แท็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เปรม ติณสูลานนท์
พระมหากษัตริย์
ทำเนียบรัฐบาล
ตึกสันติไมตรี
องคมนตรี
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง พระอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ของพระมหากษัตริย์ไทยเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
วันนี้ เวลา 09.00 น.ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ของพระมหากษัตริย์ไทย" เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 พร้อมมอบรางวัลให้แก่เยาวชนที่ชนะการประกวดเรียงความจำนวน 30 คน จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับราชบัณฑิตยสถาน และสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ประกอบด้วย นักวิชาการด้านอักษรศาสตร์ ครู อาจารย์ ผู้สอนภาษาไทย-ประวัติศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นิสิต นักศึกษา และบุคคลที่สนใจ ประมาณ 400 คน โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาร่วมในพิธีเปิดการสัมมนาด้วย
คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาในครั้งนี้ว่า นอกจากเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านอักษรศาสตร์ของพระมหากษัตริย์แล้ว ยังได้มีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ทรงต้องการให้คนไทยช่วยกันรักษาภาษาไทยอันเป็นเครื่องมือแห่งการสื่อสารที่สำคัญและเป็นภูมิปัญญาไว้มิให้สูญหาย รวมทั้งกิจกรรมที่พัฒนาการศึกษาภาษาไทย เพิ่มทักษะในการพูด การอ่านและการเขียนของเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ
โอกาสนี้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการสัมมนาว่า เพื่อสดุดีพระเกียรติพระมหากษัตริย์ของไทยนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในพระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณด้านอักษรศาสตร์ และเพื่อปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่คนไทยทุกคนต้องช่วยกันรักษาไว้ให้สืบทอดยั่งยืนในทิศทางที่ถูกต้อง เป็นเกียรติและเป็นศักดิ์ศรีของชาติ
การประชุมสัมมนาทางวิชาการในครั้งนี้ ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้และปลุกจิตสำนึกซึ่งถือเป็นวิธีการที่ดีมากวิธีหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการเสริมสร้างความรู้ให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชนด้วยการพัฒนาศึกษาภาษาไทย เพิ่มทักษะในการพูด การอ่านและการเขียน ทั้งในสถาบันการศึกษาและกิจกรรมอื่น ๆ นอกสถานศึกษา เพราะเยาวชนเป็นอนาคตของชาติ เมื่อเติบโตขึ้นจะได้ช่วยกันรักษาภาษาไทยให้ยั่งยืนพัฒนาต่อไป
พร้อมกันนี้ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้แสดงความเห็นว่า การปลุกจิตสำนึกให้คนไทยพูด อ่าน เขียนได้ถูกต้อง ไพเราะ ชัดเจน ได้นั้น จะต้องเริ่มให้คนไทยทุกคนมีความรักในภาษาไทย และเมื่อทุกคนเกิดความรักในภาษาไทยแล้ว ก็ย่อมที่จะหวงแหน ถนอม ปกป้อง โดยไม่ยอมให้ผู้ใดมาทำลายภาษาไทย เหมือนดั่งเช่นที่คนไทยได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนที่มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยไม่ยอมให้ผู้ใดมาทำลายลงได้
จากนั้น ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษได้มอบรางวัลแก่เยาวชนที่ชนะการประกวดเรียงความในโครงการรักษ์ภาษาไทย เรื่อง เด็กดีมีคุณธรรม และโครงการรักษ์ภาษาไทยกับสนุก : ค้นหาไม่รู้จบ และรางวัลประกวดเรียงความหัวข้อ วันพ่อแห่งชาติ
ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก่ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น.ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านอักษรศาสตร์ของพระมหากษัตริย์ไทย" เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 พร้อมมอบรางวัลให้แก่เยาวชนที่ชนะการประกวดเรียงความจำนวน 30 คน จัดโดย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับราชบัณฑิตยสถาน และสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ประกอบด้วย นักวิชาการด้านอักษรศาสตร์ ครู อาจารย์ ผู้สอนภาษาไทย-ประวัติศาสตร์ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นิสิต นักศึกษา และบุคคลที่สนใจ ประมาณ 400 คน โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติมาร่วมในพิธีเปิดการสัมมนาด้วย
คุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาในครั้งนี้ว่า นอกจากเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านอักษรศาสตร์ของพระมหากษัตริย์แล้ว ยังได้มีการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ทรงต้องการให้คนไทยช่วยกันรักษาภาษาไทยอันเป็นเครื่องมือแห่งการสื่อสารที่สำคัญและเป็นภูมิปัญญาไว้มิให้สูญหาย รวมทั้งกิจกรรมที่พัฒนาการศึกษาภาษาไทย เพิ่มทักษะในการพูด การอ่านและการเขียนของเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ
โอกาสนี้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการสัมมนาว่า เพื่อสดุดีพระเกียรติพระมหากษัตริย์ของไทยนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในพระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณด้านอักษรศาสตร์ และเพื่อปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่คนไทยทุกคนต้องช่วยกันรักษาไว้ให้สืบทอดยั่งยืนในทิศทางที่ถูกต้อง เป็นเกียรติและเป็นศักดิ์ศรีของชาติ
การประชุมสัมมนาทางวิชาการในครั้งนี้ ถือเป็นกระบวนการหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้และปลุกจิตสำนึกซึ่งถือเป็นวิธีการที่ดีมากวิธีหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการเสริมสร้างความรู้ให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชนด้วยการพัฒนาศึกษาภาษาไทย เพิ่มทักษะในการพูด การอ่านและการเขียน ทั้งในสถาบันการศึกษาและกิจกรรมอื่น ๆ นอกสถานศึกษา เพราะเยาวชนเป็นอนาคตของชาติ เมื่อเติบโตขึ้นจะได้ช่วยกันรักษาภาษาไทยให้ยั่งยืนพัฒนาต่อไป
พร้อมกันนี้ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้แสดงความเห็นว่า การปลุกจิตสำนึกให้คนไทยพูด อ่าน เขียนได้ถูกต้อง ไพเราะ ชัดเจน ได้นั้น จะต้องเริ่มให้คนไทยทุกคนมีความรักในภาษาไทย และเมื่อทุกคนเกิดความรักในภาษาไทยแล้ว ก็ย่อมที่จะหวงแหน ถนอม ปกป้อง โดยไม่ยอมให้ผู้ใดมาทำลายภาษาไทย เหมือนดั่งเช่นที่คนไทยได้รับการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนที่มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยไม่ยอมให้ผู้ใดมาทำลายลงได้
จากนั้น ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษได้มอบรางวัลแก่เยาวชนที่ชนะการประกวดเรียงความในโครงการรักษ์ภาษาไทย เรื่อง เด็กดีมีคุณธรรม และโครงการรักษ์ภาษาไทยกับสนุก : ค้นหาไม่รู้จบ และรางวัลประกวดเรียงความหัวข้อ วันพ่อแห่งชาติ
ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบ พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แก่ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--