นายกรัฐมนตรี เปิดการประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2550 เรื่อง “ยุทธศาสตร์ใหม่ประเทศไทย” จัดโดย สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการอภิปรายด้วย
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2550 เรื่อง “ยุทธศาสตร์ใหม่ประเทศไทย”จัดโดย สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการอภิปรายด้วย
นายโคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า การสัมมนาฯ ครั้งนี้ถือเป็นการจัดสัมมนาวิชาการประจำปีครั้งแรกของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ชุดที่ 2 ทั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศของเรา เพื่อรวบรวมความเห็นสะท้อนไปสู่คณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมการเลือกตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะได้ระดมความเห็นในเรื่องยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลปัจจุบัน พร้อมทั้งเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายของการพัฒนาประเทศสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ต่อไปอีกด้วย
การประชุมสัมมนาในภาคเช้า เป็นการอภิปรายและระดมความคิดเห็นในหัวข้อหลัก ๆ 6 หัวข้อ ซึ่งประกอบด้วย 1. การพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต โดย นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี 2. ยุทธศาสตร์การเงินการคลัง โดย นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 3. การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม โดย นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากร 4. ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้โลกาภิวัตน์ โดย ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย ประธานมูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม 5. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ โดย ศ.ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 6. ภาวะเศรษฐกิจและสังคมตามแนวดัชนีชี้วัดสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและยุทธศาสตร์ใหม่ประเทศไทย โดย ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำหรับการสัมมนาฯ ในช่วงบ่ายเป็นการประชุมตามกลุ่มยุทธศาสตร์ 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินความยากจนและการกระจายรายได้ 2. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและคุณภาพชีวิต และ 5. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยจะมีการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มและปิดการสัมมนาในวันพรุ่งนี้
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการสัมมนาฯ ว่า รัฐบาลชุดนี้ แม้จะมีเวลาในการบริหารประเทศไม่นานนัก แต่ได้พยายามวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้รัฐบาลชุดต่อไปสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน และถึงแม้รัฐบาลนี้จะหมดภาระหน้าที่ไปแล้ว แต่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังอยู่ จึงสามารถทำหน้าที่ให้คำปรึกษาที่ดีต่อไปได้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงปัญหาของประเทศในขณะนี้ว่า เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันฝ่าฟันผ่านไปให้ได้ ซึ่งมีอยู่หลายเรื่อง อาทิ ปัญหาความยากจน การกระจายรายได้ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่า ควรจะมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนชื่อเป็น “สภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ” เพราะเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือปัญหาของคนถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง หลายประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้า ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อให้ทันต่อสภาวะของยุคโลกาภิวัตน์ และจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนสามารถแข่งขันในด้านต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ผลจากการประชุมเอเปคพอสรุปได้ว่า ประเทศใหญ่ ๆ หลายประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ต่างแสดงความเห็นว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ควรจะได้มีการลดการกีดกันทางการค้าลง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับผลดีทางด้านเกษตร โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตร ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีศักยภาพ มีความรู้ และมีการขยายตลาดทางการค้าให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นย้ำว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และคำว่า “คุณภาพของคนที่ดี จะต้องมีทั้งความรู้คู่กับคุณธรรม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลจะต้องได้บุคคลที่มีคุณภาพ มีจริยธรรม และมีความสามารถในการบริหารประเทศ เพื่อนำพาชาติบ้านเมืองและประชาชนฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ไปให้ได้ ซึ่งจะทำให้การดำรงชีวิตของประชาชนมีแต่ความสงบสุข และประเทศชาติมีศักดิ์ศรี มีความสง่าอยู่ในสังคมโลก
ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีคาดหวังว่า นโยบายการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐบาลชุดต่อไป จะยังคงยืนอยู่บนผลประโยชน์ของประชาชนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความยากจน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทั้งในการพัฒนาคน และการพัฒนาประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้สามารถรับมือกับความผันผวนซึ่งคงจะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของโลก แต่ถ้าคนไทย มีภูมิคุ้มกันที่ดี ก็จะสามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ยังคงมีอยู่ต่อไปได้หากทุกคนได้มีปรับตัว ปรับภูมิคุ้มกันให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา ย่อมจะสามารถปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2550 เรื่อง “ยุทธศาสตร์ใหม่ประเทศไทย”จัดโดย สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมี นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการอภิปรายด้วย
นายโคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า การสัมมนาฯ ครั้งนี้ถือเป็นการจัดสัมมนาวิชาการประจำปีครั้งแรกของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ชุดที่ 2 ทั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศของเรา เพื่อรวบรวมความเห็นสะท้อนไปสู่คณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมการเลือกตั้ง ซึ่งจะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะได้ระดมความเห็นในเรื่องยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาประเทศ เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลปัจจุบัน พร้อมทั้งเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายของการพัฒนาประเทศสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ต่อไปอีกด้วย
การประชุมสัมมนาในภาคเช้า เป็นการอภิปรายและระดมความคิดเห็นในหัวข้อหลัก ๆ 6 หัวข้อ ซึ่งประกอบด้วย 1. การพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต โดย นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี 2. ยุทธศาสตร์การเงินการคลัง โดย นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 3. การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม โดย นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากร 4. ยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้โลกาภิวัตน์ โดย ท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย ประธานมูลนิธิธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม 5. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ โดย ศ.ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 6. ภาวะเศรษฐกิจและสังคมตามแนวดัชนีชี้วัดสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและยุทธศาสตร์ใหม่ประเทศไทย โดย ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำหรับการสัมมนาฯ ในช่วงบ่ายเป็นการประชุมตามกลุ่มยุทธศาสตร์ 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาหนี้สินความยากจนและการกระจายรายได้ 2. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและคุณภาพชีวิต และ 5. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม บรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยจะมีการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มและปิดการสัมมนาในวันพรุ่งนี้
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการสัมมนาฯ ว่า รัฐบาลชุดนี้ แม้จะมีเวลาในการบริหารประเทศไม่นานนัก แต่ได้พยายามวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้รัฐบาลชุดต่อไปสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน และถึงแม้รัฐบาลนี้จะหมดภาระหน้าที่ไปแล้ว แต่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังอยู่ จึงสามารถทำหน้าที่ให้คำปรึกษาที่ดีต่อไปได้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงปัญหาของประเทศในขณะนี้ว่า เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันฝ่าฟันผ่านไปให้ได้ ซึ่งมีอยู่หลายเรื่อง อาทิ ปัญหาความยากจน การกระจายรายได้ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชื่อของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่า ควรจะมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนชื่อเป็น “สภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ” เพราะเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือปัญหาของคนถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง หลายประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้า ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อให้ทันต่อสภาวะของยุคโลกาภิวัตน์ และจะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนสามารถแข่งขันในด้านต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ผลจากการประชุมเอเปคพอสรุปได้ว่า ประเทศใหญ่ ๆ หลายประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ต่างแสดงความเห็นว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ควรจะได้มีการลดการกีดกันทางการค้าลง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้รับผลดีทางด้านเกษตร โดยเฉพาะราคาพืชผลทางการเกษตร ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีศักยภาพ มีความรู้ และมีการขยายตลาดทางการค้าให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
นายกรัฐมนตรีกล่าวเน้นย้ำว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และคำว่า “คุณภาพของคนที่ดี จะต้องมีทั้งความรู้คู่กับคุณธรรม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลจะต้องได้บุคคลที่มีคุณภาพ มีจริยธรรม และมีความสามารถในการบริหารประเทศ เพื่อนำพาชาติบ้านเมืองและประชาชนฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ไปให้ได้ ซึ่งจะทำให้การดำรงชีวิตของประชาชนมีแต่ความสงบสุข และประเทศชาติมีศักดิ์ศรี มีความสง่าอยู่ในสังคมโลก
ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีคาดหวังว่า นโยบายการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐบาลชุดต่อไป จะยังคงยืนอยู่บนผลประโยชน์ของประชาชนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความยากจน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายทั้งในการพัฒนาคน และการพัฒนาประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสร้างรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้สามารถรับมือกับความผันผวนซึ่งคงจะเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจของโลก แต่ถ้าคนไทย มีภูมิคุ้มกันที่ดี ก็จะสามารถเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ยังคงมีอยู่ต่อไปได้หากทุกคนได้มีปรับตัว ปรับภูมิคุ้มกันให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา ย่อมจะสามารถปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--