นายกรัฐมนตรี ยืนยันจะนำประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศไทยโดยเร็ว พร้อมยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
วันนี้ เวลา 09.30 น. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์ ในการเปิดการสัมมนากงสุลโลก The World Federation of Consuls ห้องวิภาวดีบอลรูม ซี โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนาในนามของรัฐบาลไทย พร้อมแสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนากงสุลโลกภาคพื้นเอเชียตะวันออก (The First East Asia Regional Conference of the World Federation of Consuls) ในปีนี้
นายกรัฐมนตรีทราบว่า ตั้งแต่มีการจัดตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2525 สหพันธ์กงสุลโลกหรือ The World Federation of Consul ได้จัดการประชุมกงสุลโลกขึ้นเป็นประจำทุกปีทั่วทุกมุมโลก และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีการจัดงานนี้ขึ้นที่กรุงเทพฯ พร้อมกับการจัดงานแสดงสินค้ามหกรรมกงสุลโลกเทิดพระเกียรติฯ (World Consular Fair 2007) ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการริเริ่มที่ น่ายกย่องเพราะจะช่วยส่งเสริมเครือข่ายทางธุรกิจการค้าและเครือข่ายประชาชนระหว่างกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความยินดีที่ในปีนี้ สหพันธ์กงสุลโลกครบรอบการดำเนินงานเป็นระยะเวลา 25 ปี และขอถือโอกาสนี้ กล่าวอวยพรให้สหพันธ์กงสุลโลกประสบความสุขสำเร็จยิ่งขึ้น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการร่วมเฉลิมฉลองของประเทศไทย ตามที่ทราบกันดีว่า ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษาในปีนี้ ตลอดระยะที่ทรงครองสิริราชสมบัตินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชกรณีเพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน อย่างหาที่เปรียบมิได้ โครงการตามพระราชดำริได้สร้างความกินดีอยู่ดีและประโยชน์สุขแก่ปวงชนไทยในทุกสาขา ดังนั้น จึงรู้สึกมีความยินดีเป็นพิเศษที่ทุกท่านได้มาร่วมงานในช่วงเวลาแห่งความสุขของชาวไทยในวาระโอกาสพิเศษนี้
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั้น สิ่งหนึ่งที่ไทย ไม่เคยเปลี่ยนคือ การเปิดตัวเองสู่โลกภายนอก ประเทศไทยมีความเต็มใจเสมอที่จะให้ข้อมูลต่างๆแก่มิตรประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่กำลังเผชิญอยู่ และขอถือโอกาสนี้ กล่าวถึง สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน
ทั้งนี้ สิ่งท้าทายที่คนไทยทุกคนต้องเผชิญมาตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2549 หนึ่งปีที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ด้วยกรอบระยะเวลาที่จำกัด รัฐบาลได้ยึดมั่นต่อระเบียบวาระของตัวเองในการปฏิรูปการเมือง เพื่อที่จะสร้างรัฐบาลประชาธิปไตยธรรมมาภิบาล และสร้างความมั่นใจทั้งระดับชาติและนานาชาติ เป็นที่น่ายินดีว่า ในขณะนี้เราได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เงื่อนไขเวลาที่ตั้งไว้ จะกลับสู่ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภาที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง
ไทยได้ดำเนินการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาธิปไตย และสนับสนุนความสมานฉันท์ ทั้งยังสนับสนุนหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล สิทธิของพลเมืองและเสรีภาพ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งผ่านความเห็นชอบ ด้วยการลงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ได้ให้ความสำคัญกับศีลธรรมและจริยธรรมของรัฐบาล จึงมั่นใจได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีความโปร่งใส และผู้นำทางการเมืองในอนาคตจะให้ความสนใจต่อเรื่องประโยชน์และสวัสดิการประชาชนสูงสุด
เมื่อเดือนที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 รัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้มั่นใจว่า ประชาชนได้รับข้อมูลและการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเสรีและยุติธรรม ดังที่จะได้พบเห็นการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองอยู่ทั่วไป นายกรัฐมนตรีมั่นใจว่า ไทยจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2008 ตามกำหนดการที่ได้วางไว้แน่นอน
นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณสถานกงสุลสำหรับการทำงานอย่างหนักตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ในการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทย โดยอธิบายให้แต่ละประเทศทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะฟื้นฟูประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง ข้อมูลเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจแก่ประเทศไทยและให้เราก้าวต่อไปข้างหน้า
ความต้องการสูงสุดของรัฐบาลชุดนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน วิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสังคมไทย เรียนรู้จากประสบการณ์ของความผิดพลาดที่ผ่านมา เมื่อเวลา 10 ปีได้ผ่านพ้นไป ประเทศไทยได้เติบโตและเข้มแข็ง ปัจจุบันไทยเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันและปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพของสหรัฐฯ โดยไทยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงแนวทางสายกลางว่า เป็นปรัญชาที่ถูกนำมาใช้ปฏิบัติ เพื่อเผชิญหน้าต่อความท้าทายต่างๆ ของโลกโลกาภิวัตน์ ที่สภาพแวดล้อมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง เพื่อโต้ตอบต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ ประเทศไทยได้นำแนวทางที่มีดุลยภาพมาปรับใช้ พร้อมๆ ไปกับการใช้ความอดทน การปกป้อง ระมัดระวัง ด้วยปัญญาและความสุขุมรอบคอบหรือจะพูดอย่างสั้นๆ ว่าเป็น รูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลได้ริเริ่มยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่อยู่บนพื้นฐานหลักการเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม คือ มีการเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมๆไปกับการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่มีความก้าวหน้า ไม่เพียงแต่สามารถวัดได้จากตัวเลขต่างๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงชีวิตที่มีคุณภาพด้วย เพราะการเติบโตไม่ใช่แค่ความสามารถในการแข่งขัน แต่ยังรวมถึงความพอใจและความเป็นธรรมทางสังคมด้วย เพราะเหตุนี้ ความหลากหลายของเศรษฐกิจไทยในอนาคตนั้น จะต้องเข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า คนไทยจะได้รับประโยชน์จากโอกาสของโลกาภิวัตน์
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวต่อไปว่า คณะกงสุลนั้นถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของความพยายามของไทย ในการเผยแพร่ปรัญชา “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปยังในประเทศนั้นๆ ขณะเดียวกันก็ยืนยันถึงความมุ่งมั่นของไทย ต่อเศรษฐกิจเสรีการตลาด และเป็นมิตรต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งคณะกงสุลจะมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของประเทศไทยในเศรษฐกิจโลก รวมทั้งความแข็งแกร่งของพื้นฐานเศรษฐกิจไทย
แม้นว่า การพัฒนาต่างๆ ของโลกอาจทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี อาจมีการชะลอตัวไปบ้าง มูลค่าการส่งออกในปีนี้ ยังเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 16.1 รวมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศก็มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันเงินสำรองอัตราแลกเปลี่ยนของไทยอยู่ที่ 80 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และยังมีการลงทุนระยะยาวในโครงสร้างพื้นฐานและด้านพลังงาน พร้อมๆ กับการปรับปรุงเงื่อนไขทางการค้าและการลงทุนต่างๆ ซึ่งเชื่อว่า ความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างไทยและประเทศต่างๆ จะพัฒนาจากความเข้มแข็งสู่ความแข็งแกร่ง
ขณะเดียวกัน เอเชียโดยรวมก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นได้ถึงโอกาสและความท้าทาย ความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ก็มีการปรับสถานะตนเอง เพื่อเป็นทั้งแรงขับเคลื่อนให้เอเชียมีความเข้มแข็ง และให้เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคมากยิ่งขึ้น อาเซียนในปีที่ 40 นี้ จะมุ่งหน้าสู่การสร้างชุมชนอาเซียนในปีค.ศ. 2015 ในสัปดาห์หน้านี้ไทยจะร่วมกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเพื่อลงนามปฏิญญาอาเซียน ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อประชากรของตนเอง และเวลา ที่เปลี่ยนไปได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไทยเองก็มีบทบาทสำคัญในกระบวนการดังกล่าวนี้
ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยไม่เพียงคงบทบาทของตนเองในการพัฒนาอาเซียนและภูมิภาค แต่ยังได้ขยายความร่วมมือกับชุมชนระหว่างประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์การสหประชาชาติ โดยหวังว่าจะสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางกับหุ้นส่วนต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ การติดต่อกันกันเองภายในชุมชนโลกที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ประเทศทั้งหลาย ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ต่างก็มีบทบาทและความรับผิดชอบในการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน เพื่อต่อสู้กับความท้าทายต่างๆ ของมนุษยชาติ
ในตอนท้ายนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าว ถึงการสัมมนาในครั้งนี้ว่า เป็นการรวบรวมบุคคลากรสำคัญในหลากหลายสาขา ทั้งกงสุลและคณะทูต นักธุรกิจและสื่อมวลชน ซึ่งล้วนแต่เป็น “เพื่อนของประเทศไทย” และเชื่อมั่นว่า การสัมมนาในครั้งนี้และกิจกรรมระหว่างประเทศ จะเป็นการสร้างโอกาส เพื่อความร่วมมือด้านธุรกิจ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม รวมถึงมิตรภาพที่ยั่งยืนด้วย และขอให้การประชุมครั้งนี้ ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์ ในการเปิดการสัมมนากงสุลโลก The World Federation of Consuls ห้องวิภาวดีบอลรูม ซี โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนาในนามของรัฐบาลไทย พร้อมแสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนากงสุลโลกภาคพื้นเอเชียตะวันออก (The First East Asia Regional Conference of the World Federation of Consuls) ในปีนี้
นายกรัฐมนตรีทราบว่า ตั้งแต่มีการจัดตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2525 สหพันธ์กงสุลโลกหรือ The World Federation of Consul ได้จัดการประชุมกงสุลโลกขึ้นเป็นประจำทุกปีทั่วทุกมุมโลก และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีการจัดงานนี้ขึ้นที่กรุงเทพฯ พร้อมกับการจัดงานแสดงสินค้ามหกรรมกงสุลโลกเทิดพระเกียรติฯ (World Consular Fair 2007) ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นการริเริ่มที่ น่ายกย่องเพราะจะช่วยส่งเสริมเครือข่ายทางธุรกิจการค้าและเครือข่ายประชาชนระหว่างกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความยินดีที่ในปีนี้ สหพันธ์กงสุลโลกครบรอบการดำเนินงานเป็นระยะเวลา 25 ปี และขอถือโอกาสนี้ กล่าวอวยพรให้สหพันธ์กงสุลโลกประสบความสุขสำเร็จยิ่งขึ้น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการร่วมเฉลิมฉลองของประเทศไทย ตามที่ทราบกันดีว่า ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษาในปีนี้ ตลอดระยะที่ทรงครองสิริราชสมบัตินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชกรณีเพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน อย่างหาที่เปรียบมิได้ โครงการตามพระราชดำริได้สร้างความกินดีอยู่ดีและประโยชน์สุขแก่ปวงชนไทยในทุกสาขา ดังนั้น จึงรู้สึกมีความยินดีเป็นพิเศษที่ทุกท่านได้มาร่วมงานในช่วงเวลาแห่งความสุขของชาวไทยในวาระโอกาสพิเศษนี้
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานั้น สิ่งหนึ่งที่ไทย ไม่เคยเปลี่ยนคือ การเปิดตัวเองสู่โลกภายนอก ประเทศไทยมีความเต็มใจเสมอที่จะให้ข้อมูลต่างๆแก่มิตรประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่กำลังเผชิญอยู่ และขอถือโอกาสนี้ กล่าวถึง สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน
ทั้งนี้ สิ่งท้าทายที่คนไทยทุกคนต้องเผชิญมาตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2549 หนึ่งปีที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย ด้วยกรอบระยะเวลาที่จำกัด รัฐบาลได้ยึดมั่นต่อระเบียบวาระของตัวเองในการปฏิรูปการเมือง เพื่อที่จะสร้างรัฐบาลประชาธิปไตยธรรมมาภิบาล และสร้างความมั่นใจทั้งระดับชาติและนานาชาติ เป็นที่น่ายินดีว่า ในขณะนี้เราได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เงื่อนไขเวลาที่ตั้งไว้ จะกลับสู่ประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภาที่สมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง
ไทยได้ดำเนินการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาธิปไตย และสนับสนุนความสมานฉันท์ ทั้งยังสนับสนุนหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล สิทธิของพลเมืองและเสรีภาพ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งผ่านความเห็นชอบ ด้วยการลงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ได้ให้ความสำคัญกับศีลธรรมและจริยธรรมของรัฐบาล จึงมั่นใจได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีความโปร่งใส และผู้นำทางการเมืองในอนาคตจะให้ความสนใจต่อเรื่องประโยชน์และสวัสดิการประชาชนสูงสุด
เมื่อเดือนที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกา ให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 รัฐบาลและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้มั่นใจว่า ประชาชนได้รับข้อมูลและการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเสรีและยุติธรรม ดังที่จะได้พบเห็นการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองอยู่ทั่วไป นายกรัฐมนตรีมั่นใจว่า ไทยจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2008 ตามกำหนดการที่ได้วางไว้แน่นอน
นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณสถานกงสุลสำหรับการทำงานอย่างหนักตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ในการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทย โดยอธิบายให้แต่ละประเทศทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะฟื้นฟูประชาธิปไตยให้เข้มแข็ง ข้อมูลเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจแก่ประเทศไทยและให้เราก้าวต่อไปข้างหน้า
ความต้องการสูงสุดของรัฐบาลชุดนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน วิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสังคมไทย เรียนรู้จากประสบการณ์ของความผิดพลาดที่ผ่านมา เมื่อเวลา 10 ปีได้ผ่านพ้นไป ประเทศไทยได้เติบโตและเข้มแข็ง ปัจจุบันไทยเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันและปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพของสหรัฐฯ โดยไทยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงแนวทางสายกลางว่า เป็นปรัญชาที่ถูกนำมาใช้ปฏิบัติ เพื่อเผชิญหน้าต่อความท้าทายต่างๆ ของโลกโลกาภิวัตน์ ที่สภาพแวดล้อมทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและลึกซึ้ง เพื่อโต้ตอบต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ ประเทศไทยได้นำแนวทางที่มีดุลยภาพมาปรับใช้ พร้อมๆ ไปกับการใช้ความอดทน การปกป้อง ระมัดระวัง ด้วยปัญญาและความสุขุมรอบคอบหรือจะพูดอย่างสั้นๆ ว่าเป็น รูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย
ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลได้ริเริ่มยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่อยู่บนพื้นฐานหลักการเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม คือ มีการเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมๆไปกับการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่มีความก้าวหน้า ไม่เพียงแต่สามารถวัดได้จากตัวเลขต่างๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงชีวิตที่มีคุณภาพด้วย เพราะการเติบโตไม่ใช่แค่ความสามารถในการแข่งขัน แต่ยังรวมถึงความพอใจและความเป็นธรรมทางสังคมด้วย เพราะเหตุนี้ ความหลากหลายของเศรษฐกิจไทยในอนาคตนั้น จะต้องเข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า คนไทยจะได้รับประโยชน์จากโอกาสของโลกาภิวัตน์
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวต่อไปว่า คณะกงสุลนั้นถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของความพยายามของไทย ในการเผยแพร่ปรัญชา “เศรษฐกิจพอเพียง” ไปยังในประเทศนั้นๆ ขณะเดียวกันก็ยืนยันถึงความมุ่งมั่นของไทย ต่อเศรษฐกิจเสรีการตลาด และเป็นมิตรต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งคณะกงสุลจะมีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของประเทศไทยในเศรษฐกิจโลก รวมทั้งความแข็งแกร่งของพื้นฐานเศรษฐกิจไทย
แม้นว่า การพัฒนาต่างๆ ของโลกอาจทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี อาจมีการชะลอตัวไปบ้าง มูลค่าการส่งออกในปีนี้ ยังเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 16.1 รวมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศก็มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันเงินสำรองอัตราแลกเปลี่ยนของไทยอยู่ที่ 80 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ และยังมีการลงทุนระยะยาวในโครงสร้างพื้นฐานและด้านพลังงาน พร้อมๆ กับการปรับปรุงเงื่อนไขทางการค้าและการลงทุนต่างๆ ซึ่งเชื่อว่า ความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างไทยและประเทศต่างๆ จะพัฒนาจากความเข้มแข็งสู่ความแข็งแกร่ง
ขณะเดียวกัน เอเชียโดยรวมก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นได้ถึงโอกาสและความท้าทาย ความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ก็มีการปรับสถานะตนเอง เพื่อเป็นทั้งแรงขับเคลื่อนให้เอเชียมีความเข้มแข็ง และให้เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคมากยิ่งขึ้น อาเซียนในปีที่ 40 นี้ จะมุ่งหน้าสู่การสร้างชุมชนอาเซียนในปีค.ศ. 2015 ในสัปดาห์หน้านี้ไทยจะร่วมกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเพื่อลงนามปฏิญญาอาเซียน ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อประชากรของตนเอง และเวลา ที่เปลี่ยนไปได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไทยเองก็มีบทบาทสำคัญในกระบวนการดังกล่าวนี้
ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยไม่เพียงคงบทบาทของตนเองในการพัฒนาอาเซียนและภูมิภาค แต่ยังได้ขยายความร่วมมือกับชุมชนระหว่างประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์การสหประชาชาติ โดยหวังว่าจะสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางกับหุ้นส่วนต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ การติดต่อกันกันเองภายในชุมชนโลกที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ประเทศทั้งหลาย ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ต่างก็มีบทบาทและความรับผิดชอบในการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน เพื่อต่อสู้กับความท้าทายต่างๆ ของมนุษยชาติ
ในตอนท้ายนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าว ถึงการสัมมนาในครั้งนี้ว่า เป็นการรวบรวมบุคคลากรสำคัญในหลากหลายสาขา ทั้งกงสุลและคณะทูต นักธุรกิจและสื่อมวลชน ซึ่งล้วนแต่เป็น “เพื่อนของประเทศไทย” และเชื่อมั่นว่า การสัมมนาในครั้งนี้และกิจกรรมระหว่างประเทศ จะเป็นการสร้างโอกาส เพื่อความร่วมมือด้านธุรกิจ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม รวมถึงมิตรภาพที่ยั่งยืนด้วย และขอให้การประชุมครั้งนี้ ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายทั้งในปัจจุบันและอนาคต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--