นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยม สคบ. พร้อมมอบนโยบายให้ติดตามตรวจสอบธุรกิจขายตรงป้องกันปัญหาแชร์ลูกโซ่ และเน้นการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่มีฐานะยากจนเป็นหลัก
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ทำเนียบรัฐบาล นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในฐานะประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ไปตรวจเยี่ยมสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมทั้งมอบนโยบายด้านต่าง ๆ ให้แก่คณะผู้บริหาร โดยมีนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการ สคบ. นายนิโรธ เจริญประกอบ รองเลขาธิการ สคบ. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สคบ. ให้การต้อนรับ
ภายหลังการตรวจเยี่ยม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงต่อสื่อมวลชนว่า หลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลจากคณะผู้บริหาร สคบ. แล้ว ได้ฝากให้ติดตามกฎหมายที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ... ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดที่แล้วได้รับหลักการ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยได้ขอให้เลขาธิการ สคบ. ยืนยันร่างกฎหมายดังกล่าวกลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้งเพื่อจะได้ตรวจพิจารณา ก่อนจะนำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรี และส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 303 (1) บัญญัติว่ากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามมาตรา 61 วรรคสอง รัฐบาลจะต้องดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายในเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
นอกจากนี้ ในส่วนของร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ... นั้น เนื่องจากปัจจุบัน?ผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนขายตรงไว้กับ สคบ. จำนวนมาก ดังนั้น สคบ. จึงจำเป็นจะต้อง เข้าไปตรวจสอบติดตามดูว่า ผู้ผลิต ผู้ประกอบเหล่านี้มีสินค้าอยู่จริงหรือไม่ เพราะถ้าหากไม่มีสินค้าจะก่อให้เกิดปัญหาแชร์ลูกโซ่หรือแชร์ต่าง ๆในระยะยาว รวมทั้งพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ซึ่งได้ประกาศใช้แล้ว แต่ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดย สคบ. จะต้องเตรียมความพร้อมในหลายเรื่อง เพื่อให้การปฏิบัติการตามกฎหมายนั้นสามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี และมีลักษณะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในด้านนโยบายเชิงรุกที่ สคบ.ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่าน มา ในหลายเรื่อง อาทิ การติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้า การใช้กรรมวิธีไบโอพลาสติก รถยนต์มือสอง สารตะกั่วปนเปื้อนในภาชนะ ซึ่งได้ฝากให้ผู้บริหาร สคบ. ดำเนินการต่อไปโดยเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ขณะเดียวกันได้ขอให้ สคบ. ติดตามตรวจสอบกรณีการออกใบเสร็จรับเงินของ อู่ซ่อมรถว่าได้มีการแสดงรายการซ่อมรถ เช่น การเปลี่ยนอะไหล่ ให้แก่ลูกค้าตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ รวมทั้งให้ช่วยติดตามดูแลธุรกิจขายทอง ซึ่งปัจจุบันเปอร์เซ็นต์ทองคำที่ขายกันอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ประกาศไว้คืออยู่ที่ 96.5 เปอร์เซ็นต์ โดย สคบ. อาจเชิญสมาคมผู้ค้าทองคำมาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ขอให้พิจารณาจัดตั้งศูนย์ร้องเรียนของผู้บริโภคตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ที่สามารถขอความร่วมมือได้ โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถร้องเรียนมาที่ สคบ. ได้สะดวกมากขึ้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ สคบ. พิจารณาจัดกลุ่มในการคุ้มครอง ผู้บริโภค โดยอาจจำแนกเป็นผู้บริโภคที่มีฐานะดี ผู้บริโภคที่มีฐานะปานกลาง ผู้บริโภคที่มีฐานะยากจน โดยเน้นการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่มีฐานะยากจนเป็นหลัก รวมไปถึงปัญหาสังคมในขณะนี้ เช่น ปัญหาแชร์รถยนต์ แชร์ลูกโซ่ การติดตามทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เป็นต้น เพื่อหามาตรการและวิธีการที่จะดำเนินการป้องกันปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ทำเนียบรัฐบาล นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในฐานะประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ไปตรวจเยี่ยมสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมทั้งมอบนโยบายด้านต่าง ๆ ให้แก่คณะผู้บริหาร โดยมีนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการ สคบ. นายนิโรธ เจริญประกอบ รองเลขาธิการ สคบ. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ สคบ. ให้การต้อนรับ
ภายหลังการตรวจเยี่ยม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงต่อสื่อมวลชนว่า หลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลจากคณะผู้บริหาร สคบ. แล้ว ได้ฝากให้ติดตามกฎหมายที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ... ซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดที่แล้วได้รับหลักการ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยได้ขอให้เลขาธิการ สคบ. ยืนยันร่างกฎหมายดังกล่าวกลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้งเพื่อจะได้ตรวจพิจารณา ก่อนจะนำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรี และส่งให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 303 (1) บัญญัติว่ากฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามมาตรา 61 วรรคสอง รัฐบาลจะต้องดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายในเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
นอกจากนี้ ในส่วนของร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ... นั้น เนื่องจากปัจจุบัน?ผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนขายตรงไว้กับ สคบ. จำนวนมาก ดังนั้น สคบ. จึงจำเป็นจะต้อง เข้าไปตรวจสอบติดตามดูว่า ผู้ผลิต ผู้ประกอบเหล่านี้มีสินค้าอยู่จริงหรือไม่ เพราะถ้าหากไม่มีสินค้าจะก่อให้เกิดปัญหาแชร์ลูกโซ่หรือแชร์ต่าง ๆในระยะยาว รวมทั้งพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ซึ่งได้ประกาศใช้แล้ว แต่ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดย สคบ. จะต้องเตรียมความพร้อมในหลายเรื่อง เพื่อให้การปฏิบัติการตามกฎหมายนั้นสามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี และมีลักษณะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในด้านนโยบายเชิงรุกที่ สคบ.ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่าน มา ในหลายเรื่อง อาทิ การติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้า การใช้กรรมวิธีไบโอพลาสติก รถยนต์มือสอง สารตะกั่วปนเปื้อนในภาชนะ ซึ่งได้ฝากให้ผู้บริหาร สคบ. ดำเนินการต่อไปโดยเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ขณะเดียวกันได้ขอให้ สคบ. ติดตามตรวจสอบกรณีการออกใบเสร็จรับเงินของ อู่ซ่อมรถว่าได้มีการแสดงรายการซ่อมรถ เช่น การเปลี่ยนอะไหล่ ให้แก่ลูกค้าตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ รวมทั้งให้ช่วยติดตามดูแลธุรกิจขายทอง ซึ่งปัจจุบันเปอร์เซ็นต์ทองคำที่ขายกันอยู่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ประกาศไว้คืออยู่ที่ 96.5 เปอร์เซ็นต์ โดย สคบ. อาจเชิญสมาคมผู้ค้าทองคำมาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากนี้ ขอให้พิจารณาจัดตั้งศูนย์ร้องเรียนของผู้บริโภคตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ที่สามารถขอความร่วมมือได้ โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถร้องเรียนมาที่ สคบ. ได้สะดวกมากขึ้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ สคบ. พิจารณาจัดกลุ่มในการคุ้มครอง ผู้บริโภค โดยอาจจำแนกเป็นผู้บริโภคที่มีฐานะดี ผู้บริโภคที่มีฐานะปานกลาง ผู้บริโภคที่มีฐานะยากจน โดยเน้นการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่มีฐานะยากจนเป็นหลัก รวมไปถึงปัญหาสังคมในขณะนี้ เช่น ปัญหาแชร์รถยนต์ แชร์ลูกโซ่ การติดตามทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เป็นต้น เพื่อหามาตรการและวิธีการที่จะดำเนินการป้องกันปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--