พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม Financial Action Task Force (TATF)/Asia Pacific Group on Money Laundering (APG) Annual Typologies Meeting ณ โรงแรมอโนมา
นายกรัฐมนตรีกล่าวในนามของรัฐบาลไทยต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมจาก FATF และผู้แทนจากประเทศสมาชิกAPG ทุกท่าน และรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่มีการจัดการประชุมประจำปี FATF/APG ที่มีความสำคัญยิ่งครั้งนี้ขึ้นที่กรุงเทพฯ
ด้วยทุกวันนี้ โลกาภิวัตน์ มีความเข้มข้นมากขึ้น เช่นเดียวกันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ผลักดันให้เกิดช่องทางใหม่ๆ สำหรับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ทำให้มาตรการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทำได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เพื่อให้สามารถบรรลุผลที่ดี เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจและรู้เท่าทันกับวิธีการที่จะมีขึ้น และต้องคำนึงถึงแนวทางใหม่ๆเพื่อจะได้ก้าวล้ำอาชญากรรมไปหนึ่งก้าว แน่นอนว่า ประเทศเพียงหนึ่งเดียวไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างสำเร็จได้ เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและการเงินสำหรับการก่อการร้ายมิได้ปฏิบัติการเพียงในประเทศเดียว แต่ใช้โอกาสของการทำธุรกรรมทางการเงินแบบไร้พรมแดนที่กำลังเพิ่มมากขึ้นอาจกล่าวได้ว่า การร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง และนี่คือความมุ่งมั่นของการจัดการประชุมนี้ขึ้น โดยฝ่ายเลขาธิการผู้จัดการประชุมในครั้งนี้ ได้วางรูปแบบการนำเสนอและการอภิปรายให้หัวข้อ ยุทธศาสตร์การวิเคราะห์ภัยคุกคามจากการฟอกเงิน (Money Laundering Threat Analysis Strategies) การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการแพร่กระจายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction Proliferation Financing) ความเปราะบางต่างๆ ของการพนันและคาสิโน (Vulnerabilities in Gaming and Casino Sector) ความอ่อนไหวง่ายของการค้าแบบออนไลน์ Vulnerabilities of On-line Commerce. โดยวาระการประชุมครั้งนี้ สะท้อนถึงการตระหนักของประชาคมโลกต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากช่องทางใหม่ๆในการฟอกเงินและการเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการการฟอกเงินกับกิจกรรมอาชญากรรมอื่นๆ
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศสมาชิก FATF และ APG ที่จะด้สร้างความชัดเจนกับ FATF ถึงสถานการณ์ที่แท้จริงในภูมิภาคเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการของ FATF ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะ 40 ประการ และเพิ่มเดิมอีก 9 ประการ และมาตรฐานดังกล่าว สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ได้
ไทยเองเห็นความสำคัญของการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของ APG นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งที่กรุงเทพฯ เมื่อปี ค.ศ. 1997 ทั้งนี้ ความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นประเด็นด้านวิชาการเท่านั้น แต่ถือเป็นเร่งด่วนของชาติลำดับต้นๆ ที่ต้องได้แสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลยังวิตกถึงหลักฐานต่างๆ ภายในภูมิภาค ที่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้ายกับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย อาทิ การลักลอบค้ายาเสพติด และการลักลอบขนอาวุธ ดังนั้น ประเทศไทยจึงดำเนินนโยบายต่อต้านการฟอกเงินและอาชญากรรมข้ามชาติอย่างเข้มข้น โดยรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติต่อต้านการฟอกเงินเมื่อ ปี 1999 และได้มีรวมเอาการก่อการร้าย เป็นหนึ่งมูลฐานความผิดภายใต้กฎหมายดังกล่าวด้วย ปัจจุบัน ได้กำหนดมูลฐานความผิดไว้ 8 ประการด้วยกันครอบคลุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การยักยอกในตลาดหลักทรัพย์ การพนันและการค้าอาวุธ และในอีกไม่กี่วันนี้ ไทยก็จะได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งจะช่วยกระชับความร่วมมือของภูมิภาคในประเด็นให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ประเทศไทย มีความยินดีที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม FATF/APG ประจำปี 2007 และพร้อมที่จะขยายความร่วมมือระหว่างสมาชิกและประเทศอื่นๆ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลข่าวสาร ด้วยความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ดังกล่าว เชื่อมั่นว่า ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศจะเข้มแข็ง สามารถต่อสู้กับภัยจากการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความชื่นชมความร่วมมือระหว่าง FATF และสมาชิก APG และเชื่อว่าการประชุมครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ และจะยังคงเดินหน้าขจัดภัยคุกคามจากการฟอกเงินและการให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เพื่อประโยชน์ของสังคมต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวในนามของรัฐบาลไทยต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมจาก FATF และผู้แทนจากประเทศสมาชิกAPG ทุกท่าน และรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่มีการจัดการประชุมประจำปี FATF/APG ที่มีความสำคัญยิ่งครั้งนี้ขึ้นที่กรุงเทพฯ
ด้วยทุกวันนี้ โลกาภิวัตน์ มีความเข้มข้นมากขึ้น เช่นเดียวกันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ผลักดันให้เกิดช่องทางใหม่ๆ สำหรับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ทำให้มาตรการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทำได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เพื่อให้สามารถบรรลุผลที่ดี เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจและรู้เท่าทันกับวิธีการที่จะมีขึ้น และต้องคำนึงถึงแนวทางใหม่ๆเพื่อจะได้ก้าวล้ำอาชญากรรมไปหนึ่งก้าว แน่นอนว่า ประเทศเพียงหนึ่งเดียวไม่สามารถต่อสู้ได้อย่างสำเร็จได้ เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและการเงินสำหรับการก่อการร้ายมิได้ปฏิบัติการเพียงในประเทศเดียว แต่ใช้โอกาสของการทำธุรกรรมทางการเงินแบบไร้พรมแดนที่กำลังเพิ่มมากขึ้นอาจกล่าวได้ว่า การร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง และนี่คือความมุ่งมั่นของการจัดการประชุมนี้ขึ้น โดยฝ่ายเลขาธิการผู้จัดการประชุมในครั้งนี้ ได้วางรูปแบบการนำเสนอและการอภิปรายให้หัวข้อ ยุทธศาสตร์การวิเคราะห์ภัยคุกคามจากการฟอกเงิน (Money Laundering Threat Analysis Strategies) การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการแพร่กระจายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction Proliferation Financing) ความเปราะบางต่างๆ ของการพนันและคาสิโน (Vulnerabilities in Gaming and Casino Sector) ความอ่อนไหวง่ายของการค้าแบบออนไลน์ Vulnerabilities of On-line Commerce. โดยวาระการประชุมครั้งนี้ สะท้อนถึงการตระหนักของประชาคมโลกต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากช่องทางใหม่ๆในการฟอกเงินและการเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการการฟอกเงินกับกิจกรรมอาชญากรรมอื่นๆ
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศสมาชิก FATF และ APG ที่จะด้สร้างความชัดเจนกับ FATF ถึงสถานการณ์ที่แท้จริงในภูมิภาคเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการของ FATF ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะ 40 ประการ และเพิ่มเดิมอีก 9 ประการ และมาตรฐานดังกล่าว สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในพื้นที่ได้
ไทยเองเห็นความสำคัญของการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของ APG นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งที่กรุงเทพฯ เมื่อปี ค.ศ. 1997 ทั้งนี้ ความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นประเด็นด้านวิชาการเท่านั้น แต่ถือเป็นเร่งด่วนของชาติลำดับต้นๆ ที่ต้องได้แสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลยังวิตกถึงหลักฐานต่างๆ ภายในภูมิภาค ที่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ก่อการร้ายกับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย อาทิ การลักลอบค้ายาเสพติด และการลักลอบขนอาวุธ ดังนั้น ประเทศไทยจึงดำเนินนโยบายต่อต้านการฟอกเงินและอาชญากรรมข้ามชาติอย่างเข้มข้น โดยรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติต่อต้านการฟอกเงินเมื่อ ปี 1999 และได้มีรวมเอาการก่อการร้าย เป็นหนึ่งมูลฐานความผิดภายใต้กฎหมายดังกล่าวด้วย ปัจจุบัน ได้กำหนดมูลฐานความผิดไว้ 8 ประการด้วยกันครอบคลุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การยักยอกในตลาดหลักทรัพย์ การพนันและการค้าอาวุธ และในอีกไม่กี่วันนี้ ไทยก็จะได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งจะช่วยกระชับความร่วมมือของภูมิภาคในประเด็นให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ประเทศไทย มีความยินดีที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม FATF/APG ประจำปี 2007 และพร้อมที่จะขยายความร่วมมือระหว่างสมาชิกและประเทศอื่นๆ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลข่าวสาร ด้วยความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์ดังกล่าว เชื่อมั่นว่า ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศจะเข้มแข็ง สามารถต่อสู้กับภัยจากการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความชื่นชมความร่วมมือระหว่าง FATF และสมาชิก APG และเชื่อว่าการประชุมครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ และจะยังคงเดินหน้าขจัดภัยคุกคามจากการฟอกเงินและการให้ความสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เพื่อประโยชน์ของสังคมต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--