พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมในพิธีเปิดการประชุมนานาชาติว่าด้วยความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3-The 3rd International conference on Gross national happiness ณ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวานนี้ (26 พ.ย.2550) เวลา 17.00 น. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมในพิธีเปิดการประชุมนานาชาติว่าด้วยความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3-The 3rd International conference on Gross national happiness ณ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมและรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ต้อนรับ นาย Lyonpo Kinzang Dorjiนายกรัฐมนตรีภูฏานที่เข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยความสุขมวลรวมประชาชาติ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้ และด้วยการศึกษาและการให้ข่าวสารแก่เยาวชนที่เหมาะสม ที่จะทำให้เยาวชนของชาติสามารถเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนา อันจะเป็นการประกันต่ออนาคตที่ยั่งยืน
ประเทศไทย มีความภูมิใจที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ ซึ่งทรงดำริโดยโดยสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย่ วังชุก (Jigme Singye Wangchuck ) พระมหากษัตริย์องค์ที่4 แห่งราชอาณาจักรภูฏาน กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของไทย อันเกิดจากความเป็นห่วงพระราชหฤทัยในความสุขความเจริญของประชาราษฎร์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เช่นเดียวกันกับที่ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏานมีความมุ่งมั่นยึดหลักความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นเป้าหมายสำหรับประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์ของพระองค์
ประเทศไทยและภูฏาน แม้จะมีความแตกต่าง แต่เราก็มีสิ่งต่างๆที่คล้ายคลึงกันมาก เรามีความผูกผันฉันท์มิตรมายาวนาน เรามุ่งหวังที่จะทะนุบำรุงความสัมพันธ์โดยความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ภูฏานนั้น เป็นตัวอย่างของประเทศที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเสรี โดยไม่โดดเดี่ยวตัวเอง ซึ่งเราสามารถเรียนรู้จากกันและกันได้อีกมาก
ในนามของรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย นายกรัฐมนตรีขอแสดงความยินดีต่อรัฐบาลภูฏานในโอกาสครบรอบศตวรรษของระบบกษัตริย์ของภูฏาน และในวโรกาสพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดี Jigme Kheser Wangchuck ในปี พ.ศ 2551 เช่นเดียวกันกับที่ประเทศไทยกำลังจะมีการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นที่เทิดทูนของปวงชนชาวไทยจะทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษาในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความยินดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านสามารถร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสอันเป็นมงคลนี้ด้วย
ที่ประชุมวันนี้เพื่อแสดงข้อกังวลถึงความกินดี อยู่ดีของประชาชน ในความหมายของกินดีอยู่ดี นั้นหมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีทั้งด้านกายภาพ จิตใจ และจิตวิญญาณ สำหรับประเทศไทย ความเป็นอยู่ที่ดีนั้น มีความหมายอย่างยิ่งถ้ามีความยั่งยืนรวมอยู่ด้วย ความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญในทุกเรื่องที่รัฐบาลดำเนินการ และในทุกระดับ ซึ่งไม่เพียงแต่หมายรวมถึงครอบครัวและชุมชนที่มั่นคงยั่งยืน แต่ยังรวมถึงระบบธรรมาภิบาลของประเทศที่ยั่งยืน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้นำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 รัฐบาลเชื่อว่าหลักปรัชญาด้านความพอดี ความเป็นเหตุเป็นผล และภูมิคุ้มกันจากผลกระทบภายนอกนั้น เป็นแนวทางที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อประชาชน และองค์กรในทุกระดับท่ามกลางช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง
10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของไทยต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย ณ วันนี้ รัฐบาลเชื่อว่าประเทศไทยนั้นเข้มแข็ง ขึ้น และสามารถเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆได้ดีขึ้น ไทยได้เรียนรู้ว่าการเติบโตนั้นไม่สามารถวัดจากตัวเลขและ GDP เพียงอย่างเดียว แต่ต้องยึดเอาความพอใจของประชาชนโดยรวมด้วย
หนึ่งในผลกระทบด้านลบของโลกไร้พรมแดนคือ สังคมไทยที่เคยเป็นสังคมเอื้ออาทรที่มีองค์กรที่เข้มแข็ง ต้องกลายเป็นสังคมที่ต้องดิ้นรนเพื่อผลประโยชน์ และละเลยจริยธรรม ท่ามกลางสิ่งท้าทายที่ต้องเผชิญ จึงตระหนักว่า การสร้างความยืดหยุ่น สิ่งท้าทายที่แท้จริงนั้นอยู่บนการส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยของมนุษยชาติและการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ชุมชนที่เข้มแข็งและแจ่มใส จะทำให้การพึ่งพาตนเองและความยั่งยืนนั้นเกิดขึ้นได้ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงมีความยินดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมนั้นได้มีส่วนรวมในการหารือที่หนองคาย ซึ่งได้มุ่งเน้นกิจกรรมทั้งในระดับชุมชนและท้องถิ่นที่ประชาชนนั้นเป็นแกนสำคัญอย่างแท้จริง
รัฐบาลได้ยกให้ภาคเศรษฐกิจรากหญ้าเป็นฐานสำคัญสำหรับระบบเศรษฐกิจของไทย แรงบันดาลใจจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รัฐบาลจึงได้หาหนทางขยายเศรษฐกิจรากหญ้าโดยให้การสนับสนุนเกษตรกรรมทางเลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อยและสินค้าชุมชน นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้สร้างความเข้มแข็งแก่ความร่วมมือระหว่างผู้ใช้แรงงาน ภาคเอกชนและภาครัฐ ขณะเดียวกัน ในด้านของนโยบายสังคม รัฐบาลได้ส่งเสริมความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจ ความเป็นเอกภาพ และความสมานฉันท์ระหว่างประชาชนในประเทศ ทั้งนี้ นโยบาย อยู่ดี มีสุข ของรัฐบาลเป็นแผนงานปฏิรูปสังคมเพื่อความสุขและความปรองดองร่วมกัน
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกับที่นโยบายของรัฐบาลทำให้กลไกเศรษฐกิจการตลาดที่ยึดหลักการความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ และยังคงส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และเมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ก็สามารถนำทรัพยากรที่จำเป็นมาใช้เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท ให้หลุดพ้นจากความยากจน ด้วยรัฐบาลให้ความสำคัญในการลดช่องว่างระหว่างเมืองและชนบท ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะเกิดความสุขและความสามัคคี
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ว่า ที่ประชุมให้ความสนใจการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การตื่นตัวของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยที่ขยายตัวขึ้น และพลังงานเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น ทุกประเทศไม่เฉพาะแต่ประเทศไทยที่จะต้องตัดสินใจกำหนดปัจจัยพื้นฐานต่างๆ
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการกำหนดให้ความสุขและชีวิตที่ดีเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายรัฐบาลนั้นไม่ใช้เป็นเรื่องที่จะดำเนินการได้ง่ายนัก ซึ่งเชื่อได้แน่ว่า นายกรัฐมนตรีภูฏานคงจะเห็นด้วยว่าการบริหารประเทศโดยอาศัยความสุขมวลรวมประชาชาติไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะทำให้เกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ หากจะลองพิจารณาถึงประเพณี ความเชื่อพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง และถามตนเองว่า เราเข้าใจความหมายของความสุขที่แท้จริงเพียงใด และจะให้ได้มาซึ่งความสุขอย่างไร ทั้งในแง่องค์รวมและปัจเฉกชน การคิดค้นแนวทางใหม่ๆ ที่จะใช้วัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของนโยบายใหม่ๆ เป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะการใช้มาตรฐานเดิมกับนโยบายใหม่ๆ มักไม่ได้ผล หวังว่า การประชุมครั้งนี้ จะสามารถช่วยคิดค้นแนวทางใหม่ๆ ตัวชี้วัดใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความยั่งยืน ซึ่งกรอบการทำงานเพื่อการวิจัยร่วมกันนี้ ไม่ควรจำกัดเฉพาะไทยและภูฏานเท่านั้น แต่ควรครอบคลุมไปยังมิตรประเทศอาเซียน และทุกประเทศในทุกภูมิภาคโดยรวม
นายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมครั้งนี้จะสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ เพื่อความร่วมมือในการพัฒนานโยบายใหม่ๆ การศึกษาวิจัยตัวชี้วัดที่เหมาะสม เพราะเราไม่อาจอาศัยแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ต้องมุ่งมั่นสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ที่กล้าเผชิญหน้ากับความท้าทายในขณะนั้นๆ ซึ่งเชื่อว่า การประชุมครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อวานนี้ (26 พ.ย.2550) เวลา 17.00 น. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมในพิธีเปิดการประชุมนานาชาติว่าด้วยความสุขมวลรวมประชาชาติ ครั้งที่ 3-The 3rd International conference on Gross national happiness ณ หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมและรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ต้อนรับ นาย Lyonpo Kinzang Dorjiนายกรัฐมนตรีภูฏานที่เข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยความสุขมวลรวมประชาชาติ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้ และด้วยการศึกษาและการให้ข่าวสารแก่เยาวชนที่เหมาะสม ที่จะทำให้เยาวชนของชาติสามารถเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนา อันจะเป็นการประกันต่ออนาคตที่ยั่งยืน
ประเทศไทย มีความภูมิใจที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดความสุขมวลรวมประชาชาติ ซึ่งทรงดำริโดยโดยสมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย่ วังชุก (Jigme Singye Wangchuck ) พระมหากษัตริย์องค์ที่4 แห่งราชอาณาจักรภูฏาน กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของไทย อันเกิดจากความเป็นห่วงพระราชหฤทัยในความสุขความเจริญของประชาราษฎร์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เช่นเดียวกันกับที่ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏานมีความมุ่งมั่นยึดหลักความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นเป้าหมายสำหรับประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์ของพระองค์
ประเทศไทยและภูฏาน แม้จะมีความแตกต่าง แต่เราก็มีสิ่งต่างๆที่คล้ายคลึงกันมาก เรามีความผูกผันฉันท์มิตรมายาวนาน เรามุ่งหวังที่จะทะนุบำรุงความสัมพันธ์โดยความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ภูฏานนั้น เป็นตัวอย่างของประเทศที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเสรี โดยไม่โดดเดี่ยวตัวเอง ซึ่งเราสามารถเรียนรู้จากกันและกันได้อีกมาก
ในนามของรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย นายกรัฐมนตรีขอแสดงความยินดีต่อรัฐบาลภูฏานในโอกาสครบรอบศตวรรษของระบบกษัตริย์ของภูฏาน และในวโรกาสพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชาธิบดี Jigme Kheser Wangchuck ในปี พ.ศ 2551 เช่นเดียวกันกับที่ประเทศไทยกำลังจะมีการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นที่เทิดทูนของปวงชนชาวไทยจะทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษาในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความยินดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านสามารถร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสอันเป็นมงคลนี้ด้วย
ที่ประชุมวันนี้เพื่อแสดงข้อกังวลถึงความกินดี อยู่ดีของประชาชน ในความหมายของกินดีอยู่ดี นั้นหมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีทั้งด้านกายภาพ จิตใจ และจิตวิญญาณ สำหรับประเทศไทย ความเป็นอยู่ที่ดีนั้น มีความหมายอย่างยิ่งถ้ามีความยั่งยืนรวมอยู่ด้วย ความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญในทุกเรื่องที่รัฐบาลดำเนินการ และในทุกระดับ ซึ่งไม่เพียงแต่หมายรวมถึงครอบครัวและชุมชนที่มั่นคงยั่งยืน แต่ยังรวมถึงระบบธรรมาภิบาลของประเทศที่ยั่งยืน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้นำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 รัฐบาลเชื่อว่าหลักปรัชญาด้านความพอดี ความเป็นเหตุเป็นผล และภูมิคุ้มกันจากผลกระทบภายนอกนั้น เป็นแนวทางที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อประชาชน และองค์กรในทุกระดับท่ามกลางช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง
10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของไทยต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย ณ วันนี้ รัฐบาลเชื่อว่าประเทศไทยนั้นเข้มแข็ง ขึ้น และสามารถเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆได้ดีขึ้น ไทยได้เรียนรู้ว่าการเติบโตนั้นไม่สามารถวัดจากตัวเลขและ GDP เพียงอย่างเดียว แต่ต้องยึดเอาความพอใจของประชาชนโดยรวมด้วย
หนึ่งในผลกระทบด้านลบของโลกไร้พรมแดนคือ สังคมไทยที่เคยเป็นสังคมเอื้ออาทรที่มีองค์กรที่เข้มแข็ง ต้องกลายเป็นสังคมที่ต้องดิ้นรนเพื่อผลประโยชน์ และละเลยจริยธรรม ท่ามกลางสิ่งท้าทายที่ต้องเผชิญ จึงตระหนักว่า การสร้างความยืดหยุ่น สิ่งท้าทายที่แท้จริงนั้นอยู่บนการส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยของมนุษยชาติและการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ชุมชนที่เข้มแข็งและแจ่มใส จะทำให้การพึ่งพาตนเองและความยั่งยืนนั้นเกิดขึ้นได้ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงมีความยินดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมนั้นได้มีส่วนรวมในการหารือที่หนองคาย ซึ่งได้มุ่งเน้นกิจกรรมทั้งในระดับชุมชนและท้องถิ่นที่ประชาชนนั้นเป็นแกนสำคัญอย่างแท้จริง
รัฐบาลได้ยกให้ภาคเศรษฐกิจรากหญ้าเป็นฐานสำคัญสำหรับระบบเศรษฐกิจของไทย แรงบันดาลใจจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รัฐบาลจึงได้หาหนทางขยายเศรษฐกิจรากหญ้าโดยให้การสนับสนุนเกษตรกรรมทางเลือกสำหรับเกษตรกรรายย่อยและสินค้าชุมชน นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้สร้างความเข้มแข็งแก่ความร่วมมือระหว่างผู้ใช้แรงงาน ภาคเอกชนและภาครัฐ ขณะเดียวกัน ในด้านของนโยบายสังคม รัฐบาลได้ส่งเสริมความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจ ความเป็นเอกภาพ และความสมานฉันท์ระหว่างประชาชนในประเทศ ทั้งนี้ นโยบาย อยู่ดี มีสุข ของรัฐบาลเป็นแผนงานปฏิรูปสังคมเพื่อความสุขและความปรองดองร่วมกัน
นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกับที่นโยบายของรัฐบาลทำให้กลไกเศรษฐกิจการตลาดที่ยึดหลักการความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ และยังคงส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และเมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ก็สามารถนำทรัพยากรที่จำเป็นมาใช้เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบท ให้หลุดพ้นจากความยากจน ด้วยรัฐบาลให้ความสำคัญในการลดช่องว่างระหว่างเมืองและชนบท ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมในสังคมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะเกิดความสุขและความสามัคคี
นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ว่า ที่ประชุมให้ความสนใจการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การตื่นตัวของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยที่ขยายตัวขึ้น และพลังงานเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น ทุกประเทศไม่เฉพาะแต่ประเทศไทยที่จะต้องตัดสินใจกำหนดปัจจัยพื้นฐานต่างๆ
นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการกำหนดให้ความสุขและชีวิตที่ดีเป็นหัวใจสำคัญของนโยบายรัฐบาลนั้นไม่ใช้เป็นเรื่องที่จะดำเนินการได้ง่ายนัก ซึ่งเชื่อได้แน่ว่า นายกรัฐมนตรีภูฏานคงจะเห็นด้วยว่าการบริหารประเทศโดยอาศัยความสุขมวลรวมประชาชาติไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะทำให้เกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ หากจะลองพิจารณาถึงประเพณี ความเชื่อพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง และถามตนเองว่า เราเข้าใจความหมายของความสุขที่แท้จริงเพียงใด และจะให้ได้มาซึ่งความสุขอย่างไร ทั้งในแง่องค์รวมและปัจเฉกชน การคิดค้นแนวทางใหม่ๆ ที่จะใช้วัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของนโยบายใหม่ๆ เป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะการใช้มาตรฐานเดิมกับนโยบายใหม่ๆ มักไม่ได้ผล หวังว่า การประชุมครั้งนี้ จะสามารถช่วยคิดค้นแนวทางใหม่ๆ ตัวชี้วัดใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความยั่งยืน ซึ่งกรอบการทำงานเพื่อการวิจัยร่วมกันนี้ ไม่ควรจำกัดเฉพาะไทยและภูฏานเท่านั้น แต่ควรครอบคลุมไปยังมิตรประเทศอาเซียน และทุกประเทศในทุกภูมิภาคโดยรวม
นายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมครั้งนี้จะสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ เพื่อความร่วมมือในการพัฒนานโยบายใหม่ๆ การศึกษาวิจัยตัวชี้วัดที่เหมาะสม เพราะเราไม่อาจอาศัยแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ต้องมุ่งมั่นสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ที่กล้าเผชิญหน้ากับความท้าทายในขณะนั้นๆ ซึ่งเชื่อว่า การประชุมครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--