นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยเศษสตางค์ว่า เจตนาต้องการให้เทียบเคียงประเทศที่ยังเก็บเศษสตางค์ไว้ได้กับประเทศเรา เพราะหากนำเศษสตางค์มาใช้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องราคาสินค้าได้
วันนี้ เวลา 10.50 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยเศษสตางค์ว่า เจตนาต้องการให้เทียบเคียงดูประเทศที่ยังเก็บเศษสตางค์ไว้ได้กับประเทศเรา เพราะปัจจุบันราคาสินค้ามีการขึ้นแบบกระโดดไป หากมีการนำเศษสตางค์ซึ่งคือเหรียญบาท เหรียญห้า และเหรียญสิบมาใช้ ก็อาจจะพอแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยยกตัวอย่าง ข้าวแกงราคา 20 บาท ถ้าขึ้นราคา 5 เปอร์เซ็นต์ คือ 21 บาท จะขึ้นได้ 5 ครั้ง เท่ากับเราขึ้นครั้งเดียว และถ้าแม่ค้าขายได้ 100 จาน ก็จะได้ 100 บาท ซื้อของแพง 50 บาท ก็จะได้กำไร 50 บาท ซึ่งนำไปซื้อของอย่างอื่นได้อีก ส่วนเหรียญ 50 สตางค์ และเหรียญ 25 สตางค์ นั้น และโดยส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะต้องผลิตเหรียญเพิ่ม เพราะคงไม่มีใครจะนำเหรียญราคา 50 และ 25 สตางค์ มาใช้ แต่ในซูปเปอร์มาเก็ต คำว่าใช้ หมายถึงใช้ในการคิดคำนวณเท่านั้น พร้อมกล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่าไม่ได้ขอร้องเรื่องเหรียญ 50 และ 25 สตางค์ แต่ขอในเรื่องของเหรียญบาท ซึ่งเป็นเหรียญที่เล็กที่สุดที่เราควรจะเก็บไว้ เพราะถ้ามีการขึ้นราคาอาหารครั้งละ 5 เปอร์เซ็นต์ ก็นับว่าดี และขณะนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกำลังดูแลและเจรจาเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับต้นทุนในการกำหนดราคาสินค้าแล้ว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ยกตัวอย่าง ราคาหมู ที่ต้นทางกิโลกรัมละ 3 บาท แต่ปลายทางขึ้นกิโลกรัมละ 20 บาท นั้น จะต้องมีการตรวจสอบกันว่าราคาต้นทุน 3 บาท ควรจะเป็นราคา 5 บาทหรือ 8 บาท เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค และกล่าวยืนยันว่าในต่างประเทศได้มีการนำเศษสตางค์มาใช้ โดยเขายอมขาดทุนเล็กน้อย เพื่อรักษาให้เหรียญคงอยู่ แต่ของเราคิดให้เหรียญโตมานิดหนึ่งเป็นเหรียญ 2 บาท ทำให้ยุงยาก ทั้งนี้ควรจะคิดดูว่าจะทำอย่างไรให้มูลค่าเหรียญบาทมีมูลค่าหนึ่งบาท ซึ่งไม่ใช่วิชาเศรษฐกิจหรือเศรษฐศาสตร์อะไร แต่เป็นข้อคิดจากประสบการณ์ที่เห็นมา 40 ปี
พร้อมทั้งได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ขาย ผู้บริโภค ตลอดจนผู้ที่มีหน้าที่กำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายตัวเงินรวมมือกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการบริโภคและการจับจ่ายซื้อขาย ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายนั่นเอง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.50 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยเศษสตางค์ว่า เจตนาต้องการให้เทียบเคียงดูประเทศที่ยังเก็บเศษสตางค์ไว้ได้กับประเทศเรา เพราะปัจจุบันราคาสินค้ามีการขึ้นแบบกระโดดไป หากมีการนำเศษสตางค์ซึ่งคือเหรียญบาท เหรียญห้า และเหรียญสิบมาใช้ ก็อาจจะพอแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยยกตัวอย่าง ข้าวแกงราคา 20 บาท ถ้าขึ้นราคา 5 เปอร์เซ็นต์ คือ 21 บาท จะขึ้นได้ 5 ครั้ง เท่ากับเราขึ้นครั้งเดียว และถ้าแม่ค้าขายได้ 100 จาน ก็จะได้ 100 บาท ซื้อของแพง 50 บาท ก็จะได้กำไร 50 บาท ซึ่งนำไปซื้อของอย่างอื่นได้อีก ส่วนเหรียญ 50 สตางค์ และเหรียญ 25 สตางค์ นั้น และโดยส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะต้องผลิตเหรียญเพิ่ม เพราะคงไม่มีใครจะนำเหรียญราคา 50 และ 25 สตางค์ มาใช้ แต่ในซูปเปอร์มาเก็ต คำว่าใช้ หมายถึงใช้ในการคิดคำนวณเท่านั้น พร้อมกล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่าไม่ได้ขอร้องเรื่องเหรียญ 50 และ 25 สตางค์ แต่ขอในเรื่องของเหรียญบาท ซึ่งเป็นเหรียญที่เล็กที่สุดที่เราควรจะเก็บไว้ เพราะถ้ามีการขึ้นราคาอาหารครั้งละ 5 เปอร์เซ็นต์ ก็นับว่าดี และขณะนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกำลังดูแลและเจรจาเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับต้นทุนในการกำหนดราคาสินค้าแล้ว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ยกตัวอย่าง ราคาหมู ที่ต้นทางกิโลกรัมละ 3 บาท แต่ปลายทางขึ้นกิโลกรัมละ 20 บาท นั้น จะต้องมีการตรวจสอบกันว่าราคาต้นทุน 3 บาท ควรจะเป็นราคา 5 บาทหรือ 8 บาท เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค และกล่าวยืนยันว่าในต่างประเทศได้มีการนำเศษสตางค์มาใช้ โดยเขายอมขาดทุนเล็กน้อย เพื่อรักษาให้เหรียญคงอยู่ แต่ของเราคิดให้เหรียญโตมานิดหนึ่งเป็นเหรียญ 2 บาท ทำให้ยุงยาก ทั้งนี้ควรจะคิดดูว่าจะทำอย่างไรให้มูลค่าเหรียญบาทมีมูลค่าหนึ่งบาท ซึ่งไม่ใช่วิชาเศรษฐกิจหรือเศรษฐศาสตร์อะไร แต่เป็นข้อคิดจากประสบการณ์ที่เห็นมา 40 ปี
พร้อมทั้งได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ขาย ผู้บริโภค ตลอดจนผู้ที่มีหน้าที่กำหนดเรื่องค่าใช้จ่ายตัวเงินรวมมือกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการบริโภคและการจับจ่ายซื้อขาย ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายนั่นเอง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--