สรุปภารกิจการนำคณะสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาลศึกษาดูงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี) ระหว่างวันที่ 19 — 21 เมษายน 2550
สรุปภารกิจ
การนำคณะสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาลศึกษาดูงาน
ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี)
ระหว่างวันที่ 19 — 21 เมษายน 2550
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2550
ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำคณะสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีทั้งสื่อมวลชนไทยและสื่อมวลชนต่างประเทศจำนวนกว่า 60 คน เดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พันเอก อัคร ทิพย์โรจน์ โฆษกกองทัพบก ผู้แทนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้การต้อนรับ
เมื่อเดินทางถึงจังหวัดนราธิวาส คณะสื่อมวลชนได้เดินทางไปเยี่ยมชมพื้นที่การปฏิบัติงานของกองกำลังหน่วยเฉพาะกิจที่ 35 ซึ่งรับผิดชอบอำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยพันโท ร่มเกล้า ธุวธรรม ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจที่ 35 ได้บรรยายสรุปสถานการณ์ในพื้นที่ว่า ปัจจุบันสถานการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่เขตรับผิดชอบลดลง และไม่ปรากฏเหตุร้ายรุนแรง ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการใช้ยุทธวิธี “การเมืองนำการทหาร” ตามแนวนโยบายของรัฐบาล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างชุมชนในพื้นที่ให้เข้มแข็งสามารถป้องกันตนเอง และเป็นแกนหลักในการสอดส่องให้เบาะแสแก่ฝ่ายทหาร ซึ่งปรากฏผลว่าสามารถป้องกัน และลดเหตุรุนแรงได้หลายครั้ง โดยฝ่ายทหารได้ทำการฝึกอาวุธและการป้องกันตนเองให้แก่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) และอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนในหมู่บ้านเรียนรู้ทักษะในการใช้อาวุธต่อสู้เพื่อป้องกันตนเองได้ ขณะเดียวกันฝ่ายทหารก็ได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นำแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความสมานฉันท์ และขยายการพัฒนาของภาครัฐให้เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด
ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ คณะได้มีโอกาสชมการสาธิตยุทธวิธีของ ชรบ. และ อรบ. ชมผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพเพื่อเสริมรายได้แก่สตรีในพื้นที่บ้านโนนสมบูรณ์ ตลอดจนได้เยี่ยมชมตัวอย่างชุมชนไทยพุทธ- ไทยมุสลิม ที่บ้านน้อมเหล้าและบ้านน้ำตก ซึ่งสามารถมีวิถีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่าสงบสุข ทั้งนี้ ผบ.ฉก. 35 เล่าว่า โดยทั่วไปมุสลิมส่วนใหญ่ในพื้นที่ไม่ได้มีความคิด-อุดมการณ์ในการแบ่งแยกดินแดนแต่อย่างใด เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐสามารถร่วมมือกับชุมชนในการสร้างความเข้มแข็งและรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ได้ ประชาชนก็จะเกิดความรู้สึกหวงแหน เป็นเจ้าของพื้นที่ และต่อต้านการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันความปลอดภัยของชุมชนที่เข้มแข็งที่สุด
โอกาสนี้ ผู้แทนสื่อมวลชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในการเสวนาตอนหนึ่งว่า ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญมากกว่าการรวมกลุ่มแสดงความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน และรัฐบาลจะต้องพยายามทำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาร่วมกันของคนในชาติ ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2550
วันที่สองของการศึกษาดูงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะได้เดินทางไปยังค่ายสิรินธร จังหวัดปัตตานี เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปความคืบหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ. บต.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4) รวมทั้งหน่วยราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมี พลตรี กสิกร คีรีศร ให้การต้อนรับ
ในด้านความมั่นคง รัฐบาลได้ให้ความสำคัญแก่กระบวนการยุติธรรมจากความพยายามของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถดำเนินการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่ขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมและนำไปสู่การพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดได้จำนวนมาก โดยคดีสำคัญๆ หลายคดีระหว่าง 1 ตุลาคม 2549—ปัจจุบัน ที่อยู่ในความสนใจของประชาชนมีความคืบหน้าอย่างมาก โดยคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล ได้แก่ คดีลอบวางระเบิดโชว์รูมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 และคดีคนร้ายลอบยิงครูโรงเรียนชุมชนบ้านตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญแก่การเร่งรัดการพิจารณาคดีเพื่อให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการพิจารณาคดีในวันเสาร์ โดยเริ่มที่ศาลจังหวัดปัตตานีเป็นแห่งแรก เพื่อไม่ให้เกิดความคั่งค้าง อันจะทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
สำหรับการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ศอ.บต. ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกตำบล นอกจากนี้ ยังมีโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพจำนวน 3,000 อัตรา เพื่อตอบสนองนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการแย่งชิงเยาวชน การแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาวิชาสามัญ
ในการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์นั้น ศอ.บต. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาราษฎรไทยพุทธในพื้นที่ อำเภอบันนังสตา และอำเภอธารโต จังหวัดยะลา อพยพออกจากพื้นที่เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยกำหนดพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นชุมชนเข้มแข็งเพื่อจูงใจราษฎรกลุ่มดังกล่าวให้กลับไปอยู่ในพื้นที่เดิม ขณะนี้ได้ปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างบ้านต้นแบบแล้ว รวมทั้งวางจุดรักษาความปลอดภัยให้ครอบคลุมพื้นที่ และมีกองร้อยทหารพรานเข้าไปประจำการในพื้นที่ดังกล่าว และยังมีโครงการเยี่ยมเยือนและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบอีกด้วย
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา โดยนายกรัฐมนตรีได้ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งตำรวจ ทหาร และประชาชนบูรณาการการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ รัฐบาลจะเน้นเรื่องการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งรัดการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ ถนน ที่ยังคั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ต่อมาเวลาประมาณ 13.00 น. คณะสื่อมวลชนได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกับนายกรัฐมนตรี ณ ค่ายสิรินธร ก่อนจะออกเดินทางไปยังวัดลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ และมอบเงินช่วยเหลือแก่บิดา-มารดาของ น.ส.พัชราภรณ์ บุญมาศ ซึ่งเสียชีวิตจากการถูกคนร้ายลอบยิง แล้วจุดไฟเผาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 ซึ่งครอบครัวของ น.ส.พัชราภรณ์ฯ รู้สึกยินดีที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาเยี่ยมและให้กำลังใจ โดยขอให้รัฐบาลพิจารณาให้ความคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น สำหรับการติดตามตัวคนร้ายนั้น ขณะนี้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้จำนวน 11 คน และถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศูนย์วิวัฒน์สันติ และอยู่ระหว่างการสอบปากคำ
จากนั้นเวลา 17.00 น. นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมร่วมกับภาคเอกชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ โรงแรมซี เอส ปัตตานี ประกอบด้วย ประธานและผู้แทนของสภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนนำเสนอความต้องการในการขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และยังเป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐและเอกชนอีกด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ตอบรับที่จะดำเนินการตามข้อเสนอของภาคเอกชนที่สำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดการออกพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ประกอบด้วยการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และการลดภาษีธุรกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติ อันจะเป็นการส่งเสริมการจ้างงาน และสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่
นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแล้ว นายกรัฐมนตรียังได้ตอบรับตามข้อเสนอของภาคเอกชนในการให้ความช่วยเหลือเพื่อคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแก่สถานประกอบการขนาดใหญ่ และการวางระบบแจ้งเตือนผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายการก่อเหตุรุนแรงให้ได้รับทราบอย่างเป็นทางการ
วันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2550
ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการศึกษาดูงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เวลาประมาณ 10.00 น. คณะได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโคกยาง ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมี นายสะกะริยา ส่าเม๊าะ อิหม่ามหมู่บ้านโคกยาง พันตำรวจเอก สมพงษ์ ขอนแก่น รอง ผบก. ตชด. ภ.4 และ พันตำรวจเอก ชุมพล ปิยะวนิชพงษ์ ผกก. สภอ.จะนะ รวมทั้งครู นักเรียนให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น
โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิแห่งนี้เป็นโรงเรียนปอเนาะตัวอย่าง เคยได้รับรางวัลผู้บริหาร และนักเรียนดีเด่นหลายรางวัล ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 โดยมีการสอนในระบบปอเนาะ และต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้ปรับใช้หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนควบคู่ไปกับการเรียนวิชาการศาสนา ปัจจุบัน มีการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 907 คน เป็นนักเรียนชั้นก่อนวัยเรียน 157 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษา 148 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 602 คน
โอกาสนี้ คณะได้ชมการอ่านคัมภีร์อัล-กุรอ่านของนักเรียน การแสดงอานาชีด ซึ่งเป็นบทเพลงที่สอดแทรกเนื้อหาสาระที่แฝงด้วยคำสอนของศาสนาอันเป็นแบบอย่างที่ดีของท่านศาสดามูฮำหมัดและบรรดาสาวกของท่านเชิญชวนสู่ความดีงาม สันติภาพ ปรองดองกันรักในเพื่อนมนุษย ชาติ รักในธรรมชาติและใกล้ชิดพระเจ้า โดยนักเรียนพี่เลี้ยงค่ายเยาวชนต้านยาเสพติด อีกทั้งชมการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งมีหลักสูตร Arabic — English
ในการนี้ พันตำรวจเอก สมพงษ์ฯ ได้ชี้แจงถึงแนวทางการดำเนินงานของ ตชด. ภ.4 ซึ่งรับผิดชอบในพื้นที่ว่า ตชด. ภ.4 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนในพื้นที่มีความรักและหวงแหนแผ่นดินของตนเอง โดยได้พยายามเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาร่วมกับโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ เช่น การสอนวิธีการจัดทำแปลงเกษตร ซึ่งสามารถช่วยโรงเรียนลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนประจำ ซึ่งมีจำนวนกว่า 200 คน โดยผลิตผลส่วนเกินก็สามารถนำไปจำหน่ายช่วยสร้างรายได้แก่โรงเรียนต่อไป
นอกจากนี้ ตชด. ยังมีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพของเยาวชน โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อดึงเวลาว่างของเยาวชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การสนับสนุนการกีฬา การจัดกิจกรรมวันเด็ก การจัดค่ายฤดูร้อน การนำเยาวชนไปทัศนศึกษานอกพื้นที่ เช่น สวนสัตว์ จ.สงขลา รวมทั้งการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยจัดหน่วยแพทย์เข้าไปตรวจรักษาประชาชนในพื้นที่ ซึ่งยุทธวิธีเหล่านี้ทำให้ ตชด. ได้รับการยอมรับ และได้รับการตอบสนองที่ดีทั้งจากนักเรียน และประชาชนในพื้นที่
การมาเยี่ยมโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิครั้งนี้ สร้างความตื่นเต้นยินดีแก่ครู นักเรียน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่อย่างมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่คาดคิด เพราะโรงเรียนอยู่ห่างไกล
โอกาสนี้ โรงเรียนได้แสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ และความสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านสื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ยังขาดแคลน รวมทั้งห้องสมุด
ก่อนเดินทางกลับ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความประทับใจในความทุ่มเทของครูอาจารย์โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ และกล่าวว่าสิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำมาโดยตลอดคือ เรื่องการให้การศึกษาแก่เยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ซึ่งโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิมีความพร้อมในทั้งสามด้าน นอกจากนี้ ยังได้กล่าวชื่นชมความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่รัฐว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่บ้านเมือง และได้ให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละเพื่อที่จะบ่มเพาะเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่เติบโตงอกงามต่อไปในอนาคต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
สรุปภารกิจ
การนำคณะสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาลศึกษาดูงาน
ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี)
ระหว่างวันที่ 19 — 21 เมษายน 2550
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2550
ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้นำคณะสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีทั้งสื่อมวลชนไทยและสื่อมวลชนต่างประเทศจำนวนกว่า 60 คน เดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พันเอก อัคร ทิพย์โรจน์ โฆษกกองทัพบก ผู้แทนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้การต้อนรับ
เมื่อเดินทางถึงจังหวัดนราธิวาส คณะสื่อมวลชนได้เดินทางไปเยี่ยมชมพื้นที่การปฏิบัติงานของกองกำลังหน่วยเฉพาะกิจที่ 35 ซึ่งรับผิดชอบอำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยพันโท ร่มเกล้า ธุวธรรม ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจที่ 35 ได้บรรยายสรุปสถานการณ์ในพื้นที่ว่า ปัจจุบันสถานการณ์ก่อความไม่สงบในพื้นที่เขตรับผิดชอบลดลง และไม่ปรากฏเหตุร้ายรุนแรง ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการใช้ยุทธวิธี “การเมืองนำการทหาร” ตามแนวนโยบายของรัฐบาล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างชุมชนในพื้นที่ให้เข้มแข็งสามารถป้องกันตนเอง และเป็นแกนหลักในการสอดส่องให้เบาะแสแก่ฝ่ายทหาร ซึ่งปรากฏผลว่าสามารถป้องกัน และลดเหตุรุนแรงได้หลายครั้ง โดยฝ่ายทหารได้ทำการฝึกอาวุธและการป้องกันตนเองให้แก่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) และอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) ซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนในหมู่บ้านเรียนรู้ทักษะในการใช้อาวุธต่อสู้เพื่อป้องกันตนเองได้ ขณะเดียวกันฝ่ายทหารก็ได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นำแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความสมานฉันท์ และขยายการพัฒนาของภาครัฐให้เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด
ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ คณะได้มีโอกาสชมการสาธิตยุทธวิธีของ ชรบ. และ อรบ. ชมผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพเพื่อเสริมรายได้แก่สตรีในพื้นที่บ้านโนนสมบูรณ์ ตลอดจนได้เยี่ยมชมตัวอย่างชุมชนไทยพุทธ- ไทยมุสลิม ที่บ้านน้อมเหล้าและบ้านน้ำตก ซึ่งสามารถมีวิถีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่าสงบสุข ทั้งนี้ ผบ.ฉก. 35 เล่าว่า โดยทั่วไปมุสลิมส่วนใหญ่ในพื้นที่ไม่ได้มีความคิด-อุดมการณ์ในการแบ่งแยกดินแดนแต่อย่างใด เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐสามารถร่วมมือกับชุมชนในการสร้างความเข้มแข็งและรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ได้ ประชาชนก็จะเกิดความรู้สึกหวงแหน เป็นเจ้าของพื้นที่ และต่อต้านการกระทำของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันความปลอดภัยของชุมชนที่เข้มแข็งที่สุด
โอกาสนี้ ผู้แทนสื่อมวลชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในการเสวนาตอนหนึ่งว่า ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญมากกว่าการรวมกลุ่มแสดงความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน และรัฐบาลจะต้องพยายามทำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาร่วมกันของคนในชาติ ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2550
วันที่สองของการศึกษาดูงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะได้เดินทางไปยังค่ายสิรินธร จังหวัดปัตตานี เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปความคืบหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ. บต.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4) รวมทั้งหน่วยราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมี พลตรี กสิกร คีรีศร ให้การต้อนรับ
ในด้านความมั่นคง รัฐบาลได้ให้ความสำคัญแก่กระบวนการยุติธรรมจากความพยายามของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถดำเนินการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาสู่ขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมและนำไปสู่การพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดได้จำนวนมาก โดยคดีสำคัญๆ หลายคดีระหว่าง 1 ตุลาคม 2549—ปัจจุบัน ที่อยู่ในความสนใจของประชาชนมีความคืบหน้าอย่างมาก โดยคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาล ได้แก่ คดีลอบวางระเบิดโชว์รูมรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 และคดีคนร้ายลอบยิงครูโรงเรียนชุมชนบ้านตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2549 นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญแก่การเร่งรัดการพิจารณาคดีเพื่อให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการพิจารณาคดีในวันเสาร์ โดยเริ่มที่ศาลจังหวัดปัตตานีเป็นแห่งแรก เพื่อไม่ให้เกิดความคั่งค้าง อันจะทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
สำหรับการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ศอ.บต. ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกตำบล นอกจากนี้ ยังมีโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพจำนวน 3,000 อัตรา เพื่อตอบสนองนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการแย่งชิงเยาวชน การแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างแรงจูงใจในการศึกษาวิชาสามัญ
ในการสร้างความเข้าใจและความสมานฉันท์นั้น ศอ.บต. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาราษฎรไทยพุทธในพื้นที่ อำเภอบันนังสตา และอำเภอธารโต จังหวัดยะลา อพยพออกจากพื้นที่เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยกำหนดพื้นที่ที่จัดตั้งเป็นชุมชนเข้มแข็งเพื่อจูงใจราษฎรกลุ่มดังกล่าวให้กลับไปอยู่ในพื้นที่เดิม ขณะนี้ได้ปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างบ้านต้นแบบแล้ว รวมทั้งวางจุดรักษาความปลอดภัยให้ครอบคลุมพื้นที่ และมีกองร้อยทหารพรานเข้าไปประจำการในพื้นที่ดังกล่าว และยังมีโครงการเยี่ยมเยือนและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบอีกด้วย
โอกาสนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา โดยนายกรัฐมนตรีได้ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งตำรวจ ทหาร และประชาชนบูรณาการการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ รัฐบาลจะเน้นเรื่องการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งรัดการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน อาทิ ถนน ที่ยังคั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ต่อมาเวลาประมาณ 13.00 น. คณะสื่อมวลชนได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกับนายกรัฐมนตรี ณ ค่ายสิรินธร ก่อนจะออกเดินทางไปยังวัดลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ และมอบเงินช่วยเหลือแก่บิดา-มารดาของ น.ส.พัชราภรณ์ บุญมาศ ซึ่งเสียชีวิตจากการถูกคนร้ายลอบยิง แล้วจุดไฟเผาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 ซึ่งครอบครัวของ น.ส.พัชราภรณ์ฯ รู้สึกยินดีที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาเยี่ยมและให้กำลังใจ โดยขอให้รัฐบาลพิจารณาให้ความคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น สำหรับการติดตามตัวคนร้ายนั้น ขณะนี้เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้จำนวน 11 คน และถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศูนย์วิวัฒน์สันติ และอยู่ระหว่างการสอบปากคำ
จากนั้นเวลา 17.00 น. นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมร่วมกับภาคเอกชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ โรงแรมซี เอส ปัตตานี ประกอบด้วย ประธานและผู้แทนของสภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนนำเสนอความต้องการในการขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และยังเป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐและเอกชนอีกด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ตอบรับที่จะดำเนินการตามข้อเสนอของภาคเอกชนที่สำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดการออกพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ประกอบด้วยการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และการลดภาษีธุรกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติ อันจะเป็นการส่งเสริมการจ้างงาน และสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่
นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแล้ว นายกรัฐมนตรียังได้ตอบรับตามข้อเสนอของภาคเอกชนในการให้ความช่วยเหลือเพื่อคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแก่สถานประกอบการขนาดใหญ่ และการวางระบบแจ้งเตือนผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายการก่อเหตุรุนแรงให้ได้รับทราบอย่างเป็นทางการ
วันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2550
ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการศึกษาดูงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เวลาประมาณ 10.00 น. คณะได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านโคกยาง ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมี นายสะกะริยา ส่าเม๊าะ อิหม่ามหมู่บ้านโคกยาง พันตำรวจเอก สมพงษ์ ขอนแก่น รอง ผบก. ตชด. ภ.4 และ พันตำรวจเอก ชุมพล ปิยะวนิชพงษ์ ผกก. สภอ.จะนะ รวมทั้งครู นักเรียนให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น
โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิแห่งนี้เป็นโรงเรียนปอเนาะตัวอย่าง เคยได้รับรางวัลผู้บริหาร และนักเรียนดีเด่นหลายรางวัล ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 โดยมีการสอนในระบบปอเนาะ และต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้ปรับใช้หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนควบคู่ไปกับการเรียนวิชาการศาสนา ปัจจุบัน มีการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียน 907 คน เป็นนักเรียนชั้นก่อนวัยเรียน 157 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษา 148 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 602 คน
โอกาสนี้ คณะได้ชมการอ่านคัมภีร์อัล-กุรอ่านของนักเรียน การแสดงอานาชีด ซึ่งเป็นบทเพลงที่สอดแทรกเนื้อหาสาระที่แฝงด้วยคำสอนของศาสนาอันเป็นแบบอย่างที่ดีของท่านศาสดามูฮำหมัดและบรรดาสาวกของท่านเชิญชวนสู่ความดีงาม สันติภาพ ปรองดองกันรักในเพื่อนมนุษย ชาติ รักในธรรมชาติและใกล้ชิดพระเจ้า โดยนักเรียนพี่เลี้ยงค่ายเยาวชนต้านยาเสพติด อีกทั้งชมการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งมีหลักสูตร Arabic — English
ในการนี้ พันตำรวจเอก สมพงษ์ฯ ได้ชี้แจงถึงแนวทางการดำเนินงานของ ตชด. ภ.4 ซึ่งรับผิดชอบในพื้นที่ว่า ตชด. ภ.4 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนในพื้นที่มีความรักและหวงแหนแผ่นดินของตนเอง โดยได้พยายามเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาร่วมกับโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ เช่น การสอนวิธีการจัดทำแปลงเกษตร ซึ่งสามารถช่วยโรงเรียนลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนประจำ ซึ่งมีจำนวนกว่า 200 คน โดยผลิตผลส่วนเกินก็สามารถนำไปจำหน่ายช่วยสร้างรายได้แก่โรงเรียนต่อไป
นอกจากนี้ ตชด. ยังมีแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพของเยาวชน โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อดึงเวลาว่างของเยาวชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การสนับสนุนการกีฬา การจัดกิจกรรมวันเด็ก การจัดค่ายฤดูร้อน การนำเยาวชนไปทัศนศึกษานอกพื้นที่ เช่น สวนสัตว์ จ.สงขลา รวมทั้งการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยจัดหน่วยแพทย์เข้าไปตรวจรักษาประชาชนในพื้นที่ ซึ่งยุทธวิธีเหล่านี้ทำให้ ตชด. ได้รับการยอมรับ และได้รับการตอบสนองที่ดีทั้งจากนักเรียน และประชาชนในพื้นที่
การมาเยี่ยมโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิครั้งนี้ สร้างความตื่นเต้นยินดีแก่ครู นักเรียน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่อย่างมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่คาดคิด เพราะโรงเรียนอยู่ห่างไกล
โอกาสนี้ โรงเรียนได้แสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ และความสนับสนุนจากรัฐบาลในด้านสื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ยังขาดแคลน รวมทั้งห้องสมุด
ก่อนเดินทางกลับ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความประทับใจในความทุ่มเทของครูอาจารย์โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ และกล่าวว่าสิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำมาโดยตลอดคือ เรื่องการให้การศึกษาแก่เยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ซึ่งโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิมีความพร้อมในทั้งสามด้าน นอกจากนี้ ยังได้กล่าวชื่นชมความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่รัฐว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่บ้านเมือง และได้ให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละเพื่อที่จะบ่มเพาะเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่เติบโตงอกงามต่อไปในอนาคต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--