พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง (ครส.) ครั้งที่ 5/2550 เพื่อเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากที่สุด
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง (ครส.) ครั้งที่ 5/2550 สรุปดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ครส. แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า มีประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าสำหรับผู้อยู่นอกเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550 ถึงร้อยละ 87.75 ของจำนวนผู้มาลงทะเบียน ดังนั้น จึงขอให้ส่วนราชการเตรียมความพร้อมในการเตรียมการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ดังนี้ เรื่องทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เรื่องบุคลากรและสถานที่ในการจัดการเลือกตั้งของทางจังหวัด เรื่องการรักษาความปลอดภัย เรื่องการเฝ้าระวังสังเกตการณ์และแจ้งเหตุประจำหน่วยเลือกตั้ง และเรื่องการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งในช่วงเวลา 7 วัน เพื่อให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงให้มากที่สุด
ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชน ดังนี้ 1) กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งอย่างเต็มที่ โดยคาดว่าประชาชนจะไปเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 75 2) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ส่งเสริมให้นักเรียนชี้แจงให้ผู้ปกครองออกมาใช้สิทธิลงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง 3) กระทรวงแรงงาน ได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์นายจ้างและลูกจ้างอย่างต่อเนื่อง 4) กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการเลือกตั้งในต่างประเทศ โดยรายงานว่ามีประชาชนมาใช้สิทธิล่วงหน้าร้อยละ 78 และคาดว่าจะมีประชาชนออกมาใช้สิทธิทั้งหมดร้อยละ 80 5) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านเกษตรกรแกนนำ เช่น หมออาสา อาสาสมัครปศุสัตว์ ครูบัญชี เกษตรกรอาสาสมัคร ซึ่งกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 6) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รณรงค์ผ่านอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 7) กรุงเทพมหานคร ได้รณรงค์เชิญชวนประชาชนให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกรูปแบบ โดยล่าสุดได้รณรงค์ผ่านนักเรียนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 8) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 9) สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ได้ผลิตรายการสด สปอตต่างๆ และการถ่ายทอดสดต่างๆ
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการ รวม 4 คณะ ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์ร่วมกับภาคเอกชน การขยายเครือข่ายรณรงค์ผ่านเว็บไซต์ การให้ศิลปินพื้นบ้านร่วมรณรงค์การเลือกตั้ง และการผลิตรายการสำหรับเผยแพร่ทางเคเบิลทีวี เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิมากขึ้น 2) คณะอนุกรรมการประสานงาน ได้จัด "โครงการ ครส. พบปะประชาชน ร่วมรณรงค์ป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง" เพื่อให้ประธาน ครส. พบปะกลุ่มประชาชนต่างๆ ระหว่างวันที่ 4-14 ธันวาคม 2550 รวม 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 พบปะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพสื่อวิทยุชุมชน ชมรมผู้ขับรถแท็กซี่ ชมรมผู้ขับรถสามล้อ ชมรมผู้ขับรถตู้สาธารณะ และชมรมผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง จำนวน 721 คน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 พบปะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนในพื้นที่จังหวัดระนอง ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดระนอง ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 พบปะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และพลังมวลชน ในงาน "รวมพลคนไม่ขายเสียง" ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 พบปะกลุ่มพลังมวลชน อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย (อสพป.) ประชาชน นักเรียน นักศึกษา พ่อค้า และประชาชน ในงาน "รวมพลคนเสื้อเหลืองประกาศเจตนารมณ์จังหวัดใสสะอาด ปราศจากการซื้อสิทธิขายเสียง" ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี 3) คณะอนุกรรมการวิชาการ ได้ดำเนินการเร่งประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของ ครส. ไปยังหน่วยงาน สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ รวมทั้งได้ขอความร่วมมือไปยัง web master ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของ ครส. www.sce.thaigov.go.th พร้อมกันนี้ได้ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายประชาธิปไตยและอาสาสมัครประชาธิปไตยในการติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งในพื้นที่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - 10 ธันวาคม 2550 พบว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบสัดส่วนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าการซื้อสิทธิขายเสียงยังมีอยู่ทั่วไป ดังนั้น ระหว่างวันที่ 20-23 ธันวาคม 2550 จึงต้องมีการระดมพลังสื่อของรัฐต่างๆ เพื่อชี้แจงประชาชนให้เลือกคนดีเข้าสภาฯ และเลือกพรรคที่ดี 4) คณะอนุกรรมการอำนวยการ "ศูนย์สร้างความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง" ได้ดำเนินการจัดทำแผ่นป้ายและแผ่นโปสเตอร์ เพื่อประชาสัมพันธ์ในสถานที่ต่างๆ การจัดทำสปอตวิทยุและโทรทัศน์ และการแต่งเพลงรณรงค์ไม่ให้ซื้อสิทธิขายเสียง โดยบริษัทแกรมมี่ รวมทั้งได้ร่วมอภิปรายในเวทีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ประธาน ครส. ได้ขอให้คณะอนุกรรมการทั้ง 4 คณะ เร่งประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเลือกคนดีเข้ามาบริหารประเทศ โดยระบุโทษของการซื้อสิทธิขายเสียง และผลเสียของการซื้อสิทธิขายเสียง และเร่งให้พลังเงียบออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงให้มากที่สุด พร้อมกันนี้ ขอให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกวดขันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐวางตัวเป็นกลาง โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการตามวาระแห่งชาติว่าด้วยการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง (ครส.) ครั้งที่ 5/2550 สรุปดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ครส. แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า มีประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าสำหรับผู้อยู่นอกเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550 ถึงร้อยละ 87.75 ของจำนวนผู้มาลงทะเบียน ดังนั้น จึงขอให้ส่วนราชการเตรียมความพร้อมในการเตรียมการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ดังนี้ เรื่องทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เรื่องบุคลากรและสถานที่ในการจัดการเลือกตั้งของทางจังหวัด เรื่องการรักษาความปลอดภัย เรื่องการเฝ้าระวังสังเกตการณ์และแจ้งเหตุประจำหน่วยเลือกตั้ง และเรื่องการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งในช่วงเวลา 7 วัน เพื่อให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงให้มากที่สุด
ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชน ดังนี้ 1) กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งอย่างเต็มที่ โดยคาดว่าประชาชนจะไปเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 75 2) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ส่งเสริมให้นักเรียนชี้แจงให้ผู้ปกครองออกมาใช้สิทธิลงลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง 3) กระทรวงแรงงาน ได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์นายจ้างและลูกจ้างอย่างต่อเนื่อง 4) กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการเลือกตั้งในต่างประเทศ โดยรายงานว่ามีประชาชนมาใช้สิทธิล่วงหน้าร้อยละ 78 และคาดว่าจะมีประชาชนออกมาใช้สิทธิทั้งหมดร้อยละ 80 5) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านเกษตรกรแกนนำ เช่น หมออาสา อาสาสมัครปศุสัตว์ ครูบัญชี เกษตรกรอาสาสมัคร ซึ่งกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 6) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รณรงค์ผ่านอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 7) กรุงเทพมหานคร ได้รณรงค์เชิญชวนประชาชนให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกรูปแบบ โดยล่าสุดได้รณรงค์ผ่านนักเรียนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 8) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 9) สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ได้ผลิตรายการสด สปอตต่างๆ และการถ่ายทอดสดต่างๆ
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบรายงานผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการ รวม 4 คณะ ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์ร่วมกับภาคเอกชน การขยายเครือข่ายรณรงค์ผ่านเว็บไซต์ การให้ศิลปินพื้นบ้านร่วมรณรงค์การเลือกตั้ง และการผลิตรายการสำหรับเผยแพร่ทางเคเบิลทีวี เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิมากขึ้น 2) คณะอนุกรรมการประสานงาน ได้จัด "โครงการ ครส. พบปะประชาชน ร่วมรณรงค์ป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง" เพื่อให้ประธาน ครส. พบปะกลุ่มประชาชนต่างๆ ระหว่างวันที่ 4-14 ธันวาคม 2550 รวม 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 พบปะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพสื่อวิทยุชุมชน ชมรมผู้ขับรถแท็กซี่ ชมรมผู้ขับรถสามล้อ ชมรมผู้ขับรถตู้สาธารณะ และชมรมผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง จำนวน 721 คน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 พบปะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและประชาชนในพื้นที่จังหวัดระนอง ณ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดระนอง ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 พบปะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และพลังมวลชน ในงาน "รวมพลคนไม่ขายเสียง" ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 พบปะกลุ่มพลังมวลชน อาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย (อสพป.) ประชาชน นักเรียน นักศึกษา พ่อค้า และประชาชน ในงาน "รวมพลคนเสื้อเหลืองประกาศเจตนารมณ์จังหวัดใสสะอาด ปราศจากการซื้อสิทธิขายเสียง" ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี 3) คณะอนุกรรมการวิชาการ ได้ดำเนินการเร่งประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของ ครส. ไปยังหน่วยงาน สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ รวมทั้งได้ขอความร่วมมือไปยัง web master ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของ ครส. www.sce.thaigov.go.th พร้อมกันนี้ได้ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายประชาธิปไตยและอาสาสมัครประชาธิปไตยในการติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งในพื้นที่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - 10 ธันวาคม 2550 พบว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบสัดส่วนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าการซื้อสิทธิขายเสียงยังมีอยู่ทั่วไป ดังนั้น ระหว่างวันที่ 20-23 ธันวาคม 2550 จึงต้องมีการระดมพลังสื่อของรัฐต่างๆ เพื่อชี้แจงประชาชนให้เลือกคนดีเข้าสภาฯ และเลือกพรรคที่ดี 4) คณะอนุกรรมการอำนวยการ "ศูนย์สร้างความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง" ได้ดำเนินการจัดทำแผ่นป้ายและแผ่นโปสเตอร์ เพื่อประชาสัมพันธ์ในสถานที่ต่างๆ การจัดทำสปอตวิทยุและโทรทัศน์ และการแต่งเพลงรณรงค์ไม่ให้ซื้อสิทธิขายเสียง โดยบริษัทแกรมมี่ รวมทั้งได้ร่วมอภิปรายในเวทีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ประธาน ครส. ได้ขอให้คณะอนุกรรมการทั้ง 4 คณะ เร่งประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเลือกคนดีเข้ามาบริหารประเทศ โดยระบุโทษของการซื้อสิทธิขายเสียง และผลเสียของการซื้อสิทธิขายเสียง และเร่งให้พลังเงียบออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงให้มากที่สุด พร้อมกันนี้ ขอให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกวดขันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐวางตัวเป็นกลาง โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--