นายกรัฐมนตรีระบุรัฐบาลมีหน้าที่ให้การสนับสนุน กกต. ในการเลือกตั้ง และกำชับส่วนราชการทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องบัตรเลือกตั้ง และรณรงค์ให้ออกไปใช้สิทธิตามที่ตั้งเป้าไว้
เมื่อเวลา 14.05 น. ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2) สนามเป้า กรุงเทพฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากปฏิบัติราชการที่จังหวัด เพชรบุรี ถึงกรณีที่จะมีการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยเฉพาะเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่า ได้มีการพูดถึงเรื่องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร และได้พูดกับผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในส่วนของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นว่า จะต้องลงไปทำความเข้าใจกับประชาชน ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยน่าจะได้นำตัวอย่างของบัตรลงคะแนนไปทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ให้แนวทางไว้แล้ว ส่วนการดำเนินการในระดับท้องถิ่นนั้น ยังไม่ได้รับรายงานว่า มีความคืบหน้ามากน้อยแค่ไหน แต่ได้กำหนดแนวทางไว้แล้วว่า น่าจะนำบัตรลงคะแนนทั้ง 2 แบบ ไปชี้แจงกับประชาชนให้ได้รับทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่ากฎระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถือเรื่องเล็กน้อยเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้บรรยากาศการหาเสียงค่อนข้างเงียบเหงา รัฐบาลจะมีส่วนร่วมทำให้ประชาชนตื่นตัวเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ฐบาลคงไม่สามารถแก้ไขระเบียบที่ทาง กกต. ออกไว้ได้ เป็นเรื่องของพรรคการเมืองที่จะต้องหารือกับ กกต.ในส่วนของรัฐบาลมีหน้าที่ให้การสนับสนุน กกต.เท่านั้น และทำในสิ่งที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะในส่วนราชการต่างๆ ทั้งมหาดไทย ศึกษาธิการ สาธารณสุข แรงงาน เราคงไม่สามารถไปให้ข้อคิดเห็น หรือช่วยเหลือพรรคการเมืองได้ แต่เราจะให้การสนับสนุน กกต.
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้รัฐบาลได้มีการประเมินประชาชนที่จะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งว่าจะถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการประเมิน เพียงแต่ได้สอบถามผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่ได้ตอบรับว่าจะพยายามทำให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ ส่วนที่มีการประเมินว่ากลุ่มมือปืนจะเข้ามามีบทบาทในช่วงการเลือกตั้งนั้น ในเรื่องนี้ทาง กกต.ได้ประสานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยตรง โดยมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติงานที่ทำงานร่วมกัน โดยมี พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงานในส่วนนี้ ถือว่า เป็นการทำงานตรงซึ่งกันและกัน รัฐบาลไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะทาง กกต.ต้องการรักษาความลับ และทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยตรง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ กกต. มีมติตัดสิทธิอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมือง ถือว่าถูกต้องหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่มีหน้าที่ไปวิจารณ์ว่าใครทำผิดทำถูก คงจะเป็นหน้าที่ของแต่ละส่วน และในส่วนของ กกต. ก็มีคณะอนุกรรมการที่ศึกษาและพิจารณาในเรื่องนี้ ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่า มติ กกต.ต้องการสกัดพรรคพลังประชาชน แต่ทำให้เกิดความวุ่นวายกับพรรคการเมืองอื่นๆ นั้น ได้เรียนแล้วว่า รัฐบาล มีหน้าที่ให้การสนับสนุน กกต. จึงไม่มีหน้าที่เข้าไปล่วงเกินในส่วนหนึ่งส่วนใด เพราะบทบาทนี้เป็นบทบาทใหม่ และค่อนข้างจำกัด ข้อดีคือรัฐบาลไม่ลงไปแข่งขันด้วย หากรัฐบาลลงไปแข่งขัน คงมีปัญหามากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม คิดว่าประชาชนคงจะเข้าใจในเรื่องนี้ว่า แต่ละช่วงเวลา แต่ละคน จะมีบทบาทอย่างไร บางคนถูกลิดรอนบ้าง ถูกจำกัดบ้าง ก็เป็นแต่ละช่วงเวลาที่จะทำงานการเมืองต่อไป คิดว่า ทุกคนยังมีเวลาอยู่ทั้งนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่า มติ กกต. ในเรื่องนี้เป็นการรับลูกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพื่อสกัดกั้นอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยไม่ให้เคลื่อนไหวทางการเมือง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นมุมมองแต่ละคน ถ้าเรามองแง่ดี คือเมื่อศาลตัดสินชี้ขาดไปแล้ว ทาง กกต. ก็ยังไม่ยืนยันในคำวินิจฉัยของศาล แต่เป็นเรื่องที่ได้ทำหลายขั้นตอน และเป็นไปตามวิถีทางของการพิจารณา ไม่น่าจะบอกว่า เป็นเรื่องของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยเฉพาะอยู่ที่ว่า เป็นความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมของเราพอสมควร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อเวลา 14.05 น. ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2) สนามเป้า กรุงเทพฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับจากปฏิบัติราชการที่จังหวัด เพชรบุรี ถึงกรณีที่จะมีการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการลงคะแนนใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยเฉพาะเรื่องบัตรเลือกตั้ง ว่า ได้มีการพูดถึงเรื่องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร และได้พูดกับผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในส่วนของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นว่า จะต้องลงไปทำความเข้าใจกับประชาชน ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยน่าจะได้นำตัวอย่างของบัตรลงคะแนนไปทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ให้แนวทางไว้แล้ว ส่วนการดำเนินการในระดับท้องถิ่นนั้น ยังไม่ได้รับรายงานว่า มีความคืบหน้ามากน้อยแค่ไหน แต่ได้กำหนดแนวทางไว้แล้วว่า น่าจะนำบัตรลงคะแนนทั้ง 2 แบบ ไปชี้แจงกับประชาชนให้ได้รับทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่ากฎระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถือเรื่องเล็กน้อยเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้บรรยากาศการหาเสียงค่อนข้างเงียบเหงา รัฐบาลจะมีส่วนร่วมทำให้ประชาชนตื่นตัวเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้อย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ฐบาลคงไม่สามารถแก้ไขระเบียบที่ทาง กกต. ออกไว้ได้ เป็นเรื่องของพรรคการเมืองที่จะต้องหารือกับ กกต.ในส่วนของรัฐบาลมีหน้าที่ให้การสนับสนุน กกต.เท่านั้น และทำในสิ่งที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะในส่วนราชการต่างๆ ทั้งมหาดไทย ศึกษาธิการ สาธารณสุข แรงงาน เราคงไม่สามารถไปให้ข้อคิดเห็น หรือช่วยเหลือพรรคการเมืองได้ แต่เราจะให้การสนับสนุน กกต.
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้รัฐบาลได้มีการประเมินประชาชนที่จะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งว่าจะถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการประเมิน เพียงแต่ได้สอบถามผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่ได้ตอบรับว่าจะพยายามทำให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ ส่วนที่มีการประเมินว่ากลุ่มมือปืนจะเข้ามามีบทบาทในช่วงการเลือกตั้งนั้น ในเรื่องนี้ทาง กกต.ได้ประสานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยตรง โดยมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติงานที่ทำงานร่วมกัน โดยมี พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงานในส่วนนี้ ถือว่า เป็นการทำงานตรงซึ่งกันและกัน รัฐบาลไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะทาง กกต.ต้องการรักษาความลับ และทำงานร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยตรง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ กกต. มีมติตัดสิทธิอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมือง ถือว่าถูกต้องหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่มีหน้าที่ไปวิจารณ์ว่าใครทำผิดทำถูก คงจะเป็นหน้าที่ของแต่ละส่วน และในส่วนของ กกต. ก็มีคณะอนุกรรมการที่ศึกษาและพิจารณาในเรื่องนี้ ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่า มติ กกต.ต้องการสกัดพรรคพลังประชาชน แต่ทำให้เกิดความวุ่นวายกับพรรคการเมืองอื่นๆ นั้น ได้เรียนแล้วว่า รัฐบาล มีหน้าที่ให้การสนับสนุน กกต. จึงไม่มีหน้าที่เข้าไปล่วงเกินในส่วนหนึ่งส่วนใด เพราะบทบาทนี้เป็นบทบาทใหม่ และค่อนข้างจำกัด ข้อดีคือรัฐบาลไม่ลงไปแข่งขันด้วย หากรัฐบาลลงไปแข่งขัน คงมีปัญหามากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม คิดว่าประชาชนคงจะเข้าใจในเรื่องนี้ว่า แต่ละช่วงเวลา แต่ละคน จะมีบทบาทอย่างไร บางคนถูกลิดรอนบ้าง ถูกจำกัดบ้าง ก็เป็นแต่ละช่วงเวลาที่จะทำงานการเมืองต่อไป คิดว่า ทุกคนยังมีเวลาอยู่ทั้งนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่า มติ กกต. ในเรื่องนี้เป็นการรับลูกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพื่อสกัดกั้นอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยไม่ให้เคลื่อนไหวทางการเมือง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นมุมมองแต่ละคน ถ้าเรามองแง่ดี คือเมื่อศาลตัดสินชี้ขาดไปแล้ว ทาง กกต. ก็ยังไม่ยืนยันในคำวินิจฉัยของศาล แต่เป็นเรื่องที่ได้ทำหลายขั้นตอน และเป็นไปตามวิถีทางของการพิจารณา ไม่น่าจะบอกว่า เป็นเรื่องของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยเฉพาะอยู่ที่ว่า เป็นความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมของเราพอสมควร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--