นายบัญญัติ จันทน์เสนะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานและพบปะกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในโครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ประกอบด้วย สื่อมวลชนจากจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เลย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองบัวลำภู ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องรวม 350 คน
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออร์คิด จังหวัดขอนแก่น นายบัญญัติ จันทน์เสนะรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานและพบปะกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในโครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ประกอบด้วย สื่อมวลชนจากจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เลย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองบัวลำภู ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องรวม 350 คน โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และโฆษกกระทรวง ร่วมพบปะกับสื่อมวลชนด้วย เพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเชิงรุก พร้อมตอบข้อซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสื่อมวลชนท้องถิ่น
โอกาสนี้ ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัด สัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ว่า เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และคณะโฆษกกระทรวง ทั้งนี้เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบและเข้าใจนโยบายและแนวทางการบริหารของรัฐบาลอย่างถูกต้องชัดเจน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนจากสื่อมวลชนด้วย นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลจะได้รับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชน ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนเป็นปากเสียงของพี่น้องประชาชนในแต่ละภูมิภาคที่สะท้อนความต้องการ ความคิดเห็นของประชาชนมายังภาครัฐ เป็นกระบวนการสื่อสารสองทางที่จะทำให้รัฐบาลได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหารประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป
จากนั้นได้มีการสรุปภาพรวมของสถานการณ์และแนวทางในการป้องกัน/แก้ไขปัญหาภัยแล้ง อาทิ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล โดยจัดทำแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ภาพรวมของแหล่งน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเพราะมีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำหลายแหล่ง ที่สามารถทำให้ประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตรได้ ส่วนใหญ่เน้นในเรื่องการจัดหาน้ำอุปโภค - บริโภคให้กับประชาชน โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดหาเครื่องสูบน้ำ-รถขนน้ำ และการจัดทำฝนหลวงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ
- กระทรวงมหาดไทย มีการสำรวจ ตรวจสอบพร้อมทั้งจัดทำบัญชีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง มีการจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ จัดรถบรรทุกเพื่อแจกจ่ายน้ำเข้าทุกพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่จากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ต่างสนับสนุนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนอยู่ตลอดเวลา
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งศูนย์เมขลารับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนที่ประสบภัยแล้งตลอด 24 ชั่วโมง มีการบูรณาการแหล่งน้ำ อาทิ การซ่อมแซมบ่อน้ำบาดาล การสร้างฝายต้นน้ำ เป็นต้น
- กระทรวงแรงงาน จัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก กำหนดมาตรการเพื่อจูงใจไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกพื้น 3 มาตรการคือ 1) มาตรการตรึงไม่ให้ประชาชนเคลื่อนย้ายหรืออพยพไปทำงานในต่างถิ่น อาทิ การฝึกอาชีพ การสร้างงานโดยจ้างแรงงานท้องถิ่น ทำงานในพื้นที่โดยมีค่าตอบแทนวันละประมาณ 100 บาท 2) มาตรการรองรับผู้อพยพ โดยจัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำอาชีพต่าง ๆ กับประชาชน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมนัดพบแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง 3) มาตรการเฝ้าระวังและติดตามผู้อพยพเพื่อรองรับการอพยพแรงงานไปถิ่นฐานอื่น โดยจัดเจ้าหน้าที่ประจำตำบล ประจำสถานีรถ โดยสารต่าง ๆ เพื่อให้คำแนะนำในเรื่องของการเดินทาง และป้องกันแรงงานท้องถิ่นถูกหลอกลวงจากนายหน้าจัดหางาน
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เช่น การใช้ดาวเทียมในการจัดหาข้อมูลสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่สามารถนำไปศึกษาวิเคราะห์ทรัพยากรของประเทศได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งนำระบบสารสนเทศและเครื่องมือที่ทันสมัยในการกรองน้ำให้สะอาด และเครื่องมืออื่น ๆ มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กองทัพ จัดกำลังคนพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัยในการสำรวจพื้นที่ ที่ประสบภัยแล้ง มีการประสานงานจัดทำแผนการสำรวจพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนมีประสิทธิภาพ และมีการประสานจัดทำแผนภัยพิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาเชิงภัยแล้งในเชิงรุก
สำหรับการสัมมนาในภาคบ่าย เป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม” โดยสื่อมวลชนท้องถิ่น คณะโฆษกกระทรวง และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สัมมนากลุ่มย่อยเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมทุกระดับ โดยมีโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นประธาน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังได้ลงพื้นที่ตรวจราชการและเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งด้วย เพื่อตรวจความคืบหน้าการดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ทั้งนี้ ผลสรุปของการสัมมนา ทางสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จะได้นำข้อคิดเห็นของสื่อมวลชนท้องถิ่น เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสรุปที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออร์คิด จังหวัดขอนแก่น นายบัญญัติ จันทน์เสนะรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นประธานและพบปะกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในโครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 1 ผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ประกอบด้วย สื่อมวลชนจากจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย เลย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองบัวลำภู ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องรวม 350 คน โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และโฆษกกระทรวง ร่วมพบปะกับสื่อมวลชนด้วย เพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเชิงรุก พร้อมตอบข้อซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของสื่อมวลชนท้องถิ่น
โอกาสนี้ ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัด สัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ว่า เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และคณะโฆษกกระทรวง ทั้งนี้เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบและเข้าใจนโยบายและแนวทางการบริหารของรัฐบาลอย่างถูกต้องชัดเจน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนจากสื่อมวลชนด้วย นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลจะได้รับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชน ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนเป็นปากเสียงของพี่น้องประชาชนในแต่ละภูมิภาคที่สะท้อนความต้องการ ความคิดเห็นของประชาชนมายังภาครัฐ เป็นกระบวนการสื่อสารสองทางที่จะทำให้รัฐบาลได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบริหารประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป
จากนั้นได้มีการสรุปภาพรวมของสถานการณ์และแนวทางในการป้องกัน/แก้ไขปัญหาภัยแล้ง อาทิ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล โดยจัดทำแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ภาพรวมของแหล่งน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเพราะมีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำหลายแหล่ง ที่สามารถทำให้ประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตรได้ ส่วนใหญ่เน้นในเรื่องการจัดหาน้ำอุปโภค - บริโภคให้กับประชาชน โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดหาเครื่องสูบน้ำ-รถขนน้ำ และการจัดทำฝนหลวงเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ
- กระทรวงมหาดไทย มีการสำรวจ ตรวจสอบพร้อมทั้งจัดทำบัญชีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง มีการจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ จัดรถบรรทุกเพื่อแจกจ่ายน้ำเข้าทุกพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่จากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ต่างสนับสนุนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนอยู่ตลอดเวลา
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งศูนย์เมขลารับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนที่ประสบภัยแล้งตลอด 24 ชั่วโมง มีการบูรณาการแหล่งน้ำ อาทิ การซ่อมแซมบ่อน้ำบาดาล การสร้างฝายต้นน้ำ เป็นต้น
- กระทรวงแรงงาน จัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงรุก กำหนดมาตรการเพื่อจูงใจไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกพื้น 3 มาตรการคือ 1) มาตรการตรึงไม่ให้ประชาชนเคลื่อนย้ายหรืออพยพไปทำงานในต่างถิ่น อาทิ การฝึกอาชีพ การสร้างงานโดยจ้างแรงงานท้องถิ่น ทำงานในพื้นที่โดยมีค่าตอบแทนวันละประมาณ 100 บาท 2) มาตรการรองรับผู้อพยพ โดยจัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำอาชีพต่าง ๆ กับประชาชน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมนัดพบแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง 3) มาตรการเฝ้าระวังและติดตามผู้อพยพเพื่อรองรับการอพยพแรงงานไปถิ่นฐานอื่น โดยจัดเจ้าหน้าที่ประจำตำบล ประจำสถานีรถ โดยสารต่าง ๆ เพื่อให้คำแนะนำในเรื่องของการเดินทาง และป้องกันแรงงานท้องถิ่นถูกหลอกลวงจากนายหน้าจัดหางาน
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เช่น การใช้ดาวเทียมในการจัดหาข้อมูลสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่สามารถนำไปศึกษาวิเคราะห์ทรัพยากรของประเทศได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งนำระบบสารสนเทศและเครื่องมือที่ทันสมัยในการกรองน้ำให้สะอาด และเครื่องมืออื่น ๆ มาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กองทัพ จัดกำลังคนพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัยในการสำรวจพื้นที่ ที่ประสบภัยแล้ง มีการประสานงานจัดทำแผนการสำรวจพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนมีประสิทธิภาพ และมีการประสานจัดทำแผนภัยพิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาเชิงภัยแล้งในเชิงรุก
สำหรับการสัมมนาในภาคบ่าย เป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม” โดยสื่อมวลชนท้องถิ่น คณะโฆษกกระทรวง และผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สัมมนากลุ่มย่อยเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมทุกระดับ โดยมีโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นประธาน
นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังได้ลงพื้นที่ตรวจราชการและเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งด้วย เพื่อตรวจความคืบหน้าการดำเนินงานของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ทั้งนี้ ผลสรุปของการสัมมนา ทางสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จะได้นำข้อคิดเห็นของสื่อมวลชนท้องถิ่น เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสรุปที่ได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--