พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานประกาศ “ระเบียบวาระชุมชน” พร้อมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการขับเคลื่อน “ระเบียบวาระชุมชน”
วันนี้ เวลา 13.40 น. ณ บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานประกาศ “ระเบียบวาระชุมชน” พร้อมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการขับเคลื่อน “ระเบียบวาระชุมชน” ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยกับ 14 หน่วยงาน เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชน โดยมีตัวแทนชุมชนทั่วประเทศเข้าร่วมพิธีรวม 1,500 คน
เมื่อเดินทางถึง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ชมวิดิทัศน์การขับเคลื่อนระเบียบวาระชุมชน จากนั้น นายศุทธนะ ธีวีระปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองกล่าวต้อนรับ นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวรายงานสรุปว่า โดยที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข มุ่งให้ประชาชนไทยอยู่ดีมีสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้กลไกชุมชนเป็นพลังขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างการเรียนรู้และความสามารถในการจัดการของชุมชนเพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน กระทรวงมหาดไทยจึงได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นแกนประสานกับหน่วยงานภาคี 21 หน่วยงาน ผนึกกำลังร่วมมือกันสนับสนุนชุมชน ทั้งในกระบวนการจัดทำแผนชุมชนที่มีคุณภาพ การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ของชุมชน ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนา ระเบียบวาระแห่งชุมชนหมายถึงงานสำคัญของชุมชน ในการสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยกระบวนการแผนชุมชน และการผนึกกำลังสนับสนุนจากภาครัฐและภาคีการพัฒนา ดังนั้น การดำเนินการจัดพิธีประกาศระเบียบวาระชุมชนในวันนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการคือ 1. ผู้แทนภาคประชาชนประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาคน พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ และสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้บังเกิดเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 2. หน่วยงานภาคี 15 หน่วยงานร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ ยืนยันถึงการยอมรับและความพร้อมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชน
โดยผู้เข้าร่วมในพิธีประกาศเจตนารมณ์การขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชนเป็นตัวแทนของชุมชนทั่วประเทศ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำกลุ่มอาชีพ จากจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท สระบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี รวมทั้ง หน่วยงานภาครัฐและภาคีการพัฒนาที่แสดงความตั้งใจสนับสนุนชุมชน จำนวน 21 หน่วยงาน คือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมที่ดิน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมการพัฒนาชุมชน หน่วยงานภาคี 14 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สมาคมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทย สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล และสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เป็นประธานประกาศ “ระเบียบวาระชุมชน” สรุปสาระสำคัญว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนทุกชุมชน รวมทั้งท้องถิ่นและประชาคมเพื่อให้สามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การปกครอง และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของตนเองได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการหนึ่งที่นอกเหนือไปจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข คือการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ โดยชุมชนและประชาชนจะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตัวเอง หรือที่เรียกว่าเป็นหลักในการดำเนินการ เพื่อที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของตนเอง ให้การสนับสนุนและยอมรับการพัฒนาตนเองของชุมชน รวมทั้งทำงานสนับสนุนชุมชนเหล่านั้นด้วยหลักการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานมา คือ ” เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” โดยเฉพาะในด้านของการพัฒนาประชาชน หรือพัฒนาคนด้วยกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหาต่าง ๆ การดูแลในเรื่องพื้นที่ของเราเองและประชาชนเป็นหลักในการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ในการที่จะรักและหวงแหนชุมชนของตนเอง อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์หมู่บ้านสร้างสรรค์ชุมชนให้มีความน่าอยู่ น่าอาศัย มีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีขยะ ไม่มีน้ำเน่า
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดสภาพที่มีความสุข และเราจะช่วยกันดูแลในด้านความปลอดภัย ช่วยกันสนับสนุนให้ชุมชนได้ดูถึงจุดเด่น หรือที่เรียกว่าศักยภาพของชุมชน ว่าในชุมชนของเรามีอะไรที่ดี มีอะไรที่เด่นบ้าง ความโดดเด่นที่สามารถจะนำมาพัฒนา นำมาเสริมต่อ หรือที่เรียกในปัจจุบันว่ามาต่อยอดเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่า สามารถก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนและชุมชน ได้วางระบบการทำงานให้เชื่อมโยงและประสานงานกัน โดยมีการประสานทั้งในด้านของนโยบายและแผนงานในทุกระดับ ซึ่งการจะส่งเสริมให้เกิดสิ่งเหล่านี้จะต้องมีการจัดทำแผนในการพัฒนาเพื่อให้เป็นกรอบแนวความคิด และกรอบแนวทางในการดำเนินงานอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อไป
“ ผมมีความยินดีที่วันนี้ได้มีการประกาศระเบียบวาระแห่งชุมชนขึ้น นั่นก็หมายถึงว่าชุมชนเป็นจุดที่สำคัญที่สุด เพื่อให้ทุกหน่วยงานกำหนดการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชนเป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องดำเนินการร่วมกันต่อไป สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทยจะต้องสนับสนุนให้การจัดทำแผนชุมชนมีคุณภาพและส่งเสริมให้มีศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้ชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น แลกเปลี่ยนแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของเรา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะช่วยให้ครอบครัวและสถาบันเกษตรกรมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กระทรวงสาธารณสุขส่งเสริมการเรียนรู้ให้คำแนะนำในด้านของสุขภาพ เพื่อให้เราใช้วิธีการที่จะป้องกัน มากกว่าที่จะปล่อยให้เป็นแล้วก็รักษา นั่นเป็นสิ่งที่เราจะสามารถดูแลตัวเองได้ ส่วนในภาควิชาการและภาคเอกชน จะเป็นหลักในการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน ให้ความช่วยเหลือและหนุนเสริมให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการชุมชนให้มีความเข้มแข็งให้มากที่สุด เท่าที่เราสามารถจะทำได้ ซึ่งการประกาศระเบียบวาระแห่งชุมชนในวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป “ นายกรัฐมนตรีกล่าว
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้โบกธงประกาศระเบียบวาระชุมชน แล้วนายสุรินทร์ นิลเลิศ กำนันตำบลบางเจ้าฉ่า ประกาศเจตนารมณ์ของชุมชน ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการขับเคลื่อน “ระเบียบวาระชุมชน” ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยกับ 14 หน่วยงาน แล้วชมการสาธิตการจัดแผนชุมชนและศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.40 น. ณ บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานประกาศ “ระเบียบวาระชุมชน” พร้อมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการขับเคลื่อน “ระเบียบวาระชุมชน” ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยกับ 14 หน่วยงาน เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชน โดยมีตัวแทนชุมชนทั่วประเทศเข้าร่วมพิธีรวม 1,500 คน
เมื่อเดินทางถึง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ชมวิดิทัศน์การขับเคลื่อนระเบียบวาระชุมชน จากนั้น นายศุทธนะ ธีวีระปัญญา ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองกล่าวต้อนรับ นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวรายงานสรุปว่า โดยที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข มุ่งให้ประชาชนไทยอยู่ดีมีสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้กลไกชุมชนเป็นพลังขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างการเรียนรู้และความสามารถในการจัดการของชุมชนเพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน กระทรวงมหาดไทยจึงได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นแกนประสานกับหน่วยงานภาคี 21 หน่วยงาน ผนึกกำลังร่วมมือกันสนับสนุนชุมชน ทั้งในกระบวนการจัดทำแผนชุมชนที่มีคุณภาพ การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ของชุมชน ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนา ระเบียบวาระแห่งชุมชนหมายถึงงานสำคัญของชุมชน ในการสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยกระบวนการแผนชุมชน และการผนึกกำลังสนับสนุนจากภาครัฐและภาคีการพัฒนา ดังนั้น การดำเนินการจัดพิธีประกาศระเบียบวาระชุมชนในวันนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการคือ 1. ผู้แทนภาคประชาชนประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาคน พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ และสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้บังเกิดเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 2. หน่วยงานภาคี 15 หน่วยงานร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ ยืนยันถึงการยอมรับและความพร้อมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชน
โดยผู้เข้าร่วมในพิธีประกาศเจตนารมณ์การขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชนเป็นตัวแทนของชุมชนทั่วประเทศ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำกลุ่มอาชีพ จากจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท สระบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี รวมทั้ง หน่วยงานภาครัฐและภาคีการพัฒนาที่แสดงความตั้งใจสนับสนุนชุมชน จำนวน 21 หน่วยงาน คือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมที่ดิน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมการพัฒนาชุมชน หน่วยงานภาคี 14 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สมาคมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนไทย สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล และสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เป็นประธานประกาศ “ระเบียบวาระชุมชน” สรุปสาระสำคัญว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนทุกชุมชน รวมทั้งท้องถิ่นและประชาคมเพื่อให้สามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การปกครอง และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของตนเองได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ โดยวิธีการหนึ่งที่นอกเหนือไปจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข คือการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ โดยชุมชนและประชาชนจะเป็นผู้ดำเนินการด้วยตัวเอง หรือที่เรียกว่าเป็นหลักในการดำเนินการ เพื่อที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของตนเอง ให้การสนับสนุนและยอมรับการพัฒนาตนเองของชุมชน รวมทั้งทำงานสนับสนุนชุมชนเหล่านั้นด้วยหลักการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานมา คือ ” เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” โดยเฉพาะในด้านของการพัฒนาประชาชน หรือพัฒนาคนด้วยกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การคิด การตัดสินใจ การแก้ปัญหาต่าง ๆ การดูแลในเรื่องพื้นที่ของเราเองและประชาชนเป็นหลักในการพัฒนาส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ในการที่จะรักและหวงแหนชุมชนของตนเอง อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์หมู่บ้านสร้างสรรค์ชุมชนให้มีความน่าอยู่ น่าอาศัย มีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีขยะ ไม่มีน้ำเน่า
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดสภาพที่มีความสุข และเราจะช่วยกันดูแลในด้านความปลอดภัย ช่วยกันสนับสนุนให้ชุมชนได้ดูถึงจุดเด่น หรือที่เรียกว่าศักยภาพของชุมชน ว่าในชุมชนของเรามีอะไรที่ดี มีอะไรที่เด่นบ้าง ความโดดเด่นที่สามารถจะนำมาพัฒนา นำมาเสริมต่อ หรือที่เรียกในปัจจุบันว่ามาต่อยอดเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่า สามารถก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนและชุมชน ได้วางระบบการทำงานให้เชื่อมโยงและประสานงานกัน โดยมีการประสานทั้งในด้านของนโยบายและแผนงานในทุกระดับ ซึ่งการจะส่งเสริมให้เกิดสิ่งเหล่านี้จะต้องมีการจัดทำแผนในการพัฒนาเพื่อให้เป็นกรอบแนวความคิด และกรอบแนวทางในการดำเนินงานอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อไป
“ ผมมีความยินดีที่วันนี้ได้มีการประกาศระเบียบวาระแห่งชุมชนขึ้น นั่นก็หมายถึงว่าชุมชนเป็นจุดที่สำคัญที่สุด เพื่อให้ทุกหน่วยงานกำหนดการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชุมชนเป็นภารกิจสำคัญที่จะต้องดำเนินการร่วมกันต่อไป สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทยจะต้องสนับสนุนให้การจัดทำแผนชุมชนมีคุณภาพและส่งเสริมให้มีศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทำให้ชุมชนได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น แลกเปลี่ยนแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของเรา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะช่วยให้ครอบครัวและสถาบันเกษตรกรมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กระทรวงสาธารณสุขส่งเสริมการเรียนรู้ให้คำแนะนำในด้านของสุขภาพ เพื่อให้เราใช้วิธีการที่จะป้องกัน มากกว่าที่จะปล่อยให้เป็นแล้วก็รักษา นั่นเป็นสิ่งที่เราจะสามารถดูแลตัวเองได้ ส่วนในภาควิชาการและภาคเอกชน จะเป็นหลักในการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน ให้ความช่วยเหลือและหนุนเสริมให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการชุมชนให้มีความเข้มแข็งให้มากที่สุด เท่าที่เราสามารถจะทำได้ ซึ่งการประกาศระเบียบวาระแห่งชุมชนในวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายต่อไป “ นายกรัฐมนตรีกล่าว
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้โบกธงประกาศระเบียบวาระชุมชน แล้วนายสุรินทร์ นิลเลิศ กำนันตำบลบางเจ้าฉ่า ประกาศเจตนารมณ์ของชุมชน ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในการขับเคลื่อน “ระเบียบวาระชุมชน” ระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยกับ 14 หน่วยงาน แล้วชมการสาธิตการจัดแผนชุมชนและศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--