นายไกรสร พรสุธี (Mr.Kraisorn Pornsutee) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการองค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Telecommunity-ATP)
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายไกรสร พรสุธี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในโอกาสที่ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการองค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Telecommunity-ATP) ภายหลังกล่าวต้อนรับ มีการสนทนาสรุปดังนี้
นายไกรสร พรสุธี ได้กล่าวถึงความเป็นมาขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ATP) โดยองค์การดังกล่าวเป็นองค์การระหว่างประเทศทางด้านโทรคมนาคมของภูมิภาคจัดตั้งในปี พ.ศ. 2512 ภายใต้ความอุปถัมภ์ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การฯ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2519 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีบทบาทในการปฏิบัติงานเหมือนเป็นศูนย์รวมด้านโทรคมนาคม (focal telecommunication entity) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก (ขณะนี้มีประเทศสมาชิก 34 ประเทศ สมาชิกสมทบ 4 เขตปกครองพิเศษ และ สมาชิกในเครือ 105 หน่วยงาน) เพื่อช่วยในการพัฒนาข่ายงานโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ นายไกรสรฯ ยังได้เล่าถึงบรรยากาศในการเลือกตั้งเลขาธิการและรองเลขาธิการ ATP ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 31 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 28 ประเทศ โดยตำแหน่งเลขาธิการฯ มีผู้สมัครจากประเทศญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว ส่วนตำแหน่งรองเลขาธิการฯ มีผู้สมัคร 4 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย มัลดิฟส์ มาเลเซีย และ ไทย โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ได้แก่ Mr.Toshiyuki Yamada จากประเทศญี่ปุ่น และ นายไกรสร พรสุธี ผู้สมัครจากประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการฯ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณนายไกรสรฯ ที่ช่วยแบ่งเบาภารกิจในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และได้อวยพรให้นายไกรสรปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถเพื่อสร้างความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทย อันจะส่งผลให้ไทยได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในสมัยหน้า พร้อมทั้งกล่าวสนับสนุนให้คนไทยที่มีความสามารถได้เข้าไปมีบทบาทเป็นผู้บริหารในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนการดำเนินงานของ ATP และมองเห็นว่า ATP เป็นเวทีและโอกาสสำคัญที่จะได้สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศต่าง ๆ ในระดับภูมิภาคต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายไกรสร พรสุธี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในโอกาสที่ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการองค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Telecommunity-ATP) ภายหลังกล่าวต้อนรับ มีการสนทนาสรุปดังนี้
นายไกรสร พรสุธี ได้กล่าวถึงความเป็นมาขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ATP) โดยองค์การดังกล่าวเป็นองค์การระหว่างประเทศทางด้านโทรคมนาคมของภูมิภาคจัดตั้งในปี พ.ศ. 2512 ภายใต้ความอุปถัมภ์ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การฯ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2519 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีบทบาทในการปฏิบัติงานเหมือนเป็นศูนย์รวมด้านโทรคมนาคม (focal telecommunication entity) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก (ขณะนี้มีประเทศสมาชิก 34 ประเทศ สมาชิกสมทบ 4 เขตปกครองพิเศษ และ สมาชิกในเครือ 105 หน่วยงาน) เพื่อช่วยในการพัฒนาข่ายงานโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ นายไกรสรฯ ยังได้เล่าถึงบรรยากาศในการเลือกตั้งเลขาธิการและรองเลขาธิการ ATP ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 31 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมจำนวน 28 ประเทศ โดยตำแหน่งเลขาธิการฯ มีผู้สมัครจากประเทศญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว ส่วนตำแหน่งรองเลขาธิการฯ มีผู้สมัคร 4 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย มัลดิฟส์ มาเลเซีย และ ไทย โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ได้แก่ Mr.Toshiyuki Yamada จากประเทศญี่ปุ่น และ นายไกรสร พรสุธี ผู้สมัครจากประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการฯ
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณนายไกรสรฯ ที่ช่วยแบ่งเบาภารกิจในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และได้อวยพรให้นายไกรสรปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถเพื่อสร้างความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทย อันจะส่งผลให้ไทยได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในสมัยหน้า พร้อมทั้งกล่าวสนับสนุนให้คนไทยที่มีความสามารถได้เข้าไปมีบทบาทเป็นผู้บริหารในองค์การระหว่างประเทศต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนการดำเนินงานของ ATP และมองเห็นว่า ATP เป็นเวทีและโอกาสสำคัญที่จะได้สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศต่าง ๆ ในระดับภูมิภาคต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--