พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2550 หัวข้อ “ก้าวใหม่การบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ” พร้อมมอบรางวัลบุคคลสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2549 และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับการพัฒนาชาติ” ที่โรงแรมรอยัล ภูเก็ตซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม เฮ-นาคา โรงแรมรอยัล ภูเก็ตซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2550 หัวข้อ “ก้าวใหม่การบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ” พร้อมมอบรางวัลบุคคลสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2549 และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับการพัฒนาชาติ” จัดโดยที่ประชุมประธานสภาข้าราชการและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) ร่วมกับสภาข้าราชการมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และปัตตานี ระหว่างวันที่ 27-28 เมษายน 2550 โดยมีบุคลาการทางด้านการศึกษาต่าง ๆ ของรัฐเข้าร่วมประมาณ 600 คน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบรางวัลบุคคลสายสนับสนุนผู้ปฎิบัติงานดีเด่น ประจำปี 2550 จากนั้นได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับการพัฒนาชาติ” สรุปสาระสำคัญว่า ในขณะนี้มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ้านเมืองหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสังคม ทุกคนในที่นี้มีส่วนที่จะเข้ามาสร้างให้สังคมเกิดความดีงาม นั่นคือการสร้างคนให้มีความรู้และมีคุณธรรมที่ควบคู่กันไป ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ทั้งนี้เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการยุวโฆษกได้มาพบที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเยาวชนยุวโฆษกได้ถามว่าคุณธรรมเริ่มจากจุดใด ซึ่งได้ตอบไปว่าคุณธรรมเริ่มจากใจของทุกคน โดยเริ่มสร้างคุณธรรมจากสถาบันครอบครัว จากพ่อแม่ แล้วค่อยๆ ขยายออกไป สถาบันการศึกษาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างคนให้มีคุณธรรม ตนเองได้ตั้งใจว่าในการทำงานจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและบ้านเมือง ทั้งนี้ อาชีพทหารเป็นอาชีพที่ใช้ความรุนแรง มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ประหัตประหารกัน แต่อาชีพทหารสอนให้ใช้ทางเลือกในการประหัตประหารเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากที่ไม่มีทางเลือกอื่น ๆ เช่นเดียวกับการปกป้องประเทศชาติที่เป็นทางเลือกสุดท้าย
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลต้องการที่จะพัฒนาการศึกษาให้ก้าวไปข้างหน้า โดยอยากเห็นสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือสังคม ร่วมมือกันทำงานกับสังคมให้มากขึ้น รวมทั้งร่วมมือกับท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญขึ้น อย่างกรณีของมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ใกล้กับท้องถิ่นมากที่สุด สามารถจะช่วยท้องถิ่นได้มาก โดยให้ดูศักยภาพของท้องถิ่นนั้นว่ามีศักยภาพในการพัฒนาด้านใดบ้าง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างกรณีของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภามหาวิทยาลัยอยู่ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้เข้าไปทำงานร่วมกับท้องถิ่นในการพัฒนา โดยมุ่งเน้นในเรื่องการเกษตร เช่นเดียวกับฝั่งทะเลอันดามันที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว สถาบัน การศึกษาสามารถที่จะร่วมมือกับฝ่ายปกครองท้องถิ่นในการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและหามาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นภัยสึนามิ ภัยธรรมชาติ ซึ่งที่เห็นได้ชัดเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เกิดภัยธรรมชาติที่จังหวัดตรังทำให้มีคนเสียชีวิต โดยต้องหามาตรการป้องกันเพราะเมื่อเกิดเหตุขึ้น การท่องเที่ยวก็สะดุดเพราะคนไม่กล้ามาเที่ยว รวมทั้งจะต้องมีการทำงานวิจัยด้านต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับขยะ น้ำเสีย ความสามารถของพื้นที่ในการรองรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งสร้างความตระหนักให้กับผู้ประกอบการในการหาจุดสมดุลร่วมกัน เป็นต้น
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าการศึกษาจะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการที่ให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เปิดโลกทัศน์ที่กว้างออกไป รวมทั้งการศึกษาที่มีมาตรฐานจะเป็นการสร้างโอกาสให้เยาวชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีโอกาสและทางเลือกมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่มีทางเลือกแค่การเรียนศาสนาเพียงอย่างเดียว เมื่อจบออกมาก็เป็นครูสอนศาสนาในโรงเรียนตาดีกาหรือโรงเรียนปอเนาะ หากเปิดโอกาสการเรียนอย่างอื่น ๆ ให้เยาวชนบ้าง ก็จะเป็นการสร้างโอกาสและทางเลือกให้กับเยาวชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า บทบาทของสถาบันการศึกษมีความสำคัญอย่างมาก ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันในการพัฒนาตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ และหน้าที่นี้จะต้องทำไปจนกว่าจะหมดลมหายใจ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม เฮ-นาคา โรงแรมรอยัล ภูเก็ตซิตี้ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2550 หัวข้อ “ก้าวใหม่การบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ” พร้อมมอบรางวัลบุคคลสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2549 และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับการพัฒนาชาติ” จัดโดยที่ประชุมประธานสภาข้าราชการและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) ร่วมกับสภาข้าราชการมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และปัตตานี ระหว่างวันที่ 27-28 เมษายน 2550 โดยมีบุคลาการทางด้านการศึกษาต่าง ๆ ของรัฐเข้าร่วมประมาณ 600 คน
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบรางวัลบุคคลสายสนับสนุนผู้ปฎิบัติงานดีเด่น ประจำปี 2550 จากนั้นได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐกับการพัฒนาชาติ” สรุปสาระสำคัญว่า ในขณะนี้มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ้านเมืองหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสังคม ทุกคนในที่นี้มีส่วนที่จะเข้ามาสร้างให้สังคมเกิดความดีงาม นั่นคือการสร้างคนให้มีความรู้และมีคุณธรรมที่ควบคู่กันไป ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ทั้งนี้เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการยุวโฆษกได้มาพบที่ทำเนียบรัฐบาล โดยเยาวชนยุวโฆษกได้ถามว่าคุณธรรมเริ่มจากจุดใด ซึ่งได้ตอบไปว่าคุณธรรมเริ่มจากใจของทุกคน โดยเริ่มสร้างคุณธรรมจากสถาบันครอบครัว จากพ่อแม่ แล้วค่อยๆ ขยายออกไป สถาบันการศึกษาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างคนให้มีคุณธรรม ตนเองได้ตั้งใจว่าในการทำงานจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและบ้านเมือง ทั้งนี้ อาชีพทหารเป็นอาชีพที่ใช้ความรุนแรง มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ประหัตประหารกัน แต่อาชีพทหารสอนให้ใช้ทางเลือกในการประหัตประหารเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากที่ไม่มีทางเลือกอื่น ๆ เช่นเดียวกับการปกป้องประเทศชาติที่เป็นทางเลือกสุดท้าย
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลต้องการที่จะพัฒนาการศึกษาให้ก้าวไปข้างหน้า โดยอยากเห็นสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือสังคม ร่วมมือกันทำงานกับสังคมให้มากขึ้น รวมทั้งร่วมมือกับท้องถิ่นในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญขึ้น อย่างกรณีของมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ใกล้กับท้องถิ่นมากที่สุด สามารถจะช่วยท้องถิ่นได้มาก โดยให้ดูศักยภาพของท้องถิ่นนั้นว่ามีศักยภาพในการพัฒนาด้านใดบ้าง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างกรณีของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภามหาวิทยาลัยอยู่ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้เข้าไปทำงานร่วมกับท้องถิ่นในการพัฒนา โดยมุ่งเน้นในเรื่องการเกษตร เช่นเดียวกับฝั่งทะเลอันดามันที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว สถาบัน การศึกษาสามารถที่จะร่วมมือกับฝ่ายปกครองท้องถิ่นในการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและหามาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นภัยสึนามิ ภัยธรรมชาติ ซึ่งที่เห็นได้ชัดเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้เกิดภัยธรรมชาติที่จังหวัดตรังทำให้มีคนเสียชีวิต โดยต้องหามาตรการป้องกันเพราะเมื่อเกิดเหตุขึ้น การท่องเที่ยวก็สะดุดเพราะคนไม่กล้ามาเที่ยว รวมทั้งจะต้องมีการทำงานวิจัยด้านต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยที่เกี่ยวกับขยะ น้ำเสีย ความสามารถของพื้นที่ในการรองรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งสร้างความตระหนักให้กับผู้ประกอบการในการหาจุดสมดุลร่วมกัน เป็นต้น
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าการศึกษาจะเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะการที่ให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เปิดโลกทัศน์ที่กว้างออกไป รวมทั้งการศึกษาที่มีมาตรฐานจะเป็นการสร้างโอกาสให้เยาวชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีโอกาสและทางเลือกมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่มีทางเลือกแค่การเรียนศาสนาเพียงอย่างเดียว เมื่อจบออกมาก็เป็นครูสอนศาสนาในโรงเรียนตาดีกาหรือโรงเรียนปอเนาะ หากเปิดโอกาสการเรียนอย่างอื่น ๆ ให้เยาวชนบ้าง ก็จะเป็นการสร้างโอกาสและทางเลือกให้กับเยาวชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า บทบาทของสถาบันการศึกษมีความสำคัญอย่างมาก ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันในการพัฒนาตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ และหน้าที่นี้จะต้องทำไปจนกว่าจะหมดลมหายใจ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--