พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไป พบปะกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมผู้นำท้องที่ในการร่างรัฐธรรมนูญและปฏิรูปการเมือง ณ โรงแรมเวล อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
วันนี้ เวลา 13.10น.พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไป พบปะกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมผู้นำท้องที่ในการร่างรัฐธรรมนูญและปฏิรูปการเมือง ณ โรงแรมเวล อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดโดยสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายปรีชา บุตรศรี ผู้วาราชการจังหวัดนครปฐม กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจากทั่วประเทศ ประมาณ 600 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก
นายปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวรายงานว่า รู้สึกยินดีที่จังหวัดนครปฐม ได้รับเกียรติให้เป็นสถานที่จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องที่ในการร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปการเมือง โดยสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า” มีพื้นที่ประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเป็นลำดับที่ 62 ของประเทศ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 106 ตำบล 930 หมู่บ้าน เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลตำบล 14 แห่ง มีประชากรกว่า 8 แสนคน รายได้ประชากรเฉลี่ยต่อหัว 126,510 บาท/ปี อาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรม อาทิ การทำนา ทำสวน ทำไร่ ในภาคอุตสาหกรรมมีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ กว่า 3,000 โรงงาน ทางด้านการศึกษาจังหวัดนครปฐมเป็นสถานที่ตั้งของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียง ทั้งของทบวงมหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการและเอกชนเป็นจำนวนมาก ด้านการเที่ยวมีสถานโบราณและสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ องค์พระปฐมเจดีย์ พระราชวังสนามจันทร์ พุทธมณฑล สวนสามพราน พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ตลาดน้ำดอนหวาย ซึ่งในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมในพิธีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการที่จะให้ผู้นำชุมชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ และกล่าวว่า ในช่วงเช้าที่ผ่านมา นายไพโรจน์ พรหมสาส์น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงและตอบข้อซักถามถึงร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 ไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ทุกคนเกิดความเข้าใจ และมองเห็นถึงสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งพยายามที่จะให้ประชาชน ผู้นำท้องถิ่น โดยเฉพาะในส่วนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกคน ถือว่าเป็นข้าราชการที่พบปะกับประชาชนมากที่สุด ได้มีโอกาสทำความเข้าใจตั้งแต่ในลำดับแรก และได้มีโอกาสที่จะเสนอแนะให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างฉบับที่ 1นี้กันต่อไป
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถึงประเด็นสำคัญใน 2-3 เรื่อง เรื่องที่ 1.เรื่องการปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการที่จะเข้ามาร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้นในทุกรูปแบบ ทั้งพยายามที่จะปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านถือเป็นตัวจักรสำคัญที่จะช่วยกันบูรณาการการทำงาน และการอำนวยโครงการของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทั้งการเมืองและการปกครอง ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลด้วย
เรื่องที่ 2. การที่จะช่วยกันขยายแนวทางในการทำงานของรัฐบาลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขไปสู่ท้องถิ่น เพื่อจะทำให้ประชาชนมีกินมีใช้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่ดี และมีความมั่นคงผาสุกในการดำเนินชีวิตของแต่ละคนตามสมควรแก่อัตภาพ อย่างไรก็ตามในฐานะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจะสร้างสังคมไทยให้มีความอยู่ดีมีสุขได้ จะต้องสร้างวัฒนธรรมความพอเพียง รู้จักพอกินพอใช้ พออยู่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ มีความรอบคอบ การสร้างสังคมให้มีความสมานฉันท์ สังคมที่มีคุณธรรมจริยธรรมและมีความยุติธรรม และสิ่งสำคัญ คือ ความซื่อสัตย์สุจริต
"ในส่วนของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ และเพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้นำไปปฏิบัติ ก็เพื่อสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอควร ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยสามารถที่จะน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้ ทั้งในระดับอำเภอจนถึงระดับชุมชน โดยเชื่อมโยงแนวทางการแก้ไขปัญหาเข้ากับแนวทางการช่วยเหลือ การสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้เกิดการประสานและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ระหว่างภาครัฐและประชาชน โดยเน้นหลักชุมชน พึ่งตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน นั่นเป็นสิ่งที่อยากจะฝากท่านทั้งหลายไว้ในเรื่องของการที่จะนำนโยบายของรัฐบาลสู่ท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เรื่องที่ 3.คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งรัฐบาลกำลังพิจารณาเรื่องที่จะปรับเปลี่ยนที่มาของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาสู่ระบบของการคัดสรร และทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในลักษณะที่เหมือนกับข้าราชการของรัฐ คือ อยู่ในราชการจนกว่าจะถึงเวลาเกษียณอายุราชการ โดยเรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทย เพื่อจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ในส่วนของการเพิ่มอัตรากำลังผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย (สรผ.) ในพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้มีผู้ช่วยที่จะร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิดในการดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้รับมอบพระพุทธรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม จำนวน 1 องค์ โอกาสเดียวกันนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบพระเครื่องหลวงพ่อวัดไร่ขิงให้แก่กำนันและผู้ใหญ่บ้าน โดยนายไพศาล ปราการรัตน์ นายสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนรับมอบ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.10น.พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไป พบปะกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมผู้นำท้องที่ในการร่างรัฐธรรมนูญและปฏิรูปการเมือง ณ โรงแรมเวล อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดโดยสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายปรีชา บุตรศรี ผู้วาราชการจังหวัดนครปฐม กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจากทั่วประเทศ ประมาณ 600 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก
นายปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวรายงานว่า รู้สึกยินดีที่จังหวัดนครปฐม ได้รับเกียรติให้เป็นสถานที่จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการมีส่วนร่วมของผู้นำท้องที่ในการร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปการเมือง โดยสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า” มีพื้นที่ประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตร มีขนาดเป็นลำดับที่ 62 ของประเทศ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 106 ตำบล 930 หมู่บ้าน เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลตำบล 14 แห่ง มีประชากรกว่า 8 แสนคน รายได้ประชากรเฉลี่ยต่อหัว 126,510 บาท/ปี อาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรม อาทิ การทำนา ทำสวน ทำไร่ ในภาคอุตสาหกรรมมีโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ กว่า 3,000 โรงงาน ทางด้านการศึกษาจังหวัดนครปฐมเป็นสถานที่ตั้งของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาที่มีชื่อเสียง ทั้งของทบวงมหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการและเอกชนเป็นจำนวนมาก ด้านการเที่ยวมีสถานโบราณและสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ องค์พระปฐมเจดีย์ พระราชวังสนามจันทร์ พุทธมณฑล สวนสามพราน พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ตลาดน้ำดอนหวาย ซึ่งในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีที่ได้มีโอกาสมาร่วมในพิธีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในการที่จะให้ผู้นำชุมชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ และกล่าวว่า ในช่วงเช้าที่ผ่านมา นายไพโรจน์ พรหมสาส์น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ชี้แจงและตอบข้อซักถามถึงร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 ไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ทุกคนเกิดความเข้าใจ และมองเห็นถึงสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งพยายามที่จะให้ประชาชน ผู้นำท้องถิ่น โดยเฉพาะในส่วนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกคน ถือว่าเป็นข้าราชการที่พบปะกับประชาชนมากที่สุด ได้มีโอกาสทำความเข้าใจตั้งแต่ในลำดับแรก และได้มีโอกาสที่จะเสนอแนะให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างฉบับที่ 1นี้กันต่อไป
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถึงประเด็นสำคัญใน 2-3 เรื่อง เรื่องที่ 1.เรื่องการปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการที่จะเข้ามาร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้นในทุกรูปแบบ ทั้งพยายามที่จะปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านถือเป็นตัวจักรสำคัญที่จะช่วยกันบูรณาการการทำงาน และการอำนวยโครงการของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทั้งการเมืองและการปกครอง ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลด้วย
เรื่องที่ 2. การที่จะช่วยกันขยายแนวทางในการทำงานของรัฐบาลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขไปสู่ท้องถิ่น เพื่อจะทำให้ประชาชนมีกินมีใช้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่ดี และมีความมั่นคงผาสุกในการดำเนินชีวิตของแต่ละคนตามสมควรแก่อัตภาพ อย่างไรก็ตามในฐานะกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจะสร้างสังคมไทยให้มีความอยู่ดีมีสุขได้ จะต้องสร้างวัฒนธรรมความพอเพียง รู้จักพอกินพอใช้ พออยู่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ มีความรอบคอบ การสร้างสังคมให้มีความสมานฉันท์ สังคมที่มีคุณธรรมจริยธรรมและมีความยุติธรรม และสิ่งสำคัญ คือ ความซื่อสัตย์สุจริต
"ในส่วนของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ และเพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้นำไปปฏิบัติ ก็เพื่อสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอควร ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยสามารถที่จะน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้ ทั้งในระดับอำเภอจนถึงระดับชุมชน โดยเชื่อมโยงแนวทางการแก้ไขปัญหาเข้ากับแนวทางการช่วยเหลือ การสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้เกิดการประสานและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ระหว่างภาครัฐและประชาชน โดยเน้นหลักชุมชน พึ่งตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน นั่นเป็นสิ่งที่อยากจะฝากท่านทั้งหลายไว้ในเรื่องของการที่จะนำนโยบายของรัฐบาลสู่ท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เรื่องที่ 3.คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งรัฐบาลกำลังพิจารณาเรื่องที่จะปรับเปลี่ยนที่มาของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาสู่ระบบของการคัดสรร และทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในลักษณะที่เหมือนกับข้าราชการของรัฐ คือ อยู่ในราชการจนกว่าจะถึงเวลาเกษียณอายุราชการ โดยเรื่องนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงมหาดไทย เพื่อจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ในส่วนของการเพิ่มอัตรากำลังผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย (สรผ.) ในพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ได้มีผู้ช่วยที่จะร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิดในการดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้รับมอบพระพุทธรูปหลวงพ่อวัดไร่ขิงจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม จำนวน 1 องค์ โอกาสเดียวกันนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบพระเครื่องหลวงพ่อวัดไร่ขิงให้แก่กำนันและผู้ใหญ่บ้าน โดยนายไพศาล ปราการรัตน์ นายสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนรับมอบ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--