พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “25 ปี งานพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ ภาคประชาชน ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง กินข้าวทุ่ง นุ่งผ้าไหม สู่อารยะธรรมอาณาจักรเจนละนคร”
วันนี้ เวลา 10.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “25 ปี งานพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ ภาคประชาชน ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง กินข้าวทุ่ง นุ่งผ้าไหม สู่อารยะธรรมอาณาจักรเจนละนคร” จัดโดย ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชมรมเครดิตยูเนี่ยนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ เทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
นายสุภาพ จันทร์ภิรมย์ ประธานคณะกรรมการจัดงาน 25 ปีงานพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง ได้กล่าวรายงานว่า ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่กว่า 2.1 ล้านไร่ ครอบคลุม 11 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ และมหาสารคาม โดยทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการพัฒนาตั้งแต่ปี 2525 สมัยที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเป็นนโยบายพื้นที่ยากจนและการพัฒนาชนบทแบบผสมผสานภายใต้โครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ ไทย - ออสเตรเลีย ที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของทุ่งกุลาร้องไห้และมีองค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.) ประกอบด้วย โครงการปฏิรูปการเกษตรเพื่อพัฒนาชนบท (วะขาด) โครงการประสานความร่วมมือพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ (GRID)โครงการเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา (ครพ.) สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม โครงการทอผ้าพื้นเมืองเพื่อชุมชน (ATA) โครงการส่งเสริมเทคนิคเกษตรแบบผสมผสาน (สทผ.) มูลนิธิศุภนิมิต และชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด (ช.ส.ค.) โดยมีเป้าหมายในด้านการพัฒนาคน พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาสังคม ตามหลักการอุดมการณ์ของการรวมกลุ่มกันหรือองค์กรชาวบ้านยึดหลักการพึ่งตนเอง และช่วยเหลือกันและกัน โดยมีกิจกรรมรองรับ เช่น ธนาคารข้าว กลุ่มออมทรัพย์ เกษตรผสมผสาน การทอผ้าพื้นเมือง ซึ่งจากระยะเวลา 25 ปี ของการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ หลายโครงการได้สิ้นสุดลงตามเงื่อนไข แต่งานพัฒนาภาคประชาชนยังคงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดกลุ่มองค์กรชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ธนาคารข้าวหมู่บ้านมาเป็นโรงสีชุมชนของกลุ่มเกษตรกร เกษตรผสมผสานมาเป็นเครือข่ายเกษตรทางเลือกทุ่งกุลาร้องไห้ และกลายเป็นดินแดนที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก และกิจกรรมอื่น ๆ มากมายที่ได้มุ่งสร้างกระบวนการพึ่งตนเองของชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดระบบการออมและการสร้างสวัสดิการของชุมชน ให้กับประชาชนให้มีหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของตนเอง ตามวิถีชีวิตที่อยู่เย็นเป็นสุข ให้ครอบครัวมีรากฐานชีวิตที่มั่นคงและมีศักดิ์ศรี อันสอดคล้องกับแนวทางตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงานว่า งานพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ฯ เป็นความสำเร็จที่น่าภูมิใจจากนโยบายของรัฐตั้งแต่ปี 2525 สมัยที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเป็นนโยบายพื้นที่ความยากจน และได้พัฒนาชนบทแบบผสมผสาน โดยทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนได้ทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน จนเป็นชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งในการพัฒนาและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในด้านการพัฒนาคน สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งแนวทางการพัฒนาที่ผ่านมาของชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ มีความสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐหรือประเทศ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง การจัดงาน 25 ปี งานพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง กินข้าวทุ่ง นุ่งผ้าไหม สู่อารยะธรรมอาณาจักรเจนละนคร ในครั้งนี้ จึงเป็นการทบทวนประวัติศาสตร์แห่งท้องทุ่งกุลาร้องไห้และประวัติศาสตร์โบราณของคนอีสานและการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จในแนวทางการพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น จึงขอขอบคุณทุกภาคส่วน องค์กรหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนับสนุน และขอบคุณภาคประชาชนที่ได้ร่วมมือกันพัฒนาชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ ทำให้เกิดองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ตามแนวนโยบายของรัฐบาลและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน “25 ปี งานพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ ภาคประชาชน ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง กินข้าวทุ่ง นุ่งผ้าไหม สู่อารยะธรรมอาณาจักรเจนละนคร” จัดโดย ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชมรมเครดิตยูเนี่ยนจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ เทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
นายสุภาพ จันทร์ภิรมย์ ประธานคณะกรรมการจัดงาน 25 ปีงานพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง ได้กล่าวรายงานว่า ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่กว่า 2.1 ล้านไร่ ครอบคลุม 11 อำเภอ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ และมหาสารคาม โดยทุ่งกุลาร้องไห้ได้รับการพัฒนาตั้งแต่ปี 2525 สมัยที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเป็นนโยบายพื้นที่ยากจนและการพัฒนาชนบทแบบผสมผสานภายใต้โครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ ไทย - ออสเตรเลีย ที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของทุ่งกุลาร้องไห้และมีองค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.) ประกอบด้วย โครงการปฏิรูปการเกษตรเพื่อพัฒนาชนบท (วะขาด) โครงการประสานความร่วมมือพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ (GRID)โครงการเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา (ครพ.) สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม โครงการทอผ้าพื้นเมืองเพื่อชุมชน (ATA) โครงการส่งเสริมเทคนิคเกษตรแบบผสมผสาน (สทผ.) มูลนิธิศุภนิมิต และชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด (ช.ส.ค.) โดยมีเป้าหมายในด้านการพัฒนาคน พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาสังคม ตามหลักการอุดมการณ์ของการรวมกลุ่มกันหรือองค์กรชาวบ้านยึดหลักการพึ่งตนเอง และช่วยเหลือกันและกัน โดยมีกิจกรรมรองรับ เช่น ธนาคารข้าว กลุ่มออมทรัพย์ เกษตรผสมผสาน การทอผ้าพื้นเมือง ซึ่งจากระยะเวลา 25 ปี ของการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ หลายโครงการได้สิ้นสุดลงตามเงื่อนไข แต่งานพัฒนาภาคประชาชนยังคงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดกลุ่มองค์กรชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์พัฒนาเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ธนาคารข้าวหมู่บ้านมาเป็นโรงสีชุมชนของกลุ่มเกษตรกร เกษตรผสมผสานมาเป็นเครือข่ายเกษตรทางเลือกทุ่งกุลาร้องไห้ และกลายเป็นดินแดนที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก และกิจกรรมอื่น ๆ มากมายที่ได้มุ่งสร้างกระบวนการพึ่งตนเองของชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดระบบการออมและการสร้างสวัสดิการของชุมชน ให้กับประชาชนให้มีหลักประกันความมั่นคงในชีวิตของตนเอง ตามวิถีชีวิตที่อยู่เย็นเป็นสุข ให้ครอบครัวมีรากฐานชีวิตที่มั่นคงและมีศักดิ์ศรี อันสอดคล้องกับแนวทางตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงานว่า งานพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ฯ เป็นความสำเร็จที่น่าภูมิใจจากนโยบายของรัฐตั้งแต่ปี 2525 สมัยที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเป็นนโยบายพื้นที่ความยากจน และได้พัฒนาชนบทแบบผสมผสาน โดยทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนได้ทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน จนเป็นชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งในการพัฒนาและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในด้านการพัฒนาคน สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งแนวทางการพัฒนาที่ผ่านมาของชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ มีความสอดคล้องกับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐหรือประเทศ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง การจัดงาน 25 ปี งานพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง กินข้าวทุ่ง นุ่งผ้าไหม สู่อารยะธรรมอาณาจักรเจนละนคร ในครั้งนี้ จึงเป็นการทบทวนประวัติศาสตร์แห่งท้องทุ่งกุลาร้องไห้และประวัติศาสตร์โบราณของคนอีสานและการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จในแนวทางการพึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น จึงขอขอบคุณทุกภาคส่วน องค์กรหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนับสนุน และขอบคุณภาคประชาชนที่ได้ร่วมมือกันพัฒนาชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ ทำให้เกิดองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง ตามแนวนโยบายของรัฐบาลและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--