พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปพบปะคณะกรรมการหมู่บ้านจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2,699 หมู่บ้าน และปาฐกถาพิเศษเรื่อง "รัฐบาลกับการพัฒนาประชาธิปไตย" ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจัดโดยจังหวัดอุบลราชธานี
วันนี้ เวลา 16.25 น. ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปพบปะคณะกรรมการหมู่บ้านจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2,699 หมู่บ้าน และปาฐกถาพิเศษเรื่อง "รัฐบาลกับการพัฒนาประชาธิปไตย" ซึ่งจัดโดยจังหวัดอุบลราชธานี
นายสุธี มากบุญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวรายงานโดยสรุปว่า คณะกรรมการหมู่บ้านจังหวัดอุบลราชธานีเป็นองค์กรที่อยู่ในระดับพื้นที่และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นองค์กรที่สามารถที่จะทำให้ครอบครัว ชุมชนและหมู่บ้านนั้น มีความเข้มแข็ง เพราะฉะนั้นในส่วนคณะกรรมการหมู่บ้านทั้ง 2,699 หมู่บ้าน ถ้าหากมีการขับเคลื่อนในทางที่สอดคล้องเหมาะสม เชื่อว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคณะกรรมการหมู่บ้านในหลายพื้นที่ สำหรับอุบลราชธานี ได้มีการทดลองคณะกรรมการหมู่บ้านที่อยู่ในอำเภอ 7 อำเภอ ผลการขับเคลื่อนในการดำเนินการการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาทุกรูปแบบ และทำให้ชุมชนในหมู่บ้านมีความเข้มแข็งนั้นเกิดจากส่วนหนึ่งของคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการในอนาคตต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ไปเปิดการชี้แจงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคม โดยทั้งสองโครงการเป็นส่วนหนึ่งที่หมู่บ้านต้องดำเนินการ และคณะกรรมการหมู่บ้านจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนทั้งสองโครงการด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการหมู่บ้านยังสามารถมีบทบาทสำคัญได้มากในเรื่องของการสร้างความสมานฉันท์ เพราะความสมานฉันท์ถ้าเริ่มจากหน่วยเล็กที่สุด คือ ประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ อยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันก่อน ก็จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติต่อไป
สำหรับการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น รัฐบาลมีช่วงระยะเวลาในการทำงานแก้ไขปัญหาของประเทศที่แน่นอน ซึ่งเป็นไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และมีการเลือกตั้งต่อไป ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญของการกำหนดกฎกติกาที่มีความเหมาะสม อันจะนำไปสู่การปฏิรูปทางการเมือง รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปในลักษณะที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด โดยการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประมาณวันที่ 19 เมษายนนี้จะมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เราเรียกว่าร่างฉบับที่ 1 เพื่อเป็นแนวทางให้พวกเราได้ศึกษา ได้มีโอกาสที่จะช่วยกันพิจารณา เพราะฉะนั้น จะพยายามนำร่างฉบับที่ 1 มาเผยแพร่ในทุก ๆ สื่อ เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสทำความเข้าใจ หลังจากนั้นจะรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้นำกลับไปแก้ไขเป็นร่างฉบับที่ 2 ต่อไป จากนั้นจะเข้าไปสู่กระบวนการซึ่งจะนำมาเผยแพร่ให้กับประชาชนทราบอีกครั้งหนึ่งว่าหลังจากมีการปรับปรุงแก้ไขในร่างฉบับที่ 2 แล้ว สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร เพราะในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่อยากให้ประชาชนในทุก ๆ ภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะได้ทำความเข้าใจ ให้ข้อคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ เพราะหลังจากนั้นจะไปสู่ขั้นตอนที่มีความสำคัญคือประชาชนทั้งประเทศจะได้มีโอกาสในการลงประชามติ การลงประชามติในลักษณะเช่นนี้ได้กระทำมาแล้ว 4 ประเทศในโลกนี้ ผ่าน 2 ประเทศ ไม่ผ่าน 2 ประเทศ เราเป็นประเทศที่ 5 จะเป็นตัวตัดสินว่า 50 : 50 ที่ผ่านมา คือ ผ่าน 2 ประเทศ ไม่ผ่าน 2 ประเทศ เราจะทำให้เป็นอย่างไร อยู่ที่พี่น้องประชาชนที่จะต้องช่วยกันดูแล ช่วยกันทำให้รัฐธรรมนูญของเรานั้นเป็นที่ถูกใจของเราให้ได้ อะไรที่ไม่ดี ไม่เหมาะไม่ควร ต้องช่วยกันแสดงความคิดเห็น นั่นคือการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่อยากจะให้ทุกคนทำความเข้าใจตั้งแต่ในเบื้องต้น
“หลายคนพูดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้มาจากประชาชน ผมคิดว่าที่มานั้นไม่ได้สำคัญ สำคัญที่ว่าสาระสำคัญ หลักการที่สำคัญ ของรัฐธรรมนูญนั้นถูกต้องหรือไม่ ประชาชนมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมหรือไม่ ตรงนี้จะเป็นส่วนที่ถือว่าเป็นนัยยะที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเราทำสิ่งใดที่ประชาชนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากแล้ว ก็คงจะผ่านทุกสิ่งทุกอย่างไปได้ ย้อนกลับมาที่คณะกรรมการหมู่บ้านที่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้ในระดับหมู่บ้าน ชุมชน นั่นคือการที่ทุกภาคส่วนในหมู่บ้านได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม มาช่วยกันคิดช่วยกันทำ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตย ที่เราเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีการเลือกตั้งนั้นเป็นส่วนหลัง ส่วนแรกคือทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม ทุกคนจะต้องเข้าใจและช่วยกันคิดช่วยกันทำ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ หมายถึงว่าถึงเวลาก็มีการเลือกตั้ง แล้วก็ไปหย่อนบัตรกัน กาบ้างไม่กาบ้าง ก็เป็นเรื่องที่จบกันไปแค่นั้น เราไม่ได้มีส่วนร่วมในส่วนอื่นเลย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการ เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดเวทีหรือกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ การรณรงค์ให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิเลือกตั้งในทุกระดับ เพื่อเลือกคนดี มีคุณธรรมและมีคุณภาพไปเป็นตัวแทนของประชาชน การตรวจสอบสอดส่องดูแลให้การเลือกตั้งทุกระดับเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม การสนับสนุนร่วมมือในการเสนอแนะข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในมิติใหม่ที่ถูกต้อง ด้วยความเป็นธรรมและเป็นไทย กิจกรรมเหล่านี้คณะกรรมการหมู่บ้านจะมีบทบาทในการเข้าไปช่วยเหลือได้เป็นอย่างมาก
นายกรัฐมนตรียังมีความเห็นว่าการจะสร้างประชาธิปไตยในบ้านเมืองของเรานั้น ทุกฝ่ายจะต้องมีความไว้วางใจ ลดความหวาดระแวงต่างๆ และหันหน้าเข้าหากัน เพื่อร่วมกันคิดและร่วมกันทำให้มากขึ้น ที่สำคัญก็คือการสร้างประชาธิปไตยต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน รัฐธรรมนูญเปรียบเสมือนรากแก้วอันใหญ่ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการยกร่าง การจัดทำประชาพิจารณ์ และมีการประกาศใช้ให้เร็วที่สุด เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชนที่เฝ้ารอ
“ตารางเวลาที่ได้หารือกันไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา การที่จะลงประชามติจะสามารถดำเนินการได้ประมาณวันที่ 3 กันยายนนี้ หลังจากนั้นจะเป็นการดำเนินการตรวจสอบว่าการลงประชามติต่าง ๆ จะเสร็จสิ้นอย่างไร เมื่อลงประชามติแล้ว ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญที่เราคอยน่าจะได้รับการยอมรับจากประชาชน เราจะไปสู่ขั้นตอนของการที่จะเตรียมการให้มีการเลือกตั้ง เช่นเดียวกันผมได้กล่าวไปแล้วว่า เราได้มีการหารือกันในทุกส่วน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดยกำหนดวันเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม และวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคมนี้ ความพร้อมต่าง ๆ มีได้ประมาณต้นเดือนธันวาคม แต่เราเห็นว่าช่วงต้นเดือนธันวาคมนั้นมีงานที่มีความสำคัญคือวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะทรงครบ 80 พรรษา ก็เป็นงานที่พวกเราทุกคนรอคอย อยากจะมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองเนื่องในมหามงคลนี้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรี แสดงหวังว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งคงไม่พ้นจากความร่วมมือของทุก ๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการ ภาคเอกชนภาคการเมือง ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน และภาคประชาชน จะต้องช่วยกันดูแลในเรื่องการเลือกตั้ง ให้มีความบริสุทธิ์และยุติธรรมให้ได้ เราคงไม่สามารถที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนของจังหวัดเท่านั้น ในฐานะประชาชนเราต้องช่วยกัน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นเป็นส่วนสำคัญในทุกขั้นตอนของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จากหมู่บ้านมาสู่อำเภอ จังหวัด ไปสู่ประเทศ ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกันดูแล นั่นคือสิ่งที่เราจะได้มีโอกาสใช้สิทธิของเราในการเลือกสรรผู้ที่จะไปเป็นตัวแทนของเราได้อย่างสร้างสรรค์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 16.25 น. ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปพบปะคณะกรรมการหมู่บ้านจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 2,699 หมู่บ้าน และปาฐกถาพิเศษเรื่อง "รัฐบาลกับการพัฒนาประชาธิปไตย" ซึ่งจัดโดยจังหวัดอุบลราชธานี
นายสุธี มากบุญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวรายงานโดยสรุปว่า คณะกรรมการหมู่บ้านจังหวัดอุบลราชธานีเป็นองค์กรที่อยู่ในระดับพื้นที่และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นองค์กรที่สามารถที่จะทำให้ครอบครัว ชุมชนและหมู่บ้านนั้น มีความเข้มแข็ง เพราะฉะนั้นในส่วนคณะกรรมการหมู่บ้านทั้ง 2,699 หมู่บ้าน ถ้าหากมีการขับเคลื่อนในทางที่สอดคล้องเหมาะสม เชื่อว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคณะกรรมการหมู่บ้านในหลายพื้นที่ สำหรับอุบลราชธานี ได้มีการทดลองคณะกรรมการหมู่บ้านที่อยู่ในอำเภอ 7 อำเภอ ผลการขับเคลื่อนในการดำเนินการการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาทุกรูปแบบ และทำให้ชุมชนในหมู่บ้านมีความเข้มแข็งนั้นเกิดจากส่วนหนึ่งของคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการในอนาคตต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ไปเปิดการชี้แจงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคม โดยทั้งสองโครงการเป็นส่วนหนึ่งที่หมู่บ้านต้องดำเนินการ และคณะกรรมการหมู่บ้านจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนทั้งสองโครงการด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการหมู่บ้านยังสามารถมีบทบาทสำคัญได้มากในเรื่องของการสร้างความสมานฉันท์ เพราะความสมานฉันท์ถ้าเริ่มจากหน่วยเล็กที่สุด คือ ประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ อยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันก่อน ก็จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติต่อไป
สำหรับการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้น รัฐบาลมีช่วงระยะเวลาในการทำงานแก้ไขปัญหาของประเทศที่แน่นอน ซึ่งเป็นไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และมีการเลือกตั้งต่อไป ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญของการกำหนดกฎกติกาที่มีความเหมาะสม อันจะนำไปสู่การปฏิรูปทางการเมือง รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไปในลักษณะที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุด โดยการมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประมาณวันที่ 19 เมษายนนี้จะมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เราเรียกว่าร่างฉบับที่ 1 เพื่อเป็นแนวทางให้พวกเราได้ศึกษา ได้มีโอกาสที่จะช่วยกันพิจารณา เพราะฉะนั้น จะพยายามนำร่างฉบับที่ 1 มาเผยแพร่ในทุก ๆ สื่อ เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสทำความเข้าใจ หลังจากนั้นจะรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้นำกลับไปแก้ไขเป็นร่างฉบับที่ 2 ต่อไป จากนั้นจะเข้าไปสู่กระบวนการซึ่งจะนำมาเผยแพร่ให้กับประชาชนทราบอีกครั้งหนึ่งว่าหลังจากมีการปรับปรุงแก้ไขในร่างฉบับที่ 2 แล้ว สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร เพราะในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่อยากให้ประชาชนในทุก ๆ ภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะได้ทำความเข้าใจ ให้ข้อคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ เพราะหลังจากนั้นจะไปสู่ขั้นตอนที่มีความสำคัญคือประชาชนทั้งประเทศจะได้มีโอกาสในการลงประชามติ การลงประชามติในลักษณะเช่นนี้ได้กระทำมาแล้ว 4 ประเทศในโลกนี้ ผ่าน 2 ประเทศ ไม่ผ่าน 2 ประเทศ เราเป็นประเทศที่ 5 จะเป็นตัวตัดสินว่า 50 : 50 ที่ผ่านมา คือ ผ่าน 2 ประเทศ ไม่ผ่าน 2 ประเทศ เราจะทำให้เป็นอย่างไร อยู่ที่พี่น้องประชาชนที่จะต้องช่วยกันดูแล ช่วยกันทำให้รัฐธรรมนูญของเรานั้นเป็นที่ถูกใจของเราให้ได้ อะไรที่ไม่ดี ไม่เหมาะไม่ควร ต้องช่วยกันแสดงความคิดเห็น นั่นคือการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่อยากจะให้ทุกคนทำความเข้าใจตั้งแต่ในเบื้องต้น
“หลายคนพูดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้มาจากประชาชน ผมคิดว่าที่มานั้นไม่ได้สำคัญ สำคัญที่ว่าสาระสำคัญ หลักการที่สำคัญ ของรัฐธรรมนูญนั้นถูกต้องหรือไม่ ประชาชนมีโอกาสที่จะมีส่วนร่วมหรือไม่ ตรงนี้จะเป็นส่วนที่ถือว่าเป็นนัยยะที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเราทำสิ่งใดที่ประชาชนมีโอกาสได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากแล้ว ก็คงจะผ่านทุกสิ่งทุกอย่างไปได้ ย้อนกลับมาที่คณะกรรมการหมู่บ้านที่ได้ทำหน้าที่ตรงนี้ในระดับหมู่บ้าน ชุมชน นั่นคือการที่ทุกภาคส่วนในหมู่บ้านได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม มาช่วยกันคิดช่วยกันทำ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตย ที่เราเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีการเลือกตั้งนั้นเป็นส่วนหลัง ส่วนแรกคือทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม ทุกคนจะต้องเข้าใจและช่วยกันคิดช่วยกันทำ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ หมายถึงว่าถึงเวลาก็มีการเลือกตั้ง แล้วก็ไปหย่อนบัตรกัน กาบ้างไม่กาบ้าง ก็เป็นเรื่องที่จบกันไปแค่นั้น เราไม่ได้มีส่วนร่วมในส่วนอื่นเลย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการ เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดเวทีหรือกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ การรณรงค์ให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิเลือกตั้งในทุกระดับ เพื่อเลือกคนดี มีคุณธรรมและมีคุณภาพไปเป็นตัวแทนของประชาชน การตรวจสอบสอดส่องดูแลให้การเลือกตั้งทุกระดับเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม การสนับสนุนร่วมมือในการเสนอแนะข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในมิติใหม่ที่ถูกต้อง ด้วยความเป็นธรรมและเป็นไทย กิจกรรมเหล่านี้คณะกรรมการหมู่บ้านจะมีบทบาทในการเข้าไปช่วยเหลือได้เป็นอย่างมาก
นายกรัฐมนตรียังมีความเห็นว่าการจะสร้างประชาธิปไตยในบ้านเมืองของเรานั้น ทุกฝ่ายจะต้องมีความไว้วางใจ ลดความหวาดระแวงต่างๆ และหันหน้าเข้าหากัน เพื่อร่วมกันคิดและร่วมกันทำให้มากขึ้น ที่สำคัญก็คือการสร้างประชาธิปไตยต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน รัฐธรรมนูญเปรียบเสมือนรากแก้วอันใหญ่ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญ รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการยกร่าง การจัดทำประชาพิจารณ์ และมีการประกาศใช้ให้เร็วที่สุด เพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชนที่เฝ้ารอ
“ตารางเวลาที่ได้หารือกันไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา การที่จะลงประชามติจะสามารถดำเนินการได้ประมาณวันที่ 3 กันยายนนี้ หลังจากนั้นจะเป็นการดำเนินการตรวจสอบว่าการลงประชามติต่าง ๆ จะเสร็จสิ้นอย่างไร เมื่อลงประชามติแล้ว ผมคิดว่ารัฐธรรมนูญที่เราคอยน่าจะได้รับการยอมรับจากประชาชน เราจะไปสู่ขั้นตอนของการที่จะเตรียมการให้มีการเลือกตั้ง เช่นเดียวกันผมได้กล่าวไปแล้วว่า เราได้มีการหารือกันในทุกส่วน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดยกำหนดวันเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม และวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคมนี้ ความพร้อมต่าง ๆ มีได้ประมาณต้นเดือนธันวาคม แต่เราเห็นว่าช่วงต้นเดือนธันวาคมนั้นมีงานที่มีความสำคัญคือวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะทรงครบ 80 พรรษา ก็เป็นงานที่พวกเราทุกคนรอคอย อยากจะมีส่วนร่วมในการเฉลิมฉลองเนื่องในมหามงคลนี้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรี แสดงหวังว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งคงไม่พ้นจากความร่วมมือของทุก ๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการ ภาคเอกชนภาคการเมือง ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน และภาคประชาชน จะต้องช่วยกันดูแลในเรื่องการเลือกตั้ง ให้มีความบริสุทธิ์และยุติธรรมให้ได้ เราคงไม่สามารถที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนของจังหวัดเท่านั้น ในฐานะประชาชนเราต้องช่วยกัน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นเป็นส่วนสำคัญในทุกขั้นตอนของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จากหมู่บ้านมาสู่อำเภอ จังหวัด ไปสู่ประเทศ ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกันดูแล นั่นคือสิ่งที่เราจะได้มีโอกาสใช้สิทธิของเราในการเลือกสรรผู้ที่จะไปเป็นตัวแทนของเราได้อย่างสร้างสรรค์
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--