นายกรัฐมนตรีระบุหลายหน่วยงานยังมีข้อท้วงติงร่าง พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ครม. จึงได้แนบท้ายข้อท้วงติงต่าง ๆ เพื่อส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณา
วันนี้ เวลา 07.45 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่หลายหน่วยงานคัดค้านร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ) แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ..... ว่า ต้องยอมรับว่ามีหลายหน่วยงานที่มีข้อท้วงติงในร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว จึงได้มีการแนบท้ายข้อท้วงติงเหล่านี้ไปพร้อมกับร่าง พ.ร.ฎ. เพื่อส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณา ก็ถือเป็นข้อสังเกตและข้อคิดเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ เนื่องจากเป็นเรื่องรายละเอียดที่หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องร่วมกันพิจารณา
ต่อข้อถามว่า จะส่งผลกระทบต่อร่าง พ.ร.ฎ. ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงมีผลกระทบ เพราะต้องมีการไปพิจารณาร่วมกัน และอาจจะต้องมีการปรับแก้ หลังจากนั้นคงจะส่งกลับมาให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ทราบดีว่าหลายหน่วยงานไม่เห็นด้วย และท้วงติงในร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เพราะเห็นว่าน่าจะมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องการจัดองค์กรของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมคณะรัฐมนตรีชุดนี้ต้องรีบผ่านร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าวนั้น ขอเรียนว่าเป็นไปตามหลักการเท่านั้น เพราะจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรวมส่วนงานของตำรวจ ทั้งตำรวจทางหลวง ตำรวจป่าไม้ ซึ่งมีส่วนที่จะต้องไปทำงานในสายการบังคับบัญชาร่วมกับทางตำรวจภูธรภาค เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ต่อข้อถามว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้ข้อสังเกตว่าบางหน่วยงานที่เพิ่มมีความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องซ้ำแน่ แต่ต้องมีการพิจารณาในรายละเอียด ซึ่งทาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 07.45 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่หลายหน่วยงานคัดค้านร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ) แบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ..... ว่า ต้องยอมรับว่ามีหลายหน่วยงานที่มีข้อท้วงติงในร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว จึงได้มีการแนบท้ายข้อท้วงติงเหล่านี้ไปพร้อมกับร่าง พ.ร.ฎ. เพื่อส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณา ก็ถือเป็นข้อสังเกตและข้อคิดเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ เนื่องจากเป็นเรื่องรายละเอียดที่หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องร่วมกันพิจารณา
ต่อข้อถามว่า จะส่งผลกระทบต่อร่าง พ.ร.ฎ. ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงมีผลกระทบ เพราะต้องมีการไปพิจารณาร่วมกัน และอาจจะต้องมีการปรับแก้ หลังจากนั้นคงจะส่งกลับมาให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ทราบดีว่าหลายหน่วยงานไม่เห็นด้วย และท้วงติงในร่าง พ.ร.ฎ.ดังกล่าว เพราะเห็นว่าน่าจะมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องการจัดองค์กรของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมคณะรัฐมนตรีชุดนี้ต้องรีบผ่านร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าวนั้น ขอเรียนว่าเป็นไปตามหลักการเท่านั้น เพราะจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรวมส่วนงานของตำรวจ ทั้งตำรวจทางหลวง ตำรวจป่าไม้ ซึ่งมีส่วนที่จะต้องไปทำงานในสายการบังคับบัญชาร่วมกับทางตำรวจภูธรภาค เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ต่อข้อถามว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้ข้อสังเกตว่าบางหน่วยงานที่เพิ่มมีความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องซ้ำแน่ แต่ต้องมีการพิจารณาในรายละเอียด ซึ่งทาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องไปชี้แจงต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--