นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังค่ายกาวิละ มณฑลทหารบกที่ 33 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมอบสิ่งของพระราชทาน อุปกรณ์การดับไฟป่า และถุงยังชีพ จำนวน 500 ชุด ให้แก่อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดับไฟป่า ทำฝนหลวง ด้านสาธารณสุข ทั้ง 19 หน่วยงานในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
เมื่อวานนี้ (15 มี.ค.2550) เวลา 17.00 น.พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังค่ายกาวิละ มณฑลทหารบกที่ 33 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมอบสิ่งของพระราชทาน อุปกรณ์การดับไฟป่า และถุงยังชีพ จำนวน 500 ชุด ให้แก่อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดับไฟป่า ทำฝนหลวง ด้านสาธารณสุข ทั้ง 19 หน่วยงานในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยมีหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนกว่า 3,000 คน เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้รับฟังบรรยายสรุปถึงสภาพข้อเท็จจริง ปัญหาและอุปสรรคการแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า ขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านที่ได้ช่วยดำเนินการในการดับไฟป่า ในการสั่งการห้ามจุดไฟ ไม่ว่าจะเป็นประเทศพม่า ลาว ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่มีความร่วมมือร่วมใจกันในทุกฝ่าย และยังได้เห็นถึงความร่วมมือกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการต่าง ๆ ในการที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เราเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ คิดว่าปัญหาคงจะคลี่คลายไปในระยะเวลาอันใกล้ เพราะนอกจากจะเป็นความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายแล้ว สภาพอากาศคงจะดีขึ้นในโอกาสข้างหน้าต่อไป ก็จะทำให้สภาวะนี้คลี่คลายไปในที่สุด
"มีคำแนะนำจากอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ใช้วิธีการง่าย ๆ คือ ใช้น้ำราดพื้นถนน หรือพื้นที่ที่จะทำให้เกิดการระเหยขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กในชุมชนดีขึ้น คือในช่วงเช้าประมาณ 08.00-09.00 น. เราสร้างความชุ่มชื้นขึ้นในชุมชนของเรา ช่วงกลางวันและช่วงบ่าย ๆ ก็ทำอย่างนี้อีกครั้งหนึ่ง ก็จะช่วยลดปัญหามลภาวะที่เป็นพิษในบริเวณชุมชนลงไปได้ อีกส่วนหนึ่งคือการขอความร่วมมือจากประชาชนในการไม่เผาขยะ พืชไร่ ป่า ซึ่งจะทำให้เกิดควันพิษเพิ่มขึ้น” นายกรัฐมนตรี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้สถานการณ์มลพิษหมอกควันได้คลี่คลายลง จากที่วันก่อนบางพื้นที่มีค่าเฉลี่ยกว่า 300 ไมโคร กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปนั้นน่าจะได้ผล รวมทั้งการทำฝนหลวง ก็จะทำให้เกิดความชุ่มชื้นในบรรยากาศขึ้นมา โดยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สนับสนุนเครื่องบินทำฝนหลวงมาเพิ่มเติม ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้เสนอความเห็นว่าน่าจะขอความร่วมมือจากกองทัพอากาศเพิ่มเติมในการที่จะนำเครื่องบินมาทำให้เกิดความชุ่มชื้นขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับเรื่องนี้ไปพิจารณา เพื่อทำให้สถานการณ์ในเรื่องของการเพิ่มความชื้นในอากาศนั้นเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนมาตรการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มีการหารือกันว่าในโอกาสต่อไปข้างหน้า คงจะต้องมีการเตรียมการในระยะยาว เมื่อวงรอบของความแห้งแล้งเข้ามา เราจะต้องมีการเตรียมการที่ดีกว่านี้ จากสถิติของแต่ละจังหวัดที่นับจำนวนครั้งที่มีการเกิดเพลิงไหม้หรือจุดไฟ สถิติลดลง แต่ความรุนแรงยังไม่ลดลง เราต้องพยายามที่จะควบคุมสิ่งเหล่านี้ให้ได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือ ความเข้าใจจากประชาชนว่าในห้วงเวลาที่สภาพอากาศมีความกดอากาศสูงและอากาศนิ่ง ไม่มีลมพัด จะเป็นปัญหา เราควรจะหลีกเลี่ยงการที่จะจุดไฟ ไม่ว่าจะเป็นการเผาขยะ พืชไร่ ป่า
"เท่าที่ได้รับทราบรายงานจากจังหวัดและแม่ทัพภาคที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านได้รับความร่วมมืออย่างดี และได้รับรายงานจากจังหวัดเชียงรายว่าการเผาป่าหรือพืชไร่ในพื้นที่ของพม่า หากมองจากบริเวณชายแดนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ลมที่พัดมาจากบริเวณดอยตุงขึ้นมาที่ตัวจังหวัดก็ไม่มีหมอกควัน แต่ลมที่พัดจากอำเภอเวียงป่าเป้า แม่สรวย ไปที่ตัวจังหวัดเชียงราย กลับมาหมอกควันมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าหมอกควันเกิดขึ้นในบ้านเรา และพัดไปสู่จังหวัดเชียงราย” นายกรัฐมนตรี กล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อวานนี้ (15 มี.ค.2550) เวลา 17.00 น.พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังค่ายกาวิละ มณฑลทหารบกที่ 33 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมอบสิ่งของพระราชทาน อุปกรณ์การดับไฟป่า และถุงยังชีพ จำนวน 500 ชุด ให้แก่อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการดับไฟป่า ทำฝนหลวง ด้านสาธารณสุข ทั้ง 19 หน่วยงานในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยมีหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนกว่า 3,000 คน เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้รับฟังบรรยายสรุปถึงสภาพข้อเท็จจริง ปัญหาและอุปสรรคการแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า ขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านที่ได้ช่วยดำเนินการในการดับไฟป่า ในการสั่งการห้ามจุดไฟ ไม่ว่าจะเป็นประเทศพม่า ลาว ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่มีความร่วมมือร่วมใจกันในทุกฝ่าย และยังได้เห็นถึงความร่วมมือกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการต่าง ๆ ในการที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เราเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ คิดว่าปัญหาคงจะคลี่คลายไปในระยะเวลาอันใกล้ เพราะนอกจากจะเป็นความร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายแล้ว สภาพอากาศคงจะดีขึ้นในโอกาสข้างหน้าต่อไป ก็จะทำให้สภาวะนี้คลี่คลายไปในที่สุด
"มีคำแนะนำจากอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ใช้วิธีการง่าย ๆ คือ ใช้น้ำราดพื้นถนน หรือพื้นที่ที่จะทำให้เกิดการระเหยขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กในชุมชนดีขึ้น คือในช่วงเช้าประมาณ 08.00-09.00 น. เราสร้างความชุ่มชื้นขึ้นในชุมชนของเรา ช่วงกลางวันและช่วงบ่าย ๆ ก็ทำอย่างนี้อีกครั้งหนึ่ง ก็จะช่วยลดปัญหามลภาวะที่เป็นพิษในบริเวณชุมชนลงไปได้ อีกส่วนหนึ่งคือการขอความร่วมมือจากประชาชนในการไม่เผาขยะ พืชไร่ ป่า ซึ่งจะทำให้เกิดควันพิษเพิ่มขึ้น” นายกรัฐมนตรี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้สถานการณ์มลพิษหมอกควันได้คลี่คลายลง จากที่วันก่อนบางพื้นที่มีค่าเฉลี่ยกว่า 300 ไมโคร กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปนั้นน่าจะได้ผล รวมทั้งการทำฝนหลวง ก็จะทำให้เกิดความชุ่มชื้นในบรรยากาศขึ้นมา โดยทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สนับสนุนเครื่องบินทำฝนหลวงมาเพิ่มเติม ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้เสนอความเห็นว่าน่าจะขอความร่วมมือจากกองทัพอากาศเพิ่มเติมในการที่จะนำเครื่องบินมาทำให้เกิดความชุ่มชื้นขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับเรื่องนี้ไปพิจารณา เพื่อทำให้สถานการณ์ในเรื่องของการเพิ่มความชื้นในอากาศนั้นเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนมาตรการแก้ไขปัญหาระยะยาวนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้มีการหารือกันว่าในโอกาสต่อไปข้างหน้า คงจะต้องมีการเตรียมการในระยะยาว เมื่อวงรอบของความแห้งแล้งเข้ามา เราจะต้องมีการเตรียมการที่ดีกว่านี้ จากสถิติของแต่ละจังหวัดที่นับจำนวนครั้งที่มีการเกิดเพลิงไหม้หรือจุดไฟ สถิติลดลง แต่ความรุนแรงยังไม่ลดลง เราต้องพยายามที่จะควบคุมสิ่งเหล่านี้ให้ได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือ ความเข้าใจจากประชาชนว่าในห้วงเวลาที่สภาพอากาศมีความกดอากาศสูงและอากาศนิ่ง ไม่มีลมพัด จะเป็นปัญหา เราควรจะหลีกเลี่ยงการที่จะจุดไฟ ไม่ว่าจะเป็นการเผาขยะ พืชไร่ ป่า
"เท่าที่ได้รับทราบรายงานจากจังหวัดและแม่ทัพภาคที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านได้รับความร่วมมืออย่างดี และได้รับรายงานจากจังหวัดเชียงรายว่าการเผาป่าหรือพืชไร่ในพื้นที่ของพม่า หากมองจากบริเวณชายแดนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ลมที่พัดมาจากบริเวณดอยตุงขึ้นมาที่ตัวจังหวัดก็ไม่มีหมอกควัน แต่ลมที่พัดจากอำเภอเวียงป่าเป้า แม่สรวย ไปที่ตัวจังหวัดเชียงราย กลับมาหมอกควันมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าหมอกควันเกิดขึ้นในบ้านเรา และพัดไปสู่จังหวัดเชียงราย” นายกรัฐมนตรี กล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--