พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง พร้อมฟังบรรยายสรุปถึงนโยบายและแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม หอการค้าจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
วันนี้ เวลา 15.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง พร้อมฟังบรรยายสรุปถึงนโยบายและแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ตั้งอยู่ภายในและนอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาห กรรม หอการค้าจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้แถลงถึงการเดินทางมาตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ ว่า จากการรับฟังบรรยายสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจากหน่วยงานของภาครัฐที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงปัจจุบัน ถือว่าการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจและประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง รวมทั้งผู้ประกอบการภายในนิคมอุตสาหกรรมและบริเวณโดยรอบให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา จึงทำให้ปัญหามลพิษลดน้อยลง ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนและแกนนำกลุ่มต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและร่วมกันตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นคงจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ และต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนด้วย ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ น่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมได้มอบเงินสมทบกองทุนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดระยองให้ดีขึ้นต่อไป ส่วนภาครัฐจะจัดสรรงบประมาณและแพทย์มาให้ความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น สำหรับกรณีที่ประชาชนต้องการประกาศให้พื้นที่จังหวัดระยอง โดยเฉพาะเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว และขณะนี้ปัญหามลพิษที่เกินเกณฑ์มาตรฐานก็ไม่เกินแล้ว แต่ยังมีบางจุดที่ยังเกินมาตรฐานจึงต้องเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้ปัญหาต่างๆ หมดไป
ส่วนกรณีที่มีการขยายโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะต้องตรวจสอบว่าโรงงานดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดระยองใกล้ถึงจุดอิ่มตัวด้านการลงทุนแล้ว คาดว่าภายใน 5 ปี คงจะถึงจุดอิ่มตัวอย่างแน่นอน เมื่อถึงวันนั้นปัญหาต่างๆ ก็จะคลี่คลาย
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาพบกับกลุ่มผู้ชุมนุมพร้อมรับหนังสือร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ โดยจะนำเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ไปพิจารณาแก้ไขให้ต่อไป
ต่อจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าด้านโลจิสติกส์ ภายหลังรับฟังบรรยายสรุปความก้าวหน้าการดำเนินงานของท่าเรือแหลมฉบังแล้ว นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือแหลมฉบัง ที่ต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องระบบการขนส่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติรถไฟทางคู่จากฉะเชิงเทรามาแหลมฉบัง โดยท่าเรือแหลมฉบังมีแผนงานที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์อยู่แล้ว คือ โครงการ Rail Transfer เพื่อพัฒนาการให้บริการด้านการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ และเปิดให้บริการท่าเทียบเรือชายฝั่ง เพื่อให้สามารถรองรับตู้สินค้าจากการขนส่งรูปแบบดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ต้องการให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำแผนงานดังกล่าวมาเร่งดำเนินการให้สอดคล้องกับโครงการรางรถไฟทางคู่ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งหากสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จพร้อม ๆ กัน ก็จะทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญจะเป็นการลดต้นทุนด้านการขนส่งได้อย่างมหาศาล
นอกจากนี้ โครงการรถไฟทางคู่จากฉะเชิงเทรา-แก่งคอย-นครราชสีมา-ขอนแก่น ก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะสามารถเชื่อมโยงจากทุกภาคทั่วประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามในเรื่องเส้นทางคมนาคมนั้น หากให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยลดภาระของหน่วยงานรัฐได้มาก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และคณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง พร้อมฟังบรรยายสรุปถึงนโยบายและแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโรงงานที่ตั้งอยู่ภายในและนอกพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาห กรรม หอการค้าจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้แถลงถึงการเดินทางมาตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ ว่า จากการรับฟังบรรยายสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจากหน่วยงานของภาครัฐที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงปัจจุบัน ถือว่าการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจและประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง รวมทั้งผู้ประกอบการภายในนิคมอุตสาหกรรมและบริเวณโดยรอบให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา จึงทำให้ปัญหามลพิษลดน้อยลง ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนและแกนนำกลุ่มต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและร่วมกันตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นคงจะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ และต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนด้วย ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ น่าจะดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมได้มอบเงินสมทบกองทุนเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดระยองให้ดีขึ้นต่อไป ส่วนภาครัฐจะจัดสรรงบประมาณและแพทย์มาให้ความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น สำหรับกรณีที่ประชาชนต้องการประกาศให้พื้นที่จังหวัดระยอง โดยเฉพาะเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นเขตควบคุมมลพิษนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว และขณะนี้ปัญหามลพิษที่เกินเกณฑ์มาตรฐานก็ไม่เกินแล้ว แต่ยังมีบางจุดที่ยังเกินมาตรฐานจึงต้องเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้ปัญหาต่างๆ หมดไป
ส่วนกรณีที่มีการขยายโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะต้องตรวจสอบว่าโรงงานดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดระยองใกล้ถึงจุดอิ่มตัวด้านการลงทุนแล้ว คาดว่าภายใน 5 ปี คงจะถึงจุดอิ่มตัวอย่างแน่นอน เมื่อถึงวันนั้นปัญหาต่างๆ ก็จะคลี่คลาย
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาพบกับกลุ่มผู้ชุมนุมพร้อมรับหนังสือร้องเรียนปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ โดยจะนำเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ไปพิจารณาแก้ไขให้ต่อไป
ต่อจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าด้านโลจิสติกส์ ภายหลังรับฟังบรรยายสรุปความก้าวหน้าการดำเนินงานของท่าเรือแหลมฉบังแล้ว นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าเรือแหลมฉบัง ที่ต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องระบบการขนส่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติรถไฟทางคู่จากฉะเชิงเทรามาแหลมฉบัง โดยท่าเรือแหลมฉบังมีแผนงานที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์อยู่แล้ว คือ โครงการ Rail Transfer เพื่อพัฒนาการให้บริการด้านการขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ และเปิดให้บริการท่าเทียบเรือชายฝั่ง เพื่อให้สามารถรองรับตู้สินค้าจากการขนส่งรูปแบบดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ต้องการให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้นำแผนงานดังกล่าวมาเร่งดำเนินการให้สอดคล้องกับโครงการรางรถไฟทางคู่ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งหากสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จพร้อม ๆ กัน ก็จะทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญจะเป็นการลดต้นทุนด้านการขนส่งได้อย่างมหาศาล
นอกจากนี้ โครงการรถไฟทางคู่จากฉะเชิงเทรา-แก่งคอย-นครราชสีมา-ขอนแก่น ก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะสามารถเชื่อมโยงจากทุกภาคทั่วประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามในเรื่องเส้นทางคมนาคมนั้น หากให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยลดภาระของหน่วยงานรัฐได้มาก
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--