เลขาธิการราชบัณฑิตยสถานและคณะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เพื่อรับทราบนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติราชการ
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน และคณะ รวม 8 คน เข้าเยี่ยมคารวะ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพื่อรับทราบนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติราชการ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความชื่นชมที่ราชบัณฑิตยสถานจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย เพราะภาษาไทยถือเป็นเกียรติยศของบ้านเมือง นั่นคือประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเอง ดังนั้น การเรียนการสอนภาษาไทยจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งการเรียนการสอนตามอักขรวิธีมี 4 ระดับ คือ 1) การอ่านการเขียน โดยเรียนรู้พยัญชนะไทย 44 ตัวที่แบ่งเป็น อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ สระ 21 ตัว และวรรณยุกต์ 4 เสียง เมื่อรวมกับเสียงสามัญทำให้ผันได้ 5 เสียง ซึ่งเปรียบได้กับ 5 รสชาติของอาหาร คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด และมัน 2) วจีวิภาค คือการเรียนการสอนประเภทวลี 3) วากยสัมพันธ์ คือการเรียนการสอนประเภทประโยค 4) ฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ดังนั้น การเรียนการสอนจึงต้องเน้นภาษาเขียน ทั้งคัดไทย เขียนไทย เรียงความ และย่อความ เพราะเป็นการใช้ทักษะทุกอย่างของภาษาไทย
อนึ่ง ราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ โดยมีฐานะเป็นกรมภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ซึ่งมีหน้าที่ค้นคว้า วิจัย และนำผลงานทางวิชาการต่างๆ ที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 13.30 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน และคณะ รวม 8 คน เข้าเยี่ยมคารวะ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพื่อรับทราบนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติราชการ
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความชื่นชมที่ราชบัณฑิตยสถานจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย เพราะภาษาไทยถือเป็นเกียรติยศของบ้านเมือง นั่นคือประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเอง ดังนั้น การเรียนการสอนภาษาไทยจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งการเรียนการสอนตามอักขรวิธีมี 4 ระดับ คือ 1) การอ่านการเขียน โดยเรียนรู้พยัญชนะไทย 44 ตัวที่แบ่งเป็น อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ สระ 21 ตัว และวรรณยุกต์ 4 เสียง เมื่อรวมกับเสียงสามัญทำให้ผันได้ 5 เสียง ซึ่งเปรียบได้กับ 5 รสชาติของอาหาร คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด และมัน 2) วจีวิภาค คือการเรียนการสอนประเภทวลี 3) วากยสัมพันธ์ คือการเรียนการสอนประเภทประโยค 4) ฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ดังนั้น การเรียนการสอนจึงต้องเน้นภาษาเขียน ทั้งคัดไทย เขียนไทย เรียงความ และย่อความ เพราะเป็นการใช้ทักษะทุกอย่างของภาษาไทย
อนึ่ง ราชบัณฑิตยสถานเป็นสถาบันหลักของเครือข่ายทางปัญญาแห่งชาติ และเป็นองค์การพัฒนาความรู้ที่สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ โดยมีฐานะเป็นกรมภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ซึ่งมีหน้าที่ค้นคว้า วิจัย และนำผลงานทางวิชาการต่างๆ ที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--