นายอรรคพล สรสุชาติ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) แถลงสรุปผลการประชุมมอบนโยบายการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเน้นเรื่องการลดรายจ่ายของประชาชน เรื่องการเพิ่มรายได้ และเรื่องการหารายได้ให้แก่ประเทศ
วันนี้ เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายอรรคพล สรสุชาติ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) แถลงสรุปผลการประชุมมอบนโยบายการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้ความรับผิดชอบของ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานส่งเสริมการประชุมนานาชาติ และองค์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สรุปดังนี้
ที่ประชุมให้ความสำคัญต่อการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินใน 3 เรื่องหลัก คือ (1) เรื่องการลดรายจ่ายของประชาชน ประกอบด้วย 1.1) เรื่องการสร้างระบบประกันความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร โดยรัฐต้องเข้าไปดูแลเรื่องเบี้ยประกันและกระบวนการประกันความเสี่ยง จากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้เกษตรกรต้องสมทบการประกันความเสี่ยงและการประกันภัยพืชผล ซึ่งเป็นการประกันความเสี่ยงซ้ำซาก โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันยกร่างแผนดังกล่าว และ 1.2) เรื่องการวางระบบการถือครองที่ดินและการกำหนดเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา
(2) เรื่องการเพิ่มรายได้ โดยรัฐบาลมีนโยบายพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรที่ยากจน ซึ่งจะต้องมีการฟื้นฟูให้เกษตรกรมีศักยภาพที่จะทำมาหากินได้ก่อน เพื่อให้การดำเนินการพักหนี้เกษตรกรฯ สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด ไม่เช่นนั้นนโยบายพักหนี้เกษตรกรฯ จะเป็นการยืดระยะการชำระหนี้หรือชะลอปัญหามากกว่าที่จะเป็นการแก้ไขปัญหา ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ สศช. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปจัดทำแผนในส่วนเกี่ยวกับการฟื้นฟูให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของสถาบันการเงินของกระทรวงการคลัง พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้แก้ไขกฎหมายในส่วนของกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร เพื่อให้สามารถนำเงินกองทุนมาใช้แก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายการขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน เพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากระบบชลประทานที่ดีขึ้น ซึ่งประกอบด้วย โครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลจะดูแลในภาพรวม และโครงการระบบชลประทานขนาดเล็กที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแล โดยจะจัดทำแผนฟื้นฟูระบบชลประทานขนาดเล็ก อาทิ การฟื้นฟูแหล่งกักเก็บน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น
(3) เรื่องการหารายได้ให้แก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นนโยบายเร่งด่วนหลักที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา คือนโยบายการฟื้นความเชื่อมั่นในด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ที่ระบุให้ปี 2551-2552 เป็น "ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2551-2552" โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะจัดทำแผนการดำเนินงานภายใต้ "ปีประทับใจไทยแลนด์" ซึ่งมีหลักการคือต้องการให้นักท่องเที่ยวได้รับความประทับจากประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรณรงค์การท่องเที่ยวในเทศกาลสำคัญระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมในรายละเอียดของเทศกาลต่างๆ ของไทย อาทิ เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลการแห่เทียนพรรษา เทศกาลลอยกระทง เป็นต้น ซึ่งจะมีโครงการย่อยประมาณ 1,000 โครงการที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นควรส่งเสริมให้มีการจัดการประชุมและสัมมนาในประเทศไทย หรือ Meeting Incentive Conferences Exhibition: MICE ซึ่งจะเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่จะส่งเสริมให้มีการจัดการประชุมระดับนานาชาติในประเทศไทย ที่จะนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยได้เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Film Production Hub ด้วยการกระตุ้นให้ต่างประเทศสนใจเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยให้มากขึ้น โดยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้กำหนดแผนการดำเนินการภายใต้ "ปีการลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวไทย" โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้จัดทำแผนในโครงการต่างๆ ดังนี้ การสร้างให้ภูเก็ตเป็นแหล่ง marina หรือสถานที่จอดเรือโดยสารขนาดใหญ่ โครงการ Thailand Riviera เป็นการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอย่างจริงจัง และโครงการเร่งรัดการจัดสร้างศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยจะเริ่มปี 2551 และจังหวัดภูเก็ต โดยเริ่มปี 2552 ทั้งนี้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดทำแผนเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 11 มีนาคม 2551 นี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายอรรคพล สรสุชาติ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) แถลงสรุปผลการประชุมมอบนโยบายการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้ความรับผิดชอบของ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานส่งเสริมการประชุมนานาชาติ และองค์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สรุปดังนี้
ที่ประชุมให้ความสำคัญต่อการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินใน 3 เรื่องหลัก คือ (1) เรื่องการลดรายจ่ายของประชาชน ประกอบด้วย 1.1) เรื่องการสร้างระบบประกันความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร โดยรัฐต้องเข้าไปดูแลเรื่องเบี้ยประกันและกระบวนการประกันความเสี่ยง จากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้เกษตรกรต้องสมทบการประกันความเสี่ยงและการประกันภัยพืชผล ซึ่งเป็นการประกันความเสี่ยงซ้ำซาก โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันยกร่างแผนดังกล่าว และ 1.2) เรื่องการวางระบบการถือครองที่ดินและการกำหนดเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา
(2) เรื่องการเพิ่มรายได้ โดยรัฐบาลมีนโยบายพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรที่ยากจน ซึ่งจะต้องมีการฟื้นฟูให้เกษตรกรมีศักยภาพที่จะทำมาหากินได้ก่อน เพื่อให้การดำเนินการพักหนี้เกษตรกรฯ สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด ไม่เช่นนั้นนโยบายพักหนี้เกษตรกรฯ จะเป็นการยืดระยะการชำระหนี้หรือชะลอปัญหามากกว่าที่จะเป็นการแก้ไขปัญหา ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ สศช. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปจัดทำแผนในส่วนเกี่ยวกับการฟื้นฟูให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของสถาบันการเงินของกระทรวงการคลัง พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้แก้ไขกฎหมายในส่วนของกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร เพื่อให้สามารถนำเงินกองทุนมาใช้แก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายการขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน เพื่อให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากระบบชลประทานที่ดีขึ้น ซึ่งประกอบด้วย โครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลจะดูแลในภาพรวม และโครงการระบบชลประทานขนาดเล็กที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแล โดยจะจัดทำแผนฟื้นฟูระบบชลประทานขนาดเล็ก อาทิ การฟื้นฟูแหล่งกักเก็บน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น
(3) เรื่องการหารายได้ให้แก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นนโยบายเร่งด่วนหลักที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา คือนโยบายการฟื้นความเชื่อมั่นในด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ที่ระบุให้ปี 2551-2552 เป็น "ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2551-2552" โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะจัดทำแผนการดำเนินงานภายใต้ "ปีประทับใจไทยแลนด์" ซึ่งมีหลักการคือต้องการให้นักท่องเที่ยวได้รับความประทับจากประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรณรงค์การท่องเที่ยวในเทศกาลสำคัญระดับนานาชาติ เพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมในรายละเอียดของเทศกาลต่างๆ ของไทย อาทิ เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลการแห่เทียนพรรษา เทศกาลลอยกระทง เป็นต้น ซึ่งจะมีโครงการย่อยประมาณ 1,000 โครงการที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นควรส่งเสริมให้มีการจัดการประชุมและสัมมนาในประเทศไทย หรือ Meeting Incentive Conferences Exhibition: MICE ซึ่งจะเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่จะส่งเสริมให้มีการจัดการประชุมระดับนานาชาติในประเทศไทย ที่จะนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยได้เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Film Production Hub ด้วยการกระตุ้นให้ต่างประเทศสนใจเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยให้มากขึ้น โดยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นควรให้กำหนดแผนการดำเนินการภายใต้ "ปีการลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวไทย" โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้จัดทำแผนในโครงการต่างๆ ดังนี้ การสร้างให้ภูเก็ตเป็นแหล่ง marina หรือสถานที่จอดเรือโดยสารขนาดใหญ่ โครงการ Thailand Riviera เป็นการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอย่างจริงจัง และโครงการเร่งรัดการจัดสร้างศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยจะเริ่มปี 2551 และจังหวัดภูเก็ต โดยเริ่มปี 2552 ทั้งนี้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดทำแผนเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 11 มีนาคม 2551 นี้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--