วันนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2564) เวลา 14.30 น. ณ ที่พักผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในโอกาสนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปการศึกษาภาคประชาชน และคณะตัวแทนภาคประชาชน รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เคยประกอบอาชีพครู เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน การปรับโครงสร้างการบริหารโครงสร้างการศึกษา การปรับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับครู ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงทรัพยากรและเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งรัฐบาลรับข้อพิจารณาไว้ทั้งหมดทุกข้อเสนอ อีกทั้ง รัฐบาลได้มีการเตรียม (ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษา เพื่อเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาโดยเร็ว ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องการปฏิรูปเรื่องอื่นๆ รวมทั้งร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยนายกรัฐมนตรีจะลงนามเพื่อส่งมอบไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเสนอส่วนที่เกี่ยวข้องด้านกฎหมายที่จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อไป
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงหน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจของนิตยสารอิโคโนมิสต์ The Economist Intelligence Unit (EIU) เผยแพร่ดัชนีประชาธิปไตยประจำปี 2020 ระบุว่าไทยได้ความเป็นคะแนนประชาธิปไตยอยู่ที่ 6.04 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 อยู่ในอับดับที่ 73 ลดลงจากอันดับที่ 68 ในปีก่อน สำหรับสาเหตุที่ทำให้ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกทุกประเทศลดลงเนื่องจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID 19 รัฐบาลทั่วโลกมีมาตรการการล็อคดาวน์ ทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนลดลง เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา Covid-19 ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับ ตัวเลขลดลงจึงไม่ใช่มาจากการจัดอันดับประชาธิปไตย ขณะที่นักการเมืองบางกลุ่มออกมาแถลงว่าเป็นเหตุที่ทำให้ต่างชาติเกิดความไม่เชื่อถือจนทำให้ตัวเลขการลงทุนลดน้อยลง เป็นการสร้างความเข้าใจผิดด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน สร้างอคติให้กับรัฐบาล จึงขอให้มีการนำเสนอข้อมูลที่สร้างสรรค์ อย่าบิดเบือนหรือนำการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง จนทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด และอยากให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องอีกด้วย
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยปัจจุบันว่า มีแนวโน้มการขยายตัวดีขึ้นจากการขนส่ง ส่งออกสินค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ และการลงทุนจากภาคเอกชนในรอบ 8เดือนอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี เสถียรภาพของไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีจากอัตราสภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับเกณฑ์ที่ต่ำและทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับเกณฑ์ที่สูงการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลดำเนินเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557-2563 จากการขยายตัวของการจัดเก็บโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ต่อปีอันรวมไปถึงสภาวะของกระทรวงการคลังสำนักงานเศรษฐกิจการคลังยังอยู่ในระดับเข้มแข็งมีเพียงพอต่อดำเดินนโยบายต่างๆของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งระดับคงคลังปลายงวดสิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ 473,001 ล้านบาทมากกว่าเงินคงคลังปลายงวดสิ้นปีงบประมาณก่อนหน้าถึงร้อยละ 49.5 นอกจากนี้หนี้สาธารณะสิ้นเดือนธันวาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 8.1 ล้านล้านบาทหรือสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ร้อยละ 52.1 และยังอยู่ในกรอบวินัยทางการเงินสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อGDPไม่เกิดร้อยละ60 ซึ่งหนี้ที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกิดการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดการจ้างงานกับประชาชนคนไทย
นอกจากนี้ สำนักข่าว Bloomberg จัดอับดับให้ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 1 ของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging market economies) ที่น่าสนใจลงทุนจากทั้งหมด 17 ประเทศ ในปี 2564 เนื่องจากมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง มีความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน มีศักยภาพในการดึงดูดเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งการจัดอันดับความพร้อมในระบบการรักษาสุขภาพ (Bloomberg health efficiency index 2020) ซึ่งได้จัดอันดับให้ไทยอยู่ใน 10 อันดับแรกของกลุ่มประเทศที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพด้านสาธารณสุข ขณะเดียวกันดัชีนวัตกรรม Bloomberg ได้ยกอันดับให้ไทยอยู่ในลำดับที่ 36 ของกลุ่มเขตเศรษฐกิจที่มีผลงานด้านนวัตกรรมมากที่สุด ประจำปี 2564 ซึ่งดีขึ้น 4 อันดับจากปี 2563 โดยพิจารณาจากดัชนีนวัตกรรม (Bloomberg Innovation Index 2021) จากทั้งหมด 60 เขตเศรษฐกิจ สะท้อนให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้นวัตกรรมของไทยในการต่อสู้กับสถานการณ์โควิด-19 ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ เป็นพื้นฐาน
------------------
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
ที่มา: http://www.thaigov.go.th