นายเดวิด ลิปแมน (Mr. David Lipman) อธิบดีกรมสารนิเทศ สำนักงานใหญ่คณะกรรมาธิการยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ พร้อมด้วยนายฟรีดริช ฮัมเบอร์เกอร์ (Mr. Friedrich Hamburger)เอกอัครราชทูต/หัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.ไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
วันนี้ เวลา 11.00 น. นายเดวิด ลิปแมน (Mr. David Lipman) อธิบดีกรมสารนิเทศ สำนักงานใหญ่คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission-EC) ณ กรุงบรัสเซลส์ พร้อมด้วยนายฟรีดริช ฮัมเบอร์เกอร์ (Mr. Friedrich Hamburger) เอกอัครราชทูต/หัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.ไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ1 ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับนายเดวิด ลิปแมน อธิบดีกรมสารนิเทศและนายฟรีดริช ฮัมเบอร์เกอร์ เอกอัครราชทูต/หัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย ในโอกาสเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมสัมมนาระหว่างเจ้าหน้าที่สารนิเทศของสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำภูมิภาคเอเชีย ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ
ในโอกาสนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง การเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 (the 13th ASEAN Summit) ที่ประเทศสิงคโปร์ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะ ในวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2550 ที่จะถึงนี้ ว่าจะมีการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษอาเซียน — สหภาพยุโรป (ASEAN-EU Commemorative Summit) ระหว่างการประชุมดังกล่าวด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อาเซียนและสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มกันมาเป็นเวลานาน และสหภาพยุโรปถือเป็นคู่เจรจาที่อาเซียนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
นายฮัมเบอร์เกอร์ หัวหน้าสำนักงาน EC กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ และจะยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้น เนื่องจากตัวแทนจากประเทศไทยจะดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน รวมถึงในปีหน้า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียน
ทั้งนี้ โฆษกฯ ย้ำว่า ประเทศไทยได้ก้าวสู่วิถีทางประชาธิปไตย โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลต้องกระทำให้บรรลุผล และขณะนี้ ถือว่ารัฐบาลประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ตามเงื่อนไขเวลา ส่วนการประกาศใช้กฎอัยการศึกที่ยังคงมีอยู่บางพื้นที่นั้น ยังคงมีอยู่เฉพาะในบริเวณชายแดนเท่านั้น เพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคง การสกัดกั้นกระบวนการค้ามนุษย์และการลักลอบการค้ายาเสพติดเท่านั้น มิใช่เพื่อ การกีดกันเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งอธิบดีสารนิเทศEC แสดงความเข้าใจและได้กล่าวว่า เขามีโอกาสได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกับสื่อมวลชนภาษาอังกฤษในประเทศไทยในระหว่างการเยือนครั้งนี้ และยินดีที่ได้ทราบจากสื่อมวลชนว่า รัฐบาลไทยมิได้กีดกันการเผยแพร่ข่าวสาร รวมทั้งการที่สื่อมวลชนสามารถเผยแพร่ข่าวสารในแง่ลบเกี่ยวกับผู้นำประเทศและผู้นำกองทัพได้อย่างเสรี
นอกจากนี้ อธิบดีกรมสารนิเทศประจำสำนักงานใหญ่คณะกรรมาธิการยุโรป ได้เปิดเผยว่าการเดินทางมาเยือนประเทศไทยในครั้งนี้ ว่านอกเหนือจากการเข้าร่วมการสัมมนาที่เป็นการร่วมตัวกันระหว่างเจ้าหน้าที่สารนิเทศของ EC ในภูมิภาคนี้แล้วนั้น ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับทางการไทยในด้านการประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและภาพลักษณ์ของ EU ต่อไทยด้วย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นระหว่างกัน
ที่ผ่านประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยยังไม่ค่อยทราบว่า EU มีบทบาทอย่างไร และยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ EU ได้ดำเนินการในประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งปัจจุบัน ร้อยละ 65 ของการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาโลกมาจาก EU ทั้งสิ้น ซึ่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและภาพลักษณ์ของ EU ในสังคมไทยอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีนั้น มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทยและEU ที่กำลังดำเนินการอยู่ อาทิ การเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างไทยกับประชาคมยุโรป Framework Agreement on Partnership and Cooperation between the Kingdom of Thailand and the European Community- PCA ซึ่งขณะนี้กำลังเจรจากันอยู่และหัวนายฮัมเบอร์เกอร์ในฐานะหัวหน้าสำนักงาน EC ประจำประเทศไทย เห็นว่า น่าจะสามารถลงนามได้ในปีหน้า เช่นเดียวกับ การเปิดการเจรจาการค้าเสรี FTA กับกลุ่มประเทศอาเซียน หรือ ASEAN-EU FTA ซึ่งทาง EC ได้เจรจาความตกลงกับไทยและบางประเทศในอาเซียนไปแล้ว รวมทั้ง การจัดทำ Country Strategy Programme ซึ่งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆกับไทย และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ การยกร่าง EU Reform Treaty ซึ่งจะทำให้ EU มีบทบาทที่สำคัญยิ่งขึ้นไปอีกในเวทีระหว่างประเทศ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 11.00 น. นายเดวิด ลิปแมน (Mr. David Lipman) อธิบดีกรมสารนิเทศ สำนักงานใหญ่คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission-EC) ณ กรุงบรัสเซลส์ พร้อมด้วยนายฟรีดริช ฮัมเบอร์เกอร์ (Mr. Friedrich Hamburger) เอกอัครราชทูต/หัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.ไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ1 ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับนายเดวิด ลิปแมน อธิบดีกรมสารนิเทศและนายฟรีดริช ฮัมเบอร์เกอร์ เอกอัครราชทูต/หัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย ในโอกาสเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมสัมมนาระหว่างเจ้าหน้าที่สารนิเทศของสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำภูมิภาคเอเชีย ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ
ในโอกาสนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึง การเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 (the 13th ASEAN Summit) ที่ประเทศสิงคโปร์ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะ ในวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2550 ที่จะถึงนี้ ว่าจะมีการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษอาเซียน — สหภาพยุโรป (ASEAN-EU Commemorative Summit) ระหว่างการประชุมดังกล่าวด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อาเซียนและสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ในระดับกลุ่มกันมาเป็นเวลานาน และสหภาพยุโรปถือเป็นคู่เจรจาที่อาเซียนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
นายฮัมเบอร์เกอร์ หัวหน้าสำนักงาน EC กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้ และจะยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้น เนื่องจากตัวแทนจากประเทศไทยจะดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน รวมถึงในปีหน้า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซียน
ทั้งนี้ โฆษกฯ ย้ำว่า ประเทศไทยได้ก้าวสู่วิถีทางประชาธิปไตย โดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลต้องกระทำให้บรรลุผล และขณะนี้ ถือว่ารัฐบาลประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ตามเงื่อนไขเวลา ส่วนการประกาศใช้กฎอัยการศึกที่ยังคงมีอยู่บางพื้นที่นั้น ยังคงมีอยู่เฉพาะในบริเวณชายแดนเท่านั้น เพื่อวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคง การสกัดกั้นกระบวนการค้ามนุษย์และการลักลอบการค้ายาเสพติดเท่านั้น มิใช่เพื่อ การกีดกันเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งอธิบดีสารนิเทศEC แสดงความเข้าใจและได้กล่าวว่า เขามีโอกาสได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกับสื่อมวลชนภาษาอังกฤษในประเทศไทยในระหว่างการเยือนครั้งนี้ และยินดีที่ได้ทราบจากสื่อมวลชนว่า รัฐบาลไทยมิได้กีดกันการเผยแพร่ข่าวสาร รวมทั้งการที่สื่อมวลชนสามารถเผยแพร่ข่าวสารในแง่ลบเกี่ยวกับผู้นำประเทศและผู้นำกองทัพได้อย่างเสรี
นอกจากนี้ อธิบดีกรมสารนิเทศประจำสำนักงานใหญ่คณะกรรมาธิการยุโรป ได้เปิดเผยว่าการเดินทางมาเยือนประเทศไทยในครั้งนี้ ว่านอกเหนือจากการเข้าร่วมการสัมมนาที่เป็นการร่วมตัวกันระหว่างเจ้าหน้าที่สารนิเทศของ EC ในภูมิภาคนี้แล้วนั้น ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับทางการไทยในด้านการประชาสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและภาพลักษณ์ของ EU ต่อไทยด้วย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นระหว่างกัน
ที่ผ่านประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยยังไม่ค่อยทราบว่า EU มีบทบาทอย่างไร และยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ EU ได้ดำเนินการในประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งปัจจุบัน ร้อยละ 65 ของการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาโลกมาจาก EU ทั้งสิ้น ซึ่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและภาพลักษณ์ของ EU ในสังคมไทยอีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีนั้น มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทยและEU ที่กำลังดำเนินการอยู่ อาทิ การเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างไทยกับประชาคมยุโรป Framework Agreement on Partnership and Cooperation between the Kingdom of Thailand and the European Community- PCA ซึ่งขณะนี้กำลังเจรจากันอยู่และหัวนายฮัมเบอร์เกอร์ในฐานะหัวหน้าสำนักงาน EC ประจำประเทศไทย เห็นว่า น่าจะสามารถลงนามได้ในปีหน้า เช่นเดียวกับ การเปิดการเจรจาการค้าเสรี FTA กับกลุ่มประเทศอาเซียน หรือ ASEAN-EU FTA ซึ่งทาง EC ได้เจรจาความตกลงกับไทยและบางประเทศในอาเซียนไปแล้ว รวมทั้ง การจัดทำ Country Strategy Programme ซึ่งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆกับไทย และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ การยกร่าง EU Reform Treaty ซึ่งจะทำให้ EU มีบทบาทที่สำคัญยิ่งขึ้นไปอีกในเวทีระหว่างประเทศ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--