นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 "วิถีวิจัย สู่สังคมร่มรื่นและเป็นสุข" ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันนี้ เวลา 10.30 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 “วิถีวิจัย สู่สังคมร่มรื่นและเป็นสุข” พร้อมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “นโยบายและมาตรการของรัฐต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยมี คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ รวมทั้งนิสิต นักศึกษาเก่าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนบุคลากรจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และบุคคลทั่วไป ประมาณ 1,200 คน เข้าร่วมรับฟัง
ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานสรุปว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดนโยบายด้านการวิจัยไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมสอดรับกับแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย มุ่งเน้นที่จะดำเนินการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้เป็นระบบ ส่งเสริมทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ สนับสนุนให้มีการวิจัยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และการวิจัยร่วมระหว่างประเทศ ตลอดจนบูรณาการการวิจัยกับการศึกษา การบริการวิชาการอย่างครบวงจร การสร้างบรรยากาศหรือกระตุ้นให้คณาจารย์ได้รังสรรค์ผล งานวิจัย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยพร้อมที่จะขยายผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติ เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในพื้นฐานแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้กำหนดจัดงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “วิถีวิจัย สู่สังคมร่มรื่นและเป็นสุข” ขึ้น ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2550 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงได้รับพระราชสมัญญาพระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย อีกทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศทางวิชาการในมหาวิทยาลัย สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่และกลุ่มนักวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการทำวิจัยร่วมกันระหว่างสาขาวิชาและการวิจัยแบบบูรณาการ ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะและชุมชน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอนหนึ่งว่า ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาคมโลก และในระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายนนี้ จะมีการประชุมเรื่องสภาวะโลกร้อนที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางในการแก้ไขปัญหาระดับโลกต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมไปถึงเรื่องปัญหาหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ โดยส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและต่อเศรษฐกิจ จึงอยากให้นักวิชาการนำสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน มาพิจารณาว่ามีปัญหาใดบ้าง และจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน ไม่ว่าจะในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำปัญหามารวมเข้าด้วยกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่า ถ้าสังคมของเรามีวิธีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะทำงานง่ายขึ้น เพราะการบริหารจัดการที่ดีคือการมีส่วนร่วมของประชาชนทุก ๆ คนในสังคม ซึ่งอยากให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการค้นคว้าวิจัย ได้ช่วยกันพิจารณาสังคมของไทยด้วยว่าเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร โดยการสร้างความร่วมมือ การสร้างความเข้าใจ ให้ทุกคนเข้าใจว่าทุกคนมีปัญหาอะไรบ้างในขณะนี้ มีการจัดลำดับความเร่งด่วนอย่างไร และจะช่วยกันแก้ไขอย่างไร รวมทั้งคำนึงถึงการจะช่วยให้ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้มีโอกาสที่จะใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ โดยอาจทำงานงานวิจัยร่วมกันในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทั้งนักวิชาการ และองค์ความรู้ ในอนุภูมิภาคของเราต่อไปได้
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบช่อดอกไม้ให้แก่นักวิจัยดีเด่น "รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่" และมอบทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ ด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.30 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 “วิถีวิจัย สู่สังคมร่มรื่นและเป็นสุข” พร้อมบรรยายพิเศษในหัวข้อ “นโยบายและมาตรการของรัฐต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยมี คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ รวมทั้งนิสิต นักศึกษาเก่าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนบุคลากรจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และบุคคลทั่วไป ประมาณ 1,200 คน เข้าร่วมรับฟัง
ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงานสรุปว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดนโยบายด้านการวิจัยไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมสอดรับกับแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย มุ่งเน้นที่จะดำเนินการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้เป็นระบบ ส่งเสริมทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ สนับสนุนให้มีการวิจัยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และการวิจัยร่วมระหว่างประเทศ ตลอดจนบูรณาการการวิจัยกับการศึกษา การบริการวิชาการอย่างครบวงจร การสร้างบรรยากาศหรือกระตุ้นให้คณาจารย์ได้รังสรรค์ผล งานวิจัย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยพร้อมที่จะขยายผลงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติ เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในพื้นฐานแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้กำหนดจัดงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “วิถีวิจัย สู่สังคมร่มรื่นและเป็นสุข” ขึ้น ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2550 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงได้รับพระราชสมัญญาพระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย อีกทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศทางวิชาการในมหาวิทยาลัย สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่และกลุ่มนักวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการทำวิจัยร่วมกันระหว่างสาขาวิชาและการวิจัยแบบบูรณาการ ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะและชุมชน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอนหนึ่งว่า ปัญหาสภาวะโลกร้อนที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาคมโลก และในระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายนนี้ จะมีการประชุมเรื่องสภาวะโลกร้อนที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบแนวทางในการแก้ไขปัญหาระดับโลกต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ รวมไปถึงเรื่องปัญหาหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ โดยส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพและต่อเศรษฐกิจ จึงอยากให้นักวิชาการนำสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน มาพิจารณาว่ามีปัญหาใดบ้าง และจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน ไม่ว่าจะในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำปัญหามารวมเข้าด้วยกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่า ถ้าสังคมของเรามีวิธีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะทำงานง่ายขึ้น เพราะการบริหารจัดการที่ดีคือการมีส่วนร่วมของประชาชนทุก ๆ คนในสังคม ซึ่งอยากให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีบทบาทสำคัญในการค้นคว้าวิจัย ได้ช่วยกันพิจารณาสังคมของไทยด้วยว่าเราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร โดยการสร้างความร่วมมือ การสร้างความเข้าใจ ให้ทุกคนเข้าใจว่าทุกคนมีปัญหาอะไรบ้างในขณะนี้ มีการจัดลำดับความเร่งด่วนอย่างไร และจะช่วยกันแก้ไขอย่างไร รวมทั้งคำนึงถึงการจะช่วยให้ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้มีโอกาสที่จะใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ โดยอาจทำงานงานวิจัยร่วมกันในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทั้งนักวิชาการ และองค์ความรู้ ในอนุภูมิภาคของเราต่อไปได้
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้มอบช่อดอกไม้ให้แก่นักวิจัยดีเด่น "รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่" และมอบทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ ด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--