นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม(คศร.)ครั้งที่ 1/2551
วันนี้ เวลา 09.30 น.ณ ห้องประชุม 301ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม(คศร.)ครั้งที่ 1/2551โดยมี นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งผลการประชุมมีสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมว่า ที่ผ่านมา คศร.ได้ดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นดังนี้ 1.การดูแลค่าเงินบาทและอัตราแลกเปลี่ยน 2.การสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนภายในประเทศ 3.การส่งเสริมการนำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ 4.การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ 5.การแก้ไขปัญหาแรงงานที่เกิดจากการปิดตัวของกิจการ อันเนื่องมาจากการแข็งค่าของเงินบาท 6.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ 7.การจัดทำแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพแห่งชาติ 8.การจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา 9.การจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหามลพิษและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในพื้นที่จังหวัดระยอง 10.การส่งเสริมภาคธุรกิจรายสาขาให้มีการปรับตัว 11.การเสริมสร้างปัจจัยสนับสนุนในการประกอบธุรกิจ และ 12.การทำการตลาดเพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น
สำหรับแนวโน้นเศรษฐกิจไทยในปี 2551 นั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.0-5.0 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนจะขยายตัวได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในครึ่งหลังของปี อีกทั้งการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศจะช่วยชดเชยผลกระทบจากการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสที่จะขยายตัวได้สูงกว่าปี 2550 ส่วนโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในปี 2550 ซึ่งคาดว่าจะเกิดการลงทุนได้จริงในปี 2551 นั้น ก็จะมีการกระจายตัวในกลุ่ม SMEs มากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้เงื่อนไขเศรษฐกิจภายในประเทศจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกคือราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจจะรุนแรงกว่าที่คาดไว้
ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2551 นั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เสนอว่า จะต้องมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนแผนพัฒนาและงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94 สำหรับงบประมาณรัฐบาล และร้อยละ 90 สำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ การเร่งปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ
นอกจากนี้ จะต้องผลักดันนโยบายในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยเร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เร่งรัดกระบวนการของภาครัฐเพื่อให้โครงการลงทุนของภาคเอกชนที่สำคัญ สามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปี 2551 อีกทั้งต้องมีการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตและบริการ เช่น พัฒนาพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและบริการโดยคำนึงถึงความยั่งยืน การเร่งพัฒนากำลังคนที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมและทำการฝึกอบรมแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้มีทักษะความชำนาญ การสร้างกลไกรองรับผลกระทบและผลักดันการใช้ประโยชน์ที่เกิดจากความตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี ตลอดจนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐจำเป็นต้องกำหนดทิศทางและมีนโยบายส่งเสริมภาคการผลิตและบริการที่ไทยมีความได้เปรียบอย่างแท้จริง ส่วนภาคเอกชนต้องเร่งขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาคการผลิตและบริการอีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น.ณ ห้องประชุม 301ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม(คศร.)ครั้งที่ 1/2551โดยมี นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งผลการประชุมมีสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวมว่า ที่ผ่านมา คศร.ได้ดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นดังนี้ 1.การดูแลค่าเงินบาทและอัตราแลกเปลี่ยน 2.การสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนภายในประเทศ 3.การส่งเสริมการนำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ 4.การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ 5.การแก้ไขปัญหาแรงงานที่เกิดจากการปิดตัวของกิจการ อันเนื่องมาจากการแข็งค่าของเงินบาท 6.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ 7.การจัดทำแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพแห่งชาติ 8.การจัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา 9.การจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหามลพิษและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในพื้นที่จังหวัดระยอง 10.การส่งเสริมภาคธุรกิจรายสาขาให้มีการปรับตัว 11.การเสริมสร้างปัจจัยสนับสนุนในการประกอบธุรกิจ และ 12.การทำการตลาดเพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น
สำหรับแนวโน้นเศรษฐกิจไทยในปี 2551 นั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานให้ที่ประชุมทราบว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.0-5.0 เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนจะขยายตัวได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในครึ่งหลังของปี อีกทั้งการฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศจะช่วยชดเชยผลกระทบจากการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสที่จะขยายตัวได้สูงกว่าปี 2550 ส่วนโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ในปี 2550 ซึ่งคาดว่าจะเกิดการลงทุนได้จริงในปี 2551 นั้น ก็จะมีการกระจายตัวในกลุ่ม SMEs มากขึ้น อย่างไรก็ตามแม้เงื่อนไขเศรษฐกิจภายในประเทศจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกคือราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจจะรุนแรงกว่าที่คาดไว้
ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2551 นั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เสนอว่า จะต้องมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนแผนพัฒนาและงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94 สำหรับงบประมาณรัฐบาล และร้อยละ 90 สำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ การเร่งปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ
นอกจากนี้ จะต้องผลักดันนโยบายในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยเร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ เร่งรัดกระบวนการของภาครัฐเพื่อให้โครงการลงทุนของภาคเอกชนที่สำคัญ สามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปี 2551 อีกทั้งต้องมีการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิตและบริการ เช่น พัฒนาพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและบริการโดยคำนึงถึงความยั่งยืน การเร่งพัฒนากำลังคนที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมและทำการฝึกอบรมแรงงานในภาคอุตสาหกรรมให้มีทักษะความชำนาญ การสร้างกลไกรองรับผลกระทบและผลักดันการใช้ประโยชน์ที่เกิดจากความตกลงเขตการค้าเสรีทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี ตลอดจนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐจำเป็นต้องกำหนดทิศทางและมีนโยบายส่งเสริมภาคการผลิตและบริการที่ไทยมีความได้เปรียบอย่างแท้จริง ส่วนภาคเอกชนต้องเร่งขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาคการผลิตและบริการอีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--