พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งที่ 1/2551 และให้นโยบายการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านต้องยึดหลักธรรมภิบาล ประโยชน์ร่วมกัน และการไม่เอารัดเอาเปรียบกัน
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งที่ 1/2551 ดังนี้ ระเบียบวาระการประชุมที่สำคัญคือ ที่ประชุมฯ รับทราบเรื่องเพื่อทราบจำนวน 3 เรื่องคือ รับทราบ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 235/2550 ลงวันที่ 19 กันยายน 2550 ยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ความก้าวหน้ากรอบความร่วมมือของแผนงาน GMS, ACMECS, IMT-GT และ BIMSTEC และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน
ในระเบียบวาระเรื่องพิจารณา ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องเพื่อพิจารณา 3 เรื่อง ได้แก่1. การเตรียมการประชุม GMS Summit ครั้งที่3 ระหว่างวันที่ 30 -31 มีนาคม 2551 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งในการประชุมสุดยอดผู้นำ ได้กำหนดขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม 2551 และมีหัวข้อในการหารือ 6 หัวข้อได้แก่
- Strengthening Infrastructure Connectivity : A Key Ingredient to Improved Competitiveness
- Trade and Transport Facilitation : From Transport Corridors into Economic Corridors
- Public-Private Partnerships for Expanding Business and Investment in the GMS
- Building Human Resource Capacity for Enhanced Competitiveness
- Role of Sustainable Environmental Management in Promoting Competitiveness
- GMS Cooperation and Development Partnerships
ในการนี้ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯเสนอ คือ เห็นชอบในหลักการของการกำหนดการประชุม สาระสำคัญของการเตรียมการประชุม และการเตรียมความพร้อมในส่วนของประเทศไทย ได้แก่ การลงนามบันทึกความเข้าใจ 2 ฉบับคือ MOU for the Sustainable and Balanced Development of the GMS North-South Economic Corridor และ MOU on the Road Map for Implementing the GMS Cross Border 2. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการเพื่อพัฒนาเส้นทางหมายเลข 68 ( ช่องจอม-กลอรันห์ ) ซึ่งเป็นเส้นทางที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการลงทุนที่เชื่อมโยงเมืองเสียมเรียบกับเขตอีสานใต้ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวเส้นทาง3. การให้ความช่วยเหลือพัฒนาเส้นทางหมายเลข 11 ( นครเวียงจันทน์ — แขวงไชยะบุลี ระยะทางรวม 204 กิโลเมตร )ใน สปป.ลาว ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าจากจังหวัดเลย เข้าสู่เวียงจันทน์ โดยที่ประชุมฯ เห็นชอบรับข้อเสนอของลาวไว้พิจารณา ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำต่อคณะกรรมการฯว่า การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น จะต้องยึดหลักธรรมาภิบาล ไม่เอารัดเอาเปรียบระหว่างกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งสำหรับการพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ครั้งที่ 1/2551 ดังนี้ ระเบียบวาระการประชุมที่สำคัญคือ ที่ประชุมฯ รับทราบเรื่องเพื่อทราบจำนวน 3 เรื่องคือ รับทราบ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 235/2550 ลงวันที่ 19 กันยายน 2550 ยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ความก้าวหน้ากรอบความร่วมมือของแผนงาน GMS, ACMECS, IMT-GT และ BIMSTEC และการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน
ในระเบียบวาระเรื่องพิจารณา ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องเพื่อพิจารณา 3 เรื่อง ได้แก่1. การเตรียมการประชุม GMS Summit ครั้งที่3 ระหว่างวันที่ 30 -31 มีนาคม 2551 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งในการประชุมสุดยอดผู้นำ ได้กำหนดขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม 2551 และมีหัวข้อในการหารือ 6 หัวข้อได้แก่
- Strengthening Infrastructure Connectivity : A Key Ingredient to Improved Competitiveness
- Trade and Transport Facilitation : From Transport Corridors into Economic Corridors
- Public-Private Partnerships for Expanding Business and Investment in the GMS
- Building Human Resource Capacity for Enhanced Competitiveness
- Role of Sustainable Environmental Management in Promoting Competitiveness
- GMS Cooperation and Development Partnerships
ในการนี้ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการฯเสนอ คือ เห็นชอบในหลักการของการกำหนดการประชุม สาระสำคัญของการเตรียมการประชุม และการเตรียมความพร้อมในส่วนของประเทศไทย ได้แก่ การลงนามบันทึกความเข้าใจ 2 ฉบับคือ MOU for the Sustainable and Balanced Development of the GMS North-South Economic Corridor และ MOU on the Road Map for Implementing the GMS Cross Border 2. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการเพื่อพัฒนาเส้นทางหมายเลข 68 ( ช่องจอม-กลอรันห์ ) ซึ่งเป็นเส้นทางที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ด้านการค้าและการลงทุนที่เชื่อมโยงเมืองเสียมเรียบกับเขตอีสานใต้ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวเส้นทาง3. การให้ความช่วยเหลือพัฒนาเส้นทางหมายเลข 11 ( นครเวียงจันทน์ — แขวงไชยะบุลี ระยะทางรวม 204 กิโลเมตร )ใน สปป.ลาว ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าจากจังหวัดเลย เข้าสู่เวียงจันทน์ โดยที่ประชุมฯ เห็นชอบรับข้อเสนอของลาวไว้พิจารณา ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำต่อคณะกรรมการฯว่า การพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น จะต้องยึดหลักธรรมาภิบาล ไม่เอารัดเอาเปรียบระหว่างกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งสำหรับการพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--