พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง (ครส.) ครั้งที่ 4/2550 โดยให้นักเรียน นักศึกษา ศิลปินดารา ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ด้วย
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง (ครส.) ครั้งที่ 4/2550 สรุปดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ครส. แจ้งต่อที่ประชุมดังนี้ 1) การจัดโครงการและกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งของส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ และสื่อมวลชน มีประมาณ 130 โครงการ/กิจกรรม ทำให้ประชาชนตื่นตัวต่อการเลือกตั้งและการรณรงค์แก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงอย่างมาก ซึ่งควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างจิตสำนึกทางการเมืองต่อประชาชนในระยะยาว 2) จำนวนผู้มาลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดรวมทั้งประเทศมีจำนวนประมาณ 2,091,704 ราย ขณะที่การเลือกตั้งปี 2549 มีจำนวนเพียง 474,590 ราย และจำนวนผู้ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศที่ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรมีจำนวน 79,186 ราย ดังนั้น จึงควรดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550 เกี่ยวกับระยะเวลาการเลือกตั้งและสถานที่ตั้งของหน่วยเลือกตั้งอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ประธาน ครส. ได้ให้นโยบายว่าการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยนักเรียน นักศึกษา ศิลปินดารา จะมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์มากขึ้น
ที่ประชุมรับทราบรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการที่สำคัญของคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ได้ประสานงานกับองค์กรภาคเอกชนและประชาชนดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ โทรศัพท์ การอบรม สัมมนา และการจัดกิจกรรม โดยในระยะต่อไปจะขยายการประชาสัมพันธ์ไปถึงเว็บไซต์ของภาคเอกชนและ cable TV ด้วย 2) คณะอนุกรรมการประสานงาน ได้จัดกิจกรรมดังนี้ การพบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง จำนวน 500 คน ที่กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 การพบปะพูดคุยกับกลุ่มศิลปิน ดารานักแสดง ผู้จัดรายการวิทยุโทรทัศน์ และสื่อมวลชนต่างๆ จำนวน 100 คน ที่ตึกสันติไมตรี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 การพบปะพูดคุยกับผู้พิการและกลุ่มสตรี จำนวน 197 คน ที่ตึกสันติไมตรี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 และจะจัดกิจกรรมในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น ระนอง อุดรธานี และเชียงใหม่ 3) คณะอนุกรรมการวิชาการ ได้จัดทำเว็บไซต์ของ ครส. คือ www.sce.thaigov.go.th เพื่อเป็นช่องทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งข้อมูลที่จำเป็นในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบต่อไป 4) คณะอนุกรรมการอำนวยการ "ศูนย์สร้างความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง" รายงานว่าประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจใน 3 เรื่อง ได้แก่ ความแตกต่างของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน วิธีการเลือกตั้ง และบทบาทของ ครส. ที่ถูกมองว่าซ้ำซ้อนกับการทำงานของ กกต.
สำหรับการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ สื่อมวลชน และภาคเอกชนนั้น ที่ประชุมรับทราบการประกาศเจตนารมณ์ชุมชนใสสะอาดปราศจากการซื้อสิทธิขายเสียง ของกระทรวงมหาดไทย ว่ามีชุมชนประกาศเจตนารมณ์ไปแล้ว 38,644 แห่ง ซึ่งเป็นการประกาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 1,000 แห่ง นอกจากนี้ ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้มาลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าประมาณ 900,000 คน และกระทรวงแรงงานได้รณรงค์ในหมู่นายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการต่างๆ ในประเทศไปแล้วประมาณ 70,000 แห่ง เยี่ยมเยียนสถานประกอบการประมาณ 10,000 แห่ง ซึ่งครอบคลุมลูกจ้างประมาณ 1,000,000 คน
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบการประเมินสถานการณ์การเลือกตั้ง โดยกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 สรุปดังนี้ 1) ประชาชนในเขตเลือกตั้งรับทราบว่า วันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นวันเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 86.03 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจังหวัดที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ จังหวัดตาก คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนจังหวัดที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ จังหวัดร้อยเอ็ด คิดเป็นร้อยละ 55.03 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2) ประชาชนในเขตเลือกตั้งที่จะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 71.74 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจังหวัดที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ จังหวัดลำพูน คิดเป็นร้อยละ 85 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนจังหวัดที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ จังหวัดน่าน คิดเป็นร้อยละ 63.93 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ปรากฏว่ามีตัวตนอยู่จริงในเขตพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 85.02 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจังหวัดที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ จังหวัดสระแก้ว คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนจังหวัดที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ จังหวัดศรีสะเกษ คิดเป็นร้อยละ 63.27 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง (ครส.) ครั้งที่ 4/2550 สรุปดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ครส. แจ้งต่อที่ประชุมดังนี้ 1) การจัดโครงการและกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งของส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ และสื่อมวลชน มีประมาณ 130 โครงการ/กิจกรรม ทำให้ประชาชนตื่นตัวต่อการเลือกตั้งและการรณรงค์แก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงอย่างมาก ซึ่งควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างจิตสำนึกทางการเมืองต่อประชาชนในระยะยาว 2) จำนวนผู้มาลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดรวมทั้งประเทศมีจำนวนประมาณ 2,091,704 ราย ขณะที่การเลือกตั้งปี 2549 มีจำนวนเพียง 474,590 ราย และจำนวนผู้ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศที่ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรมีจำนวน 79,186 ราย ดังนั้น จึงควรดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550 เกี่ยวกับระยะเวลาการเลือกตั้งและสถานที่ตั้งของหน่วยเลือกตั้งอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ประธาน ครส. ได้ให้นโยบายว่าการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยนักเรียน นักศึกษา ศิลปินดารา จะมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์มากขึ้น
ที่ประชุมรับทราบรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการที่สำคัญของคณะอนุกรรมการ 4 คณะ ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ได้ประสานงานกับองค์กรภาคเอกชนและประชาชนดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ โทรศัพท์ การอบรม สัมมนา และการจัดกิจกรรม โดยในระยะต่อไปจะขยายการประชาสัมพันธ์ไปถึงเว็บไซต์ของภาคเอกชนและ cable TV ด้วย 2) คณะอนุกรรมการประสานงาน ได้จัดกิจกรรมดังนี้ การพบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง จำนวน 500 คน ที่กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 การพบปะพูดคุยกับกลุ่มศิลปิน ดารานักแสดง ผู้จัดรายการวิทยุโทรทัศน์ และสื่อมวลชนต่างๆ จำนวน 100 คน ที่ตึกสันติไมตรี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2550 การพบปะพูดคุยกับผู้พิการและกลุ่มสตรี จำนวน 197 คน ที่ตึกสันติไมตรี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 และจะจัดกิจกรรมในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น ระนอง อุดรธานี และเชียงใหม่ 3) คณะอนุกรรมการวิชาการ ได้จัดทำเว็บไซต์ของ ครส. คือ www.sce.thaigov.go.th เพื่อเป็นช่องทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งข้อมูลที่จำเป็นในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบต่อไป 4) คณะอนุกรรมการอำนวยการ "ศูนย์สร้างความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง" รายงานว่าประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจใน 3 เรื่อง ได้แก่ ความแตกต่างของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน วิธีการเลือกตั้ง และบทบาทของ ครส. ที่ถูกมองว่าซ้ำซ้อนกับการทำงานของ กกต.
สำหรับการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ สื่อมวลชน และภาคเอกชนนั้น ที่ประชุมรับทราบการประกาศเจตนารมณ์ชุมชนใสสะอาดปราศจากการซื้อสิทธิขายเสียง ของกระทรวงมหาดไทย ว่ามีชุมชนประกาศเจตนารมณ์ไปแล้ว 38,644 แห่ง ซึ่งเป็นการประกาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 1,000 แห่ง นอกจากนี้ ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้มาลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าประมาณ 900,000 คน และกระทรวงแรงงานได้รณรงค์ในหมู่นายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการต่างๆ ในประเทศไปแล้วประมาณ 70,000 แห่ง เยี่ยมเยียนสถานประกอบการประมาณ 10,000 แห่ง ซึ่งครอบคลุมลูกจ้างประมาณ 1,000,000 คน
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบการประเมินสถานการณ์การเลือกตั้ง โดยกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2550 สรุปดังนี้ 1) ประชาชนในเขตเลือกตั้งรับทราบว่า วันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นวันเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 86.03 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจังหวัดที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ จังหวัดตาก คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนจังหวัดที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ จังหวัดร้อยเอ็ด คิดเป็นร้อยละ 55.03 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2) ประชาชนในเขตเลือกตั้งที่จะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 71.74 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจังหวัดที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ จังหวัดลำพูน คิดเป็นร้อยละ 85 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนจังหวัดที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ จังหวัดน่าน คิดเป็นร้อยละ 63.93 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ปรากฏว่ามีตัวตนอยู่จริงในเขตพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 85.02 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจังหวัดที่มีผลการประเมินสูงสุดคือ จังหวัดสระแก้ว คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนจังหวัดที่มีผลการประเมินต่ำสุดคือ จังหวัดศรีสะเกษ คิดเป็นร้อยละ 63.27 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--