นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ประชุมร่วมกันเพื่อติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและปัญหาต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงแรมกรีน เลค รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อค่ำวันนี้ ณ โรงแรมกรีน เลค รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ประชุมร่วมกันเพื่อติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและปัญหาต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แม่ทัพภาคที่ 3ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำ เข้าร่วมประชุมด้วย
ในส่วนของการแก้ปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่นั้น ทางจังหวัดได้ทบทวนโครงการต่าง ๆ จำนวน 36 โครงการที่ดำเนินการโดยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งโครงการที่เป็นแผนตามมาตรการฉุกเฉิน โครงการเพื่อชะลอน้ำหลาก และโครงการปรับปรุงลำน้ำปิง ทั้งนี้ จุดแรกที่จังหวัดเชียงใหม่จะดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาการไหลผ่านของน้ำในแม่น้ำปิง คือ ลำน้ำบริเวณที่ตั้งของกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ใกล้สะพานป่าแดด ซึ่งปัจจุบันลำน้ำมีความกว้าง 60 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 440 ลบ.ม. /วินาที แต่ไม่สามารถรองรับภาวะน้ำหลากที่ต้องมีการระบายน้ำถึง 800 ลบ.ม./วินาที จึงจำเป็นต้องมีการขยายลำน้ำ ณ จุดนี้อีก 30 เมตร รวมเป็น 90 เมตร จึงจะเพียงพอที่จะระบายน้ำได้ถึง 800 ลบ.ม./วินาที แต่การขยายลำน้ำดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออาคารในพื้นที่ของกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ซึ่งจะต้องย้ายไปสร้างอาคารในพื้นที่ใหม่ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายไว้ในการประชุมครั้งที่ผ่านมาว่า ในเบื้องต้นสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้ขุดขยายลำน้ำ ณ จุดนี้ ให้มีความกว้างเพิ่มขึ้น 10 เมตร เป็น 70 เมตรก่อน และให้เพิ่มความลึกของห้วงน้ำและให้กรมทางหลวงพิจารณาเตรียมการขยายสะพานและเสริมความแข็งแกร่งของสะพานป่าแดด รวมทั้งให้กรมการขนส่งทางน้ำและกรมชลประทานพิจารณาแผนงานส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งรวมถึงการจัดสร้างประตูระบายน้ำล้นท่าวังตาล ที่อยู่ห่างจากกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ลงไปทางใต้ประมาณ 700 เมตร ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาน้ำท่วม
อธิบดีกรมทางหลวง ได้รายงานความคืบหน้าว่า กรมทางหลวงจะดำเนินการเสริมความแข็งแกร่งของสะพานด้วยการตอกเสาเข็ม 10 ต้น เพื่อป้องกันการทรุดตัวของตอม่อจากการขยายลำน้ำให้กว้าง 90 เมตร ที่จะทำให้ตอม่อต้องรับแรงดันจากน้ำมากขึ้น และจะดำเนินการขยายความยาวของสะพานจากเดิม 100 เมตร เป็น 140 เมตร จะใช้งบประมาณ 70 ล้านบาท และใช้เวลาในการดำเนินการขยายสะพาน 1 ปี โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 เร่งดำเนินการจัดหาพื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ซึ่งจะใช้ที่ดินประมาณ 17-18 ไร่ เพื่อทดแทนอาคารเดิมที่จะได้รับผลกระทบจากการขยายลำน้ำให้กว้างถึง 90 เมตร
ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้รายงานถึงปัญหาการก่อสร้างประตูระบายน้ำล้นท่าวังตาลและการรื้อฝาย 3 ฝาย ที่ประชาชนในพื้นที่สร้างขึ้นในลำน้ำทางใต้ของกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ซึ่งประชาชนยังไม่มั่นใจว่าหากมีประตูระบายน้ำล้นมาแทนที่ฝายของชาวบ้านแล้ว พื้นที่ทำกินของประชาชนจะยังสามารถรับน้ำจากลำน้ำปิงได้เช่นเดิมหรือไม่ ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำได้ชี้แจงว่า ฝายของชาวบ้านทั้ง 3 ฝาย มีระดับจากท้องดินเดิมจนถึงสันฝาย 6 เมตร แต่ปัจจุบันมีตะกอนดินทับถมหน้าสันฝาย 3 เมตร ทำให้เหลือระดับเหนือท้องดินเพียง 3 เมตร เมื่อมีน้ำหลากถึง 800 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำจะสูงกว่าสันฝายเพียง 2 เมตร น้ำจะระบายได้เพียง 200 ลบ.ม./วินาที ยังคงค้างอยู่อีกถึง 450-500 ลบ.ม./วินาที ดังนั้น แม้ลำน้ำปิง ณ จุดหน้ากองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 จะได้รับการขยายให้กว้าง 90 เมตร เพื่อระบายน้ำได้ ณ จุดนั้น 800 ลบ.ม./วินาที แต่เมื่อปริมาตรน้ำมาเจอกับฝายทั้ง 3 แห่งที่กีดขวางการระบายน้ำอยู่ น้ำก็จะยังท่วมจังหวัดเชียงใหม่เช่นเดิม
ในขณะที่ประตูระบายน้ำล้นท่าวังตาลที่กรมชลประทานวางแผนก่อสร้างจะสามารถเก็บกักน้ำหรือระบายน้ำได้ตามความต้องการในทุกฤดูกาล ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่ กรมขนส่งทางน้ำจึงเห็นว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมจึงต้องมีการสร้างประตูระบายน้ำล้นท่าวังตาล พร้อมกับรื้อฝาย 3 ฝายออก
โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้จังหวัดให้การสนับสนุนกรมชลประทานในการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหา โดยขอรับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในการทำภาพคอมพิวเตอร์แอนนิเมชั่น เพื่ออธิบายให้ประชาชนได้เข้าใจอย่างชัดเจนถึงแนวทางในการแก้ปัญหาของจังหวัดเชียงใหม่ และประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับจากแนวทางดังกล่าว
ด้านประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ได้นำเสนอความต้องการของภาคเอกชนในเรื่องศูนย์การประชุมนานาชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยบริเวณที่น่าสนใจคือพื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นอกจากนี้ จังหวัดเชียงใหม่ยังได้สรุปการแก้ปัญหาหมอกควัน ที่เน้นการรณรงค์ให้ประชาชนหยุดการเผาเศษไม้ ใบไม้ ให้หันมาใช้วิธีการฝังกลบและทำปุ๋ยหมักแทน รวมทั้งห้ามเผาป่าในช่วงวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 เมษายน โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์สร้างความร่วมมือร่วมใจ เนื่องจากหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม รวมทั้งยังได้ส่งเสริมการปรับกิจกรรมของชาวบ้าน เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชในโครงการตามพระราชดำริ ให้ความรู้และสร้างเครือข่าย มอบรางวัลให้แก่หมู่บ้านที่ร่วมมือในการรณรงค์จนเป็นผลสำเร็จ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
เมื่อค่ำวันนี้ ณ โรงแรมกรีน เลค รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยพลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ประชุมร่วมกันเพื่อติดตามความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและปัญหาต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แม่ทัพภาคที่ 3ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำ เข้าร่วมประชุมด้วย
ในส่วนของการแก้ปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่นั้น ทางจังหวัดได้ทบทวนโครงการต่าง ๆ จำนวน 36 โครงการที่ดำเนินการโดยหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งโครงการที่เป็นแผนตามมาตรการฉุกเฉิน โครงการเพื่อชะลอน้ำหลาก และโครงการปรับปรุงลำน้ำปิง ทั้งนี้ จุดแรกที่จังหวัดเชียงใหม่จะดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาการไหลผ่านของน้ำในแม่น้ำปิง คือ ลำน้ำบริเวณที่ตั้งของกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ใกล้สะพานป่าแดด ซึ่งปัจจุบันลำน้ำมีความกว้าง 60 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 440 ลบ.ม. /วินาที แต่ไม่สามารถรองรับภาวะน้ำหลากที่ต้องมีการระบายน้ำถึง 800 ลบ.ม./วินาที จึงจำเป็นต้องมีการขยายลำน้ำ ณ จุดนี้อีก 30 เมตร รวมเป็น 90 เมตร จึงจะเพียงพอที่จะระบายน้ำได้ถึง 800 ลบ.ม./วินาที แต่การขยายลำน้ำดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออาคารในพื้นที่ของกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ซึ่งจะต้องย้ายไปสร้างอาคารในพื้นที่ใหม่ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายไว้ในการประชุมครั้งที่ผ่านมาว่า ในเบื้องต้นสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ให้ขุดขยายลำน้ำ ณ จุดนี้ ให้มีความกว้างเพิ่มขึ้น 10 เมตร เป็น 70 เมตรก่อน และให้เพิ่มความลึกของห้วงน้ำและให้กรมทางหลวงพิจารณาเตรียมการขยายสะพานและเสริมความแข็งแกร่งของสะพานป่าแดด รวมทั้งให้กรมการขนส่งทางน้ำและกรมชลประทานพิจารณาแผนงานส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งรวมถึงการจัดสร้างประตูระบายน้ำล้นท่าวังตาล ที่อยู่ห่างจากกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ลงไปทางใต้ประมาณ 700 เมตร ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาน้ำท่วม
อธิบดีกรมทางหลวง ได้รายงานความคืบหน้าว่า กรมทางหลวงจะดำเนินการเสริมความแข็งแกร่งของสะพานด้วยการตอกเสาเข็ม 10 ต้น เพื่อป้องกันการทรุดตัวของตอม่อจากการขยายลำน้ำให้กว้าง 90 เมตร ที่จะทำให้ตอม่อต้องรับแรงดันจากน้ำมากขึ้น และจะดำเนินการขยายความยาวของสะพานจากเดิม 100 เมตร เป็น 140 เมตร จะใช้งบประมาณ 70 ล้านบาท และใช้เวลาในการดำเนินการขยายสะพาน 1 ปี โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 เร่งดำเนินการจัดหาพื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ซึ่งจะใช้ที่ดินประมาณ 17-18 ไร่ เพื่อทดแทนอาคารเดิมที่จะได้รับผลกระทบจากการขยายลำน้ำให้กว้างถึง 90 เมตร
ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้รายงานถึงปัญหาการก่อสร้างประตูระบายน้ำล้นท่าวังตาลและการรื้อฝาย 3 ฝาย ที่ประชาชนในพื้นที่สร้างขึ้นในลำน้ำทางใต้ของกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ซึ่งประชาชนยังไม่มั่นใจว่าหากมีประตูระบายน้ำล้นมาแทนที่ฝายของชาวบ้านแล้ว พื้นที่ทำกินของประชาชนจะยังสามารถรับน้ำจากลำน้ำปิงได้เช่นเดิมหรือไม่ ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางน้ำได้ชี้แจงว่า ฝายของชาวบ้านทั้ง 3 ฝาย มีระดับจากท้องดินเดิมจนถึงสันฝาย 6 เมตร แต่ปัจจุบันมีตะกอนดินทับถมหน้าสันฝาย 3 เมตร ทำให้เหลือระดับเหนือท้องดินเพียง 3 เมตร เมื่อมีน้ำหลากถึง 800 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำจะสูงกว่าสันฝายเพียง 2 เมตร น้ำจะระบายได้เพียง 200 ลบ.ม./วินาที ยังคงค้างอยู่อีกถึง 450-500 ลบ.ม./วินาที ดังนั้น แม้ลำน้ำปิง ณ จุดหน้ากองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 จะได้รับการขยายให้กว้าง 90 เมตร เพื่อระบายน้ำได้ ณ จุดนั้น 800 ลบ.ม./วินาที แต่เมื่อปริมาตรน้ำมาเจอกับฝายทั้ง 3 แห่งที่กีดขวางการระบายน้ำอยู่ น้ำก็จะยังท่วมจังหวัดเชียงใหม่เช่นเดิม
ในขณะที่ประตูระบายน้ำล้นท่าวังตาลที่กรมชลประทานวางแผนก่อสร้างจะสามารถเก็บกักน้ำหรือระบายน้ำได้ตามความต้องการในทุกฤดูกาล ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่ กรมขนส่งทางน้ำจึงเห็นว่าการแก้ปัญหาน้ำท่วมจึงต้องมีการสร้างประตูระบายน้ำล้นท่าวังตาล พร้อมกับรื้อฝาย 3 ฝายออก
โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้จังหวัดให้การสนับสนุนกรมชลประทานในการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหา โดยขอรับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในการทำภาพคอมพิวเตอร์แอนนิเมชั่น เพื่ออธิบายให้ประชาชนได้เข้าใจอย่างชัดเจนถึงแนวทางในการแก้ปัญหาของจังหวัดเชียงใหม่ และประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับจากแนวทางดังกล่าว
ด้านประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ได้นำเสนอความต้องการของภาคเอกชนในเรื่องศูนย์การประชุมนานาชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยบริเวณที่น่าสนใจคือพื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นอกจากนี้ จังหวัดเชียงใหม่ยังได้สรุปการแก้ปัญหาหมอกควัน ที่เน้นการรณรงค์ให้ประชาชนหยุดการเผาเศษไม้ ใบไม้ ให้หันมาใช้วิธีการฝังกลบและทำปุ๋ยหมักแทน รวมทั้งห้ามเผาป่าในช่วงวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 เมษายน โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์สร้างความร่วมมือร่วมใจ เนื่องจากหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม รวมทั้งยังได้ส่งเสริมการปรับกิจกรรมของชาวบ้าน เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชในโครงการตามพระราชดำริ ให้ความรู้และสร้างเครือข่าย มอบรางวัลให้แก่หมู่บ้านที่ร่วมมือในการรณรงค์จนเป็นผลสำเร็จ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--