นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้เดินทางไปพบปะกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 9 จังหวัด เพื่อชี้แจง “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ “นโยบายการบริหารงานที่สำคัญของรัฐบาล” ในโครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมอุบลบุรี รีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี
วันนี้ เวลา 09.00 น. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เดินทางไปพบปะกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ มุกดาหาร และนครพนม) รวม 9 จังหวัด เพื่อชี้แจง “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ “นโยบายการบริหารงานที่สำคัญของรัฐบาล” ในโครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมอุบลบุรี รีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายวรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายอุทิศ ขาวเธียร รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ตรวจราชการกระทรวง โฆษกกระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ 427 คน โครงการ “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” จัดโดย สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ และคณะโฆษกกระทรวง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบเข้าใจนโยบายและแนวทางการบริหารงานของรัฐบาลอย่างถูกต้องชัดเจน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจน และมีคุณภาพจากสื่อมวลชนด้วย
ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า โครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และคณะโฆษกกระทรวง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบและเข้าใจนโยบายและแนวทางการบริหารงานของรัฐบาลอย่างถูกต้องชัดเจน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนและมีคุณภาพจากสื่อมวลชนด้วย นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลจะได้รับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชน ซึ่งเป็นปากเสียงของพี่น้องประชาชนในแต่ละภูมิภาคที่สะท้อนความต้องการและความคิดเห็นของประชาชนมายังรัฐบาล โครงการ “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” จึงเป็นกระบวนการสื่อสารสองทาง ที่ทำให้รัฐบาลได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการบริหารประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของพี่น้องประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของรัฐบาล อีกทั้งยังเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับสื่อมวลชนในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ภายหลังจากเสร็จสิ้นการสัมมนาในวันนี้แล้ว คณะผู้จัดการสัมมนาจะรวบรวมและสรุปผล รวมทั้งข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ที่ได้จากการสัมมนากราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสรุปที่เกิดจากการสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนต่อไป
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการชี้แจงและสร้างความเข้าใจนโยบายของรัฐบาลในเรื่อง “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มีสาระสำคัญว่า การดำเนินโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ดำเนินโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งได้ดำเนินการมาใน 2 ระยะแล้ว ในระยะ แรกใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่ได้ดำเนินการไปแล้วโดยโครงการทั้งหลายอยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับในระยะที่สองมีงบประมาณอีก 2,000 ล้านบาท ซึ่งก็ได้ดำเนินการไปแล้วเช่นเดียวกัน งบประมาณส่วนใหญ่ได้กระจายลงไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งยังอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามโครงการที่ได้ตกลงร่วมกันระหว่างส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนภูมิภาค กำนันผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการจังหวัด โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เป็นพื้นที่ที่ดำเนินโครงการนี้เช่นกัน
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีแต่ละคน เดินทางลงพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เพื่อติดตามดูแลโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ให้รับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินการด้วยตัวเอง ทั้งนี้ รัฐบาลได้ริเริ่มโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ปี 2550 ขึ้นเพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ และเนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องในปี 2551 ในงบประมาณ 15,000 ล้านบาท ซึ่งจะได้มีการจัดสรรไปตามจังหวัดต่าง ๆ ตามสูตรที่คล้ายคลึงกับปี 2550 ที่จะพิจารณาจากจำนวนประชากร สภาพปัญหาต่าง ๆ ประกอบกัน ฉะนั้นแต่ละจังหวัดจะได้รับงบประมาณที่แตกต่างกันไป สำหรับในปี 2551 นี้จะได้มีการปรับปรุงโครงการอยู่ดีมีสุข การจัดประเภทของโครงการ ให้มีความกระชับชัดเจน มีความสะดวกในการดำเนินงานและให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น
จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนท้องถิ่นผู้เข้าร่วมการสัมมนา ได้นำเสนอข้อซักถามในประเด็นต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย — ลาว แห่งที่ 3 ที่จังหวัดนครพนม การขยายเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางรถไฟ ไปจังหวัดนครพนม ยโสธร ตัวชี้วัดโครงการอยู่ดีมีสุขอย่างเป็นรูปธรรม บทบาทของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ดีมีสุข แนวทางการดำเนินงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน ทิศทางการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน การกำหนดให้การรักษาทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดเป็นตัวชี้วัดการดำเนินงานของจังหวัด การแก้ไขปัญหาเรื่องช้างให้เป็นยุทธศาสตร์ของชาติ ขอให้รัฐบาลช่วยผลักดันวิทยุชุมชนให้เป็นวิทยุอาชีพ การแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน การแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ขอให้มีการผ่อนคลายกฎระเบียบการเข้า - ออกบริเวณแนวชายแดนด่านช่องเม็กให้เป็นฟรีโซน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณดังกล่าวที่ซบเซาลงอย่างมาก เป็นต้น
ในตอนท้าย รองนายกรัฐมนตรีฯได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนท้องถิ่นและผู้เข้าร่วมสัมมนาว่า ขอขอบคุณสื่อมวลชนท้องถิ่นทุกคนที่ได้มาร่วมกิจกรรมรัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น ครั้งที่ 4 โดยขอชื่นชมการคิด การถาม การแสดงความคิดเห็นของผู้แทนสื่อมวลชนทุกคนที่มีสาระความลึก ความคมคายและศิลปะผสมผสานอยู่ในตัว โดยจากการที่ได้พูดคุยกันในวันนี้ทำให้ได้รับทราบภูมิหลัง ข้อมูลและความคิดจากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งจากรัฐบาลซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรี ผู้ที่ทำหน้าที่ในฐานะหัวหน้าหรือตัวแทนหน่วยงานต่าง ๆ ฝ่ายสื่อมวลชน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ซึ่งเรื่องหลักที่ได้หารือกันคือโครงการอยู่ดีมีสุข โดยคำว่า “อยู่ดีมีสุข” ได้ขยายความถึงโครงการมาตรการทั้งหลายที่มีผลให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันเป็นเป้าหมายร่วมกันของทุกคน ไม่ว่าจะพูดกันถึงเรื่องรัฐธรรมนูญ ระบบการคมนาคมขนส่ง การค้า การศึกษา ทุกอย่างต่างมีเป้าหมายสุดท้ายคือการอยู่ดีมีสุขหรือความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ซึ่งในการนี้ได้มีนำแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอ้างอิงเป็นรากฐานของโครงการอยู่ดีมีสุขด้วย และภายใต้โครงการอยู่ดีมีสุขก็มีโครงการย่อยที่ใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงอยู่อย่างชัดเจน เพราะเป็นความเชื่อและเป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลนี้ว่า การพัฒนาที่แท้จริง การพัฒนาที่จะมั่นคงยั่งยืน ควรจะอยู่บนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีว่าความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้แพร่กระจายไปทุกหนแห่ง มีการพูด คิด และทำกันมากทั้งที่ชัดเจนและทั้งที่เป็นการผูกโยงเข้าด้วยกัน
“ อยากขอเชิญชวนให้พวกเราพยายามมุ่งไปสู่เป้าหมายสุดท้ายคือความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของประชาชนชาวไทย และพยายามทำให้หลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่างโดยเฉพาะการร่วมกันทำ จับมือกันทำ สามัคคีกันทำ ดังพระราชดำรัส รู้ รัก สามัคคี รัฐบาลนี้เชื่อมั่นว่าแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่จะนำพาให้ประชาชนคนไทยไปสู่ความสำเร็จของการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างมั่นคงถาวร” รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าว
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่า ในปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จำนวนมากรวมทั้งประชาชนทั่วประเทศ ต่างมุ่งมั่นที่จะทำความดีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลก็มีโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษากว่า 300 โครงการ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ที่ได้มีคำขวัญร่วมกันว่า “ทำดีเพื่อพ่อ” โดยจะมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ร่วมกันทำความดีอย่างเข้มข้นเป็นพิเศษในช่วง 80 วันระหว่างวันที่ 17 กันยายน — 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งทุกกลุ่มพื้นที่ ทุกองค์กร หน่วยงานสามารถร่วมกันทำได้ ทั้งนี้ จะมีการเปิดตัวโครงการในวันที่ 16 กันยายนนี้
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่าการร่วมกันทำกิจกรรมรัฐบาลพบสื่อท้องถิ่นในวันนี้ จะยังประโยชน์ให้กับทุกคนทุกฝ่าย ให้นำกลับไปพิจารณาทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของรัฐบาลจะน้อมรับความคิดเห็นทั้งหลาย รวมทั้งคำถามต่าง ๆ ที่มีข้อคิดเห็นอยู่ด้วย และสิ่งที่ได้จากการสัมมนาในช่วงบ่าย ไปประกอบการพิจารณาที่จะช่วยให้รัฐบาลทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ไม่นานนัก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะต้องปิดงานและเตรียมส่งมอบงานให้กับผู้ที่จะมารับผิดชอบต่อไป
ทั้งนี้ โครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ได้ดำเนินการมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1เป็นการสัมมนาสื่อมวลชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รวม 7 จังหวัด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2550 ที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2 เป็นการสัมมนาสื่อมวลชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวม 8 จังหวัด เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550 ที่จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 3 เป็นการสัมมนาสื่อมวลชนภาคกลางและภาคตะวันตก รวม 16 จังหวัด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ที่จังหวัดกาญจนบุรี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น. นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เดินทางไปพบปะกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ มุกดาหาร และนครพนม) รวม 9 จังหวัด เพื่อชี้แจง “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ “นโยบายการบริหารงานที่สำคัญของรัฐบาล” ในโครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ครั้งที่ 4 ณ โรงแรมอุบลบุรี รีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายวรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายอุทิศ ขาวเธียร รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ตรวจราชการกระทรวง โฆษกกระทรวงต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ 427 คน โครงการ “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” จัดโดย สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ และคณะโฆษกกระทรวง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบเข้าใจนโยบายและแนวทางการบริหารงานของรัฐบาลอย่างถูกต้องชัดเจน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจน และมีคุณภาพจากสื่อมวลชนด้วย
ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวรายงานโดยสรุปว่า โครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของสำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ และคณะโฆษกกระทรวง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สื่อมวลชนท้องถิ่นได้รับทราบและเข้าใจนโยบายและแนวทางการบริหารงานของรัฐบาลอย่างถูกต้องชัดเจน รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนและมีคุณภาพจากสื่อมวลชนด้วย นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลจะได้รับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชน ซึ่งเป็นปากเสียงของพี่น้องประชาชนในแต่ละภูมิภาคที่สะท้อนความต้องการและความคิดเห็นของประชาชนมายังรัฐบาล โครงการ “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” จึงเป็นกระบวนการสื่อสารสองทาง ที่ทำให้รัฐบาลได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการบริหารประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของพี่น้องประชาชน และส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของรัฐบาล อีกทั้งยังเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับสื่อมวลชนในการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ภายหลังจากเสร็จสิ้นการสัมมนาในวันนี้แล้ว คณะผู้จัดการสัมมนาจะรวบรวมและสรุปผล รวมทั้งข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ที่ได้จากการสัมมนากราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อสรุปที่เกิดจากการสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนต่อไป
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการชี้แจงและสร้างความเข้าใจนโยบายของรัฐบาลในเรื่อง “ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มีสาระสำคัญว่า การดำเนินโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่รัฐบาลได้ดำเนินการมาถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ดำเนินโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งได้ดำเนินการมาใน 2 ระยะแล้ว ในระยะ แรกใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่ได้ดำเนินการไปแล้วโดยโครงการทั้งหลายอยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับในระยะที่สองมีงบประมาณอีก 2,000 ล้านบาท ซึ่งก็ได้ดำเนินการไปแล้วเช่นเดียวกัน งบประมาณส่วนใหญ่ได้กระจายลงไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งยังอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามโครงการที่ได้ตกลงร่วมกันระหว่างส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนภูมิภาค กำนันผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอ และผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการจังหวัด โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เป็นพื้นที่ที่ดำเนินโครงการนี้เช่นกัน
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีแต่ละคน เดินทางลงพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เพื่อติดตามดูแลโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ให้รับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินการด้วยตัวเอง ทั้งนี้ รัฐบาลได้ริเริ่มโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ปี 2550 ขึ้นเพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ และเนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องในปี 2551 ในงบประมาณ 15,000 ล้านบาท ซึ่งจะได้มีการจัดสรรไปตามจังหวัดต่าง ๆ ตามสูตรที่คล้ายคลึงกับปี 2550 ที่จะพิจารณาจากจำนวนประชากร สภาพปัญหาต่าง ๆ ประกอบกัน ฉะนั้นแต่ละจังหวัดจะได้รับงบประมาณที่แตกต่างกันไป สำหรับในปี 2551 นี้จะได้มีการปรับปรุงโครงการอยู่ดีมีสุข การจัดประเภทของโครงการ ให้มีความกระชับชัดเจน มีความสะดวกในการดำเนินงานและให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น
จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนท้องถิ่นผู้เข้าร่วมการสัมมนา ได้นำเสนอข้อซักถามในประเด็นต่าง ๆ เช่น การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย — ลาว แห่งที่ 3 ที่จังหวัดนครพนม การขยายเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางรถไฟ ไปจังหวัดนครพนม ยโสธร ตัวชี้วัดโครงการอยู่ดีมีสุขอย่างเป็นรูปธรรม บทบาทของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการอยู่ดีมีสุข แนวทางการดำเนินงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน ทิศทางการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชน การกำหนดให้การรักษาทรัพยากรธรรมชาติพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดเป็นตัวชี้วัดการดำเนินงานของจังหวัด การแก้ไขปัญหาเรื่องช้างให้เป็นยุทธศาสตร์ของชาติ ขอให้รัฐบาลช่วยผลักดันวิทยุชุมชนให้เป็นวิทยุอาชีพ การแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดน การแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ขอให้มีการผ่อนคลายกฎระเบียบการเข้า - ออกบริเวณแนวชายแดนด่านช่องเม็กให้เป็นฟรีโซน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณดังกล่าวที่ซบเซาลงอย่างมาก เป็นต้น
ในตอนท้าย รองนายกรัฐมนตรีฯได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนท้องถิ่นและผู้เข้าร่วมสัมมนาว่า ขอขอบคุณสื่อมวลชนท้องถิ่นทุกคนที่ได้มาร่วมกิจกรรมรัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น ครั้งที่ 4 โดยขอชื่นชมการคิด การถาม การแสดงความคิดเห็นของผู้แทนสื่อมวลชนทุกคนที่มีสาระความลึก ความคมคายและศิลปะผสมผสานอยู่ในตัว โดยจากการที่ได้พูดคุยกันในวันนี้ทำให้ได้รับทราบภูมิหลัง ข้อมูลและความคิดจากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งจากรัฐบาลซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรี ผู้ที่ทำหน้าที่ในฐานะหัวหน้าหรือตัวแทนหน่วยงานต่าง ๆ ฝ่ายสื่อมวลชน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ซึ่งเรื่องหลักที่ได้หารือกันคือโครงการอยู่ดีมีสุข โดยคำว่า “อยู่ดีมีสุข” ได้ขยายความถึงโครงการมาตรการทั้งหลายที่มีผลให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันเป็นเป้าหมายร่วมกันของทุกคน ไม่ว่าจะพูดกันถึงเรื่องรัฐธรรมนูญ ระบบการคมนาคมขนส่ง การค้า การศึกษา ทุกอย่างต่างมีเป้าหมายสุดท้ายคือการอยู่ดีมีสุขหรือความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ซึ่งในการนี้ได้มีนำแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาอ้างอิงเป็นรากฐานของโครงการอยู่ดีมีสุขด้วย และภายใต้โครงการอยู่ดีมีสุขก็มีโครงการย่อยที่ใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียงอยู่อย่างชัดเจน เพราะเป็นความเชื่อและเป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลนี้ว่า การพัฒนาที่แท้จริง การพัฒนาที่จะมั่นคงยั่งยืน ควรจะอยู่บนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีว่าความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงได้แพร่กระจายไปทุกหนแห่ง มีการพูด คิด และทำกันมากทั้งที่ชัดเจนและทั้งที่เป็นการผูกโยงเข้าด้วยกัน
“ อยากขอเชิญชวนให้พวกเราพยายามมุ่งไปสู่เป้าหมายสุดท้ายคือความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของประชาชนชาวไทย และพยายามทำให้หลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่างโดยเฉพาะการร่วมกันทำ จับมือกันทำ สามัคคีกันทำ ดังพระราชดำรัส รู้ รัก สามัคคี รัฐบาลนี้เชื่อมั่นว่าแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่จะนำพาให้ประชาชนคนไทยไปสู่ความสำเร็จของการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างมั่นคงถาวร” รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าว
พร้อมกันนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่า ในปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จำนวนมากรวมทั้งประชาชนทั่วประเทศ ต่างมุ่งมั่นที่จะทำความดีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลก็มีโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษากว่า 300 โครงการ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ที่ได้มีคำขวัญร่วมกันว่า “ทำดีเพื่อพ่อ” โดยจะมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ร่วมกันทำความดีอย่างเข้มข้นเป็นพิเศษในช่วง 80 วันระหว่างวันที่ 17 กันยายน — 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งทุกกลุ่มพื้นที่ ทุกองค์กร หน่วยงานสามารถร่วมกันทำได้ ทั้งนี้ จะมีการเปิดตัวโครงการในวันที่ 16 กันยายนนี้
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวว่าการร่วมกันทำกิจกรรมรัฐบาลพบสื่อท้องถิ่นในวันนี้ จะยังประโยชน์ให้กับทุกคนทุกฝ่าย ให้นำกลับไปพิจารณาทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของรัฐบาลจะน้อมรับความคิดเห็นทั้งหลาย รวมทั้งคำถามต่าง ๆ ที่มีข้อคิดเห็นอยู่ด้วย และสิ่งที่ได้จากการสัมมนาในช่วงบ่าย ไปประกอบการพิจารณาที่จะช่วยให้รัฐบาลทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ไม่นานนัก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จะต้องปิดงานและเตรียมส่งมอบงานให้กับผู้ที่จะมารับผิดชอบต่อไป
ทั้งนี้ โครงการสัมมนา “รัฐบาลพบสื่อท้องถิ่น” ได้ดำเนินการมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 1เป็นการสัมมนาสื่อมวลชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รวม 7 จังหวัด เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2550 ที่จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 2 เป็นการสัมมนาสื่อมวลชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวม 8 จังหวัด เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550 ที่จังหวัดเชียงใหม่ และครั้งที่ 3 เป็นการสัมมนาสื่อมวลชนภาคกลางและภาคตะวันตก รวม 16 จังหวัด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ที่จังหวัดกาญจนบุรี
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--