พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีปิดการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 24 และปาฐกถาพิเศษ ประจำปี 2549 ในหัวข้อ "การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศสู่ความยั่งยืน" ณ ห้องสีมาแกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา
วันนี้ เวลา 10.30 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีปิดการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 24 และปาฐกถาพิเศษ ประจำปี 2549 ในหัวข้อ "การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศสู่ความยั่งยืน" ณ ห้องสีมาแกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้า ได้รายงานวัตถุประสงค์การสัมมนาครั้งนี้ สรุปว่า การสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศเป็นกิจกรรมที่สำคัญของหอการค้าไทย และหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี หมุนเวียนไปในแต่ละภาค ในปีนี้นับเป็นปีที่ 24 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารหอการค้าทั่วประเทศได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหอการค้าจังหวัดกับหน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ให้ดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศในปัจจุบัน ทั้งนี้ หอการค้าไทยและหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศเข้าใจและตระหนักดีว่าช่วงระยะเวลาของรัฐบาลมีไม่มากนัก ประกอบกับภารกิจเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาหลายประการทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม อาทิ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ไขปัญหาอุทกภัยและความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของทุกภาคส่วนให้เกิดขึ้น ในฐานะที่หอการค้าฯ เป็นองค์กรนำภาคเอกชนพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงานหอการค้าไทย ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษาและให้บริการแก่สมาชิกและภาคธุรกิจทั่วประเทศในการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ส่วนในด้านต่างประเทศ หอการค้าไทยได้ทำหน้าที่เป็นกลไกประสานให้เกิดความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น
หลังจากนั้นนายดุสิต นนทะนาคร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย ได้รายงานเสนอสรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของที่ประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบใน 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่ 1 แนวทางความร่วมมือของภาคเอกชนในการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง โดยขอให้รัฐสนับสนุนให้มีการสร้างองค์ความรู้ในแต่ละจังหวัดในการนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภาคปฏิบัติและผลักดันอย่างจริงจังให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งผลักดันแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการศึกษา กลุ่มที่ 2 การขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีข้อเสนอเช่น จัดทำมาตรฐานสินค้าและบริการ โดยให้มีการตรวจสอบตลอดเวลาอย่างทั่วถึง ควบคุมมาตรฐานสินค้านำเข้า รณรงค์ให้รู้เรื่องเกี่ยวกับสินค้าของไทยและทั่วโลกให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบด้านการเกษตรเพื่อการส่งออก อำนวยความสะดวกในการใช้ NGV ทั่วประเทศและให้มีหน่วยงานรับรอง ศึกษาวิจัยด้านพลังงาน การผลักดันแผนแม่บทการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย เป็นต้น และกลุ่มที่ 3 ปัญหาอุปสรรคกับข้อเสนอแนะในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด ประกอบด้วย กฎระเบียบและข้อบังคับของภาครัฐไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมมือในการเข้าไปพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดของภาคเอกชน การขาดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งการวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด โดยมีข้อเสนอ เช่น ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด โดยเพิ่มองค์ประกอบของภาคเอกชนและภาคประชาชนให้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับภาครัฐ จัดตั้งสำนักเลขานุการ กรอ. จังหวัด ควรสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาเศรษกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพของจังหวัด ให้ภาคเอกชนเข้าไปมีบทบาทในการจัดทำและจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด ภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและภาคประชาชนร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด เป็นต้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศสู่ความยั่งยืน" ว่า ในช่วงระยะเวลา 1 ปีนับจากนี้ไปภาคเอกชนถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในด้านการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติ การสนับสนุนการดำเนินงานในการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ซึ่งรัฐบาลยินดีรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นและพร้อมที่จะดำเนินการตามข้อตกลงกันเพื่อให้สำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็ว เพราะการดำเนินการต่าง ๆ ต้องได้รับความสนับสนุนร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคเอกชนซึ่ง รัฐบาลเห็นว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการที่จะมีบทบาทนำในหลาย ๆ ด้าน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและหมุนเวียนไปในแต่ละภาค ทำให้เวทีนี้เป็นเวทีพบปะหารือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่สามารถที่จะสะท้อนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาการแก้ไขปัญหาที่สำคัญต่าง ๆ ของประเทศได้เป็นจำนวนมาก สำหรับหัวข้อการสัมมนาเรื่อง “การสร้างเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศสู่ความยั่งยืน" ที่คณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้พูดในวันนี้ ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่ต้องการของสังคม ซึ่งหลายฝ่ายได้หยิบยกมาพูดกันในเวทีต่าง ๆ เสมอว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนในสังคมไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งภาคสังคมและภาคประชาชน เพื่อให้สังคมเกิดความสันติสุขมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน เช่น สถานบันเทิงที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย กลายเป็นสิ่งที่ยั่วยุเด็กและเยาวชน ดังนั้น ทุกฝ่ายน่าที่จะต้องทบทวนเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากพูดถึงเรื่องธรรมาภิบาล เรื่องการแก้ไขปัญหาสังคมนั้น หลักจริง ๆ คงเป็นเรื่องของความเชื่อทางศาสนาที่เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด คิดว่าในหลักทางศาสนานั้นได้เน้นเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม เป็นส่วนที่สำคัญ ซึ่งเราได้ละเลยมองข้ามความสำคัญในเรื่องของความเชื่อทางศาสนาของพุทธศาสนิกชนมาพอสมควร เพราะฉะนั้น ในห้วงเวลาที่สำคัญนี้ควรนำหลักศีล 5 และหลักธรรมาภิบาลมาใช้ ซึ่งจะทำให้สังคมปรับเข้าสู่คุณธรรม จริยธรรม ได้ง่ายยิ่งขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติตัวให้เป็นผู้นำที่ดีของเยาวชน “ในเรื่องของสังคมถ้าเราไม่ได้เป็นผู้เริ่ม คงจะพูดยากว่าจะให้ใครเป็นผู้เริ่ม ถ้าผู้ใหญ่ไม่เริ่ม เด็กก็คงไม่ตาม”
ในส่วนของรัฐบาลมีระยะเวลาในการบริหารราชการแผ่นดินประมาณ 1 ปี และมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ ทั้งเรื่องการฟื้นฟูความสมานฉันท์ของคนในชาติ การสนับสนุนให้มีการปฏิรูปการเมืองด้วยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง การลดความไม่เท่าเทียมกันทางด้านรายได้ของประชาชนในสังคม การสถาปนาหลักนิติธรรมขึ้นในบ้านเมือง ซึ่งการที่จะสถาปนาหลักนิติธรรมขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีธรรมะอยู่ในใจ ไม่เช่นนั้นสังคมจะมองว่าจะมีการหลีกเลี่ยงจากการใช้กฎหมายอย่างไรบ้าง แต่หากมีหลักธรรมะก็จะมองว่าทำอย่างไรที่จะอยู่ในกรอบของกฎหมาย
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงแนวนโยบายของรัฐบาล 5 ด้าน ทั้งนโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสังคม นโยบายการต่างประเทศ และนโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ ที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยยึดถือหลักการทำงานด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ฝากให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ยึดถือและร่วมกันเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการประกอบการทำงาน การประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจได้แพร่หลายกว้างขวางมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย เพื่อให้ธรรมาภิบาลเป็นวัฒนธรรมและวิถีปฏิบัติที่อยู่คู่คนไทยและราชอาณาจักรไทยสืบไป เพราะหลักที่ว่านี้มีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของเราได้อย่างยั่งยืน
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ออกเดินทางต่อไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดค่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 4 ซึ่งเป็น 1 ในกิจกรรมของโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ ที่ได้นำเด็กและเยาวชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับถือศาสนาอิสลาม และมีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกันได้มาเรียนรู้สภาพความเป็นอยู่และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์เป็นเครือข่ายครอบครัว รวมทั้งเพื่อการสร้างโอกาสให้แก่เยาวชนให้ได้รับการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ชีวิตตลอดจนการพัฒนาแนวคิดในการปฏิบัติงานในการเป็นผู้นำของชุมชนไปสู่ความสมานฉันท์ในสังคม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.30 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีปิดการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 24 และปาฐกถาพิเศษ ประจำปี 2549 ในหัวข้อ "การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศสู่ความยั่งยืน" ณ ห้องสีมาแกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้า ได้รายงานวัตถุประสงค์การสัมมนาครั้งนี้ สรุปว่า การสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศเป็นกิจกรรมที่สำคัญของหอการค้าไทย และหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี หมุนเวียนไปในแต่ละภาค ในปีนี้นับเป็นปีที่ 24 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารหอการค้าทั่วประเทศได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหอการค้าจังหวัดกับหน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ในการขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ให้ดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศในปัจจุบัน ทั้งนี้ หอการค้าไทยและหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศเข้าใจและตระหนักดีว่าช่วงระยะเวลาของรัฐบาลมีไม่มากนัก ประกอบกับภารกิจเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาหลายประการทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม อาทิ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ไขปัญหาอุทกภัยและความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของทุกภาคส่วนให้เกิดขึ้น ในฐานะที่หอการค้าฯ เป็นองค์กรนำภาคเอกชนพร้อมที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงานหอการค้าไทย ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษาและให้บริการแก่สมาชิกและภาคธุรกิจทั่วประเทศในการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ส่วนในด้านต่างประเทศ หอการค้าไทยได้ทำหน้าที่เป็นกลไกประสานให้เกิดความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น
หลังจากนั้นนายดุสิต นนทะนาคร กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย ได้รายงานเสนอสรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของที่ประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบใน 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มที่ 1 แนวทางความร่วมมือของภาคเอกชนในการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง โดยขอให้รัฐสนับสนุนให้มีการสร้างองค์ความรู้ในแต่ละจังหวัดในการนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ภาคปฏิบัติและผลักดันอย่างจริงจังให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งผลักดันแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการศึกษา กลุ่มที่ 2 การขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีข้อเสนอเช่น จัดทำมาตรฐานสินค้าและบริการ โดยให้มีการตรวจสอบตลอดเวลาอย่างทั่วถึง ควบคุมมาตรฐานสินค้านำเข้า รณรงค์ให้รู้เรื่องเกี่ยวกับสินค้าของไทยและทั่วโลกให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบด้านการเกษตรเพื่อการส่งออก อำนวยความสะดวกในการใช้ NGV ทั่วประเทศและให้มีหน่วยงานรับรอง ศึกษาวิจัยด้านพลังงาน การผลักดันแผนแม่บทการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย เป็นต้น และกลุ่มที่ 3 ปัญหาอุปสรรคกับข้อเสนอแนะในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด ประกอบด้วย กฎระเบียบและข้อบังคับของภาครัฐไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมมือในการเข้าไปพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดของภาคเอกชน การขาดความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งการวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ และการประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด โดยมีข้อเสนอ เช่น ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัด โดยเพิ่มองค์ประกอบของภาคเอกชนและภาคประชาชนให้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับภาครัฐ จัดตั้งสำนักเลขานุการ กรอ. จังหวัด ควรสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาเศรษกิจให้สอดคล้องกับศักยภาพของจังหวัด ให้ภาคเอกชนเข้าไปมีบทบาทในการจัดทำและจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด ภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและภาคประชาชนร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด เป็นต้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศสู่ความยั่งยืน" ว่า ในช่วงระยะเวลา 1 ปีนับจากนี้ไปภาคเอกชนถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในด้านการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติ การสนับสนุนการดำเนินงานในการให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ซึ่งรัฐบาลยินดีรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นและพร้อมที่จะดำเนินการตามข้อตกลงกันเพื่อให้สำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็ว เพราะการดำเนินการต่าง ๆ ต้องได้รับความสนับสนุนร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคเอกชนซึ่ง รัฐบาลเห็นว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการที่จะมีบทบาทนำในหลาย ๆ ด้าน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีและหมุนเวียนไปในแต่ละภาค ทำให้เวทีนี้เป็นเวทีพบปะหารือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่สามารถที่จะสะท้อนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาการแก้ไขปัญหาที่สำคัญต่าง ๆ ของประเทศได้เป็นจำนวนมาก สำหรับหัวข้อการสัมมนาเรื่อง “การสร้างเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศสู่ความยั่งยืน" ที่คณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้พูดในวันนี้ ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่ต้องการของสังคม ซึ่งหลายฝ่ายได้หยิบยกมาพูดกันในเวทีต่าง ๆ เสมอว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนในสังคมไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการ ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งภาคสังคมและภาคประชาชน เพื่อให้สังคมเกิดความสันติสุขมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน เช่น สถานบันเทิงที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย กลายเป็นสิ่งที่ยั่วยุเด็กและเยาวชน ดังนั้น ทุกฝ่ายน่าที่จะต้องทบทวนเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากพูดถึงเรื่องธรรมาภิบาล เรื่องการแก้ไขปัญหาสังคมนั้น หลักจริง ๆ คงเป็นเรื่องของความเชื่อทางศาสนาที่เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด คิดว่าในหลักทางศาสนานั้นได้เน้นเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม เป็นส่วนที่สำคัญ ซึ่งเราได้ละเลยมองข้ามความสำคัญในเรื่องของความเชื่อทางศาสนาของพุทธศาสนิกชนมาพอสมควร เพราะฉะนั้น ในห้วงเวลาที่สำคัญนี้ควรนำหลักศีล 5 และหลักธรรมาภิบาลมาใช้ ซึ่งจะทำให้สังคมปรับเข้าสู่คุณธรรม จริยธรรม ได้ง่ายยิ่งขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติตัวให้เป็นผู้นำที่ดีของเยาวชน “ในเรื่องของสังคมถ้าเราไม่ได้เป็นผู้เริ่ม คงจะพูดยากว่าจะให้ใครเป็นผู้เริ่ม ถ้าผู้ใหญ่ไม่เริ่ม เด็กก็คงไม่ตาม”
ในส่วนของรัฐบาลมีระยะเวลาในการบริหารราชการแผ่นดินประมาณ 1 ปี และมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ ทั้งเรื่องการฟื้นฟูความสมานฉันท์ของคนในชาติ การสนับสนุนให้มีการปฏิรูปการเมืองด้วยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง การลดความไม่เท่าเทียมกันทางด้านรายได้ของประชาชนในสังคม การสถาปนาหลักนิติธรรมขึ้นในบ้านเมือง ซึ่งการที่จะสถาปนาหลักนิติธรรมขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีธรรมะอยู่ในใจ ไม่เช่นนั้นสังคมจะมองว่าจะมีการหลีกเลี่ยงจากการใช้กฎหมายอย่างไรบ้าง แต่หากมีหลักธรรมะก็จะมองว่าทำอย่างไรที่จะอยู่ในกรอบของกฎหมาย
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงแนวนโยบายของรัฐบาล 5 ด้าน ทั้งนโยบายการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร นโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสังคม นโยบายการต่างประเทศ และนโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ ที่รัฐบาลได้แถลงไว้ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยยึดถือหลักการทำงานด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ฝากให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ยึดถือและร่วมกันเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการประกอบการทำงาน การประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจได้แพร่หลายกว้างขวางมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย เพื่อให้ธรรมาภิบาลเป็นวัฒนธรรมและวิถีปฏิบัติที่อยู่คู่คนไทยและราชอาณาจักรไทยสืบไป เพราะหลักที่ว่านี้มีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคมของเราได้อย่างยั่งยืน
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้ออกเดินทางต่อไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดค่ายสิ่งแวดล้อมโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 4 ซึ่งเป็น 1 ในกิจกรรมของโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ ที่ได้นำเด็กและเยาวชนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับถือศาสนาอิสลาม และมีวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกันได้มาเรียนรู้สภาพความเป็นอยู่และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์เป็นเครือข่ายครอบครัว รวมทั้งเพื่อการสร้างโอกาสให้แก่เยาวชนให้ได้รับการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ชีวิตตลอดจนการพัฒนาแนวคิดในการปฏิบัติงานในการเป็นผู้นำของชุมชนไปสู่ความสมานฉันท์ในสังคม
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--