นายกรัฐมนตรีเดินทางไปพบปะกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก เพื่อชี้แจง "ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ "นโยบายการบริหารงานที่สำคัญของรัฐบาล” ในโครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมเอกไพลิน ริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี
วันนี้ เวลา 15.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปพบปะกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก (กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม) รวม 16 จังหวัด เพื่อชี้แจง "ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ "นโยบายการบริหารงานที่สำคัญของรัฐบาล” ในโครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมเอกไพลิน ริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมรกต กรเกษม) ตลอดจนผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โฆษก กระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ประมาณ 400 คน โครงการ “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” จัดโดย สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ และคณะโฆษกกระทรวง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบเข้าใจนโยบายและแนวทางการบริหารของรัฐบาลอย่างถูกต้องชัดเจน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนและมีคุณภาพจากสื่อมวลชนด้วย
ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานสรุปแนวความคิดเห็นของสื่อมวลชนในหัวข้อ "บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม” เมื่อช่วงเช้าของการสัมมนาดังนี้ 1. สื่อต้องมีจรรยาบรรณและจริยธรรมในการนำเสนอข่าวสาร 2. สื่อต้องมีจุดยืน เน้นความถูกต้อง และวางตัวเป็นกลาง 3. สื่อต้องตรวจสอบข้อมูลข่าวสารก่อนนำเสนอสู่สังคม 4. สื่อต้องนำเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์ เน้นความสามัคคี 5. ภาครัฐต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างความสมานฉันท์ 6. ภาครัฐควรงดการตอบโต้ แต่เน้นการชี้แจงด้วยเหตุผล 7. สื่อและส่วนราชการควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาการสื่อสารสองทางเพื่อให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง 8. รัฐบาลและส่วนราชการควรเน้นการนำเสนอผลงานผ่านสื่อแขนงต่างๆ มากขึ้น 9. ส่วนราชการต้องเปิดโอกาสให้สื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทุกด้าน 10. ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับหอกระจายข่าวหมู่บ้าน เพราะเป็นระบบการสื่อสารไปยังรากแก้วอย่างแท้จริงและ 11. สื่อและภาครัฐควรสนับสนุนให้เยาวชนและผู้รู้ในชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารมากขึ้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคกลางและภาคตะวันตกทั้ง 16 จังหวัดซักถามปัญหาต่าง ๆ อาทิ สื่อมวลชนท้องถิ่นขอให้รัฐบาลสนับสนุนหอกระจายข่าวทุกหมู่บ้าน การหาแนวทางในการยุติปัญหาเรื่องการนำศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ โครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข แรงงานต่างด้าว การช่วยเหลือเกษตรกร การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชนท้องถิ่น การแก้ปัญหาราคาข้าวและการรับจำนำข้าวเปลือก วิทยุชุมชน ปัญหาความวุ่นวายที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศ นอกจากนี้ยังขอให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการผู้ว่าพบสื่อมวลชน ซึ่งจังหวัดสมุทรสาครได้ดำเนินการแล้ว และสามารถแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้ โดยผ่านสื่อมวลชนท้องถิ่น การแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย และสภาพแวดล้อมเป็นพิษ การส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การผลักดันในเรื่องการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง การแก้ปัญหาแหล่งเงินทุนนอกระบบ และปัญหาที่ดินทำกินของราษฎร เป็นต้น
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนท้องถิ่นและผู้เข้าร่วมสัมมนา ว่า ขอขอบคุณทุกคนที่เสียสละเวลามาร่วมกันในวันนี้ อยากบอกว่าการมาพบครั้งนี้เพื่อมาทำความเข้าใจเปิดเผยไม่มีอะไรแอบแฝง สิ่งที่อยากจะฝากกับสื่อมวลชนทุกท่านคือ เรากำลังเดินไปตามครรลอง ตามรัฐธรรมนูญฉบับร่างที่กำลังดำเนินการอยู่ จึงอยากขอร้องสื่อช่วยกันให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับร่างในปัจจุบัน โดยการให้ข้อมูลกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญในปี 2540 กับรัฐธรรมนูญฉบับร่างนี้ ให้มีตัวเปรียบเทียบเพื่อพี่น้องประชาชนจะพิจารณาเองว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยซึ่งจะทำให้เห็นถึงแนวทางที่เราจะไปด้วยกัน และหาจุดบกพร่องร่วมกันก่อนวันลงประชามติ (19 สิงหาคม 2550) ขอให้ช่วยกันพิจารณาทำความเข้าใจซึ่งถือเป็นวาระสำคัญเพราะเป็นวาระอนาคตของเราข้างหน้า เพื่อเลือกกติกาที่ดียอมรับ พร้อมกล่าวว่าการถกเถียงและการแสดงออกของกลุ่มประชาชนถือเป็นจุดยืนของการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งขอฝากข้อคิดไว้เพื่อให้เราเดินไปสู่การเลือกตั้งตามกติกานี้ต่อไป ถ้าเป็นไปได้อาจจะมีการเลือกตั้งภายในวันที่ 25 พฤศจิกายนศกนี้ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้เสร็จภายในเดือนก็คงจะเป็นภายในเดือนธันวาคม นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ผมมาทำหน้าที่นี้เพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองเพื่อสร้างความสามัคคี แก้ปัญหาความรุนแรงขอให้ทุกคนได้ช่วยกันรักษาแนวทางที่ดีเพื่อบ้านเมืองของเราต่อไปในอนาคต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.00 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปพบปะกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก (กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม) รวม 16 จังหวัด เพื่อชี้แจง "ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ "นโยบายการบริหารงานที่สำคัญของรัฐบาล” ในโครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมเอกไพลิน ริเวอร์แคว จังหวัดกาญจนบุรี โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมรกต กรเกษม) ตลอดจนผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โฆษก กระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ประมาณ 400 คน โครงการ “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” จัดโดย สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ และคณะโฆษกกระทรวง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบเข้าใจนโยบายและแนวทางการบริหารของรัฐบาลอย่างถูกต้องชัดเจน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนและมีคุณภาพจากสื่อมวลชนด้วย
ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานสรุปแนวความคิดเห็นของสื่อมวลชนในหัวข้อ "บทบาทของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม” เมื่อช่วงเช้าของการสัมมนาดังนี้ 1. สื่อต้องมีจรรยาบรรณและจริยธรรมในการนำเสนอข่าวสาร 2. สื่อต้องมีจุดยืน เน้นความถูกต้อง และวางตัวเป็นกลาง 3. สื่อต้องตรวจสอบข้อมูลข่าวสารก่อนนำเสนอสู่สังคม 4. สื่อต้องนำเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์ เน้นความสามัคคี 5. ภาครัฐต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างความสมานฉันท์ 6. ภาครัฐควรงดการตอบโต้ แต่เน้นการชี้แจงด้วยเหตุผล 7. สื่อและส่วนราชการควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาการสื่อสารสองทางเพื่อให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง 8. รัฐบาลและส่วนราชการควรเน้นการนำเสนอผลงานผ่านสื่อแขนงต่างๆ มากขึ้น 9. ส่วนราชการต้องเปิดโอกาสให้สื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทุกด้าน 10. ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับหอกระจายข่าวหมู่บ้าน เพราะเป็นระบบการสื่อสารไปยังรากแก้วอย่างแท้จริงและ 11. สื่อและภาครัฐควรสนับสนุนให้เยาวชนและผู้รู้ในชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารมากขึ้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคกลางและภาคตะวันตกทั้ง 16 จังหวัดซักถามปัญหาต่าง ๆ อาทิ สื่อมวลชนท้องถิ่นขอให้รัฐบาลสนับสนุนหอกระจายข่าวทุกหมู่บ้าน การหาแนวทางในการยุติปัญหาเรื่องการนำศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ โครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข แรงงานต่างด้าว การช่วยเหลือเกษตรกร การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชนท้องถิ่น การแก้ปัญหาราคาข้าวและการรับจำนำข้าวเปลือก วิทยุชุมชน ปัญหาความวุ่นวายที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศ นอกจากนี้ยังขอให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการผู้ว่าพบสื่อมวลชน ซึ่งจังหวัดสมุทรสาครได้ดำเนินการแล้ว และสามารถแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้ โดยผ่านสื่อมวลชนท้องถิ่น การแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย และสภาพแวดล้อมเป็นพิษ การส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การผลักดันในเรื่องการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน การแก้ปัญหายาเสพติด การแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนที่ถูกทอดทิ้ง การแก้ปัญหาแหล่งเงินทุนนอกระบบ และปัญหาที่ดินทำกินของราษฎร เป็นต้น
ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนท้องถิ่นและผู้เข้าร่วมสัมมนา ว่า ขอขอบคุณทุกคนที่เสียสละเวลามาร่วมกันในวันนี้ อยากบอกว่าการมาพบครั้งนี้เพื่อมาทำความเข้าใจเปิดเผยไม่มีอะไรแอบแฝง สิ่งที่อยากจะฝากกับสื่อมวลชนทุกท่านคือ เรากำลังเดินไปตามครรลอง ตามรัฐธรรมนูญฉบับร่างที่กำลังดำเนินการอยู่ จึงอยากขอร้องสื่อช่วยกันให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับร่างในปัจจุบัน โดยการให้ข้อมูลกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนเห็นถึงความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญในปี 2540 กับรัฐธรรมนูญฉบับร่างนี้ ให้มีตัวเปรียบเทียบเพื่อพี่น้องประชาชนจะพิจารณาเองว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยซึ่งจะทำให้เห็นถึงแนวทางที่เราจะไปด้วยกัน และหาจุดบกพร่องร่วมกันก่อนวันลงประชามติ (19 สิงหาคม 2550) ขอให้ช่วยกันพิจารณาทำความเข้าใจซึ่งถือเป็นวาระสำคัญเพราะเป็นวาระอนาคตของเราข้างหน้า เพื่อเลือกกติกาที่ดียอมรับ พร้อมกล่าวว่าการถกเถียงและการแสดงออกของกลุ่มประชาชนถือเป็นจุดยืนของการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งขอฝากข้อคิดไว้เพื่อให้เราเดินไปสู่การเลือกตั้งตามกติกานี้ต่อไป ถ้าเป็นไปได้อาจจะมีการเลือกตั้งภายในวันที่ 25 พฤศจิกายนศกนี้ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้เสร็จภายในเดือนก็คงจะเป็นภายในเดือนธันวาคม นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ผมมาทำหน้าที่นี้เพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมืองเพื่อสร้างความสามัคคี แก้ปัญหาความรุนแรงขอให้ทุกคนได้ช่วยกันรักษาแนวทางที่ดีเพื่อบ้านเมืองของเราต่อไปในอนาคต
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--