นายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวกิจกรรมกระตุ้นจิตสำนึกเลือกตั้ง 2550 ในโครงการเลือกตั้ง 50 ชี้อนาคตประเทศไทย ภายใต้แนวคิด สุ จิ ปุ ลิ เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศเกิดความตื่นตัว และเสริมสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวกิจกรรมกระตุ้นจิตสำนึกเลือกตั้ง 2550 ในโครงการ "เลือกตั้ง 50 ชี้อนาคตประเทศไทย" ภายใต้แนวคิด "สุ จิ ปุ ลิ" ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี จัดขึ้น เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศเกิดความตื่นตัว และเสริมสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมี นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เข้าร่วมด้วย สรุปดังนี้
นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวรายงานว่าโครงการกิจกรรมกระตุ้นจิตสำนึกเลือกตั้ง 2550 เป็นการเชิญชวนประชาชนให้ร่วมติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งทุกรูปแบบ ทั้งข้อมูล ความเคลื่อนไหว ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ โดยผ่านกิจกรรมหลายรูปแบบ อาทิ การจัดกิจกรรมพิเศษ การรายงานผลและความเคลื่อนไหว เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับทราบ เกิดความรู้และความเข้าใจ ที่จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมงานแถลงข่าวกิจกรรมของภาครัฐเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของประชาชนในการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งในวันนี้ เนื่องจากการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการกำหนดอนาคตของประเทศไทย และเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะมีบทบาทต่อการพัฒนาการเมืองไทยต่อไป ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้การดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประสบผลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยเฉพาะการเชิญชวนให้พี่น้องคนไทยที่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ไปทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่
สำหรับการพิจารณาเลือกบุคคลเพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรนั้น พี่น้องประชาชนอาจยึดหลัก "สุ จิ ปุ ลิ" อันเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา และถือว่าเป็นหัวใจของนักปราชญ์ มาใช้ในการพิจารณาใคร่ครวญเพื่อให้ได้คนดีเข้ามาทำงาน ดังนี้ 1) สุ หรือ สุตะ คือการฟัง ประชาชนจะต้องเปิดรับทุกช่องทางเพื่อให้ได้รับทราบประวัติหรือคุณงามความดีของผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งการรับฟังนโยบายของพรรคการเมืองให้ครบถ้วน เพราะนโยบายเหล่านี้เป็นแนวทางในการบริหารประเทศและมีผลต่อพี่น้องประชาชนต่อไป 2) จิ หรือ จิตตะ คือการเอาใจใส่ หมายถึง เมื่อฟังแล้วก็ต้องรู้จักนำมาคิดพิจารณาทบทวนว่าสิ่งเหล่านั้นดีหรือไม่ดี สามารถนำมาใช้ได้จริงหรือไม่ และมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร 3) ปุ หรือ ปุจฉา คือ การถาม เพื่อให้ได้รับความกระจ่าง คลายความสงสัย และทราบว่าสิ่งที่แต่ละพรรคนำเสนอนั้น สามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ และอาจจะมีความจำเป็นที่ต้องซักถามเพื่อให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้นด้วย 4) ลิ หรือ ลิขิต คือ การเขียนนั้น หมายถึง การลงมือกากบาทเลือกผู้แทนของท่าน เมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ซึ่งจะเป็นกระบวนการสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในวันที่ 23 ธันวาคม นั่นเอง
นายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นย้ำในตอนท้ายว่า รัฐบาลทำหน้าที่ส่งต่อประเทศไทยในสภาพที่ดีที่สุดให้แก่พี่น้องคนไทย และทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นการเลือกตั้งที่ใสสะอาด โปร่งใส เป็นธรรม ดังนั้น การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้งจึงมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าวได้ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชนทุกแขนง ร่วมกันเป็นหูเป็นตา และร่วมรณรงค์เพื่อให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกผู้แทนในอนาคตด้วยความรอบคอบ เพื่อช่วยกันทำให้ประเทศไทยและระบอบประชาธิปไตยของเราเดินหน้าต่อไป ด้วยความมั่นคง และเริ่มอนาคตใหม่ของเมืองไทยตามที่ประชาชนต้องการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวกิจกรรมกระตุ้นจิตสำนึกเลือกตั้ง 2550 ในโครงการ "เลือกตั้ง 50 ชี้อนาคตประเทศไทย" ภายใต้แนวคิด "สุ จิ ปุ ลิ" ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี จัดขึ้น เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศเกิดความตื่นตัว และเสริมสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมี นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เข้าร่วมด้วย สรุปดังนี้
นายปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวรายงานว่าโครงการกิจกรรมกระตุ้นจิตสำนึกเลือกตั้ง 2550 เป็นการเชิญชวนประชาชนให้ร่วมติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งทุกรูปแบบ ทั้งข้อมูล ความเคลื่อนไหว ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ โดยผ่านกิจกรรมหลายรูปแบบ อาทิ การจัดกิจกรรมพิเศษ การรายงานผลและความเคลื่อนไหว เพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับทราบ เกิดความรู้และความเข้าใจ ที่จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และการรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมงานแถลงข่าวกิจกรรมของภาครัฐเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของประชาชนในการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งในวันนี้ เนื่องจากการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการกำหนดอนาคตของประเทศไทย และเป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะมีบทบาทต่อการพัฒนาการเมืองไทยต่อไป ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้การดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประสบผลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยเฉพาะการเชิญชวนให้พี่น้องคนไทยที่มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ไปทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่
สำหรับการพิจารณาเลือกบุคคลเพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรนั้น พี่น้องประชาชนอาจยึดหลัก "สุ จิ ปุ ลิ" อันเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา และถือว่าเป็นหัวใจของนักปราชญ์ มาใช้ในการพิจารณาใคร่ครวญเพื่อให้ได้คนดีเข้ามาทำงาน ดังนี้ 1) สุ หรือ สุตะ คือการฟัง ประชาชนจะต้องเปิดรับทุกช่องทางเพื่อให้ได้รับทราบประวัติหรือคุณงามความดีของผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งการรับฟังนโยบายของพรรคการเมืองให้ครบถ้วน เพราะนโยบายเหล่านี้เป็นแนวทางในการบริหารประเทศและมีผลต่อพี่น้องประชาชนต่อไป 2) จิ หรือ จิตตะ คือการเอาใจใส่ หมายถึง เมื่อฟังแล้วก็ต้องรู้จักนำมาคิดพิจารณาทบทวนว่าสิ่งเหล่านั้นดีหรือไม่ดี สามารถนำมาใช้ได้จริงหรือไม่ และมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร 3) ปุ หรือ ปุจฉา คือ การถาม เพื่อให้ได้รับความกระจ่าง คลายความสงสัย และทราบว่าสิ่งที่แต่ละพรรคนำเสนอนั้น สามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ และอาจจะมีความจำเป็นที่ต้องซักถามเพื่อให้มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้นด้วย 4) ลิ หรือ ลิขิต คือ การเขียนนั้น หมายถึง การลงมือกากบาทเลือกผู้แทนของท่าน เมื่อได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ซึ่งจะเป็นกระบวนการสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในวันที่ 23 ธันวาคม นั่นเอง
นายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นย้ำในตอนท้ายว่า รัฐบาลทำหน้าที่ส่งต่อประเทศไทยในสภาพที่ดีที่สุดให้แก่พี่น้องคนไทย และทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นการเลือกตั้งที่ใสสะอาด โปร่งใส เป็นธรรม ดังนั้น การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้งจึงมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าวได้ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชนทุกแขนง ร่วมกันเป็นหูเป็นตา และร่วมรณรงค์เพื่อให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกผู้แทนในอนาคตด้วยความรอบคอบ เพื่อช่วยกันทำให้ประเทศไทยและระบอบประชาธิปไตยของเราเดินหน้าต่อไป ด้วยความมั่นคง และเริ่มอนาคตใหม่ของเมืองไทยตามที่ประชาชนต้องการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--