พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดโครงการรินน้ำใจ ให้น้องชาวใต้ เสริมความรู้ สู่มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
วันนี้ เวลา 10.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดโครงการรินน้ำใจ ให้น้องชาวใต้ เสริมความรู้ สู่มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้ ก่อนเปิดโครงการดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารหอประชุมเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี บริเวณหน้าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 ซึ่งหอประชุมแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ
จากนั้นนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการได้จัดกิจกรรมและโครงการรินน้ำใจ ให้น้องชาวใต้ เสริมความรู้ สู่มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ เสริมสร้างความเชื่อมั่นและให้โอกาสทางการศึกษา แก่นักเรียน เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเสริมสร้างความสุขของสถาบันครอบครัวและชุมชน ซึ่งในปีการศึกษา 2549 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และประสบการณ์ของเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6 โครงการ ได้แก่ โครงการทัศนศึกษางานพืชสวนโลก โครงการค่ายเยาวชน โครงการสภาเวทีเยาวชน โครงการบัณฑิตรักถิ่น โครงการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้การศึกษาค่ายเยาวชน และโครงการรินน้ำใจ ให้น้องชาวใต้ เสริมความรู้ สู่มหาวิทยาลัย โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549 ในการนำครู อาจารย์จากสถาบันการสอนที่มีชื่อเสียง เข้ามาสอนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การผลิตรายการสอนเสริมทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ส่วนแยกยะลา การบริการสำเนา ซีดี สอนเสริมชุดวิชาต่าง ๆ และกิจกรรมในวันนี้ได้นำครู อาจารย์ จากสถาบันการศึกษาส่วนกลางทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 40 คน จัดสอนเสริมในรูปแบบศูนย์การเรียน ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จะสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ประมาณ 8,000 คน ระหว่างวันที่ 2-5 กุมภาพันธ์ 2550 ทั้งนี้ กิจกรรมตามโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนกลางและในพื้นที่ทุกฝ่าย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดโครงการและให้โอวาทแก่เยาวชนสรุปได้ว่า การที่เยาวชนส่วนหนึ่งได้มีโอกาสเดินทางเข้าร่วมโครงการทัศนศึกษางานพืชสวนโลก ที่จังหวัดเชียงใหม่ นั้น ทำให้เห็นความแตกต่างในเรื่องของสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม การประกอบอาชีพ โดยเฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ในชนบท ซึ่งในความแตกต่างเหล่านี้ สิ่งที่เหมือนกันคือ ความเป็นไทย ที่มีลักษณะเฉพาะของความเป็นคนไทย คือ มีความโอบอ้อมอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้คนจากทั่วโลกที่เดินทางมาประเทศไทยได้รับรู้ถึงความรู้สึกเหล่านี้ของคนไทย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเรียนรู้ไม่ใช่อยู่ในตำราที่พยายามจะจดจำกันเพียงอย่างเดียว แต่เราจะต้องสะสมความรู้กันต่อไปในอนาคต หลาย ๆ อย่างอยู่ที่การปฏิบัติการฝึกฝนต่างๆ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ และพยายามยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยพยายามจะส่งเสริมให้เยาวชนให้ความสนใจกับวิชาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มากขึ้นในทุกระดับการศึกษา
“สิ่งที่เราสนใจคือเรามีความรู้ในเรื่องทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ถือว่าผ่าน นักเรียนไทยส่วนมากไปสนใจในด้านวิชาสังคม วิชาภาษา ทำอย่างไรที่เราจะส่งเสริมในด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ขึ้นมาให้ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องให้นักเรียนได้มีโอกาสที่จะฝึก มีโอกาสที่จะปฏิบัติ โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาศาสตร์ ถ้าเราส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้ โอกาสในเบื้องต้นของเยาวชนทุก ๆ คน จะมีโอกาสที่จะไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น เพราะว่าในปัจจุบันสาขาวิชาต่างๆในระดับอุดมศึกษานั้นจำเป็นที่จะต้องมีพื้นฐานทั้งด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น” นายกรัฐมนตรี กล่าว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังขอให้เยาวชนตัดสินใจที่จะเลือกเรียนในวิชาที่ชอบ และเดินไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้ให้ได้ เพราะความพยายามคือหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ถ้าหากเรามีความตั้งใจแล้วต้องพยายามทำให้ได้ ซึ่งความสำเร็จของผู้ที่จะเรียนในระดับอุดมศึกษานั้นต้องประกอบด้วยหลายสิ่งหลายอย่าง อย่างแรกคือความตั้งใจที่จะไปศึกษาในสาขาวิชาชีพใดที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด และในปีนี้มหาวิทยาลัย 14-15 แห่ง จะมีโควต้าให้เยาวชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ประมาณ 10-15 คน รวมประมาณ 200 คนในสาขาต่าง ๆ โดยเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับทุนเรียนของมหาวิทยาลัย คือไม่ต้องเสียค่าหน่วยกิต ซึ่งการจัดโครงการติวให้แก่เยาวชนที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาครั้งนี้ ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยได้นำครู อาจารย์ที่สอนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปภาษา จากโรงเรียนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาช่วยสอนให้ในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่กี่วัน
นายกรัฐมนตรี ได้เล่าให้เยาวชนฟังถึงการไปประชุมสุดยอดอาเซียน ที่เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า นับตั้งแต่การรวมกลุ่มประเทศอาเซียนมา 40 ปีแล้ว จนถึงขณะนี้กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้รวมตัวกันแน่นแฟ้นมากขึ้น โดยมีการร่างกฎบัตรอาเซียนร่วมกัน เพื่อที่จะพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโครงข่ายเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะในประเทศที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกัน และเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ผ่านกัมพูชา ลาว ไปเวียดนาม จีนทางตอนใต้ ผ่านพม่าไปอินเดีย ซึ่งรัฐบาลจะเร่งสร้างถนนในภาคใต้ที่ยังไม่แล้วเสร็จให้สมบูรณ์โดยเร็ว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทางการศึกษากันในแต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างของการเรียนการสอนในแต่ละมหาวิทยาลัย และจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่ายของเยาวชนได้มากขึ้น นอกจากนี้ ในเรื่องของความเชื่อทางศาสนา ซึ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกันไป รัฐบาลจะจัดให้มีการเรียนทางด้านศาสนา โดยเฉพาะในเรื่องของอิสลามศึกษาให้สอดคล้องกับความเชื่อ วิถีชีวิต ของเยาวชน เช่นเดียวกับความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธ จะมีการปรับปรุงการเรียนการสอนกันต่อไป รวมทั้งต้องการให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษามลายู เพราะเป็นพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาต่อไปในอนาคต
หลังจากนั้นตัวแทนนักเรียนในโครงการรินน้ำใจ ให้น้องชาวใต้ฯ ได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรี พร้อมให้สัญญาว่าจะประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมและจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาบ้านเมืองและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้มอบของที่ระลึกแก่ตัวแทนคณาจารย์จากศูนย์การเรียนในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานีและยะลา พร้อมทั้งทักทายนักเรียนที่จะสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และเยี่ยมชมโครงงานวิจัยของนักเรียนในหัวข้อ “การสร้างความสมานฉันท์ ความสามัคคีคืนชีวีสู่แดนใต้ให้ปลอดภัย ร่วมใจถวายในหลวง” ซึ่งเป็นโครงงานของเยาวชนในโครงการไทยสานใจใต้ ของโรงเรียนนราสิกขาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 จังหวัดนราธิวาส
จากนั้น นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนอัครศาสน์วิทยา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน พร้อมทั้งเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ของโรงเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้การสนับสนุนงบประมาณจำนวน 5.5 แสนบาท เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์ต้นแบบการเรียนรู้ ICT เพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนและครูอาจารย์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดโครงการรินน้ำใจ ให้น้องชาวใต้ เสริมความรู้ สู่มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้ ก่อนเปิดโครงการดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารหอประชุมเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี บริเวณหน้าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 ซึ่งหอประชุมแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนในโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ
จากนั้นนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการได้จัดกิจกรรมและโครงการรินน้ำใจ ให้น้องชาวใต้ เสริมความรู้ สู่มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ เสริมสร้างความเชื่อมั่นและให้โอกาสทางการศึกษา แก่นักเรียน เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนเสริมสร้างความสุขของสถาบันครอบครัวและชุมชน ซึ่งในปีการศึกษา 2549 กระทรวงศึกษาธิการได้จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และประสบการณ์ของเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6 โครงการ ได้แก่ โครงการทัศนศึกษางานพืชสวนโลก โครงการค่ายเยาวชน โครงการสภาเวทีเยาวชน โครงการบัณฑิตรักถิ่น โครงการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้การศึกษาค่ายเยาวชน และโครงการรินน้ำใจ ให้น้องชาวใต้ เสริมความรู้ สู่มหาวิทยาลัย โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549 ในการนำครู อาจารย์จากสถาบันการสอนที่มีชื่อเสียง เข้ามาสอนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การผลิตรายการสอนเสริมทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ส่วนแยกยะลา การบริการสำเนา ซีดี สอนเสริมชุดวิชาต่าง ๆ และกิจกรรมในวันนี้ได้นำครู อาจารย์ จากสถาบันการศึกษาส่วนกลางทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 40 คน จัดสอนเสริมในรูปแบบศูนย์การเรียน ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่จะสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ประมาณ 8,000 คน ระหว่างวันที่ 2-5 กุมภาพันธ์ 2550 ทั้งนี้ กิจกรรมตามโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนกลางและในพื้นที่ทุกฝ่าย
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดโครงการและให้โอวาทแก่เยาวชนสรุปได้ว่า การที่เยาวชนส่วนหนึ่งได้มีโอกาสเดินทางเข้าร่วมโครงการทัศนศึกษางานพืชสวนโลก ที่จังหวัดเชียงใหม่ นั้น ทำให้เห็นความแตกต่างในเรื่องของสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม การประกอบอาชีพ โดยเฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ในชนบท ซึ่งในความแตกต่างเหล่านี้ สิ่งที่เหมือนกันคือ ความเป็นไทย ที่มีลักษณะเฉพาะของความเป็นคนไทย คือ มีความโอบอ้อมอารี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้คนจากทั่วโลกที่เดินทางมาประเทศไทยได้รับรู้ถึงความรู้สึกเหล่านี้ของคนไทย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเรียนรู้ไม่ใช่อยู่ในตำราที่พยายามจะจดจำกันเพียงอย่างเดียว แต่เราจะต้องสะสมความรู้กันต่อไปในอนาคต หลาย ๆ อย่างอยู่ที่การปฏิบัติการฝึกฝนต่างๆ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติ และพยายามยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยพยายามจะส่งเสริมให้เยาวชนให้ความสนใจกับวิชาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มากขึ้นในทุกระดับการศึกษา
“สิ่งที่เราสนใจคือเรามีความรู้ในเรื่องทางด้านวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ถือว่าผ่าน นักเรียนไทยส่วนมากไปสนใจในด้านวิชาสังคม วิชาภาษา ทำอย่างไรที่เราจะส่งเสริมในด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ขึ้นมาให้ได้ ก็จำเป็นที่จะต้องให้นักเรียนได้มีโอกาสที่จะฝึก มีโอกาสที่จะปฏิบัติ โดยเฉพาะในเรื่องของวิทยาศาสตร์ ถ้าเราส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้ โอกาสในเบื้องต้นของเยาวชนทุก ๆ คน จะมีโอกาสที่จะไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น เพราะว่าในปัจจุบันสาขาวิชาต่างๆในระดับอุดมศึกษานั้นจำเป็นที่จะต้องมีพื้นฐานทั้งด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น” นายกรัฐมนตรี กล่าว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังขอให้เยาวชนตัดสินใจที่จะเลือกเรียนในวิชาที่ชอบ และเดินไปสู่จุดมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้ให้ได้ เพราะความพยายามคือหนทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ถ้าหากเรามีความตั้งใจแล้วต้องพยายามทำให้ได้ ซึ่งความสำเร็จของผู้ที่จะเรียนในระดับอุดมศึกษานั้นต้องประกอบด้วยหลายสิ่งหลายอย่าง อย่างแรกคือความตั้งใจที่จะไปศึกษาในสาขาวิชาชีพใดที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด และในปีนี้มหาวิทยาลัย 14-15 แห่ง จะมีโควต้าให้เยาวชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ประมาณ 10-15 คน รวมประมาณ 200 คนในสาขาต่าง ๆ โดยเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับทุนเรียนของมหาวิทยาลัย คือไม่ต้องเสียค่าหน่วยกิต ซึ่งการจัดโครงการติวให้แก่เยาวชนที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาครั้งนี้ ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยได้นำครู อาจารย์ที่สอนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปภาษา จากโรงเรียนในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดมาช่วยสอนให้ในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่กี่วัน
นายกรัฐมนตรี ได้เล่าให้เยาวชนฟังถึงการไปประชุมสุดยอดอาเซียน ที่เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า นับตั้งแต่การรวมกลุ่มประเทศอาเซียนมา 40 ปีแล้ว จนถึงขณะนี้กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้รวมตัวกันแน่นแฟ้นมากขึ้น โดยมีการร่างกฎบัตรอาเซียนร่วมกัน เพื่อที่จะพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้า นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโครงข่ายเส้นทางคมนาคมโดยเฉพาะในประเทศที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกัน และเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ผ่านกัมพูชา ลาว ไปเวียดนาม จีนทางตอนใต้ ผ่านพม่าไปอินเดีย ซึ่งรัฐบาลจะเร่งสร้างถนนในภาคใต้ที่ยังไม่แล้วเสร็จให้สมบูรณ์โดยเร็ว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทางการศึกษากันในแต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างของการเรียนการสอนในแต่ละมหาวิทยาลัย และจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่ายของเยาวชนได้มากขึ้น นอกจากนี้ ในเรื่องของความเชื่อทางศาสนา ซึ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกันไป รัฐบาลจะจัดให้มีการเรียนทางด้านศาสนา โดยเฉพาะในเรื่องของอิสลามศึกษาให้สอดคล้องกับความเชื่อ วิถีชีวิต ของเยาวชน เช่นเดียวกับความเชื่อทางด้านศาสนาพุทธ จะมีการปรับปรุงการเรียนการสอนกันต่อไป รวมทั้งต้องการให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษามลายู เพราะเป็นพื้นฐานที่จำเป็นในการศึกษาต่อไปในอนาคต
หลังจากนั้นตัวแทนนักเรียนในโครงการรินน้ำใจ ให้น้องชาวใต้ฯ ได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรี พร้อมให้สัญญาว่าจะประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมและจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาบ้านเมืองและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้มอบของที่ระลึกแก่ตัวแทนคณาจารย์จากศูนย์การเรียนในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานีและยะลา พร้อมทั้งทักทายนักเรียนที่จะสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และเยี่ยมชมโครงงานวิจัยของนักเรียนในหัวข้อ “การสร้างความสมานฉันท์ ความสามัคคีคืนชีวีสู่แดนใต้ให้ปลอดภัย ร่วมใจถวายในหลวง” ซึ่งเป็นโครงงานของเยาวชนในโครงการไทยสานใจใต้ ของโรงเรียนนราสิกขาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1 จังหวัดนราธิวาส
จากนั้น นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนอัครศาสน์วิทยา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน พร้อมทั้งเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ของโรงเรียน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้การสนับสนุนงบประมาณจำนวน 5.5 แสนบาท เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์ต้นแบบการเรียนรู้ ICT เพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนและครูอาจารย์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--