การเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อย่างเป็นทางการประเทศแรกของนายกรัฐมนตรี ประสบผลสำเร็จในทุกด้าน ไทยและลาวเน้นย้ำความสัมพันธ์เสมือนญาติสนิท พร้อมเห็นพ้องสานต่อและพัฒนาความร่วมมือในทุกด้าน
ภารกิจของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในการเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อย่างเป็นทางการ วันที่ 2 ( 1 มีนาคม 2551 ) เริ่มต้นด้วยการสักการะพระธาตุหลวง จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมกับทีมประเทศไทยในสปป.ลาว ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงผลการพบปะหารือกับนายกรัฐมนตรีลาว ว่า ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยและลาวนั้นพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก ลาวเปิดรับและพร้อมสนับสนุนนักลงทุนจากประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันนักธุรกิจไทยได้เข้าไปลงทุนในลาวในหลายสาขา ทั้งด้านอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และการเกษตร รัฐบาลทั้งสองพร้อมสนับสนุนและช่วยเหลือนักลงทุน บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและใกล้ชิด
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้พบปะกับชุมชนไทยในสปป.ลาว และได้ให้ความมั่นใจแก่ชุมชนชาวไทยว่า ขณะนี้ ประเทศไทยได้กลับสู่สภาวะปกติ มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และในฐานะผู้นำรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจะขับเคลื่อนและนำพาประเทศไปในทิศทางการพัฒนาและเรียกคืนความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ พร้อมดึงดูดและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ อีกด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการพบปะกับนายกรัฐมนตรีลาวด้วยว่า เป็นการพบปะที่อบอุ่นและเป็นกันเอง และมีผลการเจรจาที่น่าพอใจ เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
ทั้งนี้ ในการเยือนสปป.ลาวของนายกรัฐมนตรี ครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยไทยและลาวได้บรรลุผลการหารือในด้านต่างๆ อาทิ ความสัมพันธ์ มีความก้าวหน้าในทุกด้านทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยไทยและลาวยึดมั่นในความสัมพันธ์ในลักษณะพิเศษเสมือนญาติและมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ความร่วมมือต่างๆ มีความก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจ เช่น การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ที่มีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 96 และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2551 นี้ นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงการคมนาคมทางบก ซึ่งลาวได้แสดงความขอบคุณไทยสำหรับความร่วมมือสนับสนุนงบประมาณในโครงการต่างๆ ได้แก่
- โครงการก่อสร้างทางรถไฟ (หนองคาย-ท่านาแล้ง) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ซี่งจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2551 นอกจากนี้ ไทยยินดีพิจารณาให้ความร่วมมือพัฒนาโครงการระยะที่ 2 จากท่านาแล้ง — เวียงจันทน์ ระยะทาง 9 กิโลเมตร
- โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 3 ( นครพนม — คำม่วน ) โดยฝ่ายไทยยินดีสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้าง 1,400 ล้านบาท โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมดำเนินการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ของโครงการในโอกาสแรก นอกจากนี้ กำลังดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 4 ( เชียงของ-ห้วยทราย) อีกด้วย
- โครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก โดยไทยให้ความช่วยเหลือวงเงิน 320 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีไทยและลาวได้เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาจ้างผู้ดำเนินการก่อสร้างระหว่างกระทรวงโยธาธิการและขนส่งลาวกับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
- โครงการไฟฟ้าพลังน้ำและโครงการไฟฟ้าเหมืองถ่านหินในลาว ซึ่งมีความก้าวหน้าไปมาก โดยไทยยืนยันความพร้อมที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากลาวจำนวน 7,000 เมะวัตต์ภายในปี 2558 นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบในหลักการให้มีการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาโครงการฝายไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขง ที่บ้านกุ่มน้อย เมืองชะนะสมบูน แขวงจำปาสัก ตรงข้ามตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี อีกด้วย ด้านการค้าและการลงทุน ไทยยืนยันนโยบายส่งเสริมนักธุรกิจไทยที่น่าเชื่อถือเข้ามาลงทุนใน สปป.ลาวให้เพิ่มมากขึ้นและฝ่ายลาวได้แสดงเจตจำนงที่จะให้การสนับสนุนและดูแลโครงการลงทุนต่างๆของไทยให้ประสบผลตามเป้าหมายอีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ภารกิจของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในการเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อย่างเป็นทางการ วันที่ 2 ( 1 มีนาคม 2551 ) เริ่มต้นด้วยการสักการะพระธาตุหลวง จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมกับทีมประเทศไทยในสปป.ลาว ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงผลการพบปะหารือกับนายกรัฐมนตรีลาว ว่า ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยและลาวนั้นพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก ลาวเปิดรับและพร้อมสนับสนุนนักลงทุนจากประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันนักธุรกิจไทยได้เข้าไปลงทุนในลาวในหลายสาขา ทั้งด้านอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และการเกษตร รัฐบาลทั้งสองพร้อมสนับสนุนและช่วยเหลือนักลงทุน บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและใกล้ชิด
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้พบปะกับชุมชนไทยในสปป.ลาว และได้ให้ความมั่นใจแก่ชุมชนชาวไทยว่า ขณะนี้ ประเทศไทยได้กลับสู่สภาวะปกติ มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และในฐานะผู้นำรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจะขับเคลื่อนและนำพาประเทศไปในทิศทางการพัฒนาและเรียกคืนความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ พร้อมดึงดูดและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ อีกด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการพบปะกับนายกรัฐมนตรีลาวด้วยว่า เป็นการพบปะที่อบอุ่นและเป็นกันเอง และมีผลการเจรจาที่น่าพอใจ เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
ทั้งนี้ ในการเยือนสปป.ลาวของนายกรัฐมนตรี ครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยไทยและลาวได้บรรลุผลการหารือในด้านต่างๆ อาทิ ความสัมพันธ์ มีความก้าวหน้าในทุกด้านทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยไทยและลาวยึดมั่นในความสัมพันธ์ในลักษณะพิเศษเสมือนญาติและมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างใกล้ชิด ความร่วมมือต่างๆ มีความก้าวหน้าเป็นที่น่าพอใจ เช่น การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ที่มีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 96 และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2551 นี้ นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงการคมนาคมทางบก ซึ่งลาวได้แสดงความขอบคุณไทยสำหรับความร่วมมือสนับสนุนงบประมาณในโครงการต่างๆ ได้แก่
- โครงการก่อสร้างทางรถไฟ (หนองคาย-ท่านาแล้ง) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ซี่งจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2551 นอกจากนี้ ไทยยินดีพิจารณาให้ความร่วมมือพัฒนาโครงการระยะที่ 2 จากท่านาแล้ง — เวียงจันทน์ ระยะทาง 9 กิโลเมตร
- โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 3 ( นครพนม — คำม่วน ) โดยฝ่ายไทยยินดีสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้าง 1,400 ล้านบาท โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมดำเนินการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์ของโครงการในโอกาสแรก นอกจากนี้ กำลังดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ 4 ( เชียงของ-ห้วยทราย) อีกด้วย
- โครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก โดยไทยให้ความช่วยเหลือวงเงิน 320 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีไทยและลาวได้เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญาจ้างผู้ดำเนินการก่อสร้างระหว่างกระทรวงโยธาธิการและขนส่งลาวกับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์
- โครงการไฟฟ้าพลังน้ำและโครงการไฟฟ้าเหมืองถ่านหินในลาว ซึ่งมีความก้าวหน้าไปมาก โดยไทยยืนยันความพร้อมที่จะรับซื้อไฟฟ้าจากลาวจำนวน 7,000 เมะวัตต์ภายในปี 2558 นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบในหลักการให้มีการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาโครงการฝายไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขง ที่บ้านกุ่มน้อย เมืองชะนะสมบูน แขวงจำปาสัก ตรงข้ามตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี อีกด้วย ด้านการค้าและการลงทุน ไทยยืนยันนโยบายส่งเสริมนักธุรกิจไทยที่น่าเชื่อถือเข้ามาลงทุนใน สปป.ลาวให้เพิ่มมากขึ้นและฝ่ายลาวได้แสดงเจตจำนงที่จะให้การสนับสนุนและดูแลโครงการลงทุนต่างๆของไทยให้ประสบผลตามเป้าหมายอีกด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--