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะเป็นผู้พิจารณา ร่างพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯ ซึ่งรัฐบาลคงไม่เข้าไปดำเนินการอะไรเพิ่มเติม
เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่หลายฝ่ายคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ... ที่เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า เรื่องนี้อยู่ที่การพิจารณาของ สนช. รัฐบาลคงไม่ได้ไปดำเนินการอะไรเพิ่มเติม และรัฐบาลไม่ได้มีเสียงอะไรมากมาย อย่างที่ทราบดีอยู่แล้วว่า รัฐบาลไม่ได้มีพรรค คงไม่สามารถไปจัดกลุ่มหรือดำเนินการใด ๆ ใน สนช. ได้ ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า รัฐบาลไม่ได้มีสิทธิมีเสียงอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการทบทวนหรือปรับปรุงชื่อกฎหมายให้เหมาะสมหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยู่ที่ สนช. จะพิจารณา รัฐบาลคงไม่ส่งรัฐมนตรีเข้าไปเป็นประธานกรรมาธิการร่วม แต่จะให้เป็นหน้าที่ของ สนช. ที่จะพิจารณาโดยเสรี เพราะรัฐบาลคงไม่คิดที่จะดำเนินการในลักษณะที่จะผลักดันกฎหมาย ส่วนที่ว่าหากชะลอกฎหมายฉบับนี้เพื่อรอรัฐบาลใหม่พิจารณาจะส่งผลกระทบอะไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบอะไรหรือไม่ เพราะยังคาดไม่ถึงว่าจะมีอะไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สนช. ชุดนี้มาจากการแต่งตั้งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะสามารถพูดคุยทำความเข้าใจกันได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้คุยกันบ้าง ท่านก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในบางครั้งก็ลำบากที่จะทำความเข้าใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเด็นที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจคืออำนาจการใช้กฎหมายอยู่ที่นายกรัฐมนตรีมากเกินไป นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อำนาจในการแก้ไขปัญหาอยู่ที่นายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว มีแต่นายกรัฐมนตรีจะมอบให้คนอื่น เมื่อกฎหมายร่างไปแล้วว่าอำนาจอยู่ที่นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบ แต่คงไม่ได้เป็นตนเอง เป็นนายกรัฐมนตรีท่านต่อ ๆ ไปที่จะมาดำเนินการกัน นั่นเป็นแนวคิดที่ได้ร่างกฎหมายนี้ขึ้น เพราะการทำงานในด้านความมั่นคงนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการปรับทั้งองค์กร อำนาจหน้าที่ และวิธีการบริหาร อย่างที่พูดกันว่าเป็นเรื่องของสิ่งที่มองไปในอนาคตมากกว่าจะเป็นเรื่องของการมองในปัจจุบันหรือในอดีต และกฎหมายนี้คงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่หลายฝ่ายคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ... ที่เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า เรื่องนี้อยู่ที่การพิจารณาของ สนช. รัฐบาลคงไม่ได้ไปดำเนินการอะไรเพิ่มเติม และรัฐบาลไม่ได้มีเสียงอะไรมากมาย อย่างที่ทราบดีอยู่แล้วว่า รัฐบาลไม่ได้มีพรรค คงไม่สามารถไปจัดกลุ่มหรือดำเนินการใด ๆ ใน สนช. ได้ ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า รัฐบาลไม่ได้มีสิทธิมีเสียงอะไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการทบทวนหรือปรับปรุงชื่อกฎหมายให้เหมาะสมหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยู่ที่ สนช. จะพิจารณา รัฐบาลคงไม่ส่งรัฐมนตรีเข้าไปเป็นประธานกรรมาธิการร่วม แต่จะให้เป็นหน้าที่ของ สนช. ที่จะพิจารณาโดยเสรี เพราะรัฐบาลคงไม่คิดที่จะดำเนินการในลักษณะที่จะผลักดันกฎหมาย ส่วนที่ว่าหากชะลอกฎหมายฉบับนี้เพื่อรอรัฐบาลใหม่พิจารณาจะส่งผลกระทบอะไรหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่าจะมีผลกระทบอะไรหรือไม่ เพราะยังคาดไม่ถึงว่าจะมีอะไรบ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สนช. ชุดนี้มาจากการแต่งตั้งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะสามารถพูดคุยทำความเข้าใจกันได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้คุยกันบ้าง ท่านก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในบางครั้งก็ลำบากที่จะทำความเข้าใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประเด็นที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจคืออำนาจการใช้กฎหมายอยู่ที่นายกรัฐมนตรีมากเกินไป นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อำนาจในการแก้ไขปัญหาอยู่ที่นายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว มีแต่นายกรัฐมนตรีจะมอบให้คนอื่น เมื่อกฎหมายร่างไปแล้วว่าอำนาจอยู่ที่นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบ แต่คงไม่ได้เป็นตนเอง เป็นนายกรัฐมนตรีท่านต่อ ๆ ไปที่จะมาดำเนินการกัน นั่นเป็นแนวคิดที่ได้ร่างกฎหมายนี้ขึ้น เพราะการทำงานในด้านความมั่นคงนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการปรับทั้งองค์กร อำนาจหน้าที่ และวิธีการบริหาร อย่างที่พูดกันว่าเป็นเรื่องของสิ่งที่มองไปในอนาคตมากกว่าจะเป็นเรื่องของการมองในปัจจุบันหรือในอดีต และกฎหมายนี้คงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--