แท็ก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดนครราชสีมา
สุรยุทธ์ จุลานนท์
เศรษฐกิจพอเพียง
นายกรัฐมนตรี
ปรัชญา
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการจัดงาน “ขับเคลื่อนนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” จังหวัดนครราชสีมา และมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ห้องประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
วันนี้ เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการจัดงาน “ขับเคลื่อนนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” จังหวัดนครราชสีมา และมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ประมาณ 900 คน ซึ่งจัดขึ้นโดยจังหวัดนครราชสีมา
นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอย่างจริงจัง และเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดความสมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน โดยกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย”มุ่งพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness Society) ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้กำหนดนโยบายการบริหารประเทศโดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งและความสุขภายในสังคม โดยการมีส่วนร่วมของคนในชาติอย่าง “รู้ รัก สามัคคี” เสริมสร้างระบบการตรวจสอบการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมระบบคุณธรรม นำความรู้ ยึดหลักโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด มีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการขับเคลื่อนแนวทางการดำรงชีวิตภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชนภายใต้ “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการสงเคราะห์ ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการบริการประชาชน ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทั้งพื้นที่ และเป็นการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ได้ตระหนักและพร้อมใจเป็นพลังในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว จังหวัดนครราชสีมาจึงได้จัดงาน“ขับเคลื่อนนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” จังหวัดนครราชสีมา ขึ้น ระหว่างวันที่ 9-11 มีนาคม 2550 โดยมีการจัดกิจกรรมตามแนวยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข โดยใช้ภาคี บ้าน วัด โรงเรียน เป็นองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ อาทิ กิจกรรมการดำเนินวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมเรื่องวัดปลอดเหล้า/ปลอดอบายมุข กิจกรรมโรงเรียน ศูนย์องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการบริการของภาครัฐ เป็นต้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงานและมอบนโยบายว่า รัฐบาลมีหน้าที่กำหนดนโยบาย ซึ่งเป็นกรอบทิศทางในการบริหารประเทศ และมีองค์กรของรัฐซึ่งคือส่วนราชการต่าง ๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งก็คือการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่ประชาชน และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่การพัฒนาประเทศ ดังนั้น การสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่พี่น้องประชาชนก็คือภารกิจและหน้าที่ที่สำคัญของเราทุกคน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจะสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่ประชาชน หมายถึงการทำให้ประชาชนมีกินมีใช้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่ดี และมีความมั่นคงผาสุกในการดำเนินชีวิตของแต่ละคนตามสมควรแก่อัตภาพ ซึ่งการจะไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่หลายอย่าง โดยนอกจากจะเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารที่จะต้องดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จอย่างดีที่สุดแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังต้องขึ้นอยู่กับพี่น้องประชาชนที่จะต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพหรือไม่เพียงใด และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ ของบ้านเมืองอีกส่วนหนึ่งด้วยว่ามีความมั่นคงสนับสนุนให้ทุกคนสามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจะสร้างสังคมให้มีความอยู่ดีมีสุขได้ จะต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยของเราให้ได้เสียก่อน นั่นก็คือการสร้างวัฒนธรรมความพอเพียง การสร้างสังคมให้มีความสมานฉันท์ สังคมที่มีคุณธรรมและมีความยุติธรรม และสังคมที่มีข้าราชการ พนักงานของรัฐตั้งใจทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
“การอยู่ดีมีสุขของคนเราต้องเริ่มต้นจากการรู้จักคำว่า ความพอเพียง คือการรู้จักพอกินพอใช้และพออยู่ พอใจ ในสิ่งที่ตนเองมี รู้จักความพอดี พอประมาณ ไม่โลภอย่างมากทำอะไรก็ทำอย่างมีเหตุผล มีความรอบคอบ พยายามหลีกเลี่ยงในสิ่งที่จะส่งผลกระทบอย่างมากในด้านต่าง ๆ เพราะไม่ว่าใครก็ตามหากยังไม่สามารถเกิดความรู้สึกที่พอเพียงได้ ก็จะไม่สามารถอยู่ดีมีสุขได้อย่างแท้จริง เพราะจะต้องดิ้นรนไขว่คว้าและเบียดเบียนคนอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ความพอเพียงที่กำลังพูดถึงนี้ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ต้องดิ้นรนขวนขวาย ไม่มีความขยันหมั่นเพียร หรือไม่ปรารถนาที่จะให้ได้มาซึ่งชีวิตที่ดีกว่า สิ่งเหล่านี้ยังคงต้องมีอยู่เพราะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แต่การดิ้นรนเพื่อให้ได้มาต้องมีความเหมาะสมกับสถานภาพ ไม่ทำร้ายคนอื่น และไม่ทำร้ายตนเอง” นายกรัฐมนตรี กล่าว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ให้แก่ประชาชนคนไทย เพื่อจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้สังคมที่ต้องต่อสู้แข่งขัน เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของสังคมไทย รัฐบาลจึงได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาส่งเสริมให้ประชาชนนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง ในขณะที่การดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในภาพรวม รัฐบาลก็มุ่งเน้นการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เช่นเดียวกัน เพื่อให้เกิดการพิจารณาตนเองให้มากที่สุด ทำอะไรอย่างมีเหตุมีผล ไม่รีบร้อน ไม่ก้าวกระโดด ไม่ประมาท และรู้จักการเลือกสรร รู้จักใช้อย่างเหมาะสม มีความระมัดระวัง และความพอดีพอเหมาะ พอควร
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะทำให้นโยบายประสบผลสำเร็จ นำแนวคิดและแนวทางเรื่องความพอเพียงไปปลูกฝังให้เกิดเป็นอุดมการณ์และค่านิยมในหมู่ประชาชนทุกระดับ ทุกสาขาอาชีพ ให้เกิดความสำเร็จอย่างจริงจัง เพราะรัฐบาลมีความเชื่อมั่นว่าแนวทางนี้คือแนวทางของการแก้ไขปัญหาในระยะยาวและเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่จะนำไปสู่ความมั่นคงและความยั่งยืนอย่างแท้จริง
สำหรับการสร้างความสมานฉันท์เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะสังคมที่มีความแตกแยกทั้งความคิดและการกระทำย่อมไม่สามารถพัฒนาไปได้ไกล สังคมที่จะเจริญต่อไปได้ต้องเป็นสังคมที่มีความสมัครสมานสามัคคี มีความกลมเกลียว ขณะนี้เราต้องยอมรับว่าสังคมไทยยังมีความขัดแย้งทางความคิดที่ดำรงอยู่ อันมีสาเหตุมาจากสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ความแตกต่างทางความคิดไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในสังคมที่มีความหลากหลาย และบางครั้งความแตกต่างทางความคิดก็เป็นเรื่องที่เราปรารถนา เพื่อจะได้มองเห็นในแง่มุมอื่น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ เป็นทางเลือก หรือเป็นเสียงส่วนน้อย แต่ความแตกต่างทางความคิดที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ความแตกแยกและความรุนแรง ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดและต่อใคร เราจึงต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจ ไม่ให้ความแตกต่างทางความคิดนำไปสู่ความแตกแยกที่จะทำให้หลักการสร้างความสมานฉันท์ ซึ่งเราได้พิจารณานั้นเกิดความเสียหาย การแก้ไขที่จะสร้างความสมานฉันท์ขึ้นมาก็คือการยึดหลักสันติวิธี การสร้างความเข้าใจ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วม จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดหนึ่งที่จำเป็นต้องเร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน เร่งสร้างความสามัคคีและความสมานฉันท์ของคนในชาติ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การอยู่ดีมีสุขของประชาชนยังได้มาจากสังคมที่มีคุณธรรม คือเป็นสังคมที่มีความยุติธรรม มีความเสมอภาคในโอกาสและการปฏิบัติ และเป็นสังคมที่คนส่วนใหญ่มีคุณธรรม จริยธรรม คือไม่ได้รับความอยุติธรรมและทำให้เกิดความคับข้องใจ เป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยก รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้จึงมีนโยบายปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ระดับต้นทางไปจนถึงปลายทาง โดยได้เริ่มตั้งแต่การปฏิรูปงานของตำรวจ ระบบงานของกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอัยการ ศาล การดูแลผู้ที่ต้องโทษ การดูแลผู้ที่อยู่ในข่ายของผู้ต้องสงสัย เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อถือ มีความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำงานที่ให้ความเสมอภาคในโอกาสที่รัฐบาลได้เข้ามาบริหารงานในระยะนี้ และถือว่าเป็นหน้าที่ของข้าราชการ เจ้าหน้าที่และพนักงานของรัฐทุกคนที่จะต้องทำงานหรือปฏิบัติต่อพี่น้องประชาชนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน เพราะสังคมไทยของเราจะต้องเป็นสังคมที่มีความยุติธรรมและเสมอภาค
ส่วนในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมนั้น สังคมไทยของเรายังขาดอยู่มาก โดยเฉพาะในระดับของผู้บริหาร ข้าราชการ แม้กระทั่งในระดับประชาชนทั่วไป การขาดคุณธรรมและจริยธรรม คือการขาดสำนึกที่ดี ที่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อขาดสิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เราขาดความละอาย ขาดความเกรงกลัวต่อบาป ต่อการกระทำผิด และสามารถทำอะไรที่ผิดไปจากมาตรฐานที่ดีงามของสังคม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบเช่นเดียวกับการขาดความยุติธรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งส่งเสริมให้เกิดความสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้มากขึ้น การสร้างคุณธรรมและจริยธรรมเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากนัก ถ้าทุกคนมีความตั้งใจ ถ้าทุกคนตั้งสัจจะวาจาไว้กับตัวเองว่าเราจะรักษาศีลและปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถสร้างคุณธรรมและจริยธรรมขึ้นได้ และที่สำคัญข้าราชการ พนักงานของรัฐ หรือผู้นำท้องถิ่นต่างๆ จะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรมด้วย
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานของรัฐ และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยความซื่อสัตย์สุจริตว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่พี่น้องประชาชน เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้ประชาชนได้ประพฤติและปฏิบัติตามเท่านั้น ยังไม่เป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม และไม่เป็นการเบียดบังเอาผลประโยชน์ของรัฐไปเป็นผลประโยชน์ของบุคคล ทำให้งบประมาณของรัฐทุกบาททุกสตางค์ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่
“รัฐบาลมีแนวทางในการบริหารราชการโดยยึดหลักความโปร่งใส ความเป็นธรรม ความประหยัด และความมีประสิทธิภาพ ซึ่งผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนข้าราชการ พนักงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกฝ่ายจะได้ยึดถือ และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศ และการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างจริงจังต่อไป และการที่จะทำงานในหน้าที่ของแต่ละท่านให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น ผมเห็นว่าหลักการทำงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชทานไว้ คือการ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” เป็นหลักการสำคัญที่สุดที่เราต้องยึดถือและนำไปปฏิบัติตาม” นายกรัฐมนตรี กล่าว
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปวางพานพุ่มสักการะพระราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา และเยี่ยมชมกิจกรรมตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด พร้อมพบปะและกล่าวปราศรัยกับพี่น้องชาวโคราช ที่มารอให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด
โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่า สิ่งแรกที่อยากจะบอกกับพี่น้องทุกคนก็คือ ไม่อยากเห็นอดีตที่ผ่านมาในเรื่องของคนไทยที่ต้องมาทะเลาะกัน ที่ต้องมาจับอาวุธเข้าต่อสู่กัน ต้องมาเข่นฆ่ากัน สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับคนไทยด้วยกัน และไม่อยากให้คนไทยต้องปะทะกันด้วยความคิดที่แตกต่างกัน ความคิดของเรานั้นต่างกันได้ แต่จุดรวมของความคิดของเราก็คือความสงบสุข ความเจริญของชาติบ้านเมือง และเหนือสิ่งอื่นใดก็คือสถาบันพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงงานเพื่อพวกเราตลอดมา ตลอดระยะเวลา 60 ปี
"เราสวมเสื้อเหลืองในวันนี้ก็เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ คนไทยควรจะทำอะไรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ้าง เราควรจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ทำอะไรที่นึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ้าง และขอให้พี่น้องชาวโคราชได้นำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานไว้ให้กับคนไทยนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเอง และสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวกับพี่น้องชาวโคราชว่า ไม่ต้องห่วงว่าจะถอดใจ ในชีวิตของตนเองไม่เคยถอดใจ และตั้งหน้าที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำงานอยู่เบื้องหลังมาโดยตลอด เพราะอยากให้ประชาชนมีความสุข บ้านเมืองมีความสงบ จึงอยากจะฝากพี่น้องทุกคนว่าจงช่วยกัน อยู่บนพื้นฐานของความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ พร้อมใจกันที่จะเดินไปข้างหน้า ไปสู่เส้นทางที่ท่านสามารถจะเลือกทางเดินเองได้ และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มกำลังความสามารถที่จะประคับประคองให้การแก้ไขปัญหาในยามวิกฤตนี้ผ่านพ้นไปได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการจัดงาน “ขับเคลื่อนนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” จังหวัดนครราชสีมา และมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ประมาณ 900 คน ซึ่งจัดขึ้นโดยจังหวัดนครราชสีมา
นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่ไปกับการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอย่างจริงจัง และเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดความสมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน โดยกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย”มุ่งพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” (Green and Happiness Society) ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้กำหนดนโยบายการบริหารประเทศโดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งและความสุขภายในสังคม โดยการมีส่วนร่วมของคนในชาติอย่าง “รู้ รัก สามัคคี” เสริมสร้างระบบการตรวจสอบการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมระบบคุณธรรม นำความรู้ ยึดหลักโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด มีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการขับเคลื่อนแนวทางการดำรงชีวิตภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชนภายใต้ “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการสงเคราะห์ ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการบริการประชาชน ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทั้งพื้นที่ และเป็นการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ได้ตระหนักและพร้อมใจเป็นพลังในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว จังหวัดนครราชสีมาจึงได้จัดงาน“ขับเคลื่อนนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข” จังหวัดนครราชสีมา ขึ้น ระหว่างวันที่ 9-11 มีนาคม 2550 โดยมีการจัดกิจกรรมตามแนวยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข โดยใช้ภาคี บ้าน วัด โรงเรียน เป็นองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ อาทิ กิจกรรมการดำเนินวิถีชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมเรื่องวัดปลอดเหล้า/ปลอดอบายมุข กิจกรรมโรงเรียน ศูนย์องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการบริการของภาครัฐ เป็นต้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงานและมอบนโยบายว่า รัฐบาลมีหน้าที่กำหนดนโยบาย ซึ่งเป็นกรอบทิศทางในการบริหารประเทศ และมีองค์กรของรัฐซึ่งคือส่วนราชการต่าง ๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งก็คือการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่ประชาชน และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่การพัฒนาประเทศ ดังนั้น การสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่พี่น้องประชาชนก็คือภารกิจและหน้าที่ที่สำคัญของเราทุกคน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจะสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่ประชาชน หมายถึงการทำให้ประชาชนมีกินมีใช้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่ดี และมีความมั่นคงผาสุกในการดำเนินชีวิตของแต่ละคนตามสมควรแก่อัตภาพ ซึ่งการจะไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่หลายอย่าง โดยนอกจากจะเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารที่จะต้องดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จอย่างดีที่สุดแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังต้องขึ้นอยู่กับพี่น้องประชาชนที่จะต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพหรือไม่เพียงใด และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ ของบ้านเมืองอีกส่วนหนึ่งด้วยว่ามีความมั่นคงสนับสนุนให้ทุกคนสามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจะสร้างสังคมให้มีความอยู่ดีมีสุขได้ จะต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยของเราให้ได้เสียก่อน นั่นก็คือการสร้างวัฒนธรรมความพอเพียง การสร้างสังคมให้มีความสมานฉันท์ สังคมที่มีคุณธรรมและมีความยุติธรรม และสังคมที่มีข้าราชการ พนักงานของรัฐตั้งใจทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
“การอยู่ดีมีสุขของคนเราต้องเริ่มต้นจากการรู้จักคำว่า ความพอเพียง คือการรู้จักพอกินพอใช้และพออยู่ พอใจ ในสิ่งที่ตนเองมี รู้จักความพอดี พอประมาณ ไม่โลภอย่างมากทำอะไรก็ทำอย่างมีเหตุผล มีความรอบคอบ พยายามหลีกเลี่ยงในสิ่งที่จะส่งผลกระทบอย่างมากในด้านต่าง ๆ เพราะไม่ว่าใครก็ตามหากยังไม่สามารถเกิดความรู้สึกที่พอเพียงได้ ก็จะไม่สามารถอยู่ดีมีสุขได้อย่างแท้จริง เพราะจะต้องดิ้นรนไขว่คว้าและเบียดเบียนคนอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่อย่างไรก็ตาม ความพอเพียงที่กำลังพูดถึงนี้ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ต้องดิ้นรนขวนขวาย ไม่มีความขยันหมั่นเพียร หรือไม่ปรารถนาที่จะให้ได้มาซึ่งชีวิตที่ดีกว่า สิ่งเหล่านี้ยังคงต้องมีอยู่เพราะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แต่การดิ้นรนเพื่อให้ได้มาต้องมีความเหมาะสมกับสถานภาพ ไม่ทำร้ายคนอื่น และไม่ทำร้ายตนเอง” นายกรัฐมนตรี กล่าว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นแนวคิดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ให้แก่ประชาชนคนไทย เพื่อจะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขภายใต้สังคมที่ต้องต่อสู้แข่งขัน เป็นแนวทางที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของสังคมไทย รัฐบาลจึงได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาส่งเสริมให้ประชาชนนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง ในขณะที่การดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในภาพรวม รัฐบาลก็มุ่งเน้นการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เช่นเดียวกัน เพื่อให้เกิดการพิจารณาตนเองให้มากที่สุด ทำอะไรอย่างมีเหตุมีผล ไม่รีบร้อน ไม่ก้าวกระโดด ไม่ประมาท และรู้จักการเลือกสรร รู้จักใช้อย่างเหมาะสม มีความระมัดระวัง และความพอดีพอเหมาะ พอควร
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในฐานะเป็นผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เป็นผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญที่จะทำให้นโยบายประสบผลสำเร็จ นำแนวคิดและแนวทางเรื่องความพอเพียงไปปลูกฝังให้เกิดเป็นอุดมการณ์และค่านิยมในหมู่ประชาชนทุกระดับ ทุกสาขาอาชีพ ให้เกิดความสำเร็จอย่างจริงจัง เพราะรัฐบาลมีความเชื่อมั่นว่าแนวทางนี้คือแนวทางของการแก้ไขปัญหาในระยะยาวและเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่จะนำไปสู่ความมั่นคงและความยั่งยืนอย่างแท้จริง
สำหรับการสร้างความสมานฉันท์เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะสังคมที่มีความแตกแยกทั้งความคิดและการกระทำย่อมไม่สามารถพัฒนาไปได้ไกล สังคมที่จะเจริญต่อไปได้ต้องเป็นสังคมที่มีความสมัครสมานสามัคคี มีความกลมเกลียว ขณะนี้เราต้องยอมรับว่าสังคมไทยยังมีความขัดแย้งทางความคิดที่ดำรงอยู่ อันมีสาเหตุมาจากสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ความแตกต่างทางความคิดไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในสังคมที่มีความหลากหลาย และบางครั้งความแตกต่างทางความคิดก็เป็นเรื่องที่เราปรารถนา เพื่อจะได้มองเห็นในแง่มุมอื่น ๆ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ เป็นทางเลือก หรือเป็นเสียงส่วนน้อย แต่ความแตกต่างทางความคิดที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ความแตกแยกและความรุนแรง ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดและต่อใคร เราจึงต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจ ไม่ให้ความแตกต่างทางความคิดนำไปสู่ความแตกแยกที่จะทำให้หลักการสร้างความสมานฉันท์ ซึ่งเราได้พิจารณานั้นเกิดความเสียหาย การแก้ไขที่จะสร้างความสมานฉันท์ขึ้นมาก็คือการยึดหลักสันติวิธี การสร้างความเข้าใจ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วม จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดหนึ่งที่จำเป็นต้องเร่งสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน เร่งสร้างความสามัคคีและความสมานฉันท์ของคนในชาติ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การอยู่ดีมีสุขของประชาชนยังได้มาจากสังคมที่มีคุณธรรม คือเป็นสังคมที่มีความยุติธรรม มีความเสมอภาคในโอกาสและการปฏิบัติ และเป็นสังคมที่คนส่วนใหญ่มีคุณธรรม จริยธรรม คือไม่ได้รับความอยุติธรรมและทำให้เกิดความคับข้องใจ เป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยก รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้จึงมีนโยบายปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ระดับต้นทางไปจนถึงปลายทาง โดยได้เริ่มตั้งแต่การปฏิรูปงานของตำรวจ ระบบงานของกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอัยการ ศาล การดูแลผู้ที่ต้องโทษ การดูแลผู้ที่อยู่ในข่ายของผู้ต้องสงสัย เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อถือ มีความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม รัฐบาลให้ความสำคัญกับการทำงานที่ให้ความเสมอภาคในโอกาสที่รัฐบาลได้เข้ามาบริหารงานในระยะนี้ และถือว่าเป็นหน้าที่ของข้าราชการ เจ้าหน้าที่และพนักงานของรัฐทุกคนที่จะต้องทำงานหรือปฏิบัติต่อพี่น้องประชาชนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน เพราะสังคมไทยของเราจะต้องเป็นสังคมที่มีความยุติธรรมและเสมอภาค
ส่วนในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมนั้น สังคมไทยของเรายังขาดอยู่มาก โดยเฉพาะในระดับของผู้บริหาร ข้าราชการ แม้กระทั่งในระดับประชาชนทั่วไป การขาดคุณธรรมและจริยธรรม คือการขาดสำนึกที่ดี ที่ถูกต้อง ซึ่งเมื่อขาดสิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เราขาดความละอาย ขาดความเกรงกลัวต่อบาป ต่อการกระทำผิด และสามารถทำอะไรที่ผิดไปจากมาตรฐานที่ดีงามของสังคม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีผลกระทบเช่นเดียวกับการขาดความยุติธรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนอีกเรื่องหนึ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งส่งเสริมให้เกิดความสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้มากขึ้น การสร้างคุณธรรมและจริยธรรมเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากนัก ถ้าทุกคนมีความตั้งใจ ถ้าทุกคนตั้งสัจจะวาจาไว้กับตัวเองว่าเราจะรักษาศีลและปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถสร้างคุณธรรมและจริยธรรมขึ้นได้ และที่สำคัญข้าราชการ พนักงานของรัฐ หรือผู้นำท้องถิ่นต่างๆ จะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรมด้วย
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานของรัฐ และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยความซื่อสัตย์สุจริตว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่พี่น้องประชาชน เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้ประชาชนได้ประพฤติและปฏิบัติตามเท่านั้น ยังไม่เป็นการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม และไม่เป็นการเบียดบังเอาผลประโยชน์ของรัฐไปเป็นผลประโยชน์ของบุคคล ทำให้งบประมาณของรัฐทุกบาททุกสตางค์ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่
“รัฐบาลมีแนวทางในการบริหารราชการโดยยึดหลักความโปร่งใส ความเป็นธรรม ความประหยัด และความมีประสิทธิภาพ ซึ่งผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเพื่อนข้าราชการ พนักงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกฝ่ายจะได้ยึดถือ และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาประเทศ และการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างจริงจังต่อไป และการที่จะทำงานในหน้าที่ของแต่ละท่านให้บรรลุเป้าหมายได้นั้น ผมเห็นว่าหลักการทำงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยพระราชทานไว้ คือการ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” เป็นหลักการสำคัญที่สุดที่เราต้องยึดถือและนำไปปฏิบัติตาม” นายกรัฐมนตรี กล่าว
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปวางพานพุ่มสักการะพระราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา และเยี่ยมชมกิจกรรมตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัด พร้อมพบปะและกล่าวปราศรัยกับพี่น้องชาวโคราช ที่มารอให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด
โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยตอนหนึ่งว่า สิ่งแรกที่อยากจะบอกกับพี่น้องทุกคนก็คือ ไม่อยากเห็นอดีตที่ผ่านมาในเรื่องของคนไทยที่ต้องมาทะเลาะกัน ที่ต้องมาจับอาวุธเข้าต่อสู่กัน ต้องมาเข่นฆ่ากัน สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับคนไทยด้วยกัน และไม่อยากให้คนไทยต้องปะทะกันด้วยความคิดที่แตกต่างกัน ความคิดของเรานั้นต่างกันได้ แต่จุดรวมของความคิดของเราก็คือความสงบสุข ความเจริญของชาติบ้านเมือง และเหนือสิ่งอื่นใดก็คือสถาบันพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงงานเพื่อพวกเราตลอดมา ตลอดระยะเวลา 60 ปี
"เราสวมเสื้อเหลืองในวันนี้ก็เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ คนไทยควรจะทำอะไรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ้าง เราควรจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง ทำอะไรที่นึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ้าง และขอให้พี่น้องชาวโคราชได้นำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานไว้ให้กับคนไทยนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเอง และสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวกับพี่น้องชาวโคราชว่า ไม่ต้องห่วงว่าจะถอดใจ ในชีวิตของตนเองไม่เคยถอดใจ และตั้งหน้าที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำงานอยู่เบื้องหลังมาโดยตลอด เพราะอยากให้ประชาชนมีความสุข บ้านเมืองมีความสงบ จึงอยากจะฝากพี่น้องทุกคนว่าจงช่วยกัน อยู่บนพื้นฐานของความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ พร้อมใจกันที่จะเดินไปข้างหน้า ไปสู่เส้นทางที่ท่านสามารถจะเลือกทางเดินเองได้ และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มกำลังความสามารถที่จะประคับประคองให้การแก้ไขปัญหาในยามวิกฤตนี้ผ่านพ้นไปได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--