พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การอนุรักษ์สัตว์ป่าในมุมมองของนายกรัฐมนตรี” ในโอกาสเป็นประธานเปิดงานและนิทรรศการวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2550
วันนี้ เวลา 15.10 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารกริต สามะพุทธิ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตจตุจักร พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การอนุรักษ์สัตว์ป่าในมุมมองของนายกรัฐมนตรี” ในโอกาสเป็นประธานเปิดงานและนิทรรศการวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำ ปี 2550 โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมงาน
เมื่อเดินทางถึง นายกรัฐมนตรีได้สักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 และวางพวงมาลาอนุสาวรีย์วีรชนป่าไม้ ก่อนเดินเข้าห้องประชุม จากนั้น นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้กล่าวต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะ
ต่อจากนั้น นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานโดยสรุปว่า การจัดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติได้จัดงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 2. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าของงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ มีความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า และส่งเสริมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดงานในวันนี้มีแนวคิดหลักคือ สัตว์ป่าและพงศ์ไพร ร่วมเย็นใต้พระบารมี สถานที่จัดงานมีทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยในส่วนกลางจัดที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ระหว่างวันที่ 24 — 26 ธันวาคม 2550 นอกจากนี้ยังได้จัดนิทรรศการและการประชุมสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อทิศทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเชิงเศรษฐกิจ เพื่อระดมความรู้ ข้อมูลด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนข่าวสารความคิดเห็นและอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าให้เกิดผลในเชิงเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป 5
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบโล่และเกียรติบัตรแก่ผู้ช่วยเหลือราชการด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าดีเด่น ประจำปี 2550 เข้ารับโล่และเกียรติบัตรรวมจำนวน 16 ราย พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การอนุรักษ์สัตว์ป่าในมุมมองของนายกรัฐมนตรี” และกล่าวเปิดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2550 สรุปสาระสำคัญว่า การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทยได้ดำเนินการมาอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2503 แต่คำว่าการอนุรักษ์ยังไม่เป็นที่เข้าใจ ยังไม่รับทราบอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน บางครั้งฟังดูก็เหมือนง่าย แต่การปฏิบัติจริงค่อนข้างจะประสบกับอุปสรรค และประสบกับผู้ที่มีผลประโยชน์ในทางตรงข้าม ที่มักจะฉวยโอกาสนำไปใช้อยู่เสมอ โดยเฉพาะการค้าสัตว์ป่าเพื่อนำไปใช้ในกิจการด้านอื่น เช่น การค้าข้ามประเทศ หรือการค้าในร้านอาหารในประเทศ ซึ่งปัญหาการค้าในประเทศได้ลดลงแต่การค้าข้ามประเทศยังคงมีอยู่ ดังนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมติดตามและช่วยกันแก้ไข
“เรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะเป็นความเชื่อ เป็นเรื่องที่ได้รับการปลูกฝังอยู่ในความคิดของผู้คนในชาติต่าง ๆ ซึ่งมีการปลูกฝังที่ไม่เหมือนกัน ว่าการรับประทานชิ้นส่วนของสัตว์ป่าจะช่วยทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีร่างกายแข็งแรง ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงยุคของเราที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เขาพูดนั้นมีประโยชน์จริงหรือไม่ ถ้าหากเราได้มีการทำงานวิจัยที่ดี จะสามารถตอบให้ผู้คนรับทราบได้ว่าไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภค อาทิ หมู วัว แพะ แกะ“ นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวในเรื่องการอนุรักษ์ว่า ในปัจจุบันต้องมองภาพกว้างกว่าเดิม การที่จะคุ้มครองสัตว์ป่าได้ต้องมองภาพในมุมที่กว้างขึ้น ทั้งในเรื่องพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ดังภาษิตโบราณที่ว่า “ดินดีเพราะป่าปรก ป่ารกเพราะเสือใหญ่ ดินดีเพราะป่าบัง ป่ายังเพราะดินดี” ที่เป็นคำพูดโบราณแต่มีความเกี่ยวเนื่องผูกพันกัน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจำเป็นต้องมีความเชื่อมโยง มีสภาพที่สมบูรณ์มีความสมดุล สภาพเหล่านั้นจึงจะคงอยู่ได้ แน่นอนว่าเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น มีประชากรมากขึ้น ก็เป็นส่วนที่ทำให้เรามีความจำเป็นต้องใช้ที่ดินเพื่อทำมาหากิน จำนวนผู้คนที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นปัญหาในการใช้ที่ดินและการนำทรัพยากร ธรรมชาติ ออกมาใช้ ซึ่งในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2503 ถึงปัจจุบัน เราเสียพื้นที่ป่าไปประมาณครึ่งหนึ่ง จากที่มีอยู่ประมาณ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ปัจจุบันเหลือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นข้อมูลล่าสุดจากการตรวจสอบด้วยภาพถ่ายดาวเทียม และจากการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างจะชัดเจนมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่จำเป็นจะต้องช่วยกันอย่างจริงจังในการดูแล โดยไม่ใช่เป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่คนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ถ้าไม่ร่วมมือกัน จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่ทำให้ประสบปัญหาการใช้พื้นที่ในประเทศ
“ ผมมีโอกาสพูดที่หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า เราจำเป็นจะต้องดูแลในเรื่องการใช้ที่ดิน เรื่องผู้ผลิตจริง ๆ นั่นก็คือทั้งเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ที่เราคงจะต้องช่วยกันดูแลการใช้ที่ดินของเขา ทำอย่างไรที่จะสามารถเพิ่มจำนวนผลผลิตต่อไร่ ถ้าเราสามารถทำได้ จะช่วยลดการขยายพื้นที่ได้ รวมทั้งควรจะมีการให้การศึกษาชาวไทยภูเขาในการใช้พื้นที่ป่า ขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้เขามีรายได้อย่างพอเพียง ซึ่งรัฐบาลได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยดูแลในแต่ละส่วนแต่ละภาคด้วย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปัจจุบันเราเริ่มได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมมากขึ้นที่เรียกกันว่าสภาวะโลกร้อน โดยจากที่นายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสมีส่วนร่วมและฟังแนวความคิดจากผู้บริหารหลาย ๆ ประเทศ เห็นว่ายังมีความขัดแย้งเรื่องแนวทางที่ยังไม่สามารถจะตกลงกันได้อยู่อีกพอสมควร และนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างข้างยากลำบากที่จะทำให้คนทั้งโลกคิดเหมือน ๆ กันและทำเหมือน ๆ กัน ถ้าไปถามคนจากสหรัฐฯ อินเดียและจีน ก็จะมีความคิดและพูดไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ถือเป็นจุดสำคัญในขณะนี้คือ ทุกประเทศได้รับทราบถึงปัญหาโลกร้อนว่าเป็นปัญหาที่ทุกคนจะต้องช่วยกันมีส่วนร่วมแก้ไข
“ นั่นเป็นส่วนสำคัญที่ผมขอเรียนว่า เราคงจะต้องใช้หัวข้อเรื่องสภาวะโลกร้อนเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการอบรมให้เยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจ ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาจะได้รับผลกระทบอย่างมาก หากเขาไม่มีส่วนร่วมช่วยกันแก้ไข และการที่จะทำให้มีสภาวะที่ดีขึ้น การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้มีมากขึ้นย่อมมีประโยชน์ เมื่อมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้นก็จะสามารถรักษาป่าได้ เมื่อมีป่าก็มีแหล่งต้นน้ำลำธารที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกเช่นกัน จึงขอฝากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ว่า ทำอย่างไรที่จะได้เริ่มนำจุดเหล่านี้ไปใช้เป็นศูนย์รวมในการแก้ไขปัญหา ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการรายงานเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ทั้งในส่วนของการบริโภคและขยายพันธุ์ว่า ถือเป็นส่วนหนึ่งที่คิดว่างานวิจัยของเราจำเป็นที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีก็ได้มีส่วนร่วมติดตามและศึกษา แต่ไม่ถึงขั้นทำการวิจัย ก็ถือว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าที่เราจะต้องรักษารวบรวมไว้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งในบางแห่ง บางครั้งเราได้อนุญาตให้นักวิจัยต่างชาติเข้าทำงานวิจัย โดยที่เราไม่ได้ติดตามมากนัก ทำให้ในบางครั้งผลการวิจัยเราได้รับไม่เต็มที่ จึงขอฝากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าควรจะดำเนินการอย่างไร ที่เมื่อไปถึงขั้นดำเนินการทางธุรกิจแล้ว ก็จะช่วยลดการทำลายสัตว์ป่าลงได้ เพราะมีสัตว์ป่า เลี้ยงที่ซื้อหาได้ง่าย
ต่อจากนั้น อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มอบของที่ระลึกให้กับนายกรัฐมนตรี แล้วนายกรัฐมนตรีตัดริบบิ้นเปิดนิทรรศการด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า พร้อมชมนิทรรศการฯ ก่อนเดินทางกลับ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.10 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารกริต สามะพุทธิ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตจตุจักร พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การอนุรักษ์สัตว์ป่าในมุมมองของนายกรัฐมนตรี” ในโอกาสเป็นประธานเปิดงานและนิทรรศการวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำ ปี 2550 โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมงาน
เมื่อเดินทางถึง นายกรัฐมนตรีได้สักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 และวางพวงมาลาอนุสาวรีย์วีรชนป่าไม้ ก่อนเดินเข้าห้องประชุม จากนั้น นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้กล่าวต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะ
ต่อจากนั้น นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานโดยสรุปว่า การจัดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติได้จัดงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 2. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าของงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ มีความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่า และส่งเสริมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดงานในวันนี้มีแนวคิดหลักคือ สัตว์ป่าและพงศ์ไพร ร่วมเย็นใต้พระบารมี สถานที่จัดงานมีทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยในส่วนกลางจัดที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ ระหว่างวันที่ 24 — 26 ธันวาคม 2550 นอกจากนี้ยังได้จัดนิทรรศการและการประชุมสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อทิศทางการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเชิงเศรษฐกิจ เพื่อระดมความรู้ ข้อมูลด้านวิชาการ แลกเปลี่ยนข่าวสารความคิดเห็นและอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าให้เกิดผลในเชิงเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป 5
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบโล่และเกียรติบัตรแก่ผู้ช่วยเหลือราชการด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าดีเด่น ประจำปี 2550 เข้ารับโล่และเกียรติบัตรรวมจำนวน 16 ราย พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การอนุรักษ์สัตว์ป่าในมุมมองของนายกรัฐมนตรี” และกล่าวเปิดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2550 สรุปสาระสำคัญว่า การอนุรักษ์สัตว์ป่าในประเทศไทยได้ดำเนินการมาอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2503 แต่คำว่าการอนุรักษ์ยังไม่เป็นที่เข้าใจ ยังไม่รับทราบอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน บางครั้งฟังดูก็เหมือนง่าย แต่การปฏิบัติจริงค่อนข้างจะประสบกับอุปสรรค และประสบกับผู้ที่มีผลประโยชน์ในทางตรงข้าม ที่มักจะฉวยโอกาสนำไปใช้อยู่เสมอ โดยเฉพาะการค้าสัตว์ป่าเพื่อนำไปใช้ในกิจการด้านอื่น เช่น การค้าข้ามประเทศ หรือการค้าในร้านอาหารในประเทศ ซึ่งปัญหาการค้าในประเทศได้ลดลงแต่การค้าข้ามประเทศยังคงมีอยู่ ดังนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมติดตามและช่วยกันแก้ไข
“เรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างยาก เพราะเป็นความเชื่อ เป็นเรื่องที่ได้รับการปลูกฝังอยู่ในความคิดของผู้คนในชาติต่าง ๆ ซึ่งมีการปลูกฝังที่ไม่เหมือนกัน ว่าการรับประทานชิ้นส่วนของสัตว์ป่าจะช่วยทำให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีร่างกายแข็งแรง ซึ่งเป็นความเชื่อที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงยุคของเราที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เขาพูดนั้นมีประโยชน์จริงหรือไม่ ถ้าหากเราได้มีการทำงานวิจัยที่ดี จะสามารถตอบให้ผู้คนรับทราบได้ว่าไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภค อาทิ หมู วัว แพะ แกะ“ นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวในเรื่องการอนุรักษ์ว่า ในปัจจุบันต้องมองภาพกว้างกว่าเดิม การที่จะคุ้มครองสัตว์ป่าได้ต้องมองภาพในมุมที่กว้างขึ้น ทั้งในเรื่องพื้นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ดังภาษิตโบราณที่ว่า “ดินดีเพราะป่าปรก ป่ารกเพราะเสือใหญ่ ดินดีเพราะป่าบัง ป่ายังเพราะดินดี” ที่เป็นคำพูดโบราณแต่มีความเกี่ยวเนื่องผูกพันกัน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจำเป็นต้องมีความเชื่อมโยง มีสภาพที่สมบูรณ์มีความสมดุล สภาพเหล่านั้นจึงจะคงอยู่ได้ แน่นอนว่าเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น มีประชากรมากขึ้น ก็เป็นส่วนที่ทำให้เรามีความจำเป็นต้องใช้ที่ดินเพื่อทำมาหากิน จำนวนผู้คนที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นปัญหาในการใช้ที่ดินและการนำทรัพยากร ธรรมชาติ ออกมาใช้ ซึ่งในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2503 ถึงปัจจุบัน เราเสียพื้นที่ป่าไปประมาณครึ่งหนึ่ง จากที่มีอยู่ประมาณ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ปัจจุบันเหลือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นข้อมูลล่าสุดจากการตรวจสอบด้วยภาพถ่ายดาวเทียม และจากการวิเคราะห์ที่ค่อนข้างจะชัดเจนมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่จำเป็นจะต้องช่วยกันอย่างจริงจังในการดูแล โดยไม่ใช่เป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่คนไทยทุกคนต้องช่วยกัน ถ้าไม่ร่วมมือกัน จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเป็นปัจจัยตัวหนึ่งที่ทำให้ประสบปัญหาการใช้พื้นที่ในประเทศ
“ ผมมีโอกาสพูดที่หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า เราจำเป็นจะต้องดูแลในเรื่องการใช้ที่ดิน เรื่องผู้ผลิตจริง ๆ นั่นก็คือทั้งเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ที่เราคงจะต้องช่วยกันดูแลการใช้ที่ดินของเขา ทำอย่างไรที่จะสามารถเพิ่มจำนวนผลผลิตต่อไร่ ถ้าเราสามารถทำได้ จะช่วยลดการขยายพื้นที่ได้ รวมทั้งควรจะมีการให้การศึกษาชาวไทยภูเขาในการใช้พื้นที่ป่า ขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้เขามีรายได้อย่างพอเพียง ซึ่งรัฐบาลได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยดูแลในแต่ละส่วนแต่ละภาคด้วย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ปัจจุบันเราเริ่มได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมมากขึ้นที่เรียกกันว่าสภาวะโลกร้อน โดยจากที่นายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสมีส่วนร่วมและฟังแนวความคิดจากผู้บริหารหลาย ๆ ประเทศ เห็นว่ายังมีความขัดแย้งเรื่องแนวทางที่ยังไม่สามารถจะตกลงกันได้อยู่อีกพอสมควร และนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างข้างยากลำบากที่จะทำให้คนทั้งโลกคิดเหมือน ๆ กันและทำเหมือน ๆ กัน ถ้าไปถามคนจากสหรัฐฯ อินเดียและจีน ก็จะมีความคิดและพูดไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ถือเป็นจุดสำคัญในขณะนี้คือ ทุกประเทศได้รับทราบถึงปัญหาโลกร้อนว่าเป็นปัญหาที่ทุกคนจะต้องช่วยกันมีส่วนร่วมแก้ไข
“ นั่นเป็นส่วนสำคัญที่ผมขอเรียนว่า เราคงจะต้องใช้หัวข้อเรื่องสภาวะโลกร้อนเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการอบรมให้เยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจ ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาจะได้รับผลกระทบอย่างมาก หากเขาไม่มีส่วนร่วมช่วยกันแก้ไข และการที่จะทำให้มีสภาวะที่ดีขึ้น การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวให้มีมากขึ้นย่อมมีประโยชน์ เมื่อมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้นก็จะสามารถรักษาป่าได้ เมื่อมีป่าก็มีแหล่งต้นน้ำลำธารที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกเช่นกัน จึงขอฝากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ว่า ทำอย่างไรที่จะได้เริ่มนำจุดเหล่านี้ไปใช้เป็นศูนย์รวมในการแก้ไขปัญหา ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการรายงานเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ทั้งในส่วนของการบริโภคและขยายพันธุ์ว่า ถือเป็นส่วนหนึ่งที่คิดว่างานวิจัยของเราจำเป็นที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีก็ได้มีส่วนร่วมติดตามและศึกษา แต่ไม่ถึงขั้นทำการวิจัย ก็ถือว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าที่เราจะต้องรักษารวบรวมไว้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งในบางแห่ง บางครั้งเราได้อนุญาตให้นักวิจัยต่างชาติเข้าทำงานวิจัย โดยที่เราไม่ได้ติดตามมากนัก ทำให้ในบางครั้งผลการวิจัยเราได้รับไม่เต็มที่ จึงขอฝากผู้ที่เกี่ยวข้องว่าควรจะดำเนินการอย่างไร ที่เมื่อไปถึงขั้นดำเนินการทางธุรกิจแล้ว ก็จะช่วยลดการทำลายสัตว์ป่าลงได้ เพราะมีสัตว์ป่า เลี้ยงที่ซื้อหาได้ง่าย
ต่อจากนั้น อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มอบของที่ระลึกให้กับนายกรัฐมนตรี แล้วนายกรัฐมนตรีตัดริบบิ้นเปิดนิทรรศการด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า พร้อมชมนิทรรศการฯ ก่อนเดินทางกลับ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--