นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชน โดยภาคเอกชนขอให้รัฐบาลดำเนินโครงการโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชน สรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลมาโดยตลอด ซึ่งส่งผลให้มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า และเป็นแนวทางให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานผลการดำเนินมาตรการด้านเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญในปี 2550 ดังนี้ ปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการผลักดันเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) การสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคเอกชนเกี่ยวกับเรื่องการนำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านกลไกของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย รายจ่ายประจำ และงบประมาณแผ่นดินที่เกี่ยวกับการลงทุนในโครงการพื้นฐานต่างๆ เช่น ทางรถไฟทางคู่ ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร (2) การสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคเอกชนเกี่ยวกับเรื่องของการบริหารเศรษฐกิจมหภาค เช่น การดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพผ่านมาตรการต่างๆ (3) การปรับตัวของธุรกิจและอุตสาหกรรมรายสาขา ผ่านการปรับกฎระเบียบของภาครัฐ เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
นอกจากนี้ ในปี 2550 รัฐบาลได้มีมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี 2551 ความต้องการใช้พลังงานจะสูงขึ้น จึงต้องคำนึงถึงการแบ่งสรรทรัพยากรในสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น น้ำมันปาล์ม ซึ่งมีการใช้ทั้งในการบริโภคและพลังงาน สำหรับการดำเนินการในเรื่องโลจิสติกส์ ภาคเอกชนขอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นภาคต้นทุนของภาคธุรกิจ ซึ่ง สศช. จะจัดตั้งสำนักงานเพื่อประสานงานด้านแผนงานและการปฏิบัติงาน รวมทั้งการดำเนินการในเรื่องการเร่งรัดโครงการต่างๆ ของภาครัฐ เช่น การจัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาใหม่ ซึ่ง สศช. ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาความเป็นได้ในการใช้พื้นที่ภาคใต้เป็นฐานรองรับเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบด้วย ปัจจัยภายนอก คือ ราคาน้ำมัน ปัญหา sub prime ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และปัจจัยภายในประเทศ คือ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ ภาคเอกชนได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ Southern Seaboard และการดำเนินการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ โดยขอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายระยะเวลาการใช้เงินกองทุนช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท วงเงิน 5,000 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2550 ออกไปเป็นเดือนธันวาคม 2551 ทั้งนี้ สศช. จะเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการสรุปแนวทางดังกล่าวเพื่อนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 14.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชน สรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลมาโดยตลอด ซึ่งส่งผลให้มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า และเป็นแนวทางให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานผลการดำเนินมาตรการด้านเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญในปี 2550 ดังนี้ ปัจจัยที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการผลักดันเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) การสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคเอกชนเกี่ยวกับเรื่องการนำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ผ่านกลไกของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย รายจ่ายประจำ และงบประมาณแผ่นดินที่เกี่ยวกับการลงทุนในโครงการพื้นฐานต่างๆ เช่น ทางรถไฟทางคู่ ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร (2) การสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคเอกชนเกี่ยวกับเรื่องของการบริหารเศรษฐกิจมหภาค เช่น การดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพผ่านมาตรการต่างๆ (3) การปรับตัวของธุรกิจและอุตสาหกรรมรายสาขา ผ่านการปรับกฎระเบียบของภาครัฐ เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
นอกจากนี้ ในปี 2550 รัฐบาลได้มีมาตรการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี 2551 ความต้องการใช้พลังงานจะสูงขึ้น จึงต้องคำนึงถึงการแบ่งสรรทรัพยากรในสัดส่วนที่เหมาะสม เช่น น้ำมันปาล์ม ซึ่งมีการใช้ทั้งในการบริโภคและพลังงาน สำหรับการดำเนินการในเรื่องโลจิสติกส์ ภาคเอกชนขอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นภาคต้นทุนของภาคธุรกิจ ซึ่ง สศช. จะจัดตั้งสำนักงานเพื่อประสานงานด้านแผนงานและการปฏิบัติงาน รวมทั้งการดำเนินการในเรื่องการเร่งรัดโครงการต่างๆ ของภาครัฐ เช่น การจัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาใหม่ ซึ่ง สศช. ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาความเป็นได้ในการใช้พื้นที่ภาคใต้เป็นฐานรองรับเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบด้วย ปัจจัยภายนอก คือ ราคาน้ำมัน ปัญหา sub prime ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และปัจจัยภายในประเทศ คือ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ ภาคเอกชนได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ Southern Seaboard และการดำเนินการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ โดยขอให้รัฐบาลดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายระยะเวลาการใช้เงินกองทุนช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท วงเงิน 5,000 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2550 ออกไปเป็นเดือนธันวาคม 2551 ทั้งนี้ สศช. จะเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการสรุปแนวทางดังกล่าวเพื่อนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--