นายกรัฐมนตรีระบุเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบสาเหตุที่ผู้ต้องสงสัย 6 คนในคดีก่อความไม่สงบในภาคใต้หลบหนีออกจากที่คุมขังชั่วคราว ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติคงจะชี้แจงให้ทราบต่อไป
วันนี้ เวลา 11.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ที่ผู้ต้องสงสัย 6 คนในคดีก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หลบหนีออกจากที่คุมขังชั่วคราวของ สภอ. ตันหยง อ.เมือง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมาว่า เป็นเรื่องที่ทางเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบสาเหตุที่ผู้ต้องหาสามารถงัดที่ควบคุมและหลบหนีออกไปได้ มีการใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ซึ่งถือว่าน่าจะเป็นความบกพร่อง เพราะโดยปกติแล้วหากผู้ต้องหาหลบหนีออกจากที่ควบคุม ทางตำรวจจะต้องโดนตั้งกรรมการสอบอยู่แล้ว ซึ่งคงจะรอผลการสอบสวนก่อน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนการก่อเหตุต่าง ๆ นั้นเท่าที่ดูข้อมูลแล้วพบว่าความรุนแรงและจำนวนครั้งลดลง มีผู้ที่ให้ข้อมูลข่าวสารและให้ความร่วมมือมากขึ้น อย่างเช่นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาได้รับข้อมูลจากชาวบ้านว่ามีการลอบวางระเบิดชุดคุ้มครองครู ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถช่วยกันเก็บกู้ระเบิดได้ ถือว่าเป็นสิ่งที่เราได้รับความร่วมมือมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีประชาชนสมัครใจเข้ามาให้ความร่วมมือ และมีการถอนคำสาบานต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าการทำงานที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และชาวบ้านให้ความร่วมมือมีมากขึ้น คิดว่าต่อไปคงจะไปสู่ขั้นของการพยายามที่จะหาช่องทางให้เกิดความสงบในพื้นที่ขึ้นมาได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่าทหารเป็นหนอนบ่อนไส้และให้ข้อมูลกับผู้ก่อความไม่สงบ ได้รับข้อมูลหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ได้รับรายงานมานานแล้ว ก็เป็นเรื่องของการสอบสวนที่ต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งโดยปกติในอาชีพทหารจะต้องระวังในส่วนเหล่านี้อยู่แล้ว ทุกครั้งหากมีสถานการณ์ของความขัดแย้งเราจะต้องระมัดระวัง เพราะฝ่ายตรงข้ามอาจจะใช้เจ้าหน้าที่ของเราในลักษณะเช่นนี้ได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่จะต้องมีการตรวจสอบอยู่แล้ว เราเรียกว่าหน่วยต่อต้านข่าวกรอง ซึ่งจะมีอยู่ในวิธีการทำงานของทหารอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในเรื่องการควบคุมดูแลผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องพิจารณากันใหม่หรือไม่ เพราะมีข่าวว่าระดับแกนนำผู้ก่อความไม่สงบไม่ได้ถูกคุมขังอย่างรัดกุม แต่ปล่อยให้อยู่บนบ้านพักของเจ้าหน้าที่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องมีการพิจารณา ซึ่งไม่ทราบรายละเอียดว่าวิธีการควบคุมดำเนินการอย่างไร คงเป็นเรื่องที่ทางตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องชี้แจงให้ทราบต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้รับรายงานการซุ่มทหารลาดตะเวนชุดคุ้มครองครูจนทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิตถึง 8 นาย ถือเป็นการตบหน้าผู้บัญชาการทหารบกที่ลงพื้นที่ไปก่อนหน้านี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ คงไม่ใช่เป็นการสร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้นโดยทันที และเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว เพียงแต่การระมัดระวังนั้นจะทำได้อย่างไร นับว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ได้มากมาย อยู่ที่การตรวจสอบและการระมัดระวังในการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องเป็นส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ดูแลปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ในลักษณะเกาะติดสถานการณ์ หรือกินนอนในพื้นที่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้มอบหมายให้ลงไปกินนอนในพื้นที่ ซึ่งพลเอก สนธิฯ ได้ลงไปในพื้นที่บ้าง ทั้งที่ไปกับตน หรือไปเป็นการส่วนตัวของพลเอก สนธิฯ เอง โดยได้มอบหมายให้ พลเอก สนธิฯ ดูแลพี่น้องมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ เพราะสะดวกในการที่จะเข้าไปพูดจาทำความเข้าใจ และการที่ชาวมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นเรื่องของการไปทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า จนถึงขณะนี้พอจะเห็นหัวขบวนการก่อความไม่สงบหรือยัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็พอที่จะรับทราบบ้าง แต่ก็ยังไม่ชัดเจน จนถึงขั้นที่เรียกว่าอะไรเป็นอะไร ส่วนเป็นการบงการจากแกนนำในหรือนอกประเทศนั้น ในส่วนนอกประเทศก็คงจะมี อย่างที่ทราบว่ามีบางส่วนอยู่นอกประเทศ และมีบางส่วนอยู่ในประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่พยายามติดตามข่าวสาร และปรับปรุงข้อมูลให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และคิดว่าหากได้รับความร่วมมือจากประชาชนมากยิ่งขึ้น โอกาสที่ทำให้เกิดความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงก็จะมีขึ้นได้ในอนาคต เพราะเราค่อนข้างได้รับการยอมรับในแนวทางการปฏิบัติมากขึ้น เท่าที่ได้เดินทางไปในพื้นที่ และมีโอกาสได้พบปะกับชาวบ้านพบว่าความร่วมมือของประชาชนมีมากขึ้น เห็นได้อย่างชัดเจนจาก 1 ปีที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่มีการระบุว่ามีขบวนการทั้งภายใน และภายนอกประเทศนั้นมีการเชื่อมโยงกันมากหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนนี้ข้อมูลคงไม่ได้แตกต่างจากที่ท่านทั้งหลายมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของชื่อองค์กรใด ๆ สื่อมวลชนก็ทราบอยู่แล้ว ไม่อยากเข้าไปในรายละเอียดเหล่านั้น ความเชื่อมโยงนั้นมีแน่นอน และที่มีแกนนำบางส่วนไปอยู่ต่างประเทศ เพราะมีข้อหาที่จะต้องถูกควบคุมตัวเมื่ออยู่ในประเทศ ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ และมีบางส่วนที่ออกไปอยู่ต่างประเทศนานแล้ว มีอายุมากแล้วก็ยังมีอยู่ ซึ่งทางที่ดีที่สุดและรัฐบาลพยายามดำเนินการมาโดยตลอดคือการเปิดโอกาสทำความเข้าใจที่จะนำไปสู่การเจรจาให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เท่าที่ประเมินเครือข่ายภายในประเทศมีจำนวนมากน้อยเท่าไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงมีพอสมควร อย่างที่เราได้รับข้อมูลจากทางบ้านปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา ที่มีชาวบ้านเข้ามามอบตัว และทำพิธีขอถอนคำสาบานเฉพาะตำบลนี้ประมาณ 120 คน เพราะฉะนั้น ถ้าประเมินก็คงมีจำนวนไม่น้อย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 11.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ที่ผู้ต้องสงสัย 6 คนในคดีก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หลบหนีออกจากที่คุมขังชั่วคราวของ สภอ. ตันหยง อ.เมือง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมาว่า เป็นเรื่องที่ทางเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบสาเหตุที่ผู้ต้องหาสามารถงัดที่ควบคุมและหลบหนีออกไปได้ มีการใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ซึ่งถือว่าน่าจะเป็นความบกพร่อง เพราะโดยปกติแล้วหากผู้ต้องหาหลบหนีออกจากที่ควบคุม ทางตำรวจจะต้องโดนตั้งกรรมการสอบอยู่แล้ว ซึ่งคงจะรอผลการสอบสวนก่อน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนการก่อเหตุต่าง ๆ นั้นเท่าที่ดูข้อมูลแล้วพบว่าความรุนแรงและจำนวนครั้งลดลง มีผู้ที่ให้ข้อมูลข่าวสารและให้ความร่วมมือมากขึ้น อย่างเช่นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาได้รับข้อมูลจากชาวบ้านว่ามีการลอบวางระเบิดชุดคุ้มครองครู ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถช่วยกันเก็บกู้ระเบิดได้ ถือว่าเป็นสิ่งที่เราได้รับความร่วมมือมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีประชาชนสมัครใจเข้ามาให้ความร่วมมือ และมีการถอนคำสาบานต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าการทำงานที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และชาวบ้านให้ความร่วมมือมีมากขึ้น คิดว่าต่อไปคงจะไปสู่ขั้นของการพยายามที่จะหาช่องทางให้เกิดความสงบในพื้นที่ขึ้นมาได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข่าวว่าทหารเป็นหนอนบ่อนไส้และให้ข้อมูลกับผู้ก่อความไม่สงบ ได้รับข้อมูลหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ได้รับรายงานมานานแล้ว ก็เป็นเรื่องของการสอบสวนที่ต้องดำเนินการต่อไป ซึ่งโดยปกติในอาชีพทหารจะต้องระวังในส่วนเหล่านี้อยู่แล้ว ทุกครั้งหากมีสถานการณ์ของความขัดแย้งเราจะต้องระมัดระวัง เพราะฝ่ายตรงข้ามอาจจะใช้เจ้าหน้าที่ของเราในลักษณะเช่นนี้ได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่จะต้องมีการตรวจสอบอยู่แล้ว เราเรียกว่าหน่วยต่อต้านข่าวกรอง ซึ่งจะมีอยู่ในวิธีการทำงานของทหารอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในเรื่องการควบคุมดูแลผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องพิจารณากันใหม่หรือไม่ เพราะมีข่าวว่าระดับแกนนำผู้ก่อความไม่สงบไม่ได้ถูกคุมขังอย่างรัดกุม แต่ปล่อยให้อยู่บนบ้านพักของเจ้าหน้าที่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องมีการพิจารณา ซึ่งไม่ทราบรายละเอียดว่าวิธีการควบคุมดำเนินการอย่างไร คงเป็นเรื่องที่ทางตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องชี้แจงให้ทราบต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้รับรายงานการซุ่มทหารลาดตะเวนชุดคุ้มครองครูจนทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิตถึง 8 นาย ถือเป็นการตบหน้าผู้บัญชาการทหารบกที่ลงพื้นที่ไปก่อนหน้านี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ คงไม่ใช่เป็นการสร้างความรุนแรงให้เกิดขึ้นโดยทันที และเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว เพียงแต่การระมัดระวังนั้นจะทำได้อย่างไร นับว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ได้มากมาย อยู่ที่การตรวจสอบและการระมัดระวังในการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องเป็นส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี ดูแลปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ในลักษณะเกาะติดสถานการณ์ หรือกินนอนในพื้นที่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้มอบหมายให้ลงไปกินนอนในพื้นที่ ซึ่งพลเอก สนธิฯ ได้ลงไปในพื้นที่บ้าง ทั้งที่ไปกับตน หรือไปเป็นการส่วนตัวของพลเอก สนธิฯ เอง โดยได้มอบหมายให้ พลเอก สนธิฯ ดูแลพี่น้องมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ เพราะสะดวกในการที่จะเข้าไปพูดจาทำความเข้าใจ และการที่ชาวมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นเรื่องของการไปทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า จนถึงขณะนี้พอจะเห็นหัวขบวนการก่อความไม่สงบหรือยัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็พอที่จะรับทราบบ้าง แต่ก็ยังไม่ชัดเจน จนถึงขั้นที่เรียกว่าอะไรเป็นอะไร ส่วนเป็นการบงการจากแกนนำในหรือนอกประเทศนั้น ในส่วนนอกประเทศก็คงจะมี อย่างที่ทราบว่ามีบางส่วนอยู่นอกประเทศ และมีบางส่วนอยู่ในประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่พยายามติดตามข่าวสาร และปรับปรุงข้อมูลให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และคิดว่าหากได้รับความร่วมมือจากประชาชนมากยิ่งขึ้น โอกาสที่ทำให้เกิดความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงก็จะมีขึ้นได้ในอนาคต เพราะเราค่อนข้างได้รับการยอมรับในแนวทางการปฏิบัติมากขึ้น เท่าที่ได้เดินทางไปในพื้นที่ และมีโอกาสได้พบปะกับชาวบ้านพบว่าความร่วมมือของประชาชนมีมากขึ้น เห็นได้อย่างชัดเจนจาก 1 ปีที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่มีการระบุว่ามีขบวนการทั้งภายใน และภายนอกประเทศนั้นมีการเชื่อมโยงกันมากหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนนี้ข้อมูลคงไม่ได้แตกต่างจากที่ท่านทั้งหลายมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของชื่อองค์กรใด ๆ สื่อมวลชนก็ทราบอยู่แล้ว ไม่อยากเข้าไปในรายละเอียดเหล่านั้น ความเชื่อมโยงนั้นมีแน่นอน และที่มีแกนนำบางส่วนไปอยู่ต่างประเทศ เพราะมีข้อหาที่จะต้องถูกควบคุมตัวเมื่ออยู่ในประเทศ ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ และมีบางส่วนที่ออกไปอยู่ต่างประเทศนานแล้ว มีอายุมากแล้วก็ยังมีอยู่ ซึ่งทางที่ดีที่สุดและรัฐบาลพยายามดำเนินการมาโดยตลอดคือการเปิดโอกาสทำความเข้าใจที่จะนำไปสู่การเจรจาให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เท่าที่ประเมินเครือข่ายภายในประเทศมีจำนวนมากน้อยเท่าไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงมีพอสมควร อย่างที่เราได้รับข้อมูลจากทางบ้านปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา ที่มีชาวบ้านเข้ามามอบตัว และทำพิธีขอถอนคำสาบานเฉพาะตำบลนี้ประมาณ 120 คน เพราะฉะนั้น ถ้าประเมินก็คงมีจำนวนไม่น้อย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--