พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมสุดยอดแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ครั้งที่ 3
วันนี้ (19 พฤศจิกายน 2550) เวลา 16.15 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ ห้อง Tanglin Ballroom โรงแรม Shangri-la สาธารณรัฐสิงคโปร์ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมสุดยอดแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ครั้งที่ 3 (3rd Indonesia —Malaysia-Thailand Growth Triangle Summit —IMT-GT) พร้อมผู้นำประเทศสมาชิกประกอบด้วย ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Dr. Susilo Bambang Yudhoyono) ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี (Dato’ Seri Abdullah Ahmad Badawi) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ย้ำความร่วมมือ IMT-GT เชื่อมโยงโลจิกสิต์และเป็นแหล่งพลังงานและพลังงานทางเลือกของภูมิภาค สามารถสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีในฐานะประธานการประชุมสุดยอด IMT-GT ครั้งที่ 3 นี้ว่า นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เสนอ ให้ยกระดับการประชุม IMT-GT ให้เป็นการประชุมในระดับผู้นำ เมื่อปีค.ศ. 2005 นั้น กลายเป็นประเพณีปฏิบัติ ที่ผู้นำของสามประเทศสมาชิกจะได้พบปะหารือกันในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน
ปีนี้ยิ่งมีความสำคัญยิ่ง ในโอกาสเฉลิมฉลองการก่อตั้งอาเซียนครบรอบ 40 ปี และได้มีการลงนามรับรองปฏิญญาอาเซียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นชุมชนอาเซียนปี ค.ศ. 2015 ดังนั้น IMT-GT และความร่วมสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ และกรอบความร่วมมืออื่นๆ นั้น จะยิ่งส่งเสริมและทำให้วิสัยทัศน์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริง โดยเร่งพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประชาชนกับประชาชนและ ชุมชนภายในอนุภูมิภาคนี้ เมื่อการประชุมสุดยอด IMT-GT ครั้งที่ 2 ณ เมืองเซบู ได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการโรดแมท IMT-GT ครั้งที่ 1 ระหว่างค.ศ. 2007-2011 (the First IMT-GT Roadmap for 2007-2011) ด้วยมีเป้าหมายเพื่อความเจริญก้าวหน้า ความรุ่งเรืองและสันติสุขของอนุภูมิภาค ด้วยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคนี้ โครงการต่างๆของ IMT-GT ได้มีการดำเนินการตั้งแต่ปีแรกของแผนปฏิบัติโรดแมท IMT-GT
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการดำเนินงานของประเทศไทยในปีนี้ว่า ไทยได้มีความพยายามอย่างหนักเพื่อให้สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสันติภาพและความปรองดอง ปฏิรูปการเมือง รักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ และวางพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันความท้าทายต่างๆ โดยรัฐบาลได้ให้สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับเขตพัฒนาพิเศษในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูลและอีก 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา โดยมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เตรียมเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนา ให้รัฐบาลใหม่พิจารณาเพื่อดำเนินการในปีหน้า
ขณะเดียวกัน ยังมีความร่วมมือระดับทวิภาคีระหว่างสมาชิกแต่ละประเทศ ยังเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของ IMT-GT อาทิ ประเทศไทยได้ริเริ่มหลัก 3 E ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านการศึกษา การจ้างงานและการประกอบการ ซึ่งในการเฉลิมฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-มาเลเซียครบรอบ 50 ปีนั้น ทั้งสองประเทศจะร่วมเปิดสะพานมิตรภาพที่เชื่อมโยงบูเก๊ะตาและบุกิต บุหงา นอกจากนี้ ไทยยังจะมีโครงการใหม่ๆ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินโดนีเซียครบรอบ 60 ปี ในปี ค.ศ. 2009 อีกด้วย
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เพื่อให้วิสัยทัศน์อาเซียนและ ความร่วมมือ IMT-GT เกิดขึ้นได้จริงนั้น การดำเนินการจะต้องรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้ผลลัพธ์ของความร่วมมือเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ไม่เพียงแต่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ยังส่งเสริมเป้าหมายของชุมชนในภูมิภาคอีกด้วย ดังนั้น อยากเห็นการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งตลอดระยะเวลา 4 ปีข้างหน้าภายใต้แผนปฏิบัติการโรดแมท IMT-GT โดยจะสร้างความมั่นใจว่า เงื่อนไขต่างๆ นั้นจะเอื้อต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวภายในอนุภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า สภาพภูมิศาสตร์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ป่าไม้ แร่ธาตุและทะเล จะเกื้อกูลกันและส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมนั้น เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนสินทรัพย์ ให้เป็นทุน ก่อให้เกิดการเคลื่อนตัวของประชาชนอย่างเสรี การลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วัฒนธรรม ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาเครือข่ายด้านคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงแผ่นดิน พื้นน้ำ และอากาศ พร้อมๆกับการลดขั้นตอนกฎ ระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของสินค้า บริการ และคน เพื่อให้ IMT-GT สามารถเป็นศูนย์การการลงทุนที่น่าสนใจของภูมิภาค และการเชื่อมโยงนั้น ก็จะเป็นประโยชน์และส่งเสริมให้อาเซียนมีการร่วมตัวกันอย่างจริงจัง พร้อมกับสนับสนุนให้กรอบความร่วมมืออื่นๆ ในอนุภูมิภาค อาทิ กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ ความร่วมมือ IMT-GT ได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยได้รวมจังหวัดต่างๆ ของไทยตามแนวเศรษฐกิจ IMT-GT ที่ห้า (the fifth IMT-GT Economic Corridor) จากระยองถึงภูเก็ต เชื่อมต่อจังหวัดอาเจห์ ซึ่งเป็นประโยชน์และมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ด้วยการสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและการเงินจาก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย จะเป็นการเตรียมความพร้อม ให้เกิดการดำเนินการตามแผนปฏิบัติ เพื่อพัฒนาแนวเศรษฐกิจ IMT-GT ต่างๆ ภายในปีแรกของของแผนปฏิบัติการโรดแมท ครั้งที่ 1 ได้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการดำเนินการการ ภายใต้แผนปฏิบัติการโรดแมทนั้นว่า ต้องใช้ความแข็งแกร่งนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างเท่าเทียม ยกตัวอย่าง แนวโน้มราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น และพื้นที่ IMT-GTนั้น เต็มไปด้วยแหล่งพลังงาน อาทิ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งพลังงานทางเลือกต่างๆ จำนวนมหาศาล พลังงานชีวภาพก็สามารถผลิตจากทรัพยากรต่างๆในอนุภูมิภาคนี้ เช่น ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง มะพร้าว สบู่ดำและอ้อย ดังนั้น ความร่วมมือด้านพลังงาน ทั้งในฐานะแหล่งพลังงานใหม่และพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่นั้น จึ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและเป็นภูมิคุ้มกันของอนุภูมิภาคโดนรวม
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเรียกร้องให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงภาวะโลกร้อน (global warming) อย่างใกล้ชิด เพราะอาจก่อให้เกิดผลลบต่อผลผลิตทางการเกษตรและการประมงในอนุภูมิภาค IMT-GT ที่ลดน้องลง และมีภัยธรรมชาติบ่อยครั้งยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ยังควรจะต้องมีความร่วมมือเพิ่มขีดความสามารถและความปลอดภัยด้านอาหาร สินค้าเกษตรและป่าไม้ภายในอนุภูมิภาค ลดผลกระทบด้านการเกษตรและความเป็นอยู่ของประชาชน
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวยืนยันว่า จะได้มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบการทำงานในอนุภูมิภาค IMT-GT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อยกระดับชีวิตความอยู่ของประชาชนและความยั่งยืน และจะยังเป็นการสนับสนุนวิสัยทัศน์ของอาเซียน ซึ่งไทยยืนยันที่จะส่งเสริมความร่วมมือ IMT-GT เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (19 พฤศจิกายน 2550) เวลา 16.15 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ ห้อง Tanglin Ballroom โรงแรม Shangri-la สาธารณรัฐสิงคโปร์ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุมสุดยอดแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ครั้งที่ 3 (3rd Indonesia —Malaysia-Thailand Growth Triangle Summit —IMT-GT) พร้อมผู้นำประเทศสมาชิกประกอบด้วย ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Dr. Susilo Bambang Yudhoyono) ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี (Dato’ Seri Abdullah Ahmad Badawi) นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ย้ำความร่วมมือ IMT-GT เชื่อมโยงโลจิกสิต์และเป็นแหล่งพลังงานและพลังงานทางเลือกของภูมิภาค สามารถสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีในฐานะประธานการประชุมสุดยอด IMT-GT ครั้งที่ 3 นี้ว่า นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้เสนอ ให้ยกระดับการประชุม IMT-GT ให้เป็นการประชุมในระดับผู้นำ เมื่อปีค.ศ. 2005 นั้น กลายเป็นประเพณีปฏิบัติ ที่ผู้นำของสามประเทศสมาชิกจะได้พบปะหารือกันในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน
ปีนี้ยิ่งมีความสำคัญยิ่ง ในโอกาสเฉลิมฉลองการก่อตั้งอาเซียนครบรอบ 40 ปี และได้มีการลงนามรับรองปฏิญญาอาเซียน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นชุมชนอาเซียนปี ค.ศ. 2015 ดังนั้น IMT-GT และความร่วมสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ และกรอบความร่วมมืออื่นๆ นั้น จะยิ่งส่งเสริมและทำให้วิสัยทัศน์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริง โดยเร่งพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประชาชนกับประชาชนและ ชุมชนภายในอนุภูมิภาคนี้ เมื่อการประชุมสุดยอด IMT-GT ครั้งที่ 2 ณ เมืองเซบู ได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการโรดแมท IMT-GT ครั้งที่ 1 ระหว่างค.ศ. 2007-2011 (the First IMT-GT Roadmap for 2007-2011) ด้วยมีเป้าหมายเพื่อความเจริญก้าวหน้า ความรุ่งเรืองและสันติสุขของอนุภูมิภาค ด้วยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคนี้ โครงการต่างๆของ IMT-GT ได้มีการดำเนินการตั้งแต่ปีแรกของแผนปฏิบัติโรดแมท IMT-GT
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการดำเนินงานของประเทศไทยในปีนี้ว่า ไทยได้มีความพยายามอย่างหนักเพื่อให้สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อสันติภาพและความปรองดอง ปฏิรูปการเมือง รักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ และวางพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันความท้าทายต่างๆ โดยรัฐบาลได้ให้สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับเขตพัฒนาพิเศษในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูลและอีก 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา โดยมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เตรียมเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนา ให้รัฐบาลใหม่พิจารณาเพื่อดำเนินการในปีหน้า
ขณะเดียวกัน ยังมีความร่วมมือระดับทวิภาคีระหว่างสมาชิกแต่ละประเทศ ยังเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของ IMT-GT อาทิ ประเทศไทยได้ริเริ่มหลัก 3 E ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านการศึกษา การจ้างงานและการประกอบการ ซึ่งในการเฉลิมฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-มาเลเซียครบรอบ 50 ปีนั้น ทั้งสองประเทศจะร่วมเปิดสะพานมิตรภาพที่เชื่อมโยงบูเก๊ะตาและบุกิต บุหงา นอกจากนี้ ไทยยังจะมีโครงการใหม่ๆ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินโดนีเซียครบรอบ 60 ปี ในปี ค.ศ. 2009 อีกด้วย
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เพื่อให้วิสัยทัศน์อาเซียนและ ความร่วมมือ IMT-GT เกิดขึ้นได้จริงนั้น การดำเนินการจะต้องรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้ผลลัพธ์ของความร่วมมือเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ไม่เพียงแต่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ยังส่งเสริมเป้าหมายของชุมชนในภูมิภาคอีกด้วย ดังนั้น อยากเห็นการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งตลอดระยะเวลา 4 ปีข้างหน้าภายใต้แผนปฏิบัติการโรดแมท IMT-GT โดยจะสร้างความมั่นใจว่า เงื่อนไขต่างๆ นั้นจะเอื้อต่อสันติภาพและเสถียรภาพ ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวภายในอนุภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า สภาพภูมิศาสตร์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ ป่าไม้ แร่ธาตุและทะเล จะเกื้อกูลกันและส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมนั้น เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนสินทรัพย์ ให้เป็นทุน ก่อให้เกิดการเคลื่อนตัวของประชาชนอย่างเสรี การลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วัฒนธรรม ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาเครือข่ายด้านคมนาคมขนส่ง เชื่อมโยงแผ่นดิน พื้นน้ำ และอากาศ พร้อมๆกับการลดขั้นตอนกฎ ระเบียบ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของสินค้า บริการ และคน เพื่อให้ IMT-GT สามารถเป็นศูนย์การการลงทุนที่น่าสนใจของภูมิภาค และการเชื่อมโยงนั้น ก็จะเป็นประโยชน์และส่งเสริมให้อาเซียนมีการร่วมตัวกันอย่างจริงจัง พร้อมกับสนับสนุนให้กรอบความร่วมมืออื่นๆ ในอนุภูมิภาค อาทิ กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ ความร่วมมือ IMT-GT ได้ขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยได้รวมจังหวัดต่างๆ ของไทยตามแนวเศรษฐกิจ IMT-GT ที่ห้า (the fifth IMT-GT Economic Corridor) จากระยองถึงภูเก็ต เชื่อมต่อจังหวัดอาเจห์ ซึ่งเป็นประโยชน์และมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ด้วยการสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและการเงินจาก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย จะเป็นการเตรียมความพร้อม ให้เกิดการดำเนินการตามแผนปฏิบัติ เพื่อพัฒนาแนวเศรษฐกิจ IMT-GT ต่างๆ ภายในปีแรกของของแผนปฏิบัติการโรดแมท ครั้งที่ 1 ได้
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการดำเนินการการ ภายใต้แผนปฏิบัติการโรดแมทนั้นว่า ต้องใช้ความแข็งแกร่งนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างเท่าเทียม ยกตัวอย่าง แนวโน้มราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น และพื้นที่ IMT-GTนั้น เต็มไปด้วยแหล่งพลังงาน อาทิ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งพลังงานทางเลือกต่างๆ จำนวนมหาศาล พลังงานชีวภาพก็สามารถผลิตจากทรัพยากรต่างๆในอนุภูมิภาคนี้ เช่น ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง มะพร้าว สบู่ดำและอ้อย ดังนั้น ความร่วมมือด้านพลังงาน ทั้งในฐานะแหล่งพลังงานใหม่และพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่นั้น จึ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและเป็นภูมิคุ้มกันของอนุภูมิภาคโดนรวม
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเรียกร้องให้ติดตามการเปลี่ยนแปลงภาวะโลกร้อน (global warming) อย่างใกล้ชิด เพราะอาจก่อให้เกิดผลลบต่อผลผลิตทางการเกษตรและการประมงในอนุภูมิภาค IMT-GT ที่ลดน้องลง และมีภัยธรรมชาติบ่อยครั้งยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ยังควรจะต้องมีความร่วมมือเพิ่มขีดความสามารถและความปลอดภัยด้านอาหาร สินค้าเกษตรและป่าไม้ภายในอนุภูมิภาค ลดผลกระทบด้านการเกษตรและความเป็นอยู่ของประชาชน
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวยืนยันว่า จะได้มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบการทำงานในอนุภูมิภาค IMT-GT ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อยกระดับชีวิตความอยู่ของประชาชนและความยั่งยืน และจะยังเป็นการสนับสนุนวิสัยทัศน์ของอาเซียน ซึ่งไทยยืนยันที่จะส่งเสริมความร่วมมือ IMT-GT เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--