พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีให้การต้อนรับ นาย บัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ในโอกาสเยือนประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล
วันนี้ เวลา 10.30 น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีให้การต้อนรับ นาย บัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ในโอกาสเยือนประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล ภายหลังกล่าวต้อนรับ นายกรัฐมนตรีเชิญเลขาธิการสหประชาชาติร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ โดยการตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ และแนะนำคณะรัฐมนตรี ที่มารอต้อนรับ ณ ห้องสีม่วง
จากนั้น นายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสหประชาชาติ ได้พบปะหารือทวิภาคี ณ ห้องสีงาช้าง ต่อด้วยการหารือแบบเต็มคณะ ณ ห้องสีเขียว โดยมีรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายไทย อาทิ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม เมื่อเสร็จสิ้นการหารือแล้ว นายกรัฐมนตรี และนาย บัน คี-มุน ได้ร่วมแถลงผลการหารือ ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน สรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับเลขาธิการสหประชาชาติซึ่งเป็นแขกผู้มีเกียรติระดับสูงจากต่างประเทศที่เยือนประเทศไทยในโอกาสที่มีการเฉลิมฉลองครบ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ เลขาธิการฯและภริยาจะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วย
เมื่อปีที่แล้ว องค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล UNDP Human Development Lifetime Achievement Award ซึ่งการเยือนครั้งนี้ แสดงถึงความชื่นชมความมุ่งมั่นและพัฒนามนุษย์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงมวลมนุษยชาติทั้งหมด
ประเทศไทยและองค์การสหประชาชาติมีประวัติศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนความสัมพันธ์มายาวนาน และสนับสนุนองค์การสหประชาชาติและระบบพหุนิยมมาโดยตลอด รวมถึงการยกย่องเชิดชูในคุณค่าของ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และการเคารพนับถือถึงความหลากหลายและความอดทนอดกลั้น ร่วมกัน ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ ESCAP และสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคของหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ
นายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสหประชาชาติได้มีการหารืออย่างเปิดเผยและเป็นประโยชน์ในประเด็นต่างๆที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการประชุมของสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบาหลี ซึ่งเห็นพ้องร่วมกันว่าผลการประชุมที่สำคัญจะต้องบรรลุผลถ้าประชาคมโลกร่วมแก้ปัญหาและรับมือความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ไม่สามารถแยกจากภารกิจการเอาชนะความยากจนและการดำเนินการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในการนี้ ไทยมีความภาคภูมิใจที่ทราบว่า แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สอดรับกับความพยายามของสหประชาชาติในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับจากที่ประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals ) และกำลังดำเนินสู่เป้าหมาย MDS Plus อีกทั้งกำลังเป็นประเทศผู้บริจาคที่มีศักยภาพ ไทยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า ไทยและองค์การสหประชาชาติจะสามารถทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคนี้ เพื่อให้ประเทศเหล่านี้ได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ เช่นเดียวกัน ในฐานะ ผู้สนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยของมนุษยชาติ ได้ศึกษาแนวทางและวิธีการการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอพยพลี้ภัย ภัยคุกคามด้านสาธารณสุขและอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ ประเทศไทยจะคงให้ความร่วมมือช่วยเหลือองค์การสหประชาชาติ ในการดำเนินการเพื่อรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ โดยเฉพาะการสร้างความสงบเรียบร้อย และการสร้างสันติภาพ
นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือในประเด็นสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ การพัฒนาในพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่าไทยยินดีสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติและนาย กัมบารี อย่างเต็มที่ อีกทั้งการพัฒนาในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎบัตรอาเซียน และการเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ จากประเทศไทยในเดือน มกราคม สำหรับการเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกลางปีหน้านั้น ได้หารือกันถึงแนวทางที่เหมาะสม ที่อาเซียนและองค์การสหประชาชาติจะสามารถทำงานร่วมกัน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและองค์การสหประชาชาติให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ในโอกาสนี้ นายบัน คี-มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยสำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นประทับใจ และยินดีที่ได้มาเยือนประเทศไทยในโอกาสอันเป็นมงคล การเฉลิมฉลองครบ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกด้วย ทั้งนี้ ได้มีการหารือกับนายกรัฐมนตรีและคณะ ในประเด็นต่างๆที่เป็นประโยชน์และชื่นชมประเทศไทยในฐานะหุ้นส่วนที่ดีของสหประชาชาติมาโดยตลอด และยังเป็นประเทศผู้ให้ที่กำลังเติบโต นอกจากนี้ เลขาธิการฯ ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยสำหรับความร่วมมือในด้านต่างๆกับสหประชาชาติ รวมทั้งการร่วมผลักดันและสนับสนุนโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ( South — South Cooperation ) การสนับสนุนการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ ( UN Reform ) การส่งเสริมการสร้างสันติภาพ ( UN Peace Keeping Cooperations ) และการสนับสนุนนโยบาย Good office และบทบาทขององค์การสหประชาชาติในพม่า รวมถึง ความสำเร็จของประเทศไทยในการดำเนินนโยบายสาธารณสุข และสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก และโรคเอดส์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.30 น. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีให้การต้อนรับ นาย บัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ในโอกาสเยือนประเทศไทย อย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล ภายหลังกล่าวต้อนรับ นายกรัฐมนตรีเชิญเลขาธิการสหประชาชาติร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ โดยการตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ และแนะนำคณะรัฐมนตรี ที่มารอต้อนรับ ณ ห้องสีม่วง
จากนั้น นายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสหประชาชาติ ได้พบปะหารือทวิภาคี ณ ห้องสีงาช้าง ต่อด้วยการหารือแบบเต็มคณะ ณ ห้องสีเขียว โดยมีรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายไทย อาทิ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม เมื่อเสร็จสิ้นการหารือแล้ว นายกรัฐมนตรี และนาย บัน คี-มุน ได้ร่วมแถลงผลการหารือ ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน สรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับเลขาธิการสหประชาชาติซึ่งเป็นแขกผู้มีเกียรติระดับสูงจากต่างประเทศที่เยือนประเทศไทยในโอกาสที่มีการเฉลิมฉลองครบ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ เลขาธิการฯและภริยาจะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วย
เมื่อปีที่แล้ว องค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล UNDP Human Development Lifetime Achievement Award ซึ่งการเยือนครั้งนี้ แสดงถึงความชื่นชมความมุ่งมั่นและพัฒนามนุษย์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงมวลมนุษยชาติทั้งหมด
ประเทศไทยและองค์การสหประชาชาติมีประวัติศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนความสัมพันธ์มายาวนาน และสนับสนุนองค์การสหประชาชาติและระบบพหุนิยมมาโดยตลอด รวมถึงการยกย่องเชิดชูในคุณค่าของ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และการเคารพนับถือถึงความหลากหลายและความอดทนอดกลั้น ร่วมกัน ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ ESCAP และสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคของหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ
นายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสหประชาชาติได้มีการหารืออย่างเปิดเผยและเป็นประโยชน์ในประเด็นต่างๆที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการประชุมของสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบาหลี ซึ่งเห็นพ้องร่วมกันว่าผลการประชุมที่สำคัญจะต้องบรรลุผลถ้าประชาคมโลกร่วมแก้ปัญหาและรับมือความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ไม่สามารถแยกจากภารกิจการเอาชนะความยากจนและการดำเนินการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในการนี้ ไทยมีความภาคภูมิใจที่ทราบว่า แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สอดรับกับความพยายามของสหประชาชาติในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับจากที่ประเทศไทยได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals ) และกำลังดำเนินสู่เป้าหมาย MDS Plus อีกทั้งกำลังเป็นประเทศผู้บริจาคที่มีศักยภาพ ไทยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า ไทยและองค์การสหประชาชาติจะสามารถทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคนี้ เพื่อให้ประเทศเหล่านี้ได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ เช่นเดียวกัน ในฐานะ ผู้สนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยของมนุษยชาติ ได้ศึกษาแนวทางและวิธีการการแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอพยพลี้ภัย ภัยคุกคามด้านสาธารณสุขและอาชญากรรมข้ามชาติ นอกจากนี้ ประเทศไทยจะคงให้ความร่วมมือช่วยเหลือองค์การสหประชาชาติ ในการดำเนินการเพื่อรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ โดยเฉพาะการสร้างความสงบเรียบร้อย และการสร้างสันติภาพ
นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือในประเด็นสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ การพัฒนาในพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่าไทยยินดีสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติและนาย กัมบารี อย่างเต็มที่ อีกทั้งการพัฒนาในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎบัตรอาเซียน และการเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ จากประเทศไทยในเดือน มกราคม สำหรับการเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในกลางปีหน้านั้น ได้หารือกันถึงแนวทางที่เหมาะสม ที่อาเซียนและองค์การสหประชาชาติจะสามารถทำงานร่วมกัน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและองค์การสหประชาชาติให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ในโอกาสนี้ นายบัน คี-มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทยสำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นประทับใจ และยินดีที่ได้มาเยือนประเทศไทยในโอกาสอันเป็นมงคล การเฉลิมฉลองครบ 80 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกด้วย ทั้งนี้ ได้มีการหารือกับนายกรัฐมนตรีและคณะ ในประเด็นต่างๆที่เป็นประโยชน์และชื่นชมประเทศไทยในฐานะหุ้นส่วนที่ดีของสหประชาชาติมาโดยตลอด และยังเป็นประเทศผู้ให้ที่กำลังเติบโต นอกจากนี้ เลขาธิการฯ ได้กล่าวขอบคุณประเทศไทยสำหรับความร่วมมือในด้านต่างๆกับสหประชาชาติ รวมทั้งการร่วมผลักดันและสนับสนุนโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ( South — South Cooperation ) การสนับสนุนการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ ( UN Reform ) การส่งเสริมการสร้างสันติภาพ ( UN Peace Keeping Cooperations ) และการสนับสนุนนโยบาย Good office และบทบาทขององค์การสหประชาชาติในพม่า รวมถึง ความสำเร็จของประเทศไทยในการดำเนินนโยบายสาธารณสุข และสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก และโรคเอดส์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--