นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมแผนงานปฏิบัติการป้องกันและรักษาความสงบในเขตเมือง โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กรุงเทพมหานคร และกองทัพบก กองทัพภาคที่ 1
วันนี้ เวลา 11.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมแผนงานปฏิบัติการป้องกันและรักษาความสงบในเขตเมือง โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กรุงเทพมหานคร และกองทัพบก กองทัพภาคที่ 1 เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนงานปฏิบัติการป้องกันและรักษาความสงบในเขตเมือง ภายหลังการประชุม นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า
จากการประเมินสถานการณ์ทั่วไปของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้คาดการณ์และประเมินข้อมูลเกี่ยวกับการก่อความไม่สงบในเขตเมือง และสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการก่อการร้ายที่จะเกิดขึ้น ประกอบกับเกิดเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2550 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีการปีนข้ามรั้วต่างๆ ในขณะเดียวกัน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เพราะจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 การเลือกตั้งล่วงหน้าในวันเสาร์ที่ 15 และวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2550 เทศกาลคริสต์มาส เทศกาลปีใหม่ และวันเด็ก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นควรที่จะต้องดำเนินการกำหนดมาตรการการป้องกันรักษาความสงบที่จะเกิดขึ้นในเขตเมือง เพื่อระมัดระวังความปลอดภัยเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังเช่นคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2549
ที่ประชุมจึงได้กำหนดแผนงานปฏิบัติการป้องกันและรักษาความสงบในเขตเมือง ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2550 จนถึงวันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาลใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ 1) นโยบายอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งนายกรัฐมนตรีห้ามมิให้ประกาศใช้กฎอัยการศึกอย่างเด็ดขาด แต่หากมีสภาวการณ์ฉุกเฉินเห็นควรให้ใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติจะต้องขออนุมัติจากนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกประชุมพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับกรณีการก่อการร้ายสากล จะต้องหารือในคณะกรรมการอำนวยการการก่อการร้ายสากล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาดำเนินการ 2) ส่วนปฏิบัติการป้องกันและป้องปรามความไม่สงบ ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร โดยนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางการดำเนินการว่า ในกรณีเป็นสถานการณ์ที่ไม่รุนแรงและสามารถควบคุมได้ ไม่ต้องรอการสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการได้ทันที แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ที่ประเมินแล้วว่าจะส่งผลทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาดำเนินการโดยเร่งด่วน สำหรับสถานที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร พัทยา ภูเก็ต หาดใหญ่ เกาะสมุย และจังหวัดเชียงใหม่ นั้น ให้มีการติดตามสถานการณ์และประเมินสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้มีการประสานงานร่วมกันระหว่างทหารและตำรวจ ในการดำเนินการดังกล่าว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นควรให้ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ว่าไม่ควรชุมนุมในจุดใดจุดหนึ่งเป็นการเฉพาะ ควรมีการกระจายไปในหลายๆ จุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเฉลิมฉลองในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2550 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2551
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้มีการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร จำนวน 324 จุด ส่วนพื้นที่ทั่วไปจะมีการติดตั้งในจุดสำคัญๆ ทั้งหมด 38 เขต จำนวน 1,300 จุด และคาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยทุกจุดในต้นสัปดาห์หน้า ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำให้มีการตรวจสอบกล้องก่อนที่จะมีการใช้งานให้เกิดความเรียบร้อย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 11.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมแผนงานปฏิบัติการป้องกันและรักษาความสงบในเขตเมือง โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กรุงเทพมหานคร และกองทัพบก กองทัพภาคที่ 1 เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนงานปฏิบัติการป้องกันและรักษาความสงบในเขตเมือง ภายหลังการประชุม นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า
จากการประเมินสถานการณ์ทั่วไปของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้คาดการณ์และประเมินข้อมูลเกี่ยวกับการก่อความไม่สงบในเขตเมือง และสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการก่อการร้ายที่จะเกิดขึ้น ประกอบกับเกิดเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2550 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีการปีนข้ามรั้วต่างๆ ในขณะเดียวกัน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ เพราะจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 การเลือกตั้งล่วงหน้าในวันเสาร์ที่ 15 และวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2550 เทศกาลคริสต์มาส เทศกาลปีใหม่ และวันเด็ก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นควรที่จะต้องดำเนินการกำหนดมาตรการการป้องกันรักษาความสงบที่จะเกิดขึ้นในเขตเมือง เพื่อระมัดระวังความปลอดภัยเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังเช่นคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2549
ที่ประชุมจึงได้กำหนดแผนงานปฏิบัติการป้องกันและรักษาความสงบในเขตเมือง ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2550 จนถึงวันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี หรือรัฐบาลใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ 1) นโยบายอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งนายกรัฐมนตรีห้ามมิให้ประกาศใช้กฎอัยการศึกอย่างเด็ดขาด แต่หากมีสภาวการณ์ฉุกเฉินเห็นควรให้ใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติจะต้องขออนุมัติจากนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกประชุมพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับกรณีการก่อการร้ายสากล จะต้องหารือในคณะกรรมการอำนวยการการก่อการร้ายสากล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณาดำเนินการ 2) ส่วนปฏิบัติการป้องกันและป้องปรามความไม่สงบ ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร โดยนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางการดำเนินการว่า ในกรณีเป็นสถานการณ์ที่ไม่รุนแรงและสามารถควบคุมได้ ไม่ต้องรอการสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการได้ทันที แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ที่ประเมินแล้วว่าจะส่งผลทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาดำเนินการโดยเร่งด่วน สำหรับสถานที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร พัทยา ภูเก็ต หาดใหญ่ เกาะสมุย และจังหวัดเชียงใหม่ นั้น ให้มีการติดตามสถานการณ์และประเมินสถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้มีการประสานงานร่วมกันระหว่างทหารและตำรวจ ในการดำเนินการดังกล่าว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นควรให้ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน ว่าไม่ควรชุมนุมในจุดใดจุดหนึ่งเป็นการเฉพาะ ควรมีการกระจายไปในหลายๆ จุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเฉลิมฉลองในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2550 จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2551
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้มีการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ในเขตพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร จำนวน 324 จุด ส่วนพื้นที่ทั่วไปจะมีการติดตั้งในจุดสำคัญๆ ทั้งหมด 38 เขต จำนวน 1,300 จุด และคาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยทุกจุดในต้นสัปดาห์หน้า ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำให้มีการตรวจสอบกล้องก่อนที่จะมีการใช้งานให้เกิดความเรียบร้อย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--