แท็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
ตึกสันติไมตรี
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ แก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล”ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ” แก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมในโครงการรณรงค์ให้ปี 2550 เป็นปีภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งจัดโดยราชบัณฑิตยสถาน โดยมีโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวาณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดงานสรุปว่า ราชบัณฑิตยสถานรณรงค์ให้ปี 2550 เป็นปีภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งด้านการเขียน อ่าน พูด และร้องเพลง รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติและเพื่อสนองพระราชดำริและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของประชาชน โดยเยาวชนเป็นกลุ่มผู้ที่ควรได้รับการปลูกฝังให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการเขียนสะกดคำภาษาไทย เพื่อมิให้คลาดเคลื่อนไปทั้งรูป เสียง และความหมาย รวมทั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญยิ่งในการแสดงความเป็นชาติไทย และผู้ที่มีส่วนช่วยได้อย่างดียิ่ง คือ สื่อมวลชน โดยเฉพาะนักแสดง นักร้อง ซึ่งเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของเด็กและเยาวชนที่มักมีพฤติกรรมเลียนแบบนักแสดง นักร้องที่ตนชื่นชม
ทั้งนี้ ในปีมหามงคลนี้ ราชบัณฑิตยสถานได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ หลายโครงการ เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาษาไทยและพัฒนาศักยภาพของผู้ใช้ภาษาไทย โครงการหนึ่งที่ ราชบัณฑิตยสถานได้ริเริ่มเป็นปีแรก คือ การมอบรางวัล “ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ” แก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เพื่อให้เป็นต้นแบบการใช้ภาษาไทยที่ดี ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้คนไทยใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และจะดำเนินการต่อเนื่องไปทุกปี ในการนี้ ราชบัณฑิตยสถานจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นขึ้นเพื่อมอบรางวัล “ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ” ครั้งที่ 1 โดยคณะกรรมการได้จัดการแข่งขันการพูดสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5-6 ของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งมี โรงเรียนส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 112 โรง นักเรียนที่เข้าแข่งขัน 313 คน ผลการตัดสินรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ด.ญ.ลลิตภัทร เกิดกรุง โรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ด.ช.ปัญจวุฒิ อจระสิงห์ โรงเรียนบ้านบางกะปิ อันดับ 2 ได้แก่ ด.ญ.อรพรรณ ศรีเลิศ โรงเรียนชาญกิจวิทยา อันดับ 3 ได้แก่ ด.ญ.ปวีณ์นุช กาญจนทอง โรงเรียนวัดบางไกรนอก และรางวัลชมเชย รวม 10 คน รวมทั้งได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกนักแสดงละครโทรทัศน์ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผลการตัดสินมีนักแสดงละครโทรทัศน์หญิงและชายดีเด่นฝ่ายละคน ได้แก่ นางสาวพริมรตา เดชอุดม จากละครเรื่องจันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า และนายณัฐวุฒิ สกิดใจ จากละครเรื่อง สายน้ำสามชีวิต
จากนั้นนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบรางวัล “ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ” แก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พร้อมมอบรางวัลผู้สนับสนุนการใช้ภาษาไทยดีเด่นให้กับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 บริษัท บรอดคาซท์ ไทยเทเลวิชั่น จำกัด และโรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าแข่งขันด้วย
โอกาสนี้ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี ฯ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมราชบัณฑิตยสถาน ที่ได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น และกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลในการใช้ภาษาไทยดีเด่นทุกคน รวมถึงองค์กรและสถาบันที่ให้การการสนับสนุน ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทยของประชาชนคนไทย พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสม” ว่าภาษาไทยเป็นภาษาชาติไทยและของประเทศไทยรวมทั้งเป็นวัฒนธรรม วิถีชีวิต และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของคนในชาติ รวมทั้งยังเป็นคุณค่า ความงดงาม และรสชาติในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การใช้ภาษาที่ดีจึงมีความหมาย และความสำคัญ ตลอดจนมีประโยชน์อเนกอนันต์ ทั้งนี้จะทำอย่างไรที่จะส่งเสริมให้มีการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเหมาะสมและดี มีคุณภาพ ซึ่งคิดว่ามีจุดสำคัญ ที่เรียกว่าจุดจัดการ จำนวน 8 จุด ประกอบด้วย 1.ครอบครัว คือเป็นการสื่อสารกันระหว่างพ่อแม่กับลูกโดยเริ่มต้นจากภาษากาย ภาษาใจ และภาษาพูด ซึ่งครอบครัวเป็นจุดแรกที่สำคัญของการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและดี 2.ชุมชน/ท้องถิ่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ดีด้วย 3. สถานศึกษา คือ จะต้องดูแลในเรื่องของการใช้ภาษาที่ถูกต้องและดี จะช่วยให้เด็กและเยาวชนเจริญพัฒนาไปในทางที่เหมาะสมในเรื่องการใช้ภาษา ทั้งการอ่าน เขียน พูด และการแสดงออก 4 .สื่อ คือ เป็นเครื่องมือสำคัญในสังคมในการใช้ภาษา เช่น สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่ออิเลคโทรนิค ซึ่งมีการขยายตัวในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น 5.ศิลปิน/ผู้นำทางสังคม คือ คนที่เป็นจุดรวมความสนใจของผู้คนเป็นจำนวนมาก ในการใช้ภาษารูปแบบต่าง ๆ 6. ประชาสังคม คือ การที่ผู้คนรวมตัวกันในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ โดยไม่ใช่การใช้อำนาจแบบรัฐบาล รวมถึงไม่ใช่การค้ากำไรแบบธุรกิจ เช่น การรวมตัวกันเป็นสมาคม มูลนิธิ หรือการพบปะ ประชุม สัมมนาเคลื่อนไหวในเรื่องการส่งเสริมคุณภาพการใช้ภาษาไทย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยในการพัฒนา เฝ้าระวัง ติดตามดูแลสนันสนุนส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้เป็นไปในทางที่พึงปรารถนา7.ราชบัณฑิตยสถาน คือ เป็นองค์กรหลักและองค์กรสำคัญของประเทศในเรื่องการใช้ภาษาไทย เช่น เมื่อมีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษาจะต้องมีการอ้างอิงราชบัณฑิตยสถาน การประดิษฐ์คำใหม่ ๆ ขึ้นมา เป็นต้น และ8.รัฐบาล คือ เป็นผู้ที่มีกลไกที่อยู่ในความดูแล จำนวนมาก อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น โดยมีหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ และการกำหนดนโยบาย รวมทั้งการดูแลเรื่องข้อบังคับต่าง ๆ จึงต้องอาศัยเรื่องการจัดสรรงบประมาณ การใช้กลไกของรัฐ และการใช้กลไกลทางนิติบัญญัติ เป็นต้น ในการส่งเสริมสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสม
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรี ขอให้ราชบัณฑิตยสถานดำเนินการเพิ่มในการสื่อสารสองทางกับสังคมให้กระจายให้กว้างออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะได้ประโยชน์มากจากการสื่อสารสองทาง นั่นคือการได้รับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกภาคส่วนของสังคมพร้อมกับการที่ใช้ความเป็นผู้ชำนาญการของราชบัณฑิตยสถานในการผลิตผลงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยออกมาดังเป็นที่ปรากฏในสังคมไทยปัจจุบัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล”ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ” แก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมในโครงการรณรงค์ให้ปี 2550 เป็นปีภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งจัดโดยราชบัณฑิตยสถาน โดยมีโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน
ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวาณิช นายกราชบัณฑิตยสถาน กล่าวรายงานความเป็นมาของการจัดงานสรุปว่า ราชบัณฑิตยสถานรณรงค์ให้ปี 2550 เป็นปีภาษาไทย เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งด้านการเขียน อ่าน พูด และร้องเพลง รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติและเพื่อสนองพระราชดำริและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของประชาชน โดยเยาวชนเป็นกลุ่มผู้ที่ควรได้รับการปลูกฝังให้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการเขียนสะกดคำภาษาไทย เพื่อมิให้คลาดเคลื่อนไปทั้งรูป เสียง และความหมาย รวมทั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญยิ่งในการแสดงความเป็นชาติไทย และผู้ที่มีส่วนช่วยได้อย่างดียิ่ง คือ สื่อมวลชน โดยเฉพาะนักแสดง นักร้อง ซึ่งเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของเด็กและเยาวชนที่มักมีพฤติกรรมเลียนแบบนักแสดง นักร้องที่ตนชื่นชม
ทั้งนี้ ในปีมหามงคลนี้ ราชบัณฑิตยสถานได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ หลายโครงการ เพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาษาไทยและพัฒนาศักยภาพของผู้ใช้ภาษาไทย โครงการหนึ่งที่ ราชบัณฑิตยสถานได้ริเริ่มเป็นปีแรก คือ การมอบรางวัล “ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ” แก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น เพื่อให้เป็นต้นแบบการใช้ภาษาไทยที่ดี ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้คนไทยใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และจะดำเนินการต่อเนื่องไปทุกปี ในการนี้ ราชบัณฑิตยสถานจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นขึ้นเพื่อมอบรางวัล “ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ” ครั้งที่ 1 โดยคณะกรรมการได้จัดการแข่งขันการพูดสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5-6 ของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2550 ซึ่งมี โรงเรียนส่งนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 112 โรง นักเรียนที่เข้าแข่งขัน 313 คน ผลการตัดสินรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ด.ญ.ลลิตภัทร เกิดกรุง โรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ด.ช.ปัญจวุฒิ อจระสิงห์ โรงเรียนบ้านบางกะปิ อันดับ 2 ได้แก่ ด.ญ.อรพรรณ ศรีเลิศ โรงเรียนชาญกิจวิทยา อันดับ 3 ได้แก่ ด.ญ.ปวีณ์นุช กาญจนทอง โรงเรียนวัดบางไกรนอก และรางวัลชมเชย รวม 10 คน รวมทั้งได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกนักแสดงละครโทรทัศน์ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผลการตัดสินมีนักแสดงละครโทรทัศน์หญิงและชายดีเด่นฝ่ายละคน ได้แก่ นางสาวพริมรตา เดชอุดม จากละครเรื่องจันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า และนายณัฐวุฒิ สกิดใจ จากละครเรื่อง สายน้ำสามชีวิต
จากนั้นนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มอบรางวัล “ราชบัณฑิตยสถานสรรเสริญ” แก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พร้อมมอบรางวัลผู้สนับสนุนการใช้ภาษาไทยดีเด่นให้กับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 บริษัท บรอดคาซท์ ไทยเทเลวิชั่น จำกัด และโรงเรียนที่ส่งนักเรียนเข้าแข่งขันด้วย
โอกาสนี้ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี ฯ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมราชบัณฑิตยสถาน ที่ได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น และกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลในการใช้ภาษาไทยดีเด่นทุกคน รวมถึงองค์กรและสถาบันที่ให้การการสนับสนุน ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทยของประชาชนคนไทย พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสม” ว่าภาษาไทยเป็นภาษาชาติไทยและของประเทศไทยรวมทั้งเป็นวัฒนธรรม วิถีชีวิต และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของคนในชาติ รวมทั้งยังเป็นคุณค่า ความงดงาม และรสชาติในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การใช้ภาษาที่ดีจึงมีความหมาย และความสำคัญ ตลอดจนมีประโยชน์อเนกอนันต์ ทั้งนี้จะทำอย่างไรที่จะส่งเสริมให้มีการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเหมาะสมและดี มีคุณภาพ ซึ่งคิดว่ามีจุดสำคัญ ที่เรียกว่าจุดจัดการ จำนวน 8 จุด ประกอบด้วย 1.ครอบครัว คือเป็นการสื่อสารกันระหว่างพ่อแม่กับลูกโดยเริ่มต้นจากภาษากาย ภาษาใจ และภาษาพูด ซึ่งครอบครัวเป็นจุดแรกที่สำคัญของการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและดี 2.ชุมชน/ท้องถิ่น คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ดีด้วย 3. สถานศึกษา คือ จะต้องดูแลในเรื่องของการใช้ภาษาที่ถูกต้องและดี จะช่วยให้เด็กและเยาวชนเจริญพัฒนาไปในทางที่เหมาะสมในเรื่องการใช้ภาษา ทั้งการอ่าน เขียน พูด และการแสดงออก 4 .สื่อ คือ เป็นเครื่องมือสำคัญในสังคมในการใช้ภาษา เช่น สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่ออิเลคโทรนิค ซึ่งมีการขยายตัวในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น 5.ศิลปิน/ผู้นำทางสังคม คือ คนที่เป็นจุดรวมความสนใจของผู้คนเป็นจำนวนมาก ในการใช้ภาษารูปแบบต่าง ๆ 6. ประชาสังคม คือ การที่ผู้คนรวมตัวกันในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ โดยไม่ใช่การใช้อำนาจแบบรัฐบาล รวมถึงไม่ใช่การค้ากำไรแบบธุรกิจ เช่น การรวมตัวกันเป็นสมาคม มูลนิธิ หรือการพบปะ ประชุม สัมมนาเคลื่อนไหวในเรื่องการส่งเสริมคุณภาพการใช้ภาษาไทย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยในการพัฒนา เฝ้าระวัง ติดตามดูแลสนันสนุนส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้เป็นไปในทางที่พึงปรารถนา7.ราชบัณฑิตยสถาน คือ เป็นองค์กรหลักและองค์กรสำคัญของประเทศในเรื่องการใช้ภาษาไทย เช่น เมื่อมีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษาจะต้องมีการอ้างอิงราชบัณฑิตยสถาน การประดิษฐ์คำใหม่ ๆ ขึ้นมา เป็นต้น และ8.รัฐบาล คือ เป็นผู้ที่มีกลไกที่อยู่ในความดูแล จำนวนมาก อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น โดยมีหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณ สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ และการกำหนดนโยบาย รวมทั้งการดูแลเรื่องข้อบังคับต่าง ๆ จึงต้องอาศัยเรื่องการจัดสรรงบประมาณ การใช้กลไกของรัฐ และการใช้กลไกลทางนิติบัญญัติ เป็นต้น ในการส่งเสริมสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องเหมาะสม
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรี ขอให้ราชบัณฑิตยสถานดำเนินการเพิ่มในการสื่อสารสองทางกับสังคมให้กระจายให้กว้างออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศด้วย ซึ่งเชื่อว่าจะได้ประโยชน์มากจากการสื่อสารสองทาง นั่นคือการได้รับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกภาคส่วนของสังคมพร้อมกับการที่ใช้ความเป็นผู้ชำนาญการของราชบัณฑิตยสถานในการผลิตผลงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยออกมาดังเป็นที่ปรากฏในสังคมไทยปัจจุบัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--