พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "รวมพลังไทย : มิติใหม่ความมั่นคง" ในการประชุมเพื่อแถลงนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2550-2554)
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “รวมพลังไทย มิติใหม่ความมั่นคง” ในการประชุมเพื่อแถลงนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2550-2554) โดยมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนกระทรวงทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทหาร ตำรวจ นักวิชาการ และภาคประชาชน ประมาณ 500 คน เข้าร่วมประชุมฯ จัดโดย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและความเข้าใจในนโยบายด้านความมั่นคงฉบับใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการรักษาความมั่นคงให้กับประชาชนและประเทศชาติในทุก ๆ ด้าน
พลโท ศิรพงศ์ บุญพัฒน์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า สำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้จัดทำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ (พ.ศ.2550 -2554) ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและรักษาผลประโยชน์ของชาติในทิศทางที่สอดคล้องกัน ซึ่งมี 2 ส่วน คือ นโยบายเฉพาะหน้า และ นโยบายในระยะ 5 ปี โดยเน้นการให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพความมั่นคงภายในประเทศ การป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้เท่าทันสถานการณ์และสามารถปรับตัวให้ผ่านพ้นวิกฤติได้ภายใต้ความหลากหลายของวัฒนธรรมและความเห็นที่ต่างกัน อีกทั้งสามารถสร้างความเป็นธรรม ความยุติธรรมในสังคมตามหลักนิติธรรม โดยนำคุณธรรม จริยธรรม และวิถีชีวิตแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลับคืนมาสู่สังคมไทย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “รวมพลังไทย มิติใหม่ความมั่นคง” ว่า ความมั่นคงของชาติถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมว่า ประเทศไทยมีจุดแข็ง จุดอ่อน มีโอกาส หรือมีภัยคุกคามอะไรบ้าง เพื่อจะได้หาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ การกำหนดแนวทางในการปรับตัวของชาติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคตจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เรื่องความมั่นคงแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องมีการติดตามสถานการณ์หรือที่เรียกทางภาษาวิชาการว่า “สภาวะแวดล้อม” อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะแจ้งเตือนสังคมให้ได้รับทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หรือว่ามีภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงจะช่วยให้สังคมมีความผาสุก มีโอกาสที่จะพัฒนาประเทศไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง “ความมั่นคง” ว่ามีองค์ประกอบหลายด้าน อาทิ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมจิตวิทยา ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องหาทางแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งด้านสภาวะแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของป่าไม้ การใช้พื้นดิน การใช้น้ำ เป็นเรื่องที่จะต้องมีศึกษาและหาทางปรับแก้ไข
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พุทธศักราช 2550-2554 ได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมในการจัดทำนโยบาย และได้ผ่านความเห็นชอบของสภาความมั่นคงแห่งชาติแล้ว จากนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา รับทราบและมอบหมายให้ส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์กรภาครัฐนำไปจัดทำเป็นแผนงานและโครงการต่อไป นโยบายนี้ได้มีการวิเคราะห์ต้นทุนของชาติ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไว้อย่างน่าสนใจ เช่น ประเด็นที่กล่าวว่าสังคมไทยได้อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์มายาวนาน จนส่งผลให้การปฏิรูปการเมืองที่ผ่านมาถูกเบี่ยงเบนไป เพื่อผลประโยชน์แอบแฝงทางการเมืองหลายประการ นำไปสู่การทุจริต คอร์รัปชั่น และประชาชนส่วนใหญ่ต้องแบกรับภาระปัญหาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า มีปัญหาที่ประชาชนบางส่วนยังไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม และความเป็นธรรมของกระบวนการทางกฎหมาย ขณะที่ภาวะโลกไร้พรมแดนได้ส่งผลให้สังคมไทยที่เคยมีความเอื้ออาทรต่อกัน และมีสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็ง ได้เปลี่ยนไปเป็นสังคมที่แก่งแย่งแข่งขัน โดยละเลยคุณธรรมจริยธรรม และมีการเอารัดเอาเปรียบ บทวิเคราะห์เหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ และต้องมีส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่เข้ามาในช่วงที่มีวิกฤติการณ์ความขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรงของคนในชาติ จึงมีความมุ่งหมายที่จะดำเนินการใน 3 เรื่องที่สำคัญคือ การยุติความขัดแย้งแตกแยก การแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการวางรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่ก่อนที่จะนำพาประเทศกลับไปสู่การเลือกตั้ง เพื่อเรียกร้องความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา และการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ จึงมีความสำคัญต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง และเชื่อมั่นว่าคนไทยทุกคนต้องการเห็นการเมืองที่มีความโปร่งใส สะอาด และมีความเป็นธรรมมากขึ้น ไม่ต้องการธุรกิจการเมืองที่เข้ามาหาประโยชน์ ถ้าการเมืองไม่สะอาด เราก็จะได้นักการเมืองที่ไม่ดีและไม่ได้รัฐบาลที่มีคุณภาพ
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลมีช่วงระยะเวลาที่ไม่ยาวนัก จึงได้มุ่งเน้นการวางรากฐานทางเศรษฐกิจภายใต้ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักในการบริหาร ในทุก ๆ ด้าน พร้อมกันนี้รัฐบาลได้ใช้ยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” ที่เน้นให้ประชาชนได้รู้จักการบริหารทรัพยากร คือการบริหารงบประมาณ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับหมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ซึ่งถือเป็นวิธีการในการวางรากฐานที่เน้นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ และให้ความสำคัญกับโครงการต่าง ๆ ที่ผู้นำชุมชนได้ร่วมกันคิดขึ้นมา เพื่อเสริมสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็ง
ด้านสังคม รัฐบาลได้เน้นเรื่องการสร้างคุณธรรมและจริยธรรม และส่วนสำคัญที่สุดคือ “การสร้างคน” เพราะการสร้างคนคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ซึ่งที่ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ทางคณิตศาสตร์ และทางภาษาที่ดี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางนี้มานานแล้ว รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษา โดยปฎิรูปการศึกษาที่เน้นหลักคุณธรรมนำความรู้ ซึ่งได้รับผลตอบสนองจากเยาวชนมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่สามารถที่จะทำให้สำเร็จในระยะเวลาสั้น ๆ ได้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ว่า เป็นส่วนที่มีสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่ยึดเหนียวจิตใจของคนไทยทุกคน ที่ชนชาติอื่นไม่มี ดังจะเห็นได้จากเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่คนไทยทุกคนได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดี ที่ได้มีโอกาสเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากโรงพยาบาลศิริราช และก่อนที่จะถึงวันที่ 5 ธันวาคมนี้ ขอให้ทุกคนได้ช่วยกันจัดงาน อำนวยการและชักชวนให้คนไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการถวายพระพรชัยมงคลให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ถือป็นจุดศูนย์รวมของความสามัคคี และเป็นจุดศูนย์รวมของความจงรักภักดีของคนไทยทุกคน
ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงเรื่องของความมั่นคงว่า ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่เป็นเรื่องของทุกคนที่เป็นคนไทย จะต้องมามีส่วนร่วมในการที่จะนำนโยบายเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม นโยบายอาจจะเขียนไว้ดี แต่ถ้าหากไม่มีโครงการ ไม่มีแผนงาน และไม่นำไปปฏิบัติ สิ่งที่เขียนไว้อย่างดีนั้น คงไม่บังเกิดผลอะไร จึงขอฝากสิ่งเหล่านี้ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้นำไปพิจารณา เพื่อที่จะนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม และเกิดความมั่นคงต่อชาติบ้านเมืองต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “รวมพลังไทย มิติใหม่ความมั่นคง” ในการประชุมเพื่อแถลงนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2550-2554) โดยมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนกระทรวงทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทหาร ตำรวจ นักวิชาการ และภาคประชาชน ประมาณ 500 คน เข้าร่วมประชุมฯ จัดโดย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและความเข้าใจในนโยบายด้านความมั่นคงฉบับใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการรักษาความมั่นคงให้กับประชาชนและประเทศชาติในทุก ๆ ด้าน
พลโท ศิรพงศ์ บุญพัฒน์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า สำนักงาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้จัดทำนโยบายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่ (พ.ศ.2550 -2554) ขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและรักษาผลประโยชน์ของชาติในทิศทางที่สอดคล้องกัน ซึ่งมี 2 ส่วน คือ นโยบายเฉพาะหน้า และ นโยบายในระยะ 5 ปี โดยเน้นการให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพความมั่นคงภายในประเทศ การป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้เท่าทันสถานการณ์และสามารถปรับตัวให้ผ่านพ้นวิกฤติได้ภายใต้ความหลากหลายของวัฒนธรรมและความเห็นที่ต่างกัน อีกทั้งสามารถสร้างความเป็นธรรม ความยุติธรรมในสังคมตามหลักนิติธรรม โดยนำคุณธรรม จริยธรรม และวิถีชีวิตแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลับคืนมาสู่สังคมไทย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “รวมพลังไทย มิติใหม่ความมั่นคง” ว่า ความมั่นคงของชาติถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมว่า ประเทศไทยมีจุดแข็ง จุดอ่อน มีโอกาส หรือมีภัยคุกคามอะไรบ้าง เพื่อจะได้หาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ การกำหนดแนวทางในการปรับตัวของชาติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคตจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เรื่องความมั่นคงแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องมีการติดตามสถานการณ์หรือที่เรียกทางภาษาวิชาการว่า “สภาวะแวดล้อม” อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะแจ้งเตือนสังคมให้ได้รับทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หรือว่ามีภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที จึงจะช่วยให้สังคมมีความผาสุก มีโอกาสที่จะพัฒนาประเทศไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง “ความมั่นคง” ว่ามีองค์ประกอบหลายด้าน อาทิ ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมจิตวิทยา ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องหาทางแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งด้านสภาวะแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของป่าไม้ การใช้พื้นดิน การใช้น้ำ เป็นเรื่องที่จะต้องมีศึกษาและหาทางปรับแก้ไข
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พุทธศักราช 2550-2554 ได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมในการจัดทำนโยบาย และได้ผ่านความเห็นชอบของสภาความมั่นคงแห่งชาติแล้ว จากนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา รับทราบและมอบหมายให้ส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์กรภาครัฐนำไปจัดทำเป็นแผนงานและโครงการต่อไป นโยบายนี้ได้มีการวิเคราะห์ต้นทุนของชาติ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไว้อย่างน่าสนใจ เช่น ประเด็นที่กล่าวว่าสังคมไทยได้อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์มายาวนาน จนส่งผลให้การปฏิรูปการเมืองที่ผ่านมาถูกเบี่ยงเบนไป เพื่อผลประโยชน์แอบแฝงทางการเมืองหลายประการ นำไปสู่การทุจริต คอร์รัปชั่น และประชาชนส่วนใหญ่ต้องแบกรับภาระปัญหาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า มีปัญหาที่ประชาชนบางส่วนยังไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม และความเป็นธรรมของกระบวนการทางกฎหมาย ขณะที่ภาวะโลกไร้พรมแดนได้ส่งผลให้สังคมไทยที่เคยมีความเอื้ออาทรต่อกัน และมีสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็ง ได้เปลี่ยนไปเป็นสังคมที่แก่งแย่งแข่งขัน โดยละเลยคุณธรรมจริยธรรม และมีการเอารัดเอาเปรียบ บทวิเคราะห์เหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ และต้องมีส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่เข้ามาในช่วงที่มีวิกฤติการณ์ความขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรงของคนในชาติ จึงมีความมุ่งหมายที่จะดำเนินการใน 3 เรื่องที่สำคัญคือ การยุติความขัดแย้งแตกแยก การแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการวางรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่ก่อนที่จะนำพาประเทศกลับไปสู่การเลือกตั้ง เพื่อเรียกร้องความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา และการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ จึงมีความสำคัญต่อบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง และเชื่อมั่นว่าคนไทยทุกคนต้องการเห็นการเมืองที่มีความโปร่งใส สะอาด และมีความเป็นธรรมมากขึ้น ไม่ต้องการธุรกิจการเมืองที่เข้ามาหาประโยชน์ ถ้าการเมืองไม่สะอาด เราก็จะได้นักการเมืองที่ไม่ดีและไม่ได้รัฐบาลที่มีคุณภาพ
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลมีช่วงระยะเวลาที่ไม่ยาวนัก จึงได้มุ่งเน้นการวางรากฐานทางเศรษฐกิจภายใต้ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นหลักในการบริหาร ในทุก ๆ ด้าน พร้อมกันนี้รัฐบาลได้ใช้ยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” ที่เน้นให้ประชาชนได้รู้จักการบริหารทรัพยากร คือการบริหารงบประมาณ ตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับหมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ซึ่งถือเป็นวิธีการในการวางรากฐานที่เน้นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ และให้ความสำคัญกับโครงการต่าง ๆ ที่ผู้นำชุมชนได้ร่วมกันคิดขึ้นมา เพื่อเสริมสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็ง
ด้านสังคม รัฐบาลได้เน้นเรื่องการสร้างคุณธรรมและจริยธรรม และส่วนสำคัญที่สุดคือ “การสร้างคน” เพราะการสร้างคนคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ซึ่งที่ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ทางคณิตศาสตร์ และทางภาษาที่ดี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางนี้มานานแล้ว รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษา โดยปฎิรูปการศึกษาที่เน้นหลักคุณธรรมนำความรู้ ซึ่งได้รับผลตอบสนองจากเยาวชนมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่สามารถที่จะทำให้สำเร็จในระยะเวลาสั้น ๆ ได้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ว่า เป็นส่วนที่มีสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่ยึดเหนียวจิตใจของคนไทยทุกคน ที่ชนชาติอื่นไม่มี ดังจะเห็นได้จากเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ที่คนไทยทุกคนได้ร่วมกันแสดงความจงรักภักดี ที่ได้มีโอกาสเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากโรงพยาบาลศิริราช และก่อนที่จะถึงวันที่ 5 ธันวาคมนี้ ขอให้ทุกคนได้ช่วยกันจัดงาน อำนวยการและชักชวนให้คนไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการถวายพระพรชัยมงคลให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ถือป็นจุดศูนย์รวมของความสามัคคี และเป็นจุดศูนย์รวมของความจงรักภักดีของคนไทยทุกคน
ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงเรื่องของความมั่นคงว่า ไม่ใช่เรื่องของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่เป็นเรื่องของทุกคนที่เป็นคนไทย จะต้องมามีส่วนร่วมในการที่จะนำนโยบายเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม นโยบายอาจจะเขียนไว้ดี แต่ถ้าหากไม่มีโครงการ ไม่มีแผนงาน และไม่นำไปปฏิบัติ สิ่งที่เขียนไว้อย่างดีนั้น คงไม่บังเกิดผลอะไร จึงขอฝากสิ่งเหล่านี้ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้นำไปพิจารณา เพื่อที่จะนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม และเกิดความมั่นคงต่อชาติบ้านเมืองต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--