พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล เพื่อติดตามผลการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังธรณีพิบัติ (สึนามิ) และรับฟังปัญหา ความต้องการและโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว
วันนี้ เวลา 08.30 น. ณ โรงแรมมาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรี อาทิ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล เพื่อติดตามผลการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังธรณีพิบัติ (สึนามิ) และรับฟังปัญหา ความต้องการและโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยมีประเด็นหลัก ๆ ที่แต่ละจังหวัดได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี อาทิ การรักษาความสะอาด ในเรื่องของการจัดการขยะ การจัดการน้ำเสีย ตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น ที่เกาะภูเก็ต เกาะพีพี ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบครบวงจรและมีประสิทธิภาพ การอำนวยความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยว พัฒนาระบบเตือนภัยเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทั้ง 6 จังหวัด จัดให้ CCTV(วงจรปิด)ตามจุดสำคัญทุกจุด
การจัดการจราจร ควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว การสำรวจแหล่งกักเก็บน้ำให้เพียงพอรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว และการกำหนดระยะถอยร่นและความสูงของอาคาร ต้องมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป้องกันและแก้ไขปัญหา การบุกรุกทำลายป่า การบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพอเพียง เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณและความพร้อมของชุมชน การพัฒนาโครงการข่ายการคมนาคม และโลจิสติกส์ ให้มีการพัฒนาเส้นทางการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ มีถนน 4 เลน และท่าเทียบเรือ เชื่อมโยงพื้นที่การท่องเที่ยวทั้ง 6 จังหวัด
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่น ๆ เช่น นำเสนอโครงสร้างกลุ่มจังหวัดจากเดิม 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต กระบี่ พังงา เป็น 6 จังหวัดอันดามัน เพื่อการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบและเพิ่มศักยภาพ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา และแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ ของจังหวัดตามแนวชายฝั่งอันดามันได้อย่างเป็นระบบ ทั้งการรักษาความสะอาด รักษาความปลอดภัย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญกับระบบเตือนภัย ซึ่งจะมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนำระบบการสื่อสารมาใช้ร่วมกับระบบเตือนภัยที่มีอยู่ เป็นเครือข่ายการสื่อสาร โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสำคัญ เช่น แหล่งท่องเที่ยว หรือตามเกาะที่มีคนอยู่อาศัยจำนวนมาก ส่วนเรื่องการรักษาความสะอาดและสภาพแวดล้อมนั้น เน้นใช้องค์ความรู้ที่ง่ายและประชาชนปฏิบัติได้ เช่น ส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชนโดยการคัดแยกขยะ หากเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ให้ทำการฝังกลบ ขยะที่ย่อยสลายไม่ได้แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยการรีไซเคิล ให้แยกนำไปขายเป็นรายได้ ทั้งนี้ในพื้นที่ที่มีสภาพจำกัด เช่น ภูเก็ต คงจะต้องมีการศึกษาวางระบบในการกำจัดขยะที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
ส่วนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมนั้น นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณาถึงหลักความพอเพียง โดยขอให้พิจารณาถึงศักยภาพของแต่ละพื้นที่ อะไรที่เป็นจุดแข็งให้คงไว้ เพื่อสร้างความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ โดยนำแนวทางตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ความสำคัญกับคำว่า “ภูมิสังคม” คือการทำงานในพื้นที่นั้น ให้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ ควบคู่ไปกับสังคม ความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ และคำนึงถึงศักยภาพและความต้องการหรือการตลาด
นอกจากนี้ ในเรื่องท่าเทียบเรือคงจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนา รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยทางทะเล ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นต่อจังหวัดและการท่องเที่ยวในภูมิภาคอันดามัน ส่วนความเป็นอยู่ของประชาชนนั้น นายกรัฐมนตรีย้ำว่าต้องทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข รักษาวิถีชีวิตของชุมชนและสังคมให้สามารถรับกับความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาและความต้องการของจังหวัดที่เกี่ยวกับเรื่องของการท่องเที่ยวนั้น จะมีการประชุมหารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
หลังเสร็จการประชุมนายกรัฐมนตรีได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจสภาพพื้นที่ทางอากาศเกาะพีพีและเกาะลันตา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 08.30 น. ณ โรงแรมมาริไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปา รีสอร์ท พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรี อาทิ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล เพื่อติดตามผลการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังธรณีพิบัติ (สึนามิ) และรับฟังปัญหา ความต้องการและโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยมีประเด็นหลัก ๆ ที่แต่ละจังหวัดได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี อาทิ การรักษาความสะอาด ในเรื่องของการจัดการขยะ การจัดการน้ำเสีย ตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น ที่เกาะภูเก็ต เกาะพีพี ให้มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบครบวงจรและมีประสิทธิภาพ การอำนวยความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยว พัฒนาระบบเตือนภัยเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทั้ง 6 จังหวัด จัดให้ CCTV(วงจรปิด)ตามจุดสำคัญทุกจุด
การจัดการจราจร ควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว การสำรวจแหล่งกักเก็บน้ำให้เพียงพอรับการขยายตัวด้านการท่องเที่ยว และการกำหนดระยะถอยร่นและความสูงของอาคาร ต้องมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป้องกันและแก้ไขปัญหา การบุกรุกทำลายป่า การบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบพอเพียง เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณและความพร้อมของชุมชน การพัฒนาโครงการข่ายการคมนาคม และโลจิสติกส์ ให้มีการพัฒนาเส้นทางการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ มีถนน 4 เลน และท่าเทียบเรือ เชื่อมโยงพื้นที่การท่องเที่ยวทั้ง 6 จังหวัด
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่น ๆ เช่น นำเสนอโครงสร้างกลุ่มจังหวัดจากเดิม 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต กระบี่ พังงา เป็น 6 จังหวัดอันดามัน เพื่อการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบและเพิ่มศักยภาพ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา และแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ ของจังหวัดตามแนวชายฝั่งอันดามันได้อย่างเป็นระบบ ทั้งการรักษาความสะอาด รักษาความปลอดภัย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรองรับการท่องเที่ยวในอนาคต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญกับระบบเตือนภัย ซึ่งจะมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนำระบบการสื่อสารมาใช้ร่วมกับระบบเตือนภัยที่มีอยู่ เป็นเครือข่ายการสื่อสาร โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสำคัญ เช่น แหล่งท่องเที่ยว หรือตามเกาะที่มีคนอยู่อาศัยจำนวนมาก ส่วนเรื่องการรักษาความสะอาดและสภาพแวดล้อมนั้น เน้นใช้องค์ความรู้ที่ง่ายและประชาชนปฏิบัติได้ เช่น ส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชนโดยการคัดแยกขยะ หากเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ให้ทำการฝังกลบ ขยะที่ย่อยสลายไม่ได้แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยการรีไซเคิล ให้แยกนำไปขายเป็นรายได้ ทั้งนี้ในพื้นที่ที่มีสภาพจำกัด เช่น ภูเก็ต คงจะต้องมีการศึกษาวางระบบในการกำจัดขยะที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
ส่วนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมนั้น นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณาถึงหลักความพอเพียง โดยขอให้พิจารณาถึงศักยภาพของแต่ละพื้นที่ อะไรที่เป็นจุดแข็งให้คงไว้ เพื่อสร้างความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ โดยนำแนวทางตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ความสำคัญกับคำว่า “ภูมิสังคม” คือการทำงานในพื้นที่นั้น ให้คำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ ควบคู่ไปกับสังคม ความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ และคำนึงถึงศักยภาพและความต้องการหรือการตลาด
นอกจากนี้ ในเรื่องท่าเทียบเรือคงจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนา รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยทางทะเล ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นต่อจังหวัดและการท่องเที่ยวในภูมิภาคอันดามัน ส่วนความเป็นอยู่ของประชาชนนั้น นายกรัฐมนตรีย้ำว่าต้องทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข รักษาวิถีชีวิตของชุมชนและสังคมให้สามารถรับกับความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาและความต้องการของจังหวัดที่เกี่ยวกับเรื่องของการท่องเที่ยวนั้น จะมีการประชุมหารือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
หลังเสร็จการประชุมนายกรัฐมนตรีได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจสภาพพื้นที่ทางอากาศเกาะพีพีและเกาะลันตา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--