นายกรัฐมนตรีแสดงความชื่นชมความสำเร็จของอาเซียนที่สามารถบรรลุความตกลงและมีการลงนามเอกสารความร่วมมือต่าง ๆ โดยเฉพาะกฎบัตรอาเซียน
เมื่อวานนี้ (20 พ.ย.) เวลา 17.25 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ ห้องรับรองโรงแรม Shangri-La สาธารณรัฐสิงคโปร์ ภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความชื่นชมความสำเร็จของอาเซียนที่สามารถบรรลุความตกลงและมีการลงนามเอกสารความร่วมมือต่าง ๆ โดยเฉพาะกฎบัตรอาเซียน ทั้งนี้ เพื่อให้กฎบัตรอาเซียนมีผลเต็มรูปแบบ และในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในปี ค.ศ. 2008 ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ จะสามารถให้สัตยาบันรับรองกฎบัตรอาเซียนได้ โดยมี 2 เรื่องสำคัญที่จะต้องมีการกำหนดกรอบและต้องดำเนินการให้สำเร็จในอีก 2 เสาหลักของอาเซียน คือ 1. ด้านสังคมและวัฒนธรรม 2. ความมั่นคงและการเมือง ในด้านความมั่นคงนั้นไม่ได้หมายถึงแต่ความมั่นคงทางด้านทหารหรือการดูแลความปลอดภัย แต่ยังเน้นถึงเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ การแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จในโอกาสข้างหน้านี้ ทั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในปีหน้า ซึ่งจะเป็นความต่อเนื่องที่สำคัญเป็นอย่างดี เนื่องจากอาเซียนเกิดจากการรวมตัวกันเมื่อ 40 ปีที่แล้ว โดยความริเริ่มส่วนใหญ่มาจากไทย และ 40 ปีต่อมาการดำเนินการตามบทบาทอาเซียนที่เป็นรูปธรรม และจะมีการให้สัตยาบันที่กรุงเทพฯ ถือเป็นเกียรติคุณและศักดิ์ศรีของไทย
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ในช่วงเช้าว่า ที่ประชุมเน้นถึงความสำคัญที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ศึกษาและเข้าใจบทบาทของอาเซียนที่จะมีต่อไปข้างหน้า รวมถึงความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคม และโอกาสที่จะเกิดขึ้น อาทิ ด้านตลาดแรงงานของอาเซียน ความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่ออำนวยความสะดวกในทุก ๆ ด้าน สำหรับในช่วงบ่ายเป็นการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี) ที่ประชุมอาเซียน+3 เห็นควรจะต้องมีการขยายความร่วมมือ โดยเฉพาะการสร้างเสถียรภาพทางด้านการเงินการคลัง การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านพลังงาน พลังงานชีวภาพ และแนวคิดที่จะศึกษาพลังงานนิวเคลียร์เพิ่มเติม ซึ่งจะได้บรรจุเป็นวาระการประชุมต่อไป
ส่วนการประชุมสุดยอดอาเซียน+จีน นั้น นายเหวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีจีนได้ตอบรับข้อเสนอของไทยที่จะให้มีการประชุมเรื่องเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ การดูแลความปลอดภัย โดยในปี พ.ศ. 2551 ไทยมีแนวคิดที่จะเชิญนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานนิวเคลียร์จากต่างประเทศคือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มาศึกษาความเป็นไปได้ถึงโอกาสของไทยในการที่จะมีพลังงานนิวเคลียร์ รวมไปถึงเรื่องความปลอดภัยว่ามีมากน้อยเพียงใด
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนถึงท่าทีของไทยต่อสถานการณ์ในพม่าว่า เป็นที่ยุติแล้ว เราคงรับและเคารพความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีพม่าที่จะดูแลปัญหาภายในเอง ซึ่งพม่ามีความสามารถดูแลความเรียบร้อยภายในของพม่าเองได้ แม้ว่าจะมีปัญหาจากประชาคมโลกก็ตาม อย่างไรก็ตาม พม่าจะดำเนินการผ่านและทำงานร่วมกับที่ปรึกษาพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ และองค์การสหประชาชาติ ซึ่งอาเซียนก็เคารพความคิดเห็นและถือว่าเป็นความรับผิดชอบของแต่ละประเทศ และเป็นแนวทางที่อาเซียนทุกประเทศยึดถือปฏิบัติ แต่ทั้งนี้ คงต้องมีการสงวนท่าที หากพม่าต้องการความช่วยเหลือ อาเซียนก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและจะมีการติดตามการทำงานของพม่ากันต่อไป
ด้านนายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการหารือระหว่างอาหารกลางวันระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ว่า ถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้นำอาเซียนได้รับฟังข้อเสนอแนะจากภาคธุรกิจ โดยมีการพูดคุยกันใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1.การอำนวยความสะดวกด้านศุลกากร ซึ่งเริ่มต้นจากสิงคโปร์และมาเลเซีย และจะได้ขยายต่อไปอีก 4 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย 2. ให้อาเซียนเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก โดยการปลูกพืชพลังงาน โดยเฉพาะสบู่ดำที่สามารถจะส่งเสริมในเชิงพาณิชย์ได้ 3. ASEAN Branding ซึ่งภาครัฐกับภาคเอกชนเห็นควรว่า น่าจะมีการพัฒนาสินค้าที่ผลิตในอาเซียน โดยสนับสนุนเอสเอ็มอี เช่น การแปรรูปสินค้าอาหาร และ 4. ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนจะได้มอบรางวัล ASEAN Business Award ในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง 40 ปีของอาเซียนให้แก่ภาคเอกชนของอาเซียนที่ประสบความสำเร็จ ด้วย
ทั้งนี้ การลงนามเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1. ปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Declaration on the ASEAN Economic Community Blueprint) 2. ปฏิญญาว่าด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (Declaration on Environmental Sustainability) 3. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการประชุมของรัฐภาคีในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 13 และการประชุมของรัฐภาคีว่าด้วยพิธีสารเกียวโต ครั้งที่ 3 [ASEAN Declaration on the 13th Session of the Conference of Parties (CoP) to the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) and the 3rd Conference of Parties Serving as the Meeting of the Parties (CMP) to the Kyoto Protocol
] 4. กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) นอกจากนี้ ยังมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและอาเซียนในการส่งเสริมความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Memorandum of Understanding between the People’s Republic of China and the Association of Southeast Asian Nations on Strengthening Sanitary and Phytosanitary Cooperation)
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อวานนี้ (20 พ.ย.) เวลา 17.25 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ ห้องรับรองโรงแรม Shangri-La สาธารณรัฐสิงคโปร์ ภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความชื่นชมความสำเร็จของอาเซียนที่สามารถบรรลุความตกลงและมีการลงนามเอกสารความร่วมมือต่าง ๆ โดยเฉพาะกฎบัตรอาเซียน ทั้งนี้ เพื่อให้กฎบัตรอาเซียนมีผลเต็มรูปแบบ และในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในปี ค.ศ. 2008 ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ จะสามารถให้สัตยาบันรับรองกฎบัตรอาเซียนได้ โดยมี 2 เรื่องสำคัญที่จะต้องมีการกำหนดกรอบและต้องดำเนินการให้สำเร็จในอีก 2 เสาหลักของอาเซียน คือ 1. ด้านสังคมและวัฒนธรรม 2. ความมั่นคงและการเมือง ในด้านความมั่นคงนั้นไม่ได้หมายถึงแต่ความมั่นคงทางด้านทหารหรือการดูแลความปลอดภัย แต่ยังเน้นถึงเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ การแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จในโอกาสข้างหน้านี้ ทั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในปีหน้า ซึ่งจะเป็นความต่อเนื่องที่สำคัญเป็นอย่างดี เนื่องจากอาเซียนเกิดจากการรวมตัวกันเมื่อ 40 ปีที่แล้ว โดยความริเริ่มส่วนใหญ่มาจากไทย และ 40 ปีต่อมาการดำเนินการตามบทบาทอาเซียนที่เป็นรูปธรรม และจะมีการให้สัตยาบันที่กรุงเทพฯ ถือเป็นเกียรติคุณและศักดิ์ศรีของไทย
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ในช่วงเช้าว่า ที่ประชุมเน้นถึงความสำคัญที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ศึกษาและเข้าใจบทบาทของอาเซียนที่จะมีต่อไปข้างหน้า รวมถึงความร่วมมือทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การคมนาคม และโอกาสที่จะเกิดขึ้น อาทิ ด้านตลาดแรงงานของอาเซียน ความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่ออำนวยความสะดวกในทุก ๆ ด้าน สำหรับในช่วงบ่ายเป็นการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี) ที่ประชุมอาเซียน+3 เห็นควรจะต้องมีการขยายความร่วมมือ โดยเฉพาะการสร้างเสถียรภาพทางด้านการเงินการคลัง การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านพลังงาน พลังงานชีวภาพ และแนวคิดที่จะศึกษาพลังงานนิวเคลียร์เพิ่มเติม ซึ่งจะได้บรรจุเป็นวาระการประชุมต่อไป
ส่วนการประชุมสุดยอดอาเซียน+จีน นั้น นายเหวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีจีนได้ตอบรับข้อเสนอของไทยที่จะให้มีการประชุมเรื่องเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ การดูแลความปลอดภัย โดยในปี พ.ศ. 2551 ไทยมีแนวคิดที่จะเชิญนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานนิวเคลียร์จากต่างประเทศคือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มาศึกษาความเป็นไปได้ถึงโอกาสของไทยในการที่จะมีพลังงานนิวเคลียร์ รวมไปถึงเรื่องความปลอดภัยว่ามีมากน้อยเพียงใด
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนถึงท่าทีของไทยต่อสถานการณ์ในพม่าว่า เป็นที่ยุติแล้ว เราคงรับและเคารพความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีพม่าที่จะดูแลปัญหาภายในเอง ซึ่งพม่ามีความสามารถดูแลความเรียบร้อยภายในของพม่าเองได้ แม้ว่าจะมีปัญหาจากประชาคมโลกก็ตาม อย่างไรก็ตาม พม่าจะดำเนินการผ่านและทำงานร่วมกับที่ปรึกษาพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติ และองค์การสหประชาชาติ ซึ่งอาเซียนก็เคารพความคิดเห็นและถือว่าเป็นความรับผิดชอบของแต่ละประเทศ และเป็นแนวทางที่อาเซียนทุกประเทศยึดถือปฏิบัติ แต่ทั้งนี้ คงต้องมีการสงวนท่าที หากพม่าต้องการความช่วยเหลือ อาเซียนก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและจะมีการติดตามการทำงานของพม่ากันต่อไป
ด้านนายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการหารือระหว่างอาหารกลางวันระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน ว่า ถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้นำอาเซียนได้รับฟังข้อเสนอแนะจากภาคธุรกิจ โดยมีการพูดคุยกันใน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1.การอำนวยความสะดวกด้านศุลกากร ซึ่งเริ่มต้นจากสิงคโปร์และมาเลเซีย และจะได้ขยายต่อไปอีก 4 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย 2. ให้อาเซียนเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก โดยการปลูกพืชพลังงาน โดยเฉพาะสบู่ดำที่สามารถจะส่งเสริมในเชิงพาณิชย์ได้ 3. ASEAN Branding ซึ่งภาครัฐกับภาคเอกชนเห็นควรว่า น่าจะมีการพัฒนาสินค้าที่ผลิตในอาเซียน โดยสนับสนุนเอสเอ็มอี เช่น การแปรรูปสินค้าอาหาร และ 4. ประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนจะได้มอบรางวัล ASEAN Business Award ในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง 40 ปีของอาเซียนให้แก่ภาคเอกชนของอาเซียนที่ประสบความสำเร็จ ด้วย
ทั้งนี้ การลงนามเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1. ปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Declaration on the ASEAN Economic Community Blueprint) 2. ปฏิญญาว่าด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (Declaration on Environmental Sustainability) 3. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการประชุมของรัฐภาคีในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 13 และการประชุมของรัฐภาคีว่าด้วยพิธีสารเกียวโต ครั้งที่ 3 [ASEAN Declaration on the 13th Session of the Conference of Parties (CoP) to the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) and the 3rd Conference of Parties Serving as the Meeting of the Parties (CMP) to the Kyoto Protocol
] 4. กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) นอกจากนี้ ยังมีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและอาเซียนในการส่งเสริมความร่วมมือด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Memorandum of Understanding between the People’s Republic of China and the Association of Southeast Asian Nations on Strengthening Sanitary and Phytosanitary Cooperation)
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--