วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์แก่คณะสื่อมวลชนญี่ปุ่นที่เดินทางมาจากประเทศญี่ปุ่นและสำนักข่าวญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น และกล่าวว่า ไม่เคยมีโอกาสต้อนรับผู้สื่อข่าวจากประเทศเดียวที่มีจำนวนเยอะเท่านี้มาก่อน เห็นได้ชัดว่า ไทยกับญี่ปุนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมาก ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเข้ามารับตำแหน่ง เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะและแสดงท่าทีของญี่ปุ่นที่จะสานต่อความร่วมมือต่างๆที่เคยชะงักงันเป็นเวลากว่า 1 ปี ต่อมา นายกรัฐมนตรีมีโอกาสต้อนรับคณะนักธุรกิจจากสมาพันธ์ธุรกิจคันไซจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อสานต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจ และในวันนี้ นายกรัฐมนตรีก็มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับคณะผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น
ในโอกาสนี้ นายYasuro Nakai หัวหน้าคณะผู้สื่อข่าว จากสำนักข่าว Yomiuri Shimbun ได้เป็นตัวแทนกล่าวสวัสดีและขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้โอกาสและเวลาแก่คณะผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นครั้งนี้ พร้อมกับกล่าวว่า สมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น Japan National Press Club ได้จัดการเดินทางมาเยือนประเทศในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นครั้งที่ 7 แล้ว จึงมีความคุ้นเคยกับประเทศไทยและสังเกตเห็นถึงการพัฒนาการของประเทศได้อย่างชัดเจนด้วย อย่างไรก็ดี ในโอกาสนี้ ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย ผ่านนายกรัฐมนตรี และขอเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นสอบถามคำถามในหลายประเด็น ดังนี้
ในโอกาสแรก ผู้สื่อข่าวได้ถามคำถามเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย ญี่ปุ่น ผู้สื่อข่าว ถามว่า นายกรัฐมนตรีเคยกล่าวถึงการเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นในหลายโอกาส ไม่ทราบว่า นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเมื่อไหร่ และ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนประเทศใดเป็นประเทศแรก
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยมีธรรมเนียมที่ต้องเดินทางไปเยือนประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ชาติก่อน เพื่อแนะนำตนเอง ซึ่งภายหลังจากการเยือนดังกล่าวนายกรัฐมนตรีประสงค์ที่จะไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก เนื่องจากทราบมาว่า Neikei จะจัดการสัมมนาใหญ่ และจะเชิญผู้นำชาติต่างๆไปกล่าวสุนทรพจน์ อาทิ ประธานาธิบดีเกาหลี ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นายลีกวนยู รวมทั้งนายกรัฐมนตรีเองด้วย นายกรัฐมนตรีจึงคงไปเยือนในโอกาสนั้น
อย่างไรก็ดี คณะผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจสอบถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเมืองภายในของไทยเกี่ยวกับการเดินทางกลับไทยของอดีตนายกรัฐมนตรีและการได้รับใบแดงของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีตอบข้อซักถามกรณีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางกลับประเทศไทยว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีข่าวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางกลับเมืองไทย เพื่อกลับมาขึ้นศาลพร้อมภรรยา แต่ไม่ได้มีการหารือกันในเรื่องนี้เป็นส่วนตัว รัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องนี้ โดยจะให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีรู้สึกยินดีที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรจะเดินทางกลับซึ่งในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาได้มีการติดต่อกัน 4-5 ครั้ง
สำหรับการกรณีที่นายยงยุทธ ติยะไพรัชได้รับใบแดงนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติที่ผ่านมาและนายยงยุทธเป็นเหยื่อของการเลือกตั้งเพื่อล้มพรรคพลังประชาชน อย่างไรก็ดี นายยงยุทธยังมีสิทธิได้ชี้แจงเหตุผลต่อศาล และเรื่องนี้กระทบการเทือนต่อความรู้สึกของนักการเมือง แต่จะไม่มีผลต่อการบริหารงานของรัฐบาล
สำหรับประเด็นความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นมีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และได้สอบถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศในภูมิภาค และบทบาทของญี่ปุ่นต่อการพัฒนาประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ระหว่างการประชุมเตรียมการเพื่อเดินทางเยือนประเทศลาวที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า น่าจะให้ประเทศญี่ปุ่นเข้าส่วนร่วมในการประชุม GMS ด้วย และสำหรับการประชุม GMS ที่จะถึงนี้ นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า น่าจะมีความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทางรถยนต์ เนื่องจากหากลองสำรวจเส้นทางทางรถยนต์ จากประเทศไทย ผ่านจังหวัดตาก ออกไปทางมันดาเล เชียงตุง หลวงพระบาง เดียงเมียนฟุ ฮานอย ไฮฟอง โฮจิมิน พนมเปญ เสียมเรียบ ศรีโสภณ แล้วมากลับมาที่พัทยาหรือกรุงเทพก็ได้ ซึ่งถ้าเขียนออกมาแล้ว จะเป็นรูปวงกลม ผ่าน 6 ประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ประเทศผู้ค้ารถยนต์ น่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาทางหลวงเชื่อมเมืองต่างๆ เพื่อเชื่อมสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 6 ประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีบริษัทที่ชำนาญการสร้างทางหลวง 10 บริษัท ซึ่งขณะนี้ ไม่มีงานทำ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเสนอให้ญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังเห็นว่า การพัฒนาเรื่องน้ำในภูมิภาคเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งญี่ปุ่นเคยให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาเรื่องน้ำแก่ลาวและกัมพูชา จำนวน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศไทยเองก็ให้เงินช่วยเหลือ 800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของ GDP เพื่อพัฒนาในเรื่องนี้
ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นกล่าวเกี่ยวกับ ผลการสำรวจว่าไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียได้มองประเทศไทยเป็นแบบอย่าง ไทยจะรักษาสถานภาพของตนเองในฐานะประเทศอุตสาหกรรมได้อย่างไร
นายกรัฐมนตรีแสดงความชื่นชมญี่ปุ่นที่มองประเทศไทยในทางที่ดี สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยได้เริ่มขึ้นเมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว โดยได้มีการตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ จำนวน 10 โรง และได้มีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น จนในปัจจุบัน ร้อยละ 80-90 ของชิ้นส่วนรถยนต์ประเทศไทยสามารถผลิตได้เอง บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นอันดับหนึ่งที่มาลงทุนในไทยคือ โตโยต้า รองลงมาคือ ฮอนด้า นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าคนไทยมีความซื่อสัตย์ต่อชาวต่างชาติที่มาลงทุนในไทย และมีความตั้งใจทำงานร่วมกัน แม้ว่า บางประเทศจะไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตให้ก็ตาม เช่น อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ แต่ในที่สุดไทยก็สามารถผลิตและประกอบได้เอง และนายกรัฐมนตรีได้แสดงความคิดเห็นว่า ชาวต่างชาตินิยมมาลงทุนในไทยเพราะที่นี่มีความสะดวกสบาย อาหารไม่แพง ค่าแรงไม่แพง การกินดีอยู่ดี และมีสถานที่พักผ่อน
ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นได้สอบถามนโยบายส่งเสริมการลงทุนของไทย เพราะช่วงเวลา 1 ปีของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา การลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ชะลอตัวลง นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยยังคงต้องการความร่วมมือ และการลงทุนจากนักธุรกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะในเรื่องสาธารณูปโภคของประเทศไทย ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยพร้อมดำเนินการโครงการต่างๆ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ใน JTEPA ทั้งนี้ ขอชื่นชมญี่ปุ่นว่า เป็นตัวอย่างของประเทศที่มีการพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นที่ยอมรับทั่วโลกในด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นคู่ค้าและ นักลงทุนอันดับ 1 ของไทย เรียกได้ว่าเป็น Most Important Economics Partner ของประเทศไทย การที่ญี่ปุ่นสนใจมาร่วมลงทุนในไทยเป็นเรื่องที่น่ายินดี และเชื่อว่าจะความสัมพันธ์ไทย ญี่ปุ่นจะเป็นไปได้ด้วยดี
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีมีความยินดีที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ซึ่งในโอกาสนี้ คณะสื่อมวลชนญี่ปุ่นกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรู้สึกยินดีที่ไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทีดีต่อกันในทุกระดับและญี่ปุ่นยินดีต้อนรับนายกรัฐมนตรีและหากนายกรัฐมนตรีสามารถเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นได้ สมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นจะขอเชิญนายกรัฐมนตรีไปกล่าวสุนทรพจน์ที่สมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น และกล่าวว่า ไม่เคยมีโอกาสต้อนรับผู้สื่อข่าวจากประเทศเดียวที่มีจำนวนเยอะเท่านี้มาก่อน เห็นได้ชัดว่า ไทยกับญี่ปุนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมาก ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเข้ามารับตำแหน่ง เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะและแสดงท่าทีของญี่ปุ่นที่จะสานต่อความร่วมมือต่างๆที่เคยชะงักงันเป็นเวลากว่า 1 ปี ต่อมา นายกรัฐมนตรีมีโอกาสต้อนรับคณะนักธุรกิจจากสมาพันธ์ธุรกิจคันไซจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อสานต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจ และในวันนี้ นายกรัฐมนตรีก็มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับคณะผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น
ในโอกาสนี้ นายYasuro Nakai หัวหน้าคณะผู้สื่อข่าว จากสำนักข่าว Yomiuri Shimbun ได้เป็นตัวแทนกล่าวสวัสดีและขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่ให้โอกาสและเวลาแก่คณะผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นครั้งนี้ พร้อมกับกล่าวว่า สมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่น Japan National Press Club ได้จัดการเดินทางมาเยือนประเทศในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นครั้งที่ 7 แล้ว จึงมีความคุ้นเคยกับประเทศไทยและสังเกตเห็นถึงการพัฒนาการของประเทศได้อย่างชัดเจนด้วย อย่างไรก็ดี ในโอกาสนี้ ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย ผ่านนายกรัฐมนตรี และขอเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นสอบถามคำถามในหลายประเด็น ดังนี้
ในโอกาสแรก ผู้สื่อข่าวได้ถามคำถามเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย ญี่ปุ่น ผู้สื่อข่าว ถามว่า นายกรัฐมนตรีเคยกล่าวถึงการเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นในหลายโอกาส ไม่ทราบว่า นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเมื่อไหร่ และ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนประเทศใดเป็นประเทศแรก
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยมีธรรมเนียมที่ต้องเดินทางไปเยือนประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ชาติก่อน เพื่อแนะนำตนเอง ซึ่งภายหลังจากการเยือนดังกล่าวนายกรัฐมนตรีประสงค์ที่จะไปเยือนประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก เนื่องจากทราบมาว่า Neikei จะจัดการสัมมนาใหญ่ และจะเชิญผู้นำชาติต่างๆไปกล่าวสุนทรพจน์ อาทิ ประธานาธิบดีเกาหลี ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นายลีกวนยู รวมทั้งนายกรัฐมนตรีเองด้วย นายกรัฐมนตรีจึงคงไปเยือนในโอกาสนั้น
อย่างไรก็ดี คณะผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจสอบถามเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเมืองภายในของไทยเกี่ยวกับการเดินทางกลับไทยของอดีตนายกรัฐมนตรีและการได้รับใบแดงของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีตอบข้อซักถามกรณีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางกลับประเทศไทยว่า ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีข่าวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางกลับเมืองไทย เพื่อกลับมาขึ้นศาลพร้อมภรรยา แต่ไม่ได้มีการหารือกันในเรื่องนี้เป็นส่วนตัว รัฐบาลจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องนี้ โดยจะให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีรู้สึกยินดีที่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรจะเดินทางกลับซึ่งในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาได้มีการติดต่อกัน 4-5 ครั้ง
สำหรับการกรณีที่นายยงยุทธ ติยะไพรัชได้รับใบแดงนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติที่ผ่านมาและนายยงยุทธเป็นเหยื่อของการเลือกตั้งเพื่อล้มพรรคพลังประชาชน อย่างไรก็ดี นายยงยุทธยังมีสิทธิได้ชี้แจงเหตุผลต่อศาล และเรื่องนี้กระทบการเทือนต่อความรู้สึกของนักการเมือง แต่จะไม่มีผลต่อการบริหารงานของรัฐบาล
สำหรับประเด็นความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นมีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และได้สอบถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างไทยกับประเทศในภูมิภาค และบทบาทของญี่ปุ่นต่อการพัฒนาประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ระหว่างการประชุมเตรียมการเพื่อเดินทางเยือนประเทศลาวที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า น่าจะให้ประเทศญี่ปุ่นเข้าส่วนร่วมในการประชุม GMS ด้วย และสำหรับการประชุม GMS ที่จะถึงนี้ นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า น่าจะมีความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทางรถยนต์ เนื่องจากหากลองสำรวจเส้นทางทางรถยนต์ จากประเทศไทย ผ่านจังหวัดตาก ออกไปทางมันดาเล เชียงตุง หลวงพระบาง เดียงเมียนฟุ ฮานอย ไฮฟอง โฮจิมิน พนมเปญ เสียมเรียบ ศรีโสภณ แล้วมากลับมาที่พัทยาหรือกรุงเทพก็ได้ ซึ่งถ้าเขียนออกมาแล้ว จะเป็นรูปวงกลม ผ่าน 6 ประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่า ประเทศผู้ค้ารถยนต์ น่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาทางหลวงเชื่อมเมืองต่างๆ เพื่อเชื่อมสถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 6 ประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีบริษัทที่ชำนาญการสร้างทางหลวง 10 บริษัท ซึ่งขณะนี้ ไม่มีงานทำ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเสนอให้ญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังเห็นว่า การพัฒนาเรื่องน้ำในภูมิภาคเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งญี่ปุ่นเคยให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาเรื่องน้ำแก่ลาวและกัมพูชา จำนวน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศไทยเองก็ให้เงินช่วยเหลือ 800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของ GDP เพื่อพัฒนาในเรื่องนี้
ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นกล่าวเกี่ยวกับ ผลการสำรวจว่าไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียได้มองประเทศไทยเป็นแบบอย่าง ไทยจะรักษาสถานภาพของตนเองในฐานะประเทศอุตสาหกรรมได้อย่างไร
นายกรัฐมนตรีแสดงความชื่นชมญี่ปุ่นที่มองประเทศไทยในทางที่ดี สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยได้เริ่มขึ้นเมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว โดยได้มีการตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ จำนวน 10 โรง และได้มีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น จนในปัจจุบัน ร้อยละ 80-90 ของชิ้นส่วนรถยนต์ประเทศไทยสามารถผลิตได้เอง บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นอันดับหนึ่งที่มาลงทุนในไทยคือ โตโยต้า รองลงมาคือ ฮอนด้า นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าคนไทยมีความซื่อสัตย์ต่อชาวต่างชาติที่มาลงทุนในไทย และมีความตั้งใจทำงานร่วมกัน แม้ว่า บางประเทศจะไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตให้ก็ตาม เช่น อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ แต่ในที่สุดไทยก็สามารถผลิตและประกอบได้เอง และนายกรัฐมนตรีได้แสดงความคิดเห็นว่า ชาวต่างชาตินิยมมาลงทุนในไทยเพราะที่นี่มีความสะดวกสบาย อาหารไม่แพง ค่าแรงไม่แพง การกินดีอยู่ดี และมีสถานที่พักผ่อน
ผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นได้สอบถามนโยบายส่งเสริมการลงทุนของไทย เพราะช่วงเวลา 1 ปีของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา การลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ชะลอตัวลง นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยยังคงต้องการความร่วมมือ และการลงทุนจากนักธุรกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะในเรื่องสาธารณูปโภคของประเทศไทย ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยพร้อมดำเนินการโครงการต่างๆ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ใน JTEPA ทั้งนี้ ขอชื่นชมญี่ปุ่นว่า เป็นตัวอย่างของประเทศที่มีการพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นที่ยอมรับทั่วโลกในด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นคู่ค้าและ นักลงทุนอันดับ 1 ของไทย เรียกได้ว่าเป็น Most Important Economics Partner ของประเทศไทย การที่ญี่ปุ่นสนใจมาร่วมลงทุนในไทยเป็นเรื่องที่น่ายินดี และเชื่อว่าจะความสัมพันธ์ไทย ญี่ปุ่นจะเป็นไปได้ด้วยดี
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีมีความยินดีที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ซึ่งในโอกาสนี้ คณะสื่อมวลชนญี่ปุ่นกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรู้สึกยินดีที่ไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทีดีต่อกันในทุกระดับและญี่ปุ่นยินดีต้อนรับนายกรัฐมนตรีและหากนายกรัฐมนตรีสามารถเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นได้ สมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นจะขอเชิญนายกรัฐมนตรีไปกล่าวสุนทรพจน์ที่สมาคมผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--